การประเมินคุณภาพแหล่งน้ำจืดด้วยวิธีทางชีวภาพในประเทศไทย


                ปัญหา มลพิษทางน้ำในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาหลักประการหนึ่งของปัญหาเรื่องน้ำ นอกเหนือจากปัญหาน้ำไม่เพียงพอและปัญหาน้ำท่วม กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำของปี พ.. 2547 โดยการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแม่น้ำที่สำคัญ 48 สายทั่วประเทศ ว่าร้อยละ 51 ถูกจัดจำแนกอยู่ในคุณภาพปานกลาง และคุณภาพน้ำระดับดีลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องทุกปี (กรมควบคุมมลพิษ, 2548) การ ติดตามคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินของทางราชการไทยใช้วิธีวิเคราะห์ทางเคมีเป็น หลัก วิธีทางชีวภาพที่ใช้ร่วมด้วย ก็คือ การวิเคราะห์แบคทีเรียจำนวนโคลิฟอร์มทั้งหมดและจำนวนฟิคอลโคลิฟอร์ม เนื่องจากคุณภาพน้ำที่เสื่อมลงมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น จึงมีหน่วยงานที่ไม่ใช่ราชการ เช่น วัด เอกชน และ เอ็น จี โอ (NGO) พยายาม ช่วยรักษาคุณภาพน้ำด้วยวิธีการหลากหลายแบบ เช่น การบวชป่าในภาคเหนือเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำ การทำวังปลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรักเมืองน่าน จังหวัดน่าน ซึ่งนอกจากเป็นเขตอภัยทาน และอนุรักษ์พันธุ์ปลาแล้ว ยังเป็นวิธีการติดตามคุณภาพน้ำทางชีวภาพอีกวิธีหนึ่งด้วย เพราะถ้าน้ำมีคุณภาพที่เสื่อมมากจนปลาทนไม่ได้ก็จะมีปลาตายหรือแสดงอาการ โผล่ขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำบ่อยครั้งขึ้น เพราะออกซิเจนในน้ำลดต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการหายใจของปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ แนวคิดนี้ได้รับการขานรับและมีการดำเนินการในหลายวัดและชุมชนบางแห่งที่อยู่ ติดลำน้ำ ในปี พ.. 2539 มูลนิธิโลกสีเขียว ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้แนะนำแผ่นพับสัตว์เล็กน้ำจืดโดยแปลและดัดแปลงจาก Orton et al. (1995) สำหรับใช้จัดจำแนกคุณภาพน้ำ ซึ่งเป็นระบบค่าคะแนนของ BMWP และช่วงคะแนนสำหรับการบ่งชี้คุณภาพน้ำได้จากงานวิจัยของ Steave Mustow ซึ่งได้ทำวิจัยในแม่น้ำปิงตอนบน และในการพิมพ์ครั้งที่สอง มีการเพิ่มสัตว์มากชนิดขึ้นและเป็นสัตว์ที่พบในประเทศไทย (สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ และสตีเฟน ทิลลิง, 2543) แผ่น พับนี้ได้จุดประกายทำให้สถานศึกษาและสาธารณชนในประเทศไทยสนใจเรื่องการจำแนก คุณภาพน้ำทางชีวภาพ ในเวลาต่อมาภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและการ พัฒนาประเทศเดนมาร์ก (Dannish Co-operation for Environment and Development-DANCED) มูลนิธิโลกสีเขียวได้ริเริ่มโครงการนักสืบสายน้ำ ดำเนินโครงการกับโรงเรียนมัธยมศึกษา 58 โรงในภาคเหนือ และได้ผลิตชุดคู่มือนักสืบสายน้ำ สำหรับเป็นเครื่องมือสำรวจและดูแลลำน้ำ (สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์, 2542) โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กระบวนการของโครงการนักสืบสายน้ำดัดแปลงจาก Blue river ของ ประเทศเดนมาร์ก โครงการนี้ได้กระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน เอ็น จี โอ รวมทั้งประชาชนทั่วไปสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในการติดตามคุณภาพแหล่งน้ำ อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ สิ่งมีชีวิตหลักที่สำรวจในกิจกรรมนี้ คือ ตัวอ่อนแมลงน้ำ กระบวนการนักสืบสายน้ำเป็นกิจกรรมที่หลายโรงเรียนและหลายหน่วยงานยังคง ดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน
                Sangpradub et al. (1996) ได้ ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสัน หลังหน้าดินในลุ่มน้ำพอง ด้วยการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีและกายภาพของน้ำ และศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินตลอดลำน้ำ พอง ตั้งแต่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย จนถึงฝายคุยเชือก จังหวัดมหาสารคาม พบว่ามีความสัมพันธ์กันมาก บริเวณที่น้ำมีคุณภาพดีมีจำนวนชนิดของสัตว์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอ่อนแมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลายและแมลงหนอนปลอกน้ำ สัตว์เหล่านี้มีจำนวนชนิดและจำนวนตัวลดน้อยลงในสถานีที่น้ำมีคุณภาพเสื่อมลง และในบริเวณสถานีที่น้ำมีคุณภาพเสื่อมมากเนื่องจากการปนเปื้อนของมลพิษไม่พบ ตัวอ่อนแมลงกลุ่มนี้เลย  แต่พบตัวอ่อนริ้นน้ำจืด (หนอนแดง วงศ์ Chironomidae) และ ไส้เดือนน้ำจืดซึ่งจัดเป็นกลุ่มสัตว์ที่ทนต่อมลพิษ จากผลการศึกษาได้เสนอการจัดจำแนกคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางชีวภาพสำหรับแม่น้ำพอง โดยระบบค่าคะแนน (เรียกว่า ค่าคะแนนน้ำพอง) และการพิจารณาโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน (เรียกว่า ดัชนี Q) (นฤมล แสงประดับ และคณะ, 2541) ซึ่งต่อมาได้ดัดแปลงดัชนี Q ให้เหมาะสมกับการเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำโดยชุมชนท้องถิ่น และได้ผลิตคู่มือ ชื่อ นาฬิกาสัตว์หน้าดิน (นฤมล แสงประดับ, 2542) ซึ่งมีการนำไปใช้โดยกลุ่มอาสาสมัครสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำพอง และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้งานวิจัยของนักวิจัยท่านอื่นๆ พบว่า ตัวอ่อนแมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลาย และแมลงหนอนปลอกน้ำ เป็นกลุ่มที่ไวต่อมลพิษหรือการถูกรบกวนจากการถางป่า กิจกรรมการเกษตร หรือ กิจกรรมเลี้ยงปลาในกะชัง (Sangpradub et al., 1996; จันดา วงษ์สมบัติ, 2541; บุญเสฐียร บุญสูง และนฤมล แสงประดับ, 2543; บุญเสฐียร บุญสูง และคณะ, 2544; จันทิดา ศรีจันทร์, 2548; Chaibu, 2000; Laudee, 2002; Cheunbarn, 2002 เป็นต้น)  และขณะนี้กำลังมีงานวิจัยเพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการประเมินทางชีวภาพแบบเร็วในประเทศไทย มีการศึกษาในภาคเหนือ (ดร.พรทิพย์ จันทรมงคล และนายสมยศ ศิลาล้อม) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Boonsoong et al., 2005)  สำหรับ ภาคประชาชน ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลำน้ำพองที่ไหลผ่านจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นบริเวณ ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางน้ำบ่อยครั้งมาก ได้จัดตั้งกลุ่มชมรมชาวบ้านอนุรักษ์ลำน้ำพอง และกลุ่มอาสาสมัครสิ่งแวดล้อมสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นขึ้น งานวิจัยนำร่องการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการสิ่งแวดล้อมโดย ดำเนินโครงการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคประชาชนในปี พ..2542-2544 พบ ว่า หลังจากการฝึกอบรมขั้นตอนและวิธีการใช้เครื่องมือตรวดวัดคุณภาพน้ำในภาคสนาม และการฦึกอบรมการตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบคร่าวๆด้วยวิธีทางชีวภาพโดยใช้แมลงน้ำ เป็นหลัก อาสาสมัครฯ สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำได้เองทุกเดือน และต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชนขึ้น เป็นศูนย์กลางการดำเนินการและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การจัดการสิ่งแวดล้อม ผลวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นว่า การดำเนินการของชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้ (ยรรยงค์ อินทร์ม่วง และคณะ, 2544; Inmuong et al., 2003)

                ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้ คณะกรรมาธิการลุ่มแม่น้ำโขง (The Mekong River Commission-MRC) ได้ สนับสนุนและริเริ่มงานวิจัยเพื่อหาวิธีการสำหรับการประเมินทาง ชีวภาพของลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างที่ไหลผ่านประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม (Campbell et al., 2005) โดยการวิจัยเพื่อหาศักยภาพและทดสอบตัวบ่งชี้สัตว์หน้าดิน แพลงก์ตอน สาหร่าย (Peerapornpisal and Kunpradid, 2005) และกระบวนการของระบบนิเวศ (Parnrong, 2005) ซึ่ง ในเบื้องต้นพบว่า กระบวนการของระบบนิเวศไม่เหมาะสม ผลการวิจัยสรุปเช่นไรยังไม่ทราบแน่ชัด เมื่อได้ผลสรุปแล้วคาดว่าจะมีการนำมาเผยแพร่ในประเทศสมาชิกต่อไ

 

เอกสารอ้างอิง

 

 

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  2548.  สรุปสถานการณ์มลพิษของ  ประเทศไทย.. 2547.

 

กรรณิการ์ ศิริสินธุวนิช.  2544.  ความหลากชนิด และอาหารของแมลงหนอนปลอกน้ำวงศ์ Calamoceratidae ในลำห้วยพรมแล้ง และลำห้วยหญ้าเครือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว.  โครงงานวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 

จันดา วงษ์สมบัติ.   2541.  ผลกระทบจากการถางป่าริมฝั่งลำธารต่อโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในแหล่งน้ำจืด.  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

จันทิดา ศรีจันทร์.  2548.  ผลกระทบจากกิจกรรมการเกษตรต่อโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธารลุ่มน้ำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ.  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

นฤมล แสงประดับ.  2526.  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นอาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.  เอกสารประกอบการประชุมไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.  มกราคม 2526.

 

 

นฤมล แสงประดับ และวิโรจน์ หนักแน่น.  2541.  การศึกษาเบื้องต้นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำห้วยหญ้าเครือและลำห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว.   วารสารวิจัย มข. 3(1): 1- 15.

 

นฤมล แสงประดับ, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, ชุติมาหาญจวณิช และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง.  2541. ดัชนีชีวภาพสำหรับการจัดจำแนกคุณภาพน้ำทางชีววิทยาในลุ่มน้ำพองด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หน้าดิน.  วารสารวิทยาศาสตร์ มข.  26(4): 289-304.

 

นฤมล แสงประดับ. 2542.  นาฬิกาสัตว์หน้าดินทางเลือกของการดูแลเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำโดยชุมชมท้องถิ่น.  วารสารวิทยาศาสตร์ มข.  27(4): 279-287.

นฤมล แสงประดับ, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, ชุติมาหาญจวณิช, อาษา อาษาไชย และ ประยุทธิ์ อุดรพิมาย. 2542. การศึกษาการกระจายตัวอ่อนของตัวอ่อนแมลงกลุ่ม Ephemeroptera, Plecoptera และ  Trichoptera (EPT) ในลำธารต้นน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.  รายงายวิจัยเสนอโครงการ  BRT (BRT 141006).

 

นฤมล แสงประดับ, ชุติมาหาญจวณิช, สุพัตรา ปานรงค์, ประสาท เนืองเฉลิม, วิไลลักษณ์ ไชยปะ, อลงกรณ์ ผาผง, บุญเสฐียร บุญสูง และศิริพร แซ่เฮง,  2544.  การศึกษาแมลงน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ใน: รายงานการวิจัยโครงการ BRT 2544. วิสุทธิ์ ใบไม้ และ  รังสิมา ตัณฑเลขา (บรรณาธิการ). หน้า 107-115. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์  กรุงเทพฯ.

 

นิศารัตน์ คล้ายทอง.  2543. ชีววิทยาของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำชนิด Stenopsychesiamensis (Insecta: Trichoptera). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

บุญเสฐียร บุญสูง, ศิริพร แซ่เฮง, ประยุทธิ์ อุดรพิมาย และวงศ์วิวรรธ ธนูศิลป์.  2544 ความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธารห้วยเขย่งและห้วยทีม อำเภดทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี.  รายงานวิจัยโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากร ชีวภาพในประเทศไทย.

 

 

บุญเสฐียร บุญสูง. 2544. ความหลากชนิดของแมลงชีปะขาววงศ์ Heptageniidae ในลำธารห้วยหญ้า เครือและห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีว วิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเสฐียร บุญสูง และ นฤมล แสงประดับ. 2543. ผลของการเลี้ยงปลาในกระชังต่อชุมชนสัตว์ไม่มี กระดูกสันหลังหน้าดินในลำน้ำชี. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 30(4): 228-240.

ประทุม ฉายเสมแสง. 2546. ความหลากชนิดของแมลงสโตนฟลาย (Plecoptera) ในลำธารห้วยหย้า เครือและห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีว วิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประสาท เนืองเฉลิม. 2544. ความหลากชนิดของแมลงหนอนปลอกน้ำวงศ์ Leptoceridae ในลำธาร ห้วยหญ้าเครือและห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพบูรณ์ เกตวงษา. 2544. ความหลากชนิดของแมลงชีปะขาวในลำธารสามสาย อุทยานแห่งชาติ ภูพาน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, นฤมล แสงประดับ และบัญชร แก้วส่อง. 2544. ระบบเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพในระดับชุมชนใกล้แม่น้ำพอง. วารสารเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุข ภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2(1) : 75-84.

วิไลลักษณ์ เครือเนตร, นฤมล แสงประดับ และ ชุติมา หาญจวณิช. 2547. ความหลากชนิดของแมลง หนอนปลอกน้ำวงศ์ Philopotamidae .ในห้วยหญ้าเครือและห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำ หนาว. วารสารวิทยาเขตหนองคาย 1: 9-18.

ศิริพร แซ่เฮง. 2540. ความหลากชนิดของมวนน้ำจืดในลำห้วยหญ้าเครือและห้วยพรมแล้ง อุทยาน แห่งชาติน้ำหนาว. โครงงานวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพร แซ่เฮง. 2545. การเปรียบเทียบความหลากชนิดของมวนน้ำจืดในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศุภลักษณ์ ระดมสุข. 2542.. ความหลากชนิดของแมลงหนอนปลอกน้ำวงศ์ Hydropsychidae บริเวณห้วยพรมแล้งและห้วยหญ้าเครือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศุภลักษณ์ สาวิภาค และ นฤมล แสงประดับ. 2548. การเชื่อมโยงตัวอ่อนแมลงชีปะขาวอันดับย่อย Baetidae, Caenidae และ Ephemeroidae ในลำธารห้วยหญ้าเครือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. ใน: บทคัดย่อโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ 2548. วิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา (บรรณาธิการ) หน้า 56. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ กรุงเทพฯ.

สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ (บรรณาธิการ). 2542. ชุดคู่มือนักสืบสายน้ำ. บริษัทแปลนพริ้นท์ติ้ง จำกัด. กรุงเทพฯ.

สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ และ สตีเฟน ทิลลิง. 2543. คู่มือการจำแนกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในบึง และลำธารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 มูลนิธิโลกสีเขียว. กรุงเทพฯ

สุมาลี สีนอเนตร. 2547. การสลายเศษซากใบไม้ในลำธารต้นน้ำของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อภิรดา พายัพวัฒนวงษ์. 2544. แมลงหนอนปลอกน้ำบางวงศ์ในอันดับย่อย Annulipalpia ในลำห้วย พรมแล้ง และลำห้วยหญ้าเครือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. โครงงานวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อลงกรณ์ ผาผง. 2544. ความหลากชนิดของแมลงชีปะขาววงศ์ Leptophlebiidae ในลำธารห้วยหญ้า เครือและห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีว วิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Boonsoong, B., Sangpradub, N. and Barbour, M.T. 2005. Preliminary study on rapid bioassessment with benthic macroinvertebrates in the head-water streams of the Loei River and adjacent catchments, Thailand. Abstract. 2005 Joint Assembly AGU NABS SEG SPD/AAS, New Orleans LA, 23-27 May 2005. P.256.

Campbell, I.C. , Resh, V.H. and Chessman, B. 2005. Assessing Ecological Health of large tropical rivers in developing regions: a case study from the Mekong. Abstract 2005 Joint Assembly AGU NABS SEG SPD/AAS, New Orieans LA, 23-27 May 2005. P.278.

Chaibu, P. 2000. Potential use of trichoptera as water pollution biomonitoring in Ping River Chiang Mai. Ph.D. thesis, Chiang Mai University.

Cheunbarn, S. 2002. Environmental monitoring along the watershed classes of upper Ping Watershed by the trichoptera community. Ph.D. thesis, Chiang Mai University.

Inmuong, Y., Sangpradub, N. and Tanusilp, V. 2003. Community-Based Actions on sustainable environmental management: Kudnamsai Water-Quality Monitoring. Mahasarakham University Journal 22(2): 47-58.

Luadee, P. 2002. Biodiversity of some aquatic insects from Chiang Dao Watershed, Chiang Mai province for environmental bioassessment. Ph.D. thesis, Chiang Mai University.

Orton, R., Bebbington, A. and Bebbington, J. 1995. Freshwater invertebrates. Field Studies Council. Surrey.

Parnrong, S. 2005. Ecological Health Assessment for the Mekong basin: Primary productivity and phytoplankton composition. Abstract 2005 Joint Assembly AGU NABS SEG SPD/AAS, New Orieans LA, 23-27 May 2005. P.287.

Peerapornpisal, Y. and Kunpradid, T. 2005. Ecological health monitoring of the Mekong River by using benthic algae in 2003-2004. Abstract 2005 Joint Assembly AGU NABS SEG SPD/AAS, New Orieans LA, 23-27 May 2005. P.302.

Sangpradub, N., Hanjavanit, C. and Boonsoong, B. 2002. New Records of Heptageniid Mayflies Asionurus and Thalerophyrus (Ephemeroptera: Heptageniidae) from Northern Thailand. Science Asia 28: 407-409.

Sangpradub, N., Inmuong, Y., Hanjavanit, C. and Inmoung, U. 1996. A correlation study between freshwater benthic macroinvertebrate fauna and environmental quality factors in Nam Pong basin Thailand part I. A Research Report to the Thailand Research Fund.

หมายเลขบันทึก: 38351เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท