พระอธิการโชคชัย
พระอธิการ พระอธิการโชคชัย โชคชัย เอี่ยมยัง

สำนึกรักท้องถิ่น


เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้ได้ ใช้ให้เป็น

เห็น  คิด จำ นำไปใช้ ด้วยสำนึกรักท้องถิ่นพระอาจารย์โชคชัยพระที่ชอบธรรมชาติ และชอบปลูกต้นไม้เป็นหลัก ดังจึงอยากแลกเปลี่ยนความรู้สู่ท้องถิ่น และยินดีสนทนาพูดคุยและคำแนะนำ จากทุกท่าน ทุกสถานที่ พร้อมรับการอบรมค่าย คุณธรรม-จริยธรรม  หรือค่ายพุทธบุตร ด้วยความยินดี  ขอเจริญด้วยธรรม

หมายเลขบันทึก: 384748เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2010 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดีเพื่อการสนทนา และพูดคุยสบายๆสไตล์ สำนึกรักท้องถิ่น

ขอต้อนรับสมาชิกใหม่ สู่เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ
ถ้าจะให้ทันสมัยหน่อยนะ ต้องเขียนอย่างนี้เลย
ความรู้สึกเมื่อมีบล๊อกเป็นของตนเอง
ขอบคุณครับ

อัตลักษณ์ชุมชนกับการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์

            วิถีชีวิตชุมชน อัตลักษณ์ชุมชน ถูกกล่าวถึง/หยิบยกให้เป็นสื่อ/ตัวแทนชุมชนท้องถิ่นหนึ่ง เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นชุมชนนั้นได้โดยไม่ต้องนึกถึงบริบททางพื้นที่ อัตลักษณ์ชุมชนมีนัยยะสำคัญเคลือบแฝงมากกว่าการเป็นป้ายฉลากติดชุมชน/ท้องถิ่น ให้แต่ละชุมชน/ท้องถิ่นมีความแตกต่างกันเท่านั้น นัยยะสำคัญของ “อัตลักษณ์ชุมชน” คือการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ที่มีสภาวะการต่อสู้เชิงอำนาจสูง แต่มิใช่อำนาจที่เราเข้าใจ เป็นอำนาจที่แฝงมากับความรู้ในการสร้างสัญลักษณ์ให้กับอัตลักษณ์ชุมชน ความรู้ความเข้าใจที่สัญลักษณ์สื่อให้เราเข้าถึง อาจนำชุมชนท้องถิ่นเข้าสู่ยุคสภาวะ การเสียพื้นที่ทางอัตลักษณ์วิถีชุมชนโดยที่เราไม่รู้ตัว

            สิ่งที่เรียกว่าสัญลักษณ์ที่สื่อแทน “อัตลักษณ์ชุมชน” อาจมีสภาวะ 2 อย่างคือ

  1. สัญลักษณ์ที่สื่ออัตลักษณ์ชุมชนที่ยังคงดำรงอยู่ ภายในพื้นที่ชุมชน กล่าวคือ ชุมชนท้องถิ่นมีการดำรงอยู่ของสิ่งที่เรียกว่าอัตลักษณ์ชุมชนในพื้นที่ มีภาวการณ์หมุนเวียน ดำเนินการ รักษาไว้เป็นแบบแผนที่มีการปฏิบัติจริง สื่อให้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่าอัตลักษณ์ยังมีจริงในชุมชน เป็นการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับอัตลักษณ์ชุมชนที่ชุมชนนั้นเป็นผู้สื่อให้เห็นจริง

2.สัญลักษณ์ที่สื่ออัตลักษณ์ชุมชนที่มิได้ดำรงอยู่ ในพื้นที่ชุมชน กล่าวคือ สภาวะนี้ชุมชนมิได้มีสื่อ สัญลักษณ์อัตลักษณ์ชุมชนในแบบที่หนึ่ง แต่มีสัญลักษณ์ที่สื่ออัตลักษณ์ชุมชนในพื้นที่อื่นเพื่อแสดงตัวตันของชุมชนนั้น เป็นการสร้าง “พื้นที่แห่งความทรงจำ” เกี่ยวกับชุมชนนั้น ยกตัวอย่างสื่อสัญลักษณ์อัตลักษณ์ชุมชนแบบที่สอง คือการสร้างพื้นที่แห่งความทรงจำที่เรียกว่า “พิพิธภัณฑ์” เพื่อแสดงว่าอัตลักษณ์ชุมชน วิถีชีวิต การดำเนินชีวิตของท้องถิ่นเคยมีมาอย่างไร เป็นการสร้างภาพ/สื่อแทนชุมชน/ท้องถิ่นว่าเคยมีสภาวะอย่างนี้/แบบนี้เคยดำรงอยู่ในชุมชน

ในสังคมยุคปัจจุบันการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ อัตลักษณ์ชุมชน มีสภาวะการต่อสู้ ขับเคี่ยวอย่างสูง แต่สิ่งที่น่าหวาดวิตก/สะพรึงกลัวของการขับเคี่ยวของการแสดงตัวของสัญลักษณ์สื่ออัตลักษณ์ชุมชน ทั้งสองสภาวะ คือ เราอาจกำลังตกอยู่ในสภาวะที่ 2 อย่างอาจหลีกเลี่ยงมิได้และเป็นที่น่าสังเกตว่า ถ้าสภาวะที่สอง ครอบครองสัญลักษณ์สื่อแทนอัตลักษณ์ชุมชนแทนสภาวะที่หนึ่ง อัตลักษณ์ชุมชนจะดำรงอยู่อย่างไร  สิ่งที่ไม่อยากเห็นหรือให้เป็น คือ อัตลักษณ์ชุมชน เป็นเพียงพื้นที่แห่งความทรงจำที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ หรือสถานที่เก็บความทรงจำแบบอื่น เมื่อเราไปดู หรือรับรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ชุมชนแล้วรู้สึกดื่มด่ำกับวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของเราอย่างซาบซึ้ง จนเราลืมสำเนียกตัวเองว่าสิ่งที่เราดื่มด่ำจากสิ่งที่เรารับรู้นั้น มันไม่มีหรือเลือนหายไปเนิ่นนานเท่าใดแล้วจากพื้นที่ชุมชนของเรา

สิ่งที่เขียนถึง/กล่าวถึงผ่านพื้นที่ความรู้แห่งนี้ ผู้เขียนมิได้สรุปความคิดของผู้เขียนว่าถูกต้องชัดเจน หากสิ่งที่ผู้เขียน กล่าวถึงในพื้นที่แห่งความรู้นี้อาจสร้างความพร่ามัวให้กับความคิดผู้อ่าน แล้วนำไปสู่การชี้นำ/ชวนคิดต่อของผู้อ่านให้เพิ่มแสงสว่างกับการอ่านความที่พร่ามัวในการเขียนของตัวผู้เขียน เป็นสิ่งน่ายินดีทั้งผู้อ่านและผู้เขียนที่ร่วมเดินทางผ่านสิ่งที่พร่ามัวด้วยแสงแห่งความคิดทั้งผู้อ่านและผู้เขียน

กราบนมัสการ พระอาจรย์โชคชัย

ไม่มีอะไรครับ แค่แวะมาทักทายเฉยๆ

ขอให้มีผู้เข้ามาพูดคุย เลกเปลี่ยนความคิดเห็น เยอะๆ นะ ครับ

ว่างๆ มีอะไรดีๆ จะเอามาแลกเปลี่ยนนะ ครับ

อิอิ...

เรียนท่านพระอาจารย์มหาแล อาสโย เจริญพรอาจารย์ ดร. วิรัตน์ คำศรีจันทร์ • ขอบพระคุณท่านพระอาจารย์มหาแล และอาจารย์ดร.วิรัตน์ ที่กรุณาให้ข้อมูลเวทีคนหนองบัว เป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งผู้บรรยายและผู้ฟังเลยครับ • กระบวนการสร้างความรู้และได้องค์ความรู้จาก กระยาสารท ข้าวหลาม ขนมจีน : สู้ความเป็นชุมชนบนอาหาร สุขภาวะ วิญญาณ และอีกพื้นฐานความสามัคคีของชุมชน ที่ผมได้เรียนรู้จากเวทีคนหนองบัว เป็นประเด็นความรู้ที่สามารถเปลี่ยนถ่ายสู้ชุมชนต่อชุมชนได้จริงๆครับ(ไม่ได้เชียร์นะ รู้ได้เฉพะตนช่น) • กลับมาอ่านความเห็นของโยมอาจารย์ดร.วิรัตน์ เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 53 เวลา 08.25น. ทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าวิถีการทำอยู่ทำกินของชาวบ้านเรื่องอาหารชุมชนมีความเชื่อมโยงสู้การเรียนรู้ร่วมกันได้ เช่น ตอนนี้ญาติโยมกำลังจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ครก สาก กันมาเต็มวัดเลยครับโยมอาจารย์ ( ฮิฮิ..) • สามารถเชื่อมโยงเข้าสู้หัวข้อธรรมได้ดีมากและไม่ต้องพูดมากแต่เข้าใจยาก..นอกจากจะเป็นความกตัญญูต่อธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีและการสร้างระเบียบวินัยให้กับชุมชน ป้องกันความเสื่อมสลายของชุมชน สามารถดำรงความเป็นชุมชน รักษาหลักการหรือเป้าหมายของชุมชนไว้ได้ สร้างความเป็นปึกแผ่น(เหมือนกระยาสารท) และเป็นไปเพื่อความเจริญของชุมชน ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสกับชาววัชชีว่า... “ ...ดูกรลิจลวีทั้งหลาย อปริกานิยธรรม 7 ประการเป็นไฉน...” หรือหลักธรรมนั้นคือที่เรียกว่า “ อปริหานิยธรรม 7 “ นั้นแล... • ขอบพระคุณท่านอาจารย์มหาแลที่ให้คำสำคัญ (Key word)เช่น ความรู้มันไม่ได้อยู่ใน ม. คือ มหาวิทยาลัย เพียงอย่างเดียว ม. ในที่นี้หมายถึง หมู่บ้าน หมู่ 1 หมู่ 2 เป็นแนวที่ดีมากครับ • ตอนนี้ อบต.ท่ามะเฟือง เกิดความรู้สำนึกรักท้องถิ่น เกิดกิจกรรม/โครงการ มะเฟืองคืนถิ่น(ตามรอยต้นมะเฟืองกลับบ้าน) • นำความคืบหน้ามาฝาก แค่นี้ก่อนนะครับท่าน • สนใจอยากปลูกต้นดอกอุ้มน้อง จัดว่าเป็นไม้แปลกดีจะหาหน่อพันธ์ได้อย่างไรครับท่านพม.แล • เจริญพรขอบคุณโยมอาจารย์ดร.วิรัตน์อีกครั้งครับ

  • กราบนมัสการพระอาจารย์โชคชัย
  • ตอนนี้ใกล้สารท เดือน 10 แล้ว นะครับ
  • ขอแลกเปลี่ยนองความรู้ที่ได้จากการเห็นการทำกระยาสารทของคนในชุมชนบ้านผมที่วังทอง ที่ยังพอมีอยู่ในแถวๆบ้านผม มองภาพรวมแล้ว จะมองเห็นภาพที่ทุกคนตั้งใจช่วยกนทำ ช่วยการจัดหาของที่เอามารวมกัน ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อที่จะได้ของที่ดีมีคุณภาพ เช่นอีกกลุ่มหนึ่งหามะพร้าวที่ดีที่พอเหมาะที่จะเอามาใช้ในการขูดและคั้นเอาน้ำกะทิ หาถั่วที่เมล็ดดีๆไม่มีเมล็ดที่มีแมลงเจาะหรือเมล็ดที่เสียทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสสง งา  S=S ทุกอย่างที่เอามารวมกันและกว่าจะทำให้สำเร็จได้ต้องใช้เวลาจัดหา คัดแต่สิ่งดีๆ เพื่อทำออกมาแล้วจะได้ของที่ดี มีคุณภาพและรสชาติดี
  • การทำกระยาสารทนั้น ต้องช่วยกันทำด้วยใจที่สมานสามัคคี เป็นการรวมน้ำใจให้รู้ว่าชุมชนไหนที่ทำกระยาสารทได้ หอม หวาน เหนียว มัน อร่อย  บ้านนั้นหมู่บ้านนั้นๆจะเป็นชุมชนที่มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือกันและกัน  กระยาสารทจึงเป็นสื่อความหมายของการรวมน้ำใจของคนในหมู่บ้านชุมชนนั้นๆว่าจะมีความมีน้ำใจ และสามัคคีกันแค่ไหน กระยาสารทคือขนมที่รวมไว้หลายรสชาติ เฉกเช่นคนแต่ละคนที่มีความคิดความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน  แต่สามารถเข้ามารวมและทำในสิ่งเดียวกันได้ นี่คือความรวมใจสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้ส่งที่ดีๆ เกิดขึ้นมาให้ดีที่สุด
  • ขอแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการทำกระยาสารทไว้เพียงเท่านี้นะครับ
  • ถ้ามีโอกาสผมจะพาครอบครัวผมแวะไปทำบุญที่วัดพระอาจารย์นะครับ
  • กราบเรียนมาด้วยความเคารพ

 

ต้นไม้ที่ปลูกเป็นไม้ชนิดใด โยมชอบปลูกเหมือนกัน

อาตมา ชอบปลูกไม้ประภท กล้วยไม้(กล้วยไม้ป่า) ไม้ดอก ไม้ประดับ และบอนไซ

พระสมบัติ เขมวีโร

สวัสดีครับ พระอธิการโชคชัย ผมพระสมบัติ เขมวีโร แวะมาเยี่ยมเยียน ผมได้ติดตามข่าวคราวการทำงานของท่านกับพระมหาแลและโยมดร. วิรัตน์ คำศรีจันทร์ มาตลอด ผมไม่รู้เรื่องต้นไม้เท่าไร แต่ได้ทำงานเกี่ยวกับชุมชนมาตลอด ตอนนี้กำลังพัฒนาบึงปลาเน่าอยู่  เพราะว่าย้อนหลังไปประมาณ  30 ปี  ผมยังได้เล่นน้ำ  ในบึง  เก็บบัวมากิน  พูดง่าย ๆ ว่า ทุก ๆ วันสมัยเด็ก ๆ  จะไปเล่นน้ำที่บึงพอใกล้ค่ำดึงสายบัวติดมือมากินที่บ้านทุกวัน  แต่ในปัจจุบัน กลับเป็นทุ่งข้าวไปหมด  มีหนองน้ำไม่เท่าไร  (คงนึกภาพออกนะครับ) ความรู้สึกเก่า ภาพเก่าสมัยที่บึงอุดมสมบูรณ์ยังตรึงใจอยู่ตลอด  ผมได้ดำเนินการพัฒนามาปีกว่าแล้วครับ  ค่อยเป็นค่อยไปนะครับ  มีทุนสังคมอย่างเดียว  ทุนนอกชุมชนไม่มี  ผมอาศัยชาวบ้านเป็นหลัก  ตอนนี้ได้พื้นที่ที่ขอกับชุมชนจะอนุรักษ์บึงกับชาวบ้านได้แล้วประมาณ 120 ไร่  ไม่รู้ว่าจะความคิดจะสำเร็จเมื่อไร  ถ้าว่างๆ  จะมาเล่ารายละเอียดให้ฟังนะครับ  ถ้าใครมีความคิดอย่างไรแนะนำด้วยน๊ะครับ 

 

 

กราบเรียนพระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร

  • กราบขอบพระคุณท่านที่กรุณาเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้ติตามความคืบหน้าในการทำงาน  ขณะนี้กระผมก็กำลังสรุปกระบวนการจัดค่ายอบรมเยาวชนตำบลท่ามะเฟืองอยู่พอดีกำลังจะนำบันทึกลงในบล็อกเพื่อเป็นการทอดบทเรียนการทำค่ายกิจกรรม  เห็นบันทึกของท่านพระอาจารย์แล้วรู้สึกดีใจมากครับเหมือนไม่ได้เจอกันนานในโลกชุมชนออนไลน์
  • ประเด็น/กิจกรรมของท่านน่าสนใจนะครับอย่างนี้ต้องรีบลงมือปฏิบัตหรือจัดเวทีคนบึงปลาเน่าสักครั้งละครับ
  • แนวคิด/การพัฒนาบึงปลาเน่า(บึงสาธารณะ แม่น้ำ ลำคลอง ฯลฯ) เหล่านี้กำลังเป็นประเด็นที่หน่วยงานองค์กรหรือผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงแม้กระทั้งพระสงฆ์ผู้นำทางจิตใจก็ให้ความสำคัญกันเป็นอย่างมาก เพราะว่าแหล่งน้ำตามธรรมชาติอย่างบึงปลาเน่าซึ้งมีเนื้อที่กว้างถึงประมาณ 120 ไร่ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่มากเลยนะครับและในปัจจุบันหาดูที่อื่นแทบจะไม่ได้แล้ว
  • ท่านพระอาจารย์ได้ดำเนินงานมาถูกทางแล้วละครับ แถมยังได้ชุมชนชาวบ้านสนับสนุนแบบมีส่วนร่วมต่อส่วนรวมคือจิตสาธารณะ ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์บึงปลาเน่าให้กลับคืนมาดังเดิมเหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้วกระผมว่าไม่นานเกินรอ  กระผมขอเอาใจช่วยและจะช่วยนำแนวคิดการพัฒนาบึงปลาเน่าปรึกษาเครือข่ายการสร้างความรู้สำนึกรักท้องถิ่นท่านอื่นอีกต่อไป
  • สุดท้ายขอให้พระอาจารย์สมบัติ เข้ามาคุยถึงความคืบหน้าบ่อยๆนะครับ

การจัดค่ายเยาวชน  

ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังอุตรดิตถ์ 

จัดที่วัดพรหมพิราม หมู่ที่ 2 ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม

จังหวัดพิษณุโลก  วันที่ 6-7 ตุลาคม 53    โดย: พระอธิการโชคชัย และทีมงาน                       

ศาสนสถานที่ชุมชนร่วมกันสร้างเป็นศูนย์กลางแห่งการเแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 อธิบายภาพ:  วัดพรหมพิราม หมู่ที่ 2 ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลก     

ในยุคปัจจุบัน ถ่ายภาพโดย: พระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 53

  • การพัฒนาที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยมิติศาสนานำศีลธรรมกลับคืนสู่สังคมเพื่อปรับเปลี่ยนและสร้างค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม  อันเป็นค่านิยมที่ดีงามของสังคมไทยในอดีตที่เกื้อกูลกันระหว่าง  บ้าน วัด โรงเรียน  และส่วนราชการท้องถิ่น  สร้างปฏิสัมพันธ์นำหลักธรรมทางศาสนาไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  เกิดภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ดี  ทำให้สังคมในสังคมไทยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม  ควรจะต้องยึดถือเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนามุ่งเน้นจิตใจคน  ให้มีการพัฒนาคุณธรรมนำความรู้  ควบคู่กับการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างปัญญาให้แก่คนทุกกลุ่มทุกวัย

พระสงฆ์ผู้อยู่ในวงสังคมหนึ่ง เป็นวงสังคมผู้นำทางจิตใจ    (Spiritual Leaderships Society)

 อธิบายภาพ: เจ้าอธิการเจริญ กิตติคุโณ พระนักพัฒนาชุมชนจากรายการคนค้นคน เจ้าคณะตำบลพรหมพิราม / พระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร พระวิทยากรจากศูนย์พัฒนาคุณธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก วัดสวนร่มบารมี / พระธนพนธ์ ธนปาโล พระนิสิตจากวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก และพระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ  ภาพถ่ายโดย: พระนพรัตน์ โชติญาโณ

  • การสร้างสังคมจิตอาสา: ปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนเด็กและเยาวชนให้สำนึกรักท้องถิ่นและมีความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ โดยศาสนสถานเป็นศูนย์กลางสืบค้น  องค์ความรู้  ประวัติศาสตร์ชุมชน ความเป็นมาของบุคคลสำคัญทศกาล ประเพณีอันดีงามของชุมชนและมรดกทางภูมิปัญญาและทางวัฒนธรรมท้องถิ่น  จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมเป็นทีม บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีและรับประโยชน์ร่วนกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่หลากหลายของคนในท้องถิ่นสู่อนุชนอย่างมีจิตมุ่งเน้นสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีสำนึกจิตอาสาในการรักษาสืบทอดมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ยั่งยืน

การถ่ายทอดเรียนรู้ภูมิปัญญาในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่นในวงสังคมเครือญาติ(Kinship)

อธิบายภาพ: คุณโยมประเสริฐ เพชรกระจาด ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีจิตอาสาต่อเรื่องสาธารณะและคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์อันมีค่ามากมาย

ภาพถ่ายโดย: พระนพรัตน์ โชติญาโณ

  • การเรียนรู้จากคนหลายวัย:คนเฒ่าคนแก่และผู้นำชุมชน การถ่ายทอดเรียนรู้ภูมิปัญญาในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่นเป็นการสร้าง  ความสัมพันธ์ที่ดีและความเอื้ออาทร ความมีน้ำใจแบ่งปันความรู้ โดยให้มีการถ่ายทอดวิชาที่ป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์อันมีค่ามากมาย เป็นการจัดให้มีพื้นที่ในศาสนสถานให้เป็นลานแห่งความรู้เพื่อสร้างปัญญาและเรียนชิญให้คนเฒ่าคนแก่ในชุมชนมาร่วมสนทนาพูดคุย ถ่ายทอด วิชาความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตให้แก่เยาวชนในวัยต่างๆ มาร่วมเรียนรู้และจดจำไปดำเนินการเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่เป็นสมบัติของชุมชนตลอดไป ซึ้งองค์ความรู้ในชุมชนต่างๆ จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สังคมทางการศึกษา(Education Leadership Society) 

อธิบายภาพ: นางจุฑามาศ เผือกเหลือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเฟือง และคณะ นำเยาวชนมาเข้าค่ายอบรม / คุณหมออุ่นเรือน ณัฐวรพงศ์ หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลท่ามะเฟือง พร้อมด้วยวิทยากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มาให้ความรู้ระบบการคุ้มครอง การเฝ้าระวังการกระทำที่ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อเด็ก    ภาพถ่ายโดย:  พระนพรัตน์ โชติญาโณ

  • การสร้างชุมชนสัมพันธ์: โครงการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชนโดยการเปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในชุมชุนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโดยการผ่านเวทีประชาคมในศาสนสถาน ซึ้งเป็นศูนย์กลางของชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกรักท้องถิ่นและความภาคภูมิใจในศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีงามของไทยในอดีต  เกิดความผูกพันทางจิตใจ สร้างความรักความสามัคคี
  • ปรับบริบทชุมชน:  การสร้างโครงการ/กิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ้งภายในชุมชนประกอบด้วย บ้าน(ครอบครัวพ่อแม่) ศาสนสถาน (วัด) สถานศึกษา (โรงเรียน) ส่วนราชการท้องถิ่น(หน่วยงานและองค์กรภาครัฐ/เอกชน)ในชุมชน เป็นองค์ประกอบ ดังนั้นเพื่อให้การจัดกิจกรรมตอบสนองความต้องการของชุมชนสังคมในเชิงรุก มุ่งเน้นให้ครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเป็นครอบครัวเข้มแข็งและอบอุ่นขึ้นในสังคม
  • กระยาสารท: ความเป็มชุมชนบนอาหาร สุขภาวะจิต    วิญญาณ และอีกพื้นฐานความสามัคคี

อธิบายภาพ : ชาวบ้าน บ้านตาลิน และชาวบ้านอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ รวมตัวกันทำกระยาสารท ซึ่งเป็นเทศกาลการทำอาหารอย่างหนึ่งที่มีมิติความเป็นชุมชนและกระบวนการเชิงวัฒนธรรม ซึ่งก่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณของชุมชนขึ้นอย่างลึกซึ้ง   วาดภาพโดย: ดร. วิรัตน์ คำศรีจันทร์ เวทีคนหนองบัวในเว็บบล็อกโกทูโน

กระยาสารทกับมิติสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม:เวทีกิจกรรมที่สร้างสำนึกสาธารณะด้วยอาหารตามฤดูกาล

กระยาสารท เป็นหนึ่งในอาหารหวานที่แพร่หลาย ซึ่งในอดีตนั้นจะเป็นอาหารที่ทำขึ้นตามฤดูกาลเนื่องอยู่กับการทำบุญเดือนสิบ ดังปรากฏใน นิราศเดือน โดย หมื่นพรหมสมพัตร (นายมี ลูกศิษย์คนหนึ่งของสุนทรภู่) ว่า

                                                                  “ถึงเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท
                                                                    ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
                                                                    กระยาสารทกล้วยไข่ใส่โตกพาน
                                                                    พวกชาวบ้านถ้วนหน้ามาธารณะ

                                                             ถ้างามคมห่มสีชุลีนบ
                                                             แล้วจับจบทัพพีน้อมศีรษะ
                                                             หยิบข้าวของกระยาสารทใส่บาตรพระ
                                                             ธารณะเสร็จสรรพกลับมาเรือน

                                                                    พอลับเนตรเชษฐาอุราร้อน
                                                                    แสนอาวรณ์โหยให้ใครจะเหมือน
                                                                    ไม่รู้ที่จะวานใครไปตักเตือน
                                                                    ให้มาเยือนเยี่ยมพี่ถึงที่นอน..

                                                   ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                                             และ กวีคลับดอทคอม : สังคมดีๆของคนรักกลอน

เครือข่ายเรียนรู้ความเป็นชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้เรื่องกระยาสารท: วิถีชีวิตชุมชนบนอาหาร

 อธิบายภาพ: กระบวนการเรียนรู้เรื่องกระยาสารท กลุ่มผู้กระทำปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Actors) ครั้งนี้ก็ได้แก่พระสงฆ์ ครู อบต. ครอบครัวพ่อแม่ แม่ทองเยื้อน,แม่ดำ,แม่ราตรี,แม่น้ำค้าง และเด็กเยาวชนตำบลท่ามะฟือง ภาพถ่ายโดย:  พระนพรัตน์ โชติญาโณ

  • กระยาสารท:  เป็นเทศกาลอาหารในเดือน ๑๐ เช่นเดียวกับอีกหลายภูมิภาคของสังคมไทย ทว่า รสชาดและส่วนประกอบของกระยาสารท ตลอดจนรูปแบบการทำและเครื่องประกอบในการกินก็อาจจะแตกต่างไปจากแหล่งอื่นๆใ รายละเอียด เช่น ในบางปีที่น้ำท่าอุดมสมบูรณฺ์ ชุมชน/ท้องถิ่นได้ผลผลิตดี ชาวบ้านก็นำข้าวเปลือกไปแลกน้ำตาลและแบะแซไปทำกระยาสารทให้เครื่องถึงทั้งความหวานและมัน เหมาะสมที่จะกินกับกล้วยไข่ ชาวบ้านก็จะทำกระยาสารทให้เหมาะกับการกินกับกล้วยไข่ จะยากดีมีจนอย่างไร คนไทยในทุกท้องถิ่นที่จะต้องไม่ขาดจากการทำบุญ       กุศล และกระยาสารทในแง่หนึ่งก็เป็นอาหารหวานที่เนื่องไปกับเทศกาลทำบุญเดือน ๑๐ มีนัยของการทำเพื่อสร้างบุญกุศล ชาวบ้านต้องคิดทำเหมือนเป็นการปฏิบัติสิ่งดี อาจแตกต่างกันไปในแต่ละปีบ้างแต่จะไม่ขาดดังนั้น    ความเป็นกระยาสารท จึงเชื่อมโยงอยู่กับวิถีทำอยู่ทำกินของชาวบ้านอย่างใกล้ชิด โดยภาพรวมแล้วกระยาสารทกับคนในชุมชน/ท้องถิ่นก็เป็นลักษณะความร่วมกันอย่างหนึ่งของชุมชนที่ทำไร่นา ปลูกถั่วงา อ้อย มะพร้าว มีความสำนึกต่อการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนและกินข้าวเป็นอาหารหลักหรือเป็นสามัญลักษณะที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทยที่ยังมีความเป็นสังคมเกษตรกรรม เพียงแต่อาจแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด ซึ่งมักสะท้อนบริบทความเป็นท้องถิ่นพอสมควร
  • การสร้างคความเป็นชุมชนบนกระบวนการทำกระยาสารท: การทำกระยาสารทนั้นมีจังหวะเคลื่อนไหวไปกับงานทำบุญงานประเพณี ทำให้เนื้อหากิจกรรมก่อเกิดขึ้นบนความสำนึกต่อการทำสิ่งดีงามเพื่อตนเองและสังคม เป็นวาระได้พัฒนาจิตใจ แสดงออกในความละเอียดประนีตทั้งศิลปะ การแต่งกาย ดังพรรณาในนิราศเดือนของหมื่นพหมสมพัตสรหรือนายมีศิษย์ของสุนทรภู่ ขณะเดียวกัน ก็เป็นอาหารหวานที่ต้องระดมความร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำหลายคน จึงเป็นเสมือนเวทีสร้างสรรค์ความเป็นสาธารณะซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และเคลื่อนไหวชีวิตชุมชนหลายด้านให้ดำเนินไปอย่างมีชีวิตชีวา
  • วัตถุดิบของกระยาสารทสะท้อนผลผลิตและความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน: การทำกระยาสารท จะอาศัยวัตถุดิบที่หาได้ในชุมชนและดัดแปลงส่วนประกอบต่างๆให้       เหมาะไปตามผลผผลิตที่ได้รับในฤดูกาลทำนาแต่ละปี ข้าวตอกจะทำจากข้าวเก่าที่ได้จากผลผลิตในปีที่ผ่านไป ส่วนข้าวเม่าก็จะเป็นข้าวใหม่ที่ได้จากปีปัจจุบันที่ทำกระยาสารท มะพร้าวก็จะหิ้วมาช่วยกันจากบ้านต่างๆคนละลูกสองลูก ถั่วงา น้ำตาล ก็จะหิ้วมารวมกัน ๕-๑๐ ครัวเรือน ส่วนผสมของกระยาสารทจึงมีความสัมพันธ์กับความรักความผูกพันและความร่วมแรงร่วมใจกันของชุมชนเมื่อรวมวัตถุดิบและรวมกลุ่มกันทำกระยาสารทเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะแบ่งปันกันทุกบ้านอย่างทั่วถึง ดังนั้น ในปีหนึ่งๆ รสชาด สัดส่วน ปริมาณและคุณภาพของกระยาสารท เช่น ความหวานหอมด้วยถึงน้ำตาลและข้าวเม่า ความเหนียวนุ่มด้วยถั่วแบะแซ ความหวานมันด้วยกะทิและถั่วงา เหล่านี้ ก็จะแตกต่างกันไปตามความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิต หากปีใดแล้งและผลผลิตไม่ดี กระยาสารทก็จะทำกันไปตามสภาพของสิ่งที่มีและหาได้ในหมู่บ้านบางปีอาจจะดัดแปลงทำให้ร่วนมากกว่าแหล่งอื่นเนื่องจากหลายแห่งของชาวบ้านทำน้ำตาลงบจากการหีบอ้อยและมีผลผลิตไม่ดีพอที่จะเอาข้าวเปลือกไปแลกน้ำตาลปีบ ถั่ว งา และแบะแซจากตลาดชุมแสง การลดน้ำตาลปีบและแบะแซก็จะทำให้กระยาสารทในปีนั้นๆร่วนและลดความหวานมันลงไปตามสภาวการณ์ต่างๆที่ชุมชนประสบ
  • ความกตัญญูต่อธรรมชาติความรักความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของปัจเจก การทำกระยาสารทจำเป็นต้องทำช่วยกันเป็นกลุ่มก้อนและมีการแบ่งงานกันอย่างซับซ้อน กระจายการมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึงทั้งบนความแตกต่างระหว่างเพศชายหญิง ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ชายวัยแรงงาน กลุ่มสตรีแม่บ้าน เยาวชนและคนหนุ่มสาว ตลอดจนกลุ่มเด็กๆและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุก็จะรวมกลุ่มสนทนาถึงสารทุกข์สุกดิบของลูกหลานพร้อมไปกับนั่งเก็บเปลือกถั่วงาและแกลบออกจากข้าวเม่า เด็กๆก็หาฟืนและวิ่งขนของช่วยผู้ใหญ่ ผู้ชายก็กวนส่วนประกอบต่างๆในกะทะใบบัวซึ่งต้องทนความร้อนและใช้ความแข็งแรงมาก กลุ่มคนหนุ่มสาวก็นั่งปลอกมะพร้าว ขูดมะพร้าว และคั้นน้ำกะทิ กลุ่มแม่บ้านก็คั่วข้าวตอก ขั่วข้าวเม่า ตำข้าวเม่าด้วยครกซ้อมมือ เด็กๆได้เรียนรู้ และพัฒนาตนเองจากหน่วยทางสังคมขนาดเล็กแต่มีพลังการหล่อหลอมที่รอบด้าน ทั้งด้านจิตใจ ทักษะชีวิต ทักษะการปฏิบัติที่เหมาะสมด้วยกาลเทศะ ความสำนึกต่อส่วนรวมและทักษะเชิงสังคม คนหนุ่มสาวก็ได้สร้างความสนิทสนมและเรียนรู้จิตใจกันและกันในท่ามกลางสายตาของผู้ใหญ่ ปัจเจกและครอบครัวก็ได้เรียนรู้ที่จะผสมผสานความเป็นส่วนตัวกับความเป็นส่วนรวมให้มีความสมดุล พอดี และพอเพียง
  •   ดูกระยาสารท....จะเห็นสุขภาวะและความอยู่ดีมีสุขของชุมชน  ความอร่อยและองค์ประกอบความเป็นกระยาสารทจึงเป็นสิ่งบ่งชี้ความเป็นชุมชน ความสมัครสมานสามัคคี ความทุกข์สุขของชุมชนเกี่ยวกับผลผลิตจากการทำนาไร่ และสัมผัสได้ถึงสุขภาวะทางจิตวิญญาณของชุมชนได้เป็นอย่างดี การได้กินกระยาสารทบนศาลาวัดหรือในสำรับอาหาร แล้วได้เห็นความหวานมันและเห็นสัดส่วนของข้าวเม่าซึ่งเป็นข้าวใหม่กับปริมาณข้าวตอกซึ่งเป็นข้าวเก่า เห็นความเหนียวหรือความร่วนซึ่งบ่งบอกการต้องยอมทำกระยาสารทด้วยน้ำตาลอ้อยของตนเองในกรณีที่ผลผลิตในปีนั้นๆไม่ดี หรือว่าผลผลิตดีได้ข้าวเปลือกพอให้ไปแลกน้ำตาลปีบกับแบะแซจากตลาดซึ่งก็จะส่งผลต่อการได้ความหวานมันพอที่จะคิดเตรียมข้าวเปลือกไปแลกกล้วยไข่มากินกับกระยาสารท หรืออาจจะต้องงดกล้วยไข่และรสชาดกระยาสารทที่หวานมันเข้มข้นลงไป ให้สอดคล้องกับผลผลิตจากการทำนาทำไร่ที่ได้รับ ด้วยกระบวนการและความเป็นจริงอันเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบที่ซับซ้อน ครอบคลุมมิติต่างๆของชีวิตชุมชนและระบบนิเวศวิทยาสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมดังได้กล่าวมาโดยลำดับนี้ ก็จะทำให้เราสามารถอ่านสุขภาวะของชุมชนได้ทันทีว่า ในปีนั้นๆที่ได้กินกระยาสารท หมู่บ้านและชุมชน จะมีสภาวการณ์เศรษฐกิจและความอยู่เย็นเป็นสุขกันมากน้อยเพียงใด .
  • หมายเหตุและเชิงอรรถบทความ: ขอบพระคุณ ข้อมูลบทความเรื่องกระยาสารท;ความเป็นชุมชนบนอาหาร สุขภาวะจิตวิญญาณ และอีกพื้นฐานความสามัคคีคนหนองบัว และบันทึกถ่ายทอดไว้ในเวทีคนหนองบัวโดย พระอาจารย์มหาแล ขำสุข (อาสโย) และโยมอาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ในหัวข้อเดียวกันนี้ที่ dialogue box 757 ของเวทีคนหนองบัวในเว็บบล็อกโกทูโน
  • เครือข่ายทางสังคม(Social Networks)ผ่านเรื่องกระยาสารท

อธิบายภาพ: “เครือข่ายสภาเยาวชนตำบลท่ามะเฟือง เรียนรู้ความเป็นชุมชน ภาพถ่ายโดย:  พระนพรัตน์ โชติญาโณ

 

อธิบายภาพ: คุณอาจารย์ กูเกิ้ล

บทบาทหน้าที่/โครงการ/กิจกรรม ที่สร้างสรรค์

  • โครงการทำบุญวันสารทไทย เป็นการทำบุญกลางปีตรงกับวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เชิญชวนเยาวชนไปร่วมทำบุญตามประเพณี
  • โครงการ สร้างสังคมจิตอาสา ปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนโดยเฉพาะเด็กเยาวชนให้รักท้องถื่นและมีความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ เน้นสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีจิตอาสาในการรักษาสืบทอดมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ยั่งยืน
  • โครงการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น/หัตถกรรม/ศิลปกรรมและศิลปะการแสดงประจำถิ่น สู่เยาวชนและผู้สนใจ
  • โครงการรวมพลคนต่างวัยหัวใจใฝเรียนรู้
  • โครงการปู่สอนหลานเล่นดนตรีไทย
  • โครงการยายสอนหลานแกะสลักผลไม้
  • โครงการอาสารักษ์สิงแวดล้อมในชุมชนให้ศาสนสถานเป็นผู้นำในการสร้างเยาวชนอาสาเพื่อกันดูแลแม่น้ำลำคลองให้สะอาด ฯลฯ
  • โครงการร่วมปลูก/รักษ์ต้นไม้ยืนต้นของชุมชนและศาสนสถานเพื่อให้มีอากาศบริสุทธิ์เป็นปอดของชุมชน
  • โครงการ/งานมะเฟืองหวาน...ที่ท่ามะเฟือง  ฯลฯ

ข้อเสนอแนะเวทีต่อไป

  • เวทีเรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างยุวมฆมานพแก่สังคมไทย
  • เจริญพร  อนุโมทนาบุญกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

สาธุ…

 เจริญพร โยมณัฐยา ทองแย้ม   

  • อาตมาลืมไปว่าโยมถามว่ามะเฟืองมีประโยชน์ และสรรพคุณทางยาอย่างไร  พอดีมีโยมนำหนังสือ “เคล็ดลับภูมิปัญญาไทย”มาถวายอ่านแล้วมีประโยชน์มากเลยมีประวัติความเป็นมา และวิธีการทำสูตรอาบน้ำมะเฟืองด้วย  จะลองทำเองก็ได้นะ
  • มะเฟืองเป็นไม้พื้นเมืองของอินโดนิเซีย อินเดียและศรีลังกามะเฟืองนิยมปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เช่นไทย  มาเลเซีย  และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณะรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา ซามัว ตองกา ใต้หวัน คอสตาริกา และออสเตียเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย
  • ผลมะเฟืองเป็นผลไม้ทรงกระสวย เมื่อหันแนวขวางจะเป็นรูปดาวห้าแฉกผลดิบจะมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองมีรสหวานและเปี้ยวแล้วแต่สายพันธุ์
  • มะเฟืองมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีวิตามิน เอ วิตามินบี ไนอะซีน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟลอรัส เหล็กและพลังงานมะเฟืองมีสรรพคุณทางยาในการแก้ร้อนใน ดับกระหาย ลดความร้อนในร่างกายถอนพิษก็ได้ รวมทั้งยังช่วยบรรเทาอาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • สูตรน้ำมะเฟืองสำหรับอาบน้ำชำระร่างกายแบบประหยัดสามารถทำเองได้ไม่ยาก  อาบน้ำด้วยน้ำมะเฟืองทุกวันจะทำให้ผิวเนียนนุ่มดุจผิวเด็กเอาะๆ
  • วิธีทำ สับมะเฟืองเป็นว่านๆ ประมาณ 3 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม น้ำเปล่า 10 ลิตร เทลงในถังหมักไว้ประมาณ 3เดือน คนเป็นครั้งคราว  เมื่อหมักครบสามเดือน กรองเอาน้ำมาใช้ น้ำหมักมะเฟือง 2 ช้อนแกงต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร ผสมกันอาบชำระร่างกายทุกวัน ผิวจะเนียนนุ่มดุจสาววัยขบเผาะ  และยังดูขาวสดใสมีน้ำมีนวลลดรอยหมองคล้ำ ดูอ่อนกว่าวัยนอกจากนั้นยังสามารถนำไปสระผมแก้อาการผมหงอกได้อีกด้วยดีนักแล 
  • ลองทำดูนะโยม แถวๆ บ้านท่ามะเฟืองมีต้นมะเฟืองเยอะไม่ใช่หรือ.. ได้ผลอย่างไรอย่าลืมเขียนมาบอกกันบ้างนะ  (ก็อยากจะขาวเนียนกะเขาบ้าง)
  • ที่มา: จำรัส เซ็นนิล,เคล็ดลับภูมิปัญญาไทย ฉบับ รายการทั่วทิศทั่วไทย,พิมพ์ครั้งที่2 สิงหาคม 2552 ส่วนผลิตรายการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
พระสมบัติ เขมวีโร

งานเยี่ยมยอดมากครับ มีข้อมูลที่ชัดเจน ขอยกนิ้วให้ครับ

  • ทีมงามวัดพรหมพิราม จัดว่าเป็นน้องใหม่ในโกทูโน แต่ดูหน่วยก้านแล้ว ฝีมือขั้นเทพเลยนะเนี่ย
  • เห็นการเรียนรู้ของคนหลายวัย ในเวทีนี้แล้ว น่าสนุกดี ได้เรียนรู้ชุมชนจากคนในท้องถิ่น คนในพื้นที่ คนในชุมชน ซึ่งในสังคมของเรา มีผู้รู้แบบปฏิบัติจริง ปฏิบัติได้ อย่างนี้ มีอยู่มากมาย มีทุกชุมชน
  • จะทำอย่างไร มีวิธีใดบ้าง มาช่วยดึงประสบการณ์ให้ท่านเหล่านั้น ได้มีเวทีแสดงความรู้ ภูมิรู้ ภูมิปัญญา ถ่ายทอดออกมาให้ลูกหลานได้เรียนรู้ ซึมซับ ซึ่งประสบการณ์แต่ละอย่างล้วนมีประโยชน์ มีคุณค่า
  • ขอให้เวทีเรียนรู้แบบนี้ มีต่อไป และหวังว่าท่านอธิการคงทำให้เวทีท่ามะเฟือง เป็นเวทีทางเลือก การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับชุมชนคนทุกวัยนะครับ
  • ขอบคุณครับ 

 

กราบเรียนพระอาจารย์มหาแล อาสโย  และพระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร     

ที่เคารพครับ

  • กราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ทั้งสองที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจในกิจกรรมค่ายอบรมที่ผ่านมา(การบันทึกผลของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการเรียนรู้คนหลายวัยแต่หัวใจเดียวกัน...)แผนกิจกรรมของชุมชนครับ
  • “..ทีมงามวัดพรหมพิราม จัดว่าเป็นน้องใหม่ในโกทูโน แต่ดูหน่วยก้านแล้ว ฝีมือขั้นเทพเลยนะเนี่ย …”แหม...กระผม ต้องขอบอกว่า “มือใหม่หัดขับเหมือนกัน” แต่จะทำอย่างไรหนอ ถึงจะได้โกอินเตอร์เสมือนเวทีคนหนองบัวกะเขาบ้าง….
  • กระบวนการเรียนรู้ของคนหลายวัย...” (เวทีผู้เฒ่าผู้แก่เป็นการถ่ายทอดเรียนรู้ภูมิปัญญาในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น) ต้องขอบพระคุณท่านมหาแลที่กรุณาให้แนวคิดและคำสำคั  เพราะฉะนั้นการที่เรา(ได้เรียนรู้ชุมชน  จากคนในท้องถิ่นของเรา และ/หรือ คนในพื้นที่ คนในชุมชน ซึ่งในสังคมของเรา มีผู้รู้แบบปฏิบัติจริง ปฏิบัติได้ อย่างนี้มีอยู่มากมาย มีทุกชุมชน)  มีอยู่จริง ( ความรู้ ภูมิรู้ ภูมิปัญญา ถ่ายทอดออกมาให้ลูกหลานได้เรียนรู้ ซึมซับ ซึ่งประสบการณ์แต่ละอย่างล้วนมีประโยชน์ มีคุณค่า) มากมายจริงๆ จากเวทีท่ามะเฟืองกระผมก็ได้รับ “บทเรียนที่ดี” (Best Practice) ก็ถือว่าได้ทำหน้าที่  หรือเป็นคนจุดประกายปรากฏการณ์(Catalyst)
  • การเรียนรู้/กระบวนการเรียนรู้นี้ท่านหลวงพ่อเล็ก(พระครูโฆสิตธรรมสุนทร) พ่อแม่ครูบาอาจารย์ของกระผมและของศิษยานุศิษย์อีกหลายๆ คน/ท่าน  หลวงพ่อสอนหลักการทำงานร่วมกับชุมชนว่า....

  

ป้ายนี้เขียนและติดตั้งอยู่หน้าศาลาประชาคม ณ ศูนย์พัฒนาคุณธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก วัดสวนร่มบารมี ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยพระอธิการสุรทิน  ญาณสุโภ (พระครูโฆษิตธรรมสุนทร) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547

  • ถามว่าเราจะทำอย่างไร วิธีการใดนั้น กระผมเห็นว่าในการที่จะเดินหน้ากันต่อไปเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้  สร้างองค์ความรู้ในชุมชนนั้นๆ  จะพึ่งพาอาศัยหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน/และรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวในการผลักดันโครงการ/กิจกรรม  คงจะไม่ทันการณ์กระมังครับ  เห็นโอกาสเป็นอีกหนึ่งทางเลือกก็คือการใช้ทุนทางสังคม เปิดพื้นที่ที่สร้างสรรค์ในการเรียนรู้ เสริมสร้างความรอบรู้ (ปัญญา) ให้แก่คนในสังคมและชุมชนได้  สร้างมูลค่าเพิ่มทางสังคมพัฒนาทรัพยากรบุคคล(คนเฒ่าคนแก่)ให้มีคุณภาพ  และใช้พื้นที่ศาสนสถานส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมจากองค์ความรู้
  • กระบวนการเรียนรู้/เวทีแห่งการเรียนรู้นี้  เกิดขึ้นได้  โดยการใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมมากมาย จักก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และมีความคุ้มค่า  ต่อศาสนสถาน ศาสนบุคคล ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน  ทรัพยากรบุคคล(คนเฒ่าคนแก่)ที่มีศักยภาพในชุมชน  ภูมิปัญญาไทย  มรดกทางวัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่า  เช่น  ดนตรีไทย  หัตถกรรมไทย  ผ้าไหมไทย  รำไทย  อาหารไทย  ศิลปกรรมไทย  สถาปัตยกรรมไทย  และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่เป็นมรดกโลก  สิ่งเหล่านี้  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่มีการถ่ายทอดจากบรรพชนสู่สังคมยุคปัจจุบัน(การถ่ายทอดภูมิปัญญาชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น)  ที่คนในชุมชนควรจะร่วมกันสืบสานให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทย  โดยมารวมตัวกัน  ร่วมคิด  ร่วมทำ  บนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทย  บนความไว้เนื้อเชื่อใจ  ความเอื้ออาทรต่อกัน  ความผูกพันการพึ่งพาอาศัยซึ้งกันและกัน  จนเกิดเป็นพลังชุมชน  ที่จะร่วมกันพัฒนาชุมชนจากทุนทางสังคมเหล่านี้  ให้เข้มแข็งและมีความสงบสุข  ร่มเย็น  โดยมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป
  • ขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ทั้งสองมากครับ  การใช้สื่อแบบนี้แลกเปลี่ยนเรี่ยนรู้ก็ดีนะครับ...

 

  • ดูศาลาการเปรียญวัดพรหมพิรามแล้ว สงสัยจะต้องทอดผ้าป่า ทอดกฐินอีกหลายครั้งแน่เลย(อีกสิบล้านบาทไทย คงพอนะครับ) เพราะศาลาใหญ่จัง ไม่ทราบว่าปีนี้ วัดพรหมพิรามจะทอดกฐินเมื่อไหร่ละครับ บอกบุญกับบ้างก็ดีครับ
  • ทอดกฐินเสร็จแล้ว อย่าลืมนำบรรยากาศงานมาฝากกันในที่แห่งนี้บ้างเด้อ

กราบเรียนพระอาจารย์มหาแล อาสโย 

  • ศาลาการเปรียญวัดพรหมพิราม หมู่ 2 หลังนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมีพระครูใบฎีกามนตรี อานนฺโท เป็นเจ้าอาวาส ใช้งบประมาณและทุนทางสังคมไปมากกว่าแปดล้านกว่าบาท
  • สาธุ... ถ้าได้เงินบริจาคอีกสิบล้านบาทไทย คงจะแล้วเสร็จและสวยดั่งใจหมาย  ทุนปัจจัยก็ได้จากเงินบริจาคบ้าง กฐิน ผ้าป่าบ้างแล้วแต่ศรัทธาจากญาติโยม
  • วัดพรหมพิราม หมู่ 2 มีกำหนดการทอดกฐิน วันที่ 13-14 พ.ย. 2553 เชิญชวนพระคุณท่านและสาธุชนคนใจดีเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีพร้อมเพรียงด้วยกันเทอญ.....

 

พระคุณเจ้าคงจะยุ่งงานมาก เพราะช่วงนี้ไม่มีข่าวขึ้นเลย คงต้องหาศิษย์มาช่วยงานแล้วครับ เยี่ยมเยียน

กราบเรียนพระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร

กราบขอบพระคุณท่านที่กรุณาอยู่ทีมเชียร์(ไม่ใช่ทีมแช่ง)เสมือนกีฬาเอเชี่ยนเกมส์...หนอ

ตอนนี้กระผมกำลังฝึกและรวบรวมวิทยายุทธอยู่ครับ...ใกล้จะบรรลุแล้วครับ(555555)

ท่านพระอาจารย์สบายดีน่ะครับ

บทบาทพระสงฆ์กับการเผยแผ่ในอดีต: การบันทึกและสร้างการเรียนรู้สังคมจากการลงมือทำอย่างบูรณาการเพื่อพัฒนาเครือข่ายพระสงฆ์ เพื่อเรียนรู้และพัฒนาบทบาทการอบรมเผยแพร่และทำงานชุมชนกับชาวบ้านในมิติใหม่ๆ

โดย : พระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ (เอี่ยมยัง)

          การเผยแผ่ศีลธรรมของพระสงฆ์ในอดีต คำว่า “อดีต” หมายเอา ระยะเวลาในช่วงก่อนยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งสภาพสังคม กล่าวคือวิถีชีวิตของสมาชิกในชุมชมแต่ละสังคมจะไม่มีอิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อกันและกัน วิถีชีวิตของคนยังแยกชัดเจนว่า เป็นวิถีชีวิตของคนสังคมเมือง และวิถีชีวิตสังคมชนบท นั่นหมายความว่า อิทธิพลของสังคมเมืองอย่างในปัจจุบันยังไม่แผ่ครอบคลุมไปถึงวิถีชีวิตของคนสังคมชนบท วิถีชีวิตของคนชนบทจึงยังคงตกในอิทธิพลของศาสนาอยู่มาก กล่าวคือความเป็นพุทธศาสนิกชนยังมีอยู่อย่างเข้มแข็ง

          วิถีชีวิตของคนชนบทเป็นวิถีชีวิตของชาวพุทธนั้น หมายความว่า สังคมยังยึดอยู่ในกรอบของศีลธรรม มีความประพฤติอยู่ในกรอบของศีลธรรม จารีตประเพณี สังคมมีความเอื้ออาทร มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีวิถีชีวิตที่งดงาม สงบเย็นและเป็นสุข

          ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนเมืองและชนบท ให้ความสำคัญต่อระบบของศีลธรรมน้อยกว่าในอดีต ในขณะเดียวกันสมาชิกของสังคมทุกระดับล้วนแต่ดิ้นรนขวานขวยหาเลี้ยงชีพต่อสู้กับระบบสังคม เศรษฐกิจ สังคมฯ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีกว่า

          สาเหตุสำคัญทีทำให้วิถีชีวิตของสังคมชนบทไม่แตกต่างกับวิถีชีวิตของสังคมเมือง เพราะอิทธิพลของสื่อไม่ว่าจะอยู่ในเมือง ชนบท ในป่าหรือบนดอย แล้วแต่มีการบริโภคสื่อที่เป็นเครือข่าย (Network) อย่างเดียวกัน กล่าวคือสื่อแต่ละอย่างไม่ว่าจะเป็นทีวี วิทยุ เป็นต้น ล้วนแต่ถ่ายทอดเป็นระบบเครือข่าย (Network) โลกทั้งโลกจึงเป็นเหมือนกับอยู่ในชุมชนเดียวกัน (Globalization)

          ปัญหาตามมาคือ เมื่อสังคมโลกเป็นชุมชนเดียวกัน สิ่งหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนหนึ่งทั้งในแง่บวกและแง่ลบ (โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เป็นแง่ลบ) ชุมชนหรือสังคมอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย บางอย่างก็ถือเอาเป็นแบบอย่าง ชุมชนโลกจึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน กล่าวคือสมาชิกของอีกชุมชนหนึ่งมีการเลียนแบบ (ลัทธิเอาอย่าง) จากสมาชิกอีกชุมชนหนึ่ง

          การเผยแผ่ศีลธรรมของศาสนาจารย์ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย เพราะพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ โดยอาศัยเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและเป็นที่รู้จักทั่วไปอยู่แล้ว มาเป็นตัวอย่างผู้ฟังจึงเข้าใจได้ง่ายๆ เช่น เรื่องนายบิลลาดินสั่งการพลีชีพตึกเวิร์ลเทรดโดยเครื่องบินโดยสารสหรัฐ เป็นต้น เป็นตัวอย่างการสอนเรื่องกฎแห่งกรรมของพระพุทธศาสนาอย่างดีมาก กล่าวคือ ผลของการกระทำสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนโลกทุกชุมชน นั่นแสดงว่า การกระทำของคนๆ หนึ่งหรือหลายๆ คน ย่อมมีผลต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ตลอดจนชุมชนของผู้ถูกกระทำด้วย นั่นหมายความว่า ชาวโลกกลัวตายเพราะบิลลาดินไปหมด หรือนักการเมืองคอรัปชั่นในรัฐสภา (คอรัปชั่นทางนโยบาย) มีผลทำให้ประชาชนผู้ลงเสียงเสียผลประโยชน์ เป็นต้น นี้เป็นหลักของกรรมตามคำสอนของพุทธศาสนา

          การที่จะเผยแผ่ศีลธรรมอย่างได้ผลนั้น ผู้ฟังจะต้องมีศรัทธาคือมีความเชื่อถือผู้เผยแผ่เสียก่อน กล่าวคือ ถึงแม้ว่าหลักศีลธรรมจะดีอย่างไร ถ้าผู้ฟังไม่มีความเชื่อแล้วก็จะไม่เป็นเหตุให้นำไปปฏิบัติ (ปัจจัยที่ทำให้ไม่เชื่ออาจเกิดสาเหตุที่ผู้ฟังไม่สามารถไตร่ตรองตามคำอธิบายจนเข้าใจแจ่มแจ้งก็ได้ กล่าวคือผู้ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่เข้าใจเพราะไม่ฟัง ที่ไม่ฟังเพราะผู้ฟังประเมินผู้พูดว่าไม่น่าเชื่อถือ เป็นต้น) เมื่อไม่ปฏิบัติก็จะไม่เกิดผลใดๆ โอกาสที่ผู้ฟังจะเชื่อก็ยิ่งไม่เกิดขึ้นได้ เพราะจะใช้เหตุผลว่า ฟังแล้ว รู้แล้วก็ไม่เห็นเกิดผลอะไร

 

บทบาทที่พระสงฆ์ควรทำในการเผยแผ่ศีลธรรมแก่เยาวชนปัจจุบัน

พระสงฆ์ยุคปัจจุบัน เป็นตัวแทนของความเชื่อด้านศาสนศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความเชื่อแบบเบ็ดเสร็จตายตัว ไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงทั้งหมดแต่เต็มไปด้วยเหตุผลและไม่ต้องการ “การพิสูจน์” แต่ในปัจจุบันความเชื่อที่เป็นข้อเท็จจริงอาจจะอธิบายด้วยเหตุผลได้ไม่ตลอดแต่สามารถพิสูจน์ได้ นั่นคือความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นความเชื่อที่ได้รับการยอมรับจากเยาวชนมากกว่าด้านศาสนศาสตร์ที่มองชีวิตเป็นแค่สสาร ไม่ให้ความสำคัญแก่จิตใจเหมือนด้านศาสนศาสตร์

ปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดกับเยาวชนหรือวัยผู้ใหญ่ ล้วนแล้วแต่ต้องลดความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์ลงแล้วสร้างเสริมความเชื่อด้านศาสนศาสตร์ให้มากขึ้นทั้งสิ้น เยาวชนที่ขาดความเชื่อด้านศาสนศาสตร์ดังกล่าวจึงมีวิถีชีวิตที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น แต่กลับมีวิถีชีวิตที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น (สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและสังคม)

การที่จะทำให้เยาวชนเข้าใจด้านศาสนศาสตร์ โดยเฉพาะเข้าใจพุทธศาสตร์ กล่าวคือมีความเห็นถูกต้อง ความคิดถูกต้อง การพูดถูกต้อง การประกอบการงานถูกต้อง เลี้ยงชีพถูกต้อง มีความเพียรถูกต้อง มีสติถูกต้อง และมีสมาธิถูกต้องได้นั้น ต้องอาศัยระยะเวลาเรียนรู้ชีวิตและสังคม กล่าวคือเรียนรู้โทษ ภัย ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ด้วยตนเองให้มากเสียก่อน แล้วประสบการณ์จะสอนให้เขาเข้าใจชีวิตจนแยกแยะออกได้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรอย่างไร การได้รับคำบอกหรือการรับการเผยแผ่ด้านศีลธรรมจากผู้สอน ก็เป็นแต่เพียงสร้างโอกาสให้เขาได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อย่นระยะเวลาการเรียนรู้ของเขาเท่านั้น

ฉะนั้น การตอบปัญหาว่า ควรเผยแผ่ศีลธรรมอย่างไรกับเยาวชน ก็น่าจะมีข้อสรุปว่า ควรทำให้เยาวชนได้เกิดประสบการณ์เพื่อเรียนรู้ปริบทชีวิตและสิ่งรอบตัว สภาพปัญหาต่างๆ เช่น

๑.      ชีวิตคืออะไร

๒.     ชีวิตเป็นอย่างไร

๓.     ชีวิตเป็นไปอย่างไร

๔.     ชีวิตควรเป็นอย่างไร

๕.     ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ? เป็นต้น

เป็นการแนะแนวชีวิตให้กับผู้ฟังเพื่อให้เขาได้ข้อมูลมากกว่าที่เป็นอยู่เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของเขามากกว่าการที่จะไปบังคับให้เขาเห็นด้วย หรือเชื่ออย่างที่เราเชื่อ มีวิถีชีวิตอย่างที่เราเป็นอยู่

 

จำเป็นหรือไม่ที่พระวิทยากรต้องสร้างเครือข่ายในการอบรม

          การแนะแนวชีวิตให้กับผู้สมควรได้รับการแนะแนว แนะนำ มีความจำเป็นเสมอ แต่เมื่อผู้แนะแนวได้ทำหน้าที่ และผู้รับการแนะแนวได้รับการแนะแนวแล้วเขาจะปฏิบัติต่อชีวิตของเขาอย่างไรนั้นก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง

การแนะแนว สำคัญอยู่ที่ผู้แนะแนวว่า มีความเข้าใจสิ่งที่จะแนะแนวคนอื่นมากน้อยอย่างไร และนอกจากนั้น บุคคลที่สมควรแนะแนวย่อมมีอยู่มากโดยเฉพาะเยาวชนที่ไม่พึงประสงค์ของบิดามารดา กล่าวคือผู้ที่อยู่ในเครือข่ายในการเสริมสร้างความเชื่อด้านศาสนศาสตร์นั้นมีอยู่มาก ฉะนั้นการสร้างเครือข่ายของผู้แนะแนวไม่ว่าจะด้วยการจัดตั้งหรือด้วยวิธีใดก็ตามที่จะให้มีผู้แนะแนวที่มีความรู้ ความสามารถ มีจำนวนปริมาณที่ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายที่บุคคลผู้สมควรรับการแนะแนวอยู่อาศัย จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง

 

จำเป็นหรือไม่ที่พระวิทยากรต้องใช้สื่อ/เทคโนโลยีในการอบรม

การอธิบายหรือการแนะแนววิถีชีวิต หรือการพูดเรื่องเหตุเรื่องผล เป็นเรื่องหนีไม่พ้นที่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องของนามธรรม โดยเฉพาะความเชื่อด้านศาสนศาสตร์เป็นเรื่องเหตุเรื่องผลส่วนใหญ่เป็นเรื่องนามธรรมทั้งสิ้น

การพูดถึงเรื่องนามธรรม ถ้าหากเราสามารถยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาให้ผู้ฟังตรองตามเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ เป็นเรื่องสมควรทำอย่างยิ่ง สื่ออุปกรณ์ในยุคสมัยที่เข้ากับสถานการณ์ จึงมีความจำเป็นต้องนำมาเป็นตัวอย่างของการอธิบายเพื่อผู้ฟังจะได้เข้าใจชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้พูดได้อย่างสะดวก เพราะการอธิบายด้วยภาพประกอบทำให้ผู้ฟังได้เข้าใจชัดเจน แจ่มแจ้งมากกว่าการฟังตัวอย่างผ่านประโยคคำพูด เท่านั้น

พระพุทธองค์ยังทรงใช้สื่ออธิบายทุกเรื่อง เพื่อให้สื่อที่เป็นตัวอย่างนั้นเป็นสะพานเชื่อมไปสู่ธรรมะของพระพุทธองค์

 

ความแตกต่างระหว่างค่ายพุทธธรรมแต่ละหลักสูตร

๑. หลักสูตร ๑ ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือค่ายยาเสพติด เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเข้ารับการอบรมตามกระบวนการของหลักสูตร ๑ นี้ มีข้อจำกัดครั้งและเวลา คือทุกคนจะเข้าซ้ำหลักสูตรนี้ไม่ได้ เพราะถ้าเคยผ่านหลักสูตร ๑ มาแล้ว เมื่อเข้าซ้ำอีกทีหนึ่งจะทำให้เบื่อต่อกระบวนการของการอบรม

             รูปแบบเป็นค่ายคัดกรองสภาพของผู้เข้ารับการอบรม ว่าเมื่อถูกประเมินโดยกระบวนการของค่ายแล้ว สภาพของผู้เข้ารับการอบรมแต่ละคนเป็นอย่างไร หรือโดยสถานะ ความประพฤติ จิตใจ นิสัย รสนิยม คุณธรรม คุณภาพชีวิต ฯลฯ ของเขาอยู่ในสภาพใด ระดับใด เป็นเรื่องของสังคมเท่านั้น

             กิจกรรมจะเน้นเรื่องศีล เช่น เรื่องความสามัคคี ความมีวินัย ใฝ่กตัญญู รู้คุณธรรม นำพัฒนาและกล้าแสดงออก หรือเรื่องศีลบุคคล และศีลของสังคม ทุกคนมีส่วนรับผิด รับชอบในความเป็นไปของสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ร่วมรับผิดชอบด้วยกัน

๒.  หลักสูตร ๒ ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนในสถานศึกษา หรือค่ายแกนนำนักเรียนฯ ซึ่งเฉพาะบุคคลที่มีบุคลิกภาพผู้นำและเคยผ่านหลักสูตร ๑ มาแล้วเท่านั้นที่สมควรได้รับโอกาสในการมาพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติม มีข้อจำกัดครั้งและเวลา คือหากยังไม่ถึง ๑ ปี ก็ยังไม่สมควรเข้าซ้ำเป็นครั้งที่ ๒

             รูปแบบเป็นค่ายคัดออก กรองบุคคลที่มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์มากที่สุด มีสติปัญญา ไหวพริบปฏิภาณฯลฯ มากที่สุดเท่านั้นไว้ เป็นเรื่องบุคคลและสังคม โดยมีน้ำหนักความสำคัญเท่ากัน

             กิจกรรมจะเน้นเรื่องธรรมะ ประเมินปรัชญาค่ายเรื่อง รู้คุณธรรม นำพัฒนา และกล้าแสดงออก โดยเป็นการฝึกให้เยาวชนมีความสามารถที่จะเป็นผู้นำจิตวิญญาณตนเองและสังคมไปสู่ความดีงามอันเป็นเป้าหมายของชีวิตและสังคมในที่สุด

๓.  หลักสูตร ๓ ค่ายพัฒนาจิตใจ หรือค่ายปฏิบัติธรรม ทุกคนที่ผ่านหลักสูตร ๑ มาแล้วจำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้ารับรับการพัฒนาจิตใจ ไม่จำกัดครั้งและระยะเวลา เข้าได้บ่อยเท่าไหร่ยิ่งดี เป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลใครทำคนนั้นก็ได้

             รูปแบบเป็นค่ายที่ทุกคนจะต้องสมาทานศีล ๘ (อาจจะสมาทานแค่ศีล ๕ ก็ได้) ทานน้อย นอนน้อย คุยน้อย จะใส่เนื้อหาวิชาการทางด้านธรรมะของพุทธศาสนา โดยเฉพาะแนวทางในการปฏิบัติและหลักของพระพุทธศาสนา โดยลงในรายละเอียดเท่าที่ผู้ปฏิบัติสามารถจะทำความเข้าใจได้

             กิจกรรมจะเน้นเรื่องภาวนา และสอบทานอารมณ์ของการปฏิบัติ การกำหนดลมหายใจ การกำหนดระยะการเดินจงกรม เพื่อฝึกสติ

๔. หลักสูตร ๔ ค่ายบูรณาการ หรือค่ายประยุกต์ สภาพของผู้รับการอบรมมีทั้งประเภทที่ผ่านค่าย ๑ ค่าย ๒ ค่าย ๓ มาแล้วบ้าง คละเคล้ากัน จึงเหมือนเป็นการทบทวนตั้งแต่หลักสูตร ๑ เช่น เรื่องความสามัคคี มีวินัย หลักสูตร ๒ เช่น เรื่องคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความกล้านำพัฒนา และกล้าแสดงออก และหลักสูตร ๓ เช่น ความเป็นผู้สงบนิ่ง การยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รู้จักสังเกต ใช้สติสัมปชัญญะเรียนรู้ประสบการณ์ของชีวิตในแต่ละวัน จะคิด พูด ทำ เห็น จำ คิด รู้แสดงออกอะไรเมื่อไหร่ เป็นเรื่องของเหตุผล ความเหมาะสมไม่เหมาะสม เป็นต้น

พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)

สวัสดีครับ

  • เมื่อวาน(๖ ธันวาคม ๒๕๕๓)ผมได้ถวายพระพรทางออนไลน์ที่เว็บ (9forking.com)อยู่ในลำดับที่ ๒,๑๗๗,๒๙๔ กำหนดลงนามได้อีกหนึ่งวันคือวันนี้(๗ธค.๒๕๕๓)เป็นวันสุดท้ายครับ
  • มีการ์ดรูปในหลวงให้เลือกมากมาย เลือกรูปแล้วสามารถปริ้นเอ๊าได้ด้วย ปริ้นสียิ่งงดงามมาก ผมลองปริ้นออกมา๑ภาพ
  • เน็ตผมอืดทำได้ครั้งเดียว จะลงนามถวายพระพรให้หลวงตาสักหน่อย ก็ทำไม่ได้เน็ตล่ม
  • สรุปงานค่ายได้เยี่ยมยอดเลยนะครับเนี่ย
  • เข้ามาเยี่ยมด้วยความคิดถึงนะครับ
ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

กราบนมัสการพระอธิการโชคชัย เป็นทางการก่อนน้อหลวงพี่

ศาลาวัดพรหมพิรามเสร็จไปแยอะแล้วเหมือนกันน้อหลวงพี่สวยมากเลย

อย่าลืมฝากน้ำลูกยอกับหน.โอไปให้ชิมบ้างนะครับ

แล้วหลวงพี่จะให้เขียนป้ายเมื่อยังไงก็บอกนะครับ.

จริญพรชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

  • ขอบพระคุณที่กรุณาเข้ามา ททท.  โยมน้าหมูสบายดีนะ..ทราบข่าวว่าเดินทางท่องเที่ยวไทยน่าดูเลย
  • มีโอกาสจะนำ น้ำลูกยอไปฝากถึงบ้านปากรองเลยครับ
  • ส่วนงานเขียนป้ายนั้นต้องขอให้โยมน้าหมูช่วยเขียนให้  จะนำมาติดตั้งที่วัดศรีโสภณ  วังทอง ซึ้งอาตมาและชาวบ้านปลูกต้นสนอโศกอินเดีย ไว้  ... เอาเป็นว่าเป็นป้ายไม้ใหญ่หน่อยนะครับ 
  • “โครงการปลูกกล้าไม้ ๑ ล้านต้น ถวายพ่อ... ลดภาวะโลกร้อน” เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ (วันอาสาฬหบูชา) โดย พระสงฆ์และชาวบ้านวัดศรีโสภณ
  • นำรูปมาฝากด้วย
  • ถ่ายทำเมื่องานบุญออกพรรษาวัดปากรอง วันที่ 26 ต.ค. 53 โดยพระอธิการโชคชัย

ขอกราบนมัสการอย่างเป็นทางการครับผม

ในนามของนักสร้างสรรค์สังคม คนรุ่นใหม่คนหนึ่งที่เดินสวนกระแสทางความคิด อยากกล่าวคำว่ายินดีที่ได้รู้จักอีกครั้งบนดินแดนแห่งจิตสำนักรักบ้านเกิดครับ ผมดีใจมากที่มีบอร์ดดีๆอย่างนี้ ผมรู้สึกมีเพื่อนและมีกำลังใจจะสร้างสรรค์สิ่งดีแก่สังคมต่อ

เจริญพร คุณไม้แปลกป่า

อนุโมทนา ขอบคุณที่เข้ามาให้กำลังใจ และเราต้องสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ สำนึกรักท้องถิ่นร่วมกันได้แน่นอนเลยครับ...เจริญพร

ที่มาภาพ: จาก นสพ.เดลินิวส์ วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

-กราบนมัสการหลวงพี่ครับ

-happy new year

-ขอให้สุขสมหวังตลอดปีและตลอดไปคิดสิ่งใดขอให้สมปราถนาทุกประการครับ.

-ตอนนี้ผมยังททท.อยู่เลยครับเมื่อคืนเคาน์ดาวน์ที่จ.ตราดเด๋วกลับ

เพราะว่าที่หมู่บ้านจะเลือกผญบ.ใหม่ถ้ามีโอกาสได้เป็นผช.ผญบ.ผมขอนิมนต์หลวงพี่มาให้ความรู้ชาวบ้าน

และผมจะพัฒนาหมู่บ้านของผมให้เจริญกว่าที่เป็นอยู่ให้ชาวบ้านมีอยู่มีกินยึดแนวพระราชดำริเศรฐกิจพอเพียง

-งานป้ายเดี๋ยวผมเขียนให้ครับ.

ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

-คนเสื้อขาวโคตระเทห์มากๆๆๆเลยหลวงพี่ใครครับรู้จักป่าวครับ55555555555555555555555555555555555555อย่าถือสานะครับหลวงพี่แต่เขาเทห์มากขอบอก

-ฝากความคิดถึงพระน้อยและหลวงพี่ทั้งหมดเลยนะครับ

-ฝากอวยพร ปลัดเล็ก และ รุจน์ด้วยครับ คิดถึงทุกคนด้วยครับ

-ปล.ก่อนนะครับ

เจริญพร: ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ และญาติโยมทุกๆท่าน

ลูกแก้ว: ขอสวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ ครับ รวยเงิน รวยทอง รวยสุขภาพ...ทุกๆท่านเทอญ. 

ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

นมัสการครับ

ขอบพระคุณมากครับหลวงพี่ที่อวยพรให้สาธุ...

ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

นมัสการหลวงพี่ครับ

วันเด็กไปแจกของเด็กที่ไหนหรือป่าวครับ

ผมเป็นคนรักเด็กนะครับ

ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

หลวงพี่เลี้ยงบอนไซอยากไหมครับ

ดินที่ใช่ปลูกแล้วก็ปุ๋ยใช้สูตรไหนยังไงครับ.

เจริญพร ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

การปลูกเลี้ยงบอนไซ/ไม้แคระ ไม่อยากหรอกครับ ส่วนรายละเอียดขอไปพูดคุยแลกเปลี่ยนที่บล็อก  กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ สวนป่า ป่าไม้ ธรรมชาติและธรรมะ

และอาตมาขออนุญาต ย้ายความเห็นที่อยู่ในบล็อกนี้ไปด้วย....เจริญพร.

งานปิดทองฝังลูกนิมิตร :

ณ. วัดสวนร่มบารมี ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ระหว่างวันที่ 10-18 มีนาคม พ.ศ. 2554 / งานปริวาสกรรมประจำปี 2554

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 13 มีนาคม เวลา 19.30 น. ได้มีโอกาสนำญาติโยมพรหมพิราม หมู่2 ไปร่วมทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิตร ณ.วัดสวนร่มบารมี พร้อมทั้งชักชวนโยมแม่บ้านทำนํ้าปานะไปถวายพระด้วย(นํ้าใบเตยสด) รสชาติหอมอร่อย แก้กระหายนํ้าได้ดี ทำให้พระคุณเจ้าที่มาช่วยงานโฆษก/ประชาสัมพันธ์ บอกบุญกับศาสนิกชน หายเหนื่อย งานนี้ได้บุญกันทั้งผู้รับและผู้ให้ไปเลย

บรรยากาศงานจัดตกแต่งด้วยผ้าหลากสี สวยสดใส  ประดับด้วยไม้ดอกหลากหลายสายพันธ์ สะอาด ร่มรื่น เป็นสถานที่อารามโมจริงๆ ประดับด้วยไฟ แสง สี เสียง ดูแล้วสวยงามตระการตา นานๆครั้งที่ได้เห็นบรรยากาศแบบนี้

เดิมที่แล้วอาตมาเมื่อสมัยบวชเป็นพระภิกษุใหม่ๆ ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ เป็นเวลา 6 ปี หรือว่าเป็นวัดต้นสังกัดเดิม ก่อนที่จะขออนุญาตหลวงพ่อเล็กไปศึกษาต่อที่ ม.นเรศวร และมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพรหมพิราม หมู่ 2 

ขณะนี้วัดสวนร่มบารมี ยังมีงานปริวาสกรรมต่ออีก 9 วัน เชิญชวนสาธุชน ไปร่วมบุญและปฏิบัติธรรมกันมากๆ นะครับคุณโยม มีโอาสคราวหน้าจะนำกิจกรรม/งานบุญ ของวัดสวนร่มบารมีมาฝากอีก สุดท้ายมีภาพงานปิดทองฝังลูกนิมิตรมาฝากให้ชมเป็นขวัญตา เสมือนสวรรค์บนดินเลยเชียว...

พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมหาโกศล ครูบาอาจารย์มาร่วมงานเป็นประธานปลุกเสก อธิษฐานจิต และปิดทองลูกนิมิตร 

ภาพด้านหน้าของโบสถ์วัดสวนร่มบารมี บรรยากาศครึมฟ้า ครึมฝน และฝนตกติดต่อกัน 3วัน 3 คืน

ภาพถนนทางเข้าสู่บริเวณงานปิดทองฝังลูกนิมิตร ณ. วัดสวนร่มบารมี 

ญาติโยม สาธุชนที่มาเที่ยวงาน "บุญพาท่านมา...กุศลตามท่านไป"

ขออนุโมทนาบุญ กับญาติโยมทุกคนทุกท่านเทอญ...สาธุ.

เรียนท่านพระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร

ไม่ทราบว่าหายเหนื่อยแล้วหรือยังครับ 

พอเสร็จงานพิธีปิดทองฝังลูกนิมิตรแล้วต่อด้วยงานปริวาสกรรมอีก ขออนุโมทนาในการสร้างบุญ สร้างบารมีด้วย ผมได้นำรูปภาพงานปิดทองฝังลูกนิมิตรมาลงไว้ในบล็อกสำนึกรักท้องถิ่น ของกระผมแต่ไม่ได้ขออนุญาตก่อน รูปภาพได้จากกล้องพระมหายอด ท่านเจี๊ยบนำมาฝากไว้ จึงขอโอกาสนี้ขออนุญาตไว้ด้วย

วันที่ไปเที่ยวงานปิดทองฝังลูกนิมิตร และได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กับพระอาจารย์ ร่วมทั้ง พระอาจารย์ตุ๋ย ท่านเพชร ท่านเจษ อาจารย์อั๋น และอีกหลาย ๆ ท่าน เรียกว่าเกือบหมดวัดเลย (พระรุ่นเก่า) กระผมรู้สึกอบอุ่นใจ ดีใจมาก ที่นาน ๆ เจอกันที นึกถึงบรรยากาศเก่า ๆ จนไม่รู้จะบรรยายอย่างไร เพียงแค่เก็บเอาไว้ในใจกับความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน เพราะมีคำพูดที่ว่า "เป็นพี่น้องต้องรักกัน" 

ขอบพระคุณพระอาจารย์มากที่ให้กำลังใจ แนวคิด แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการวัด กระผมจะพยายามทำให้ดีที่สุดครับ.

พระสมบัติ เขมวีโร

ไม่มีคำไหนที่จะชมได้กว่า คำว่า  "ยอดเยี่ยม"

กราบขอบพระคุณพระอาจารย์สมบัติที่กรุณาเข้ามาให้กำลังใจ วันที่ 21 เมษายน 2554 นี้ผมจะไปเข้าร่วมประชุมเรื่องการทำระบบบัญชีวัด  ที่วัดสวนร่มด้วย มีโอกาสคงจะได้สนทนาแลกเปลี่ยนกันน่ะครับ  นมัสการ...

พระสมบัติ เขมวีโร

ให้เอารูปกิจกรรมลงเยอะๆๆ ก็ดีนะครับ จะได้เห็นาภาพที่ทำกิจกรรมได้อย่างชัดเจน เวิกร์มากกกกกก

 

Ico48
พระสมบัติ เขมวีโร [IP: 223.205.143.185] 
23 เมษายน 2554 19:44 
#2420975

 

เรียนท่านพระอาจารย์มหาสมบัต เขมวีโร (ว่าที่พระมหา)

เรื่องรูปกิจกรรม/งานชุมชน สงสัยต้องขอรบกวนท่านช่วยกรุณานำมาลงในลบ็อกนี้บ้างก็จะดีน่ะครับ กระผมจะรอติดตามชมครับ...

ความคืบหน้าและการพัฒนาชุมชน: สร้างศาลาการเปรียญ วัดพรหมพิราม

อธิบายภาพ: ช่างกำลังมุงหลังคาศาลาการเปรียญวัดพรหมพิราม เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยการนำของช่างม่อม คนสะพานหิน และคนงานอีก 10 คน ซึ่งความสูงมีความอันตรายมาก...

 

อธิบายภาพ: การมุงกระเบื้องหลังคา ศาลาวัดพรหมพิราม สำเร็จลงในปี พ.ศ. 2553 ด้วยแรงศรัทธาจากญาติโยม ที่ร่วมแรง ร่วมใจกัน โดยการนำของ พระอธิการโชคชัย ชยวุฑฺโฒ เจ้าอาวาสวัดพรหมพิราม , นายเฉลียว นาคคงคำ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลพรหมพิราม  และคณะกรรมการ ถ่ายภาพโดย พระอธิการโชคชัย ชยวุฑฺโฒ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554


 

นมัสการครับ วัดสวยนะครับ นี้ตอนยังไม่เสร็จนะ ถ้าเสร็จแล้วจะสวยขนาดไหน คงดีนะครับถ้าจุดประสงค์นำทางของการสร้างวัดจะเป็นตัวแทนของก้าวย่างแห่งพระพุทธศาสนาและความสามัคคีของชาวเรา มิใช่แค่สิ่งตั้งตระหงานรอวันเป็นแค่ตัวแทนความสำเร็จ ทุกวันนี้ชาวเราเป็นพุทธพานิชย์ก็เยอะพุทธเพื่อเบ่ง พุทธเพื่ออวดก็เยอะแต่พุทธเพราะธรรมศรัทธาน้อยมากเหมือนเมล็ดแต่งโมในเนื้อของแตงโม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท