ลปรร. ตำบลต้นแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (3) จากสถาบันครอบครัว ... แม่และเด็ก ... สู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ


 

วันนี้ รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร ค่ะ อาจารย์มาบอกเล่าเรื่องการเตรียมสถาบันครอบครัว สู่ช่วงวัยสูงอายุ

เราอยู่ในยุคสังคมอะไร

เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มีประชากรในประเทศไทย 8 ล้านคน ปัจจุบันมี 63 ล้านกว่าคน เพิ่มขึ้น 8 เท่าตัว ปี 2553 ตัวเลขล่าสุดคือ 63.776 ล้านคน

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป รูปร่างปิรามิดในปัจจุบัน จำนวนผู้เกิดปีนี้ 7 แสนกว่าคน คนตายประมาณปีละ 4 แสนกว่าคน และคงเพิ่มมากขึ้น เพราะคนเข้าสู่ผู้สูงวัยมากขึ้น และปี 2573 ตัวเลขผู้สูงวัยจะมากกว่าปัจจุบัน และฐานข้างล่างก็จะเล็ก และตอนปี 2593 ตัวเลขจะน่ากลัวกว่า คือ บานข้างบนและเป็นรูปแจกัน พอเลื่อนไปอีก 20 ปี น่ากลัวมากคือ คนซึ่งอยู่ในวัยแรงงานจะตีบเล็ก ขณะที่ข้างบนจะใหญ่

ปัจจุบัน ตัวเลขของผู้ที่ให้การอุปการะ ... ผุ้สูงอายุ 1 คน มีผู้อยู่ในวัยแรงงานดูแล 5 คน แต่อีก 10 ปี ตัวเลขจะเป็น 3 คนดูแล และอีกพักหนึ่งมีแค่ 2 คน

ตอนนี้ ผู้สูงอายุยังถูกปล่อยอยู่ตามลำพังบ้าง เหตุผลของการที่ประชากรของเราเป็นแบบนี้ มีหลายสาเหตุ ... คนไทยมีลูกน้อยลง จากเมื่อ 40 ปีก่อน มี 6 คน มาเป็น 1.5 คน อายุคนยืนยาวขึ้น อนาคตจะมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ... ประเทศไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงวัย เพราะว่าตัวเลขเกิน 10% ... การวางแผน นโยบายต่างๆ ต้องเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมต้องเปลี่ยนไปเพื่อผู้สูงวัย ทั้งสถานที่ ป้าย สินค้า การพักใน รพ. บ้านต้องสวย อุปกรณ์แต่งบ้านจะนิยมมากขึ้น

ปี 2543 ช่วงปีนั้นมีประชากรเกิดเกินล้าน หมายความว่า ปี 2566-2586 จะมีประชากรเข้าสู่ผู้สูงวัยเป็นจำนวนสูงที่สุด คือ กลุ่มที่เกิดล้าน จะมีประมาณ 8 แสนคนเข้าสู่ผู้สูงวัย และจำนวนเกิดก็ลดลง

อีกตัวเลขที่น่าสนใจ

  • เมื่อคนมีอายุ 60 ปี ชายจะมีอายุต่อไปอีก 19 ปี หญิงจะมีต่อไป 22 ปี ตอนเกิดความต่างของหญิงชายประมาณ 5 ปี แต่พอทุกคนทั้งหญิงชายเข้าสู่ 60 ปี ผู้ชายอยู่ต่อได้น้อยกว่า เพราะฉะนั้น ตัวเลขที่เคยเป็น 5 ปีลดลง
  • พออายุ 70 ปี ก็มีการคาดประมาณต่อว่าอยู่ได้อีกเท่าไร ผู้ชายอีก 13 ปี หญิง 14 ปี ลงลงเรื่อยๆ
  • อายุ 80 ปี ผู้ชายอยู่ต่อได้อีก 8 ปี หญิง 8.6 ลดลง
  • พออายุ 90 ปี ชายอยู่ต่อได้อีก 5 ปี หญิง 4 ปี
  • พอ 100 ปี ชายอยู่ได้อีก 3 ปี ถ้าผู้หญิงต่อได้อีก 2.2
  • เป็นตัวเลขจากสถาบันประชากร พอตัวเลขสูงขึ้น ความแตกต่างหญิงชายไม่ต่างกัน

เมื่อคนอายุที่ 60 ปี จะอยู่ได้ถึง 80 ปี ลูกเราจะอายุเท่าไร แข็งแรงดูแลเราได้หรือไม่ เพราะว่าเขาก็ใกล้ 60 เหมือนกัน

คุณภาพชีวิต

หมายถึง ผู้ที่สามารถอาบน้ำได้ แต่งตัวได้ รับประทานอาหารได้ ขับถ่าย เคลื่อนไหวได้ แต่คุณภาพชีวิตไม่ได้อยู่ตรงนี้เท่านั้น จะอยู่ที่คนอยู่รอบๆ ตัวเรา เขาอยู่ในฐานะอะไร และจิตใจที่เขามีต่อเราเป็นอย่างไร คุณภาพทางจิตใจ มีความสำคัญมากกว่า คุณภาพทางร่างกาย

การเตรียมความพร้อม ... รุ่นลูก

ปัจจุบัน เวลาเราสอนลูก ไม่มีอะไรที่จะเตรียมเด็กให้รู้ตัวว่า เวลาเขาอายุ 40 ปี เขาจะมีคนที่ให้เขาได้ดูแล 2 รุ่น คือ รุ่นพ่อแม่ กับรุ่นปู่ย่า สิ่งที่เราสอนเด็กในปัจจุบัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ได้เตรียมตัวให้เด็กได้รู้ว่าเขาต้องเข้มแข็งกว่าพ่อและแม่อีก เขาต้องเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ในการดูแลผู้สูงอายุ

ทักษะของผู้ที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเรายังหวังว่า ครอบครัวต้องดูแลกันอยู่ เด็กในปัจจุบันต้องได้รับการปลูกฝัง ต้องได้เห็นตัวอย่าง ได้เห็นสิ่งที่จะกระตุ้นในสังคมอย่างไร ที่จะให้เห็นว่า เขาจะต้องดูแลผุ้สูงอายุในบ้านได้ และมีหน่วยงานสนับสนุนให้สิทธิการดูแล ช่วยเหลือให้เขาทำได้

ปัจจุบันเราใช้คุณค่าอะไรในการสอนเด็ก ... ปัจจุบันทุกอย่าง value ของงานอยู่ที่เวลา อะไรที่เร็ว สะดวก คือ ดี เพราะฉะนั้น เรียนเร็ว รักเร็ว เปลี่ยนงานเร็ว และตัดสินใจเร็ว ยิ่งคนคิดแทนยิ่งดี ที่ปรึกษาคิด ยิ่งดี ... เราทำให้เด็กมีดาบที่คมพอที่จะทำให้ทำอะไรได้ชัดเจน ตัดสินใจอะไรได้ชัดเจนหรือไม่

เราต้องดูแลผู้สูงอายุทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความสัมพันธ์ มีความสำคัญมากในความเป็นมนุษย์ ผู้หญิงมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ได้หลายแบบ แต่ผู้ชายอาจยากหน่อย ผู้หญิงเราสร้างความสัมพันธ์ตามแนวราบ ขณะที่ผู้ชายพยายามที่จะขึ้นไปในแนวสูง พยายามมองว่ามีรถกี่คัน มีพี่กี่คน มีลูกน้องกี่คน มีตัวเลขเท่าในธนาคาร แต่ผู้หญิงจะมองดูว่า มีเพื่อนกี่คน มีคนที่คุยได้เท่าไร ทั้งในบ้าน ที่ทำงาน แม่ค้า เรามีความรู้สึกว่า เราคุยกับเขาได้ นั่นคือ คุณค่าชีวิตผู้หญิง และโตขึ้น ผู้หญิงก็จะเป็นย่า ยาย ใครต่อใครมากมาย

ความสัมพันธ์เป็นทักษะนิสัยที่จะต้องฝึกให้เด็กแต่ละคนมี เพราะว่าในอาชีพของเขาในชีวิตของเขาที่จะต้องใช้ชีวิตที่ยาวนาน ก็อาจต้องมีหลายอาชีพ ในแต่ละวัย คนที่หน้าตาสวยๆ ก็อาจอยากมีแฟนหลายคน ความสัมพันธ์กลายเป็นโจทย์สำคัญในการที่เราจะบอกตัวเราเอง เราสร้างความสัมพันธ์ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ จากสมองของเรา จากตัวของเราได้ทั้งหมด

ยิ่งเรามีอายุยืนยาว เราต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์แต่ละอันที่ไม่เหมือนกันได้ สมัยก่อนเราคงรู้ว่า คุณแม่ แทบจะไม่ได้เจอป้ากับน้าเลย เพราะว่าพอแต่ละคน อายุ 60 ปีขึ้นไป ก็จะเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้มาก และอาจจะร่วงหล่นไปแล้ว ก็จะถือว่า แม่แทบจะไม่ได้ทำหน้าที่น้องสาวของลุงเลย แต่ในปัจจุบัน ถ้าทุกคนสามารถมีอายุยืนยาวได้ แม่ทำหน้าที่น้องสาวของลุงมากๆ และลุงก็ต้องทำหน้าที่พี่ชายของแม่ไปอีกนาน

ที่บอก คือ สมัยก่อนเราอาจไม่ได้ทำหน้าที่ดูแล พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ยาวนาน เพราะว่าท่านก็อยู่ไม่นาน แต่ถ้าท่านอยู่นาน ในความสามารถของเราในการที่จะรักษาสัมพันธภาพในบทบาทที่ลึกไปเรื่อยๆ เราทำได้ไหม เราตีโจทย์แตกไหม เราควบคุมสถานการณ์อยู่ไหม เราเข้มแข็งพอไหม เราแข็งแรงอยู่หรือเปล่า เป็นเรื่องสำคัญ

นี่เป็นตัวเลขที่คิดว่า จำนวนทั้งหลาย สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ แพทย์ก็ดูแลเรื่องคุณภาพของร่างกาย ให้ function อยู่ได้ นั่นก็คือ mechanism อย่างหนึ่ง ... แต่ทางด้านจิตใจ ซึ่งทำให้การที่อยู่ยาวนานมีความหมายอะไรนี่ น่าจะสำคัญกว่า

หลักสูตรสำหรับอนุบาลที่คิดว่า น่าจะเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ ที่จะสามารถอยู่ร่วมกับสังคมที่มีผู้สูงวัย ไปยาวนาน คิดว่า สังคมไทยไม่ reverse กลับมาเป็นสังคมผู้ไม่สูงวัยเหมือนปัจจุบันนี้ต่อไป เมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยก็คงจะเป็นอย่างนั้นต่อไป

การที่จะเตรียมคนรุ่นใหม่จะต้องเตรียมคนอย่างไร

ดิฉันเคยพูดว่า คนที่ไม่เคยแสดงว่า จะต้องทำให้พ่อแม่อย่างไร กราบพ่อแม่อย่างไร ซื้อของให้พ่อแม่อย่างไร พูดจากับพ่อแม่อย่างไร ต้องรีบทำให้เด็กเห็นว่า รักพ่อแม่ ดูแลพ่อแม่ ให้เห็นบ่อย เพราะนั่นคือ การเรียนรู้ด้วยกระจกเงา เด็กเรียนรู้จากการเลียนแบบ ถ้าเราคิดว่า เราเป็นผู้สูงอายุ และลูกจะดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีความสุขในความเป็นเขา ต้องเห็นตัวอย่างของการดูแลกันและกันมาก ... ตรงนี้จะทำให้สังคมของเราอยู่รอด

และไม่ใช่เป็นหน้าที่ของคนในห้องนี้เท่านั้น ที่จะต้องรู้วิธีของการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ... คิดว่า ทุกคนต้องทำ เพราะว่าผู้สูงอายุที่เราพูดกัน ก็คือ ญาติของเรา ถ้าเราไม่ดูแล เราก็จะรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง

หลักสูตรอนุบาลก็คือ มีประสบการณ์กับผู้สูงวัยที่เพียงพอ ในบ้านก็ได้ ในโรงเรียน ผู้สูงอายุเข้าไปก็ได้ มีความรู้เรื่องความเป็นผู้สูงอายุ เด็กมักจะมีความเห็นกับผู้สูงอายุว่า พูดช้า พูดแล้วไม่ค่อยได้ยิน เดินช้า ... มีการจัดอบรมวัยรุ่น โดย อาจารย์ปริญญา ด้วยเอาน้ำหนักมาถ่วงที่ขา เอาสีมาป้ายที่แว่นตา เทียบกับ ลักษณะของผู้สูงอายุ … ทำให้วัยรุ่นได้รู้ว่า ผู้สูงอายุมีความรู้สึกอย่างไร

เราต้องเสริมให้วัยรุ่นได้รู้ เป็นการเสริม EQ ให้กับเด็กด้วย

ควรมีกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม และความกตัญญู มากขึ้นในโรงเรียนปฐมวัย ทำให้เห็นได้ชัดเจน เพราะเด็กไม่ได้เรียนรู้จากการฟัง เด็กเรียนรู้จากการกระทำ ได้เห็น ได้ทำ ได้ยิน ได้สัมผัส ได้รับทางประสาททุกๆ ด้าน มีศรัทธาในเรื่อง ผลของการทำดี และมีทักษะในการ caring กับคนอื่น และมีความอดทน

เรื่องของการดูแลสมอง ที่คิดว่าสำคัญที่สุด สมองของท่านยังมีการใช้ได้ รู้ว่า ชีวิตแต่ละวันมีความหมาย และคุณภาพชีวิตของตัวเอง

สุดท้ายคือ บทบาทหน้าที่ของชีวิตมนุษย์ มีโรงเรียนหลายแห่ง แรกๆ คือ เมื่อเราไม่รู้อะไรมาก เราก็เรียนรู้ที่จะรู้อะไร โตขึ้นมาหน่อย ก็เรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไร ทำหน้าที่อะไร ใช้ชีวิตอย่างไร ทำหน้าที่อะไร ต่อมาก็คือ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนอื่น เรื่องของความสัมพันธ์ ในกฎของอะไร และที่สำคัญที่สุด และแน่ใจว่า ผู้สูงวัยไทยที่อยู่กับศาสนา คงจะทราบว่า เราะพอใจในความเป็นตัวของเราเอง และชีวิตมีชีวิตที่ไม่เบียดเบียน มีชีวิตที่เป็นสุข มีชีวิตที่มีปัญญา มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ น่าจะเป็น การเรียนรู้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร สำคัญที่สุด

สุดท้ายที่ฝากไว้ คือ สิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ คือ เรื่องจิตวิญญาณ กับเรื่องร่างกายที่เรานำมาใช้เพียงชั่วคราว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สิ่งที่อยู่ภายในของเรา คือ ถ้าผู้สูงอายุสามารถจะเก็บความรู้สึกแบบนี้เอาไว้ได้นาน เก็บความทรงจำเอาไว้ ดิฉันคิดว่า คุณค่าผู้สูงอายุมี

สิ่งที่สำคัญที่มนุษย์ทุกคนต้องการ และอยากเก็บไว้ในใจ ก็คือ ความจริงที่ท่านรู้เกี่ยวกับชีวิตของตัวท่าน หรือมวลสรรพ์ทั้งหมดที่อยู่รอบตัวท่าน ว่า คุณค่าของชีวิตคืออะไร และมันก็อยู่ข้างใน จินตนาการของแต่ละคนมีอะไร ความประทับใจที่เกิดขึ้นในชีวิตมีอะไร ความหวังที่สามารถจะได้ทำ คือ ความหวังที่ไม่ได้ทำ แต่เข้าใจว่า ความหวังมีความสำคัญ ความทรงจำมีอะไร ความมั่นใจ ความภาคภูมิใจมีอะไร ความเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจที่ในชีวิตได้ทำให้กับคนอื่น นั่นคือ ประโยชน์ของชีวิต และที่อยู่ข้างในเอง ความสุขใจ

... ในปัจจุบัน มีผู้สูงอายุจำนวนมากพบปัญหานี้ ก็ต้องรู้ว่า “คุณค่าของชีวิต ไม่ใช่ความยืนยงของชีวิต” ในสวีเดนเคยมีปัญหามาก ในเรื่องของความเจ็บไข้ได้ป่วย พออายุมากขึ้น ก็มีการดูแลอย่างดี แต่ปัญหาที่พบมาก คือ ความเครียด นอนไม่หลับ ความเจ็บป่วย มีการลงทุนมากมายในการบำบัดรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เช่น เขาก็ใช้วิธีทำสมาธิ หัดหายใจ อยู่กับ treatment ที่เป็น behavioral medicine และมีปรัชญานี้ พูดออกมา “คุณค่าของชีวิต ไม่ใช่ความยืนยงของชีวิต ถึงเวลาก็ไป แต่อยู่อย่างไร สำคัญกว่า”

รวมเรื่อง ลปรร. ตำบลต้นแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

 

หมายเลขบันทึก: 383461เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2010 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แม่หมอครับ เห็นข้อมูลแล้วตกใจครับ อึ้งๆๆ

  • P
  • อึ้ง ทึ่ง ... เสียว หรือจ๊ะ คุณลูกชาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท