อิ่มงานบุญ…งานช้างที่ท่าชนะ


ไม่ว่าพิธีรีตรองจะแตกต่างกันแค่ไหน แต่สิ่งที่ได้รับเหมือนกันคือความสุขทางใจของตัวบุคคล ความสุขทางใจจึงยิ่งใหญ่ที่สุด องค์ประกอบอย่างอื่น คือเครื่องเคราที่หล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีมุมมองที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเริ่มต้นเล็กน้อยหรือใหญ่โตแค่ไหน จึงไม่ใช่จุดประสงค์ใหญ่ ของคำว่า บุญ เนื้อแท้ของบุญจึงอยู่ตรงนี้
 
มีโอกาสสัมผัสงานบุญงานหนึ่ง ของน้องบุคลากรที่ทำงานอยู่ศูนย์มะเร็งสุราษฎร์ธานี  โดยเจ้าตัวเชิญให้เข้าร่วมงานบวชของตัวเอง ที่บ้านเกิดอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 
 
น้องชายคนนี้ เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี มนุษย์สัมพันธ์ดี  …น้องชายเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว ที่พ่อแม่หวังไว้เพื่อจะให้ได้บวช ตามประเพณี เดาด้วยความรู้สึกที่ตัวเองคุ้นเคยด้วยว่า… สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนหวังไว้ในหัวใจลึก ๆ ของคนเป็นพ่อเป็นแม่ นั่นก็คือ…. การได้เกาะชายผ้าเหลืองของพระลูกชาย ขึ้นสวรรค์
 
ระยะทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีถึงตัวอำเภอท่าชนะ  ประมาณร่วมร้อยกิโลเมตรเห็นจะได้ ขับรถโดยใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษ ๆ  ก็ถึงตัวอำเภอ    แต่ด้วยเหตุที่มาถึงตัวอำเภอเป็นเวลาที่เช้าเกินไป  จึงใช้เวลาที่ก่อนพิธีบวชจะเริ่ม ขับรถสำรวจสิ่งแวดล้อมของตัวอำเภอนี้บ้าง
 
 
รูปภาพสถานีรถไฟอำเภอท่าชนะ
 
เป็นสถานีรถไฟเล็ก ๆ ได้ความรู้สึกย้อนยุค (สมัยเมื่อเป็นเด็ก ที่เคยวิ่งเล่นแถวสถานีรถไฟนครปฐม) สถานีรถไฟแห่งนี้แวดล้อมด้วยธรรมชาติเพียวๆ มีทั้งทุ่งหญ้า  ขุนเขา บ้านคนที่ดำเนินชีวิตด้วยวิถีธรรมชาติ และฟ้าใส ๆ อยู่รายรอบ  และสังเกตข้างๆ สถานีรถไฟแห่งนี้พบว่า มีหอนาฬิกาโบราณ ไม่ทราบว่าสร้างเมื่อใด(คาดเดาอีกว่าคงสร้างมาพร้อมกับสถานีรถไฟแห่งนี้)
 
 
รูปภาพหอนาฬิกาหลังสถานีรถไฟอำเภอท่าชนะ
 
หากเป็นเช่นนี้แล้ว อายุของโบราณสถานแห่งนี้ คงมีอายุร่วมร้อยปีเป็นแน่แท้…
 และต้นไม้ที่มีวัชชพืชโทนสีอ่อนขึ้นปกคลุมอยู่เต็มต้นใกล้หอนาฬิกาแห่งนี้  ก็คงให้บรรยากาศขั้นคลาสสิคที่สอดคล้องกับหอนาฬิกานี้ได้เป็นอย่างดี
 
 
รูปภาพต้นไม้รูปทรงโบราณข้างสถานีรถไฟท่าชนะ
 
 
พิธีบวชเป็นไปตามประเพณีทางใต้ แต่ที่แปลกตาและไม่เคยเห็นมาก่อน คือช้าง
และช้างเกี่ยวข้องกับพิธีบวชนี้อย่างไร?
 
เท่าที่สอบถามจากผู้ใหญ่บางท่าน พบว่า การนำช้างมาร่วมในพิธีบวชครั้งนี้ เป็นได้ในหลาย ๆ ประเด็น
ซึ่งถือเป็นพิธีมงคล ที่ใช้สัตว์ใหญ่ที่ทรงอำนาจ มีพลังแอบแฝงอยู่ในตัว และบ่งบอกถือเศรษฐานะของผู้บวช    โดยเรียกติดปากว่างานช้าง
 
 
รูปภาพช้างที่ใช้ในพิธีบวช แลดูเชื่องและน่าเข้าใกล้มาก ๆ
 
สังเกตว่า...แม้แต่หมาฝรั่งยังต้องนั่งเลยเมื่ออยู่ใกล้ช้าง
 
พิธีบวชเป็นไปตามประเพณีทางใต้  มีวงดนตรีเคลื่อนที่วงใหญ่ ที่คอยให้ความสนุกสนานคลื้นเคลงแก่ผู้เข้าร่วมในพิธี เท่าที่สังเกตผู้ที่เข้าร่วมรำวง จะเป็นคนในพื้นที่ ที่มีทั้งเด็ก คนหนุ่มสาว และคนเฒ่าคนแก่ ที่มองดูแล้วพบว่า เป็นวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกถึงความเป็นชุมชนที่มีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี
 
 
 
รูปภาพรำวงหน้าขบวนแห่นาคก่อนเข้าโบสถ์
 
 
หากดูข้อมูลเพิ่มเติมทางinternet พบว่า…
“ประเพณีขี่ช้างแห่นาคหรือขบวนแห่นาคบนหลังช้าง จึงสมมุติเหตุการณ์ตั้งแต่พระเวสสันดรให้ทานช้าง ปรากฎอยู่ในชาดกกัณฑ์หิมพานต์ตอนคัดเลือกช้างจะไปรับพระเวสสันดรไป ปรากฎอยู่ในกัณฑ์มหาราชต่อไปจนถึงฉ.กษัตริย์ สุดท้ายถึงแห่พลเข้าเมืองในนครกัณฑ์  นอกจากนี้ยังมีอีกมูลเหตุหนึ่งคือก่อนที่พระพุทธเจ้าจะหนีออกบวชในชาติสุดท้ายจนสำเร็จเป็นพระศาสดา พระองค์ได้ทรงม้ากัณฐกะไปด้วย  ชาวไทยพวนหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย จึงยกเอาเรื่องนี้มาจำลองเป็นการแห่นาคไปอุปสมบท  ชาวไทยพวนหาดเสี้ยวเป็นชุมชนใหญ่มากมีลูกหลานแยกย้ายไปประกอบอาชีพในถิ่นต่างๆ ตลอดจนได้ไปศึกษาอยู่ในกรุงเทพฯหรือต่างประเทศก็มากผู้ที่จะกลับมาเยี่ยมบ้านมักกลับมาในช่วงฤดูแล้งเพื่อมาเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่   ทางคณะกรรมการ ก็มาประชุมกันว่าควรทำกิจกรรมใดซักอย่างให้เป็นแบบอย่าง  เลยกำหนดรวมถึงการอุปสมบทพระภิกษุ ประเพณีขี่ช้างแห่นาคหรือขบวนแห่นาคบนหลังช้าง ของชาวไทยพวนที่บ้านหาดเสี้ยว และเป็นพิธีอุปสมบทพระภิกษุตามประเพณีนิยมของไทยทั่วไป  แตกต่างกันที่บางสิ่งบางอย่าง ซึ่งชาวบ้านที่นั่นได้สอดแทรกและแฝงคติอันเป็นการให้ผู้บวชได้รับรู้นอกเหนือจากรสพระธรรมที่พวกเขาจะศึกษาในลำดับต่อไป”
 
 ที่มา : www.skn.ac.th/skl/skn42/pts98/haanake.htm
 
 
 
 
ขับรถตามขบวนแห่นาค ไปจนกระทั่งถึงวัดที่บวชในตัวเมืองอำเภอท่าชนะ ได้บรรยากาศของขบวนแห่นาคขี่ช้างที่ได้อารมณ์และความรู้สึกที่บ่งบอกถึงภาวะอิ่มบุญในอีกรูปแบบหนึ่ง
 
รูปขบวนแห่นาคบนหลังช้าง
 
ไม่ว่าพิธีรีตรองจะแตกต่างกันแค่ไหน แต่สิ่งที่ได้รับเหมือนกันคือความสุขทางใจของตัว
บุคคล
 
 
พิธีการบางส่วนในงานแห่นาคบวชพระ(เครื่องบวชที่เห็น จะถูกนำขึ้นศรีษะผู้หญิงสูงอายุที่คาดว่าน่าจะเป็นญาติผู้ใหญ่ ของนาค)
 
พิธีการบางส่วนในงานแห่นาคบวชพระ(นาคถูกอุ้มโดยไม่ให้เท้าหยีบพื้น ตั้งแต่พิธีทำขวัญนาค โดยชายหนุ่มฉกรรจ์เป็นผู้อุ้มนาคขึ้นรถ เพื่อนำไป ขึ้นช้างเพื่อแห่ไปวัดเพื่อบวชต่อไป)
 
ความสุขทางใจจึงยิ่งใหญ่ที่สุด องค์ประกอบอย่างอื่น คือเครื่องเคราที่หล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีมุมมองที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเริ่มต้นเล็กน้อยหรือใหญ่โตแค่ไหน จึงไม่ใช่จุดประสงค์ใหญ่ ของคำว่า บุญ   เนื้อแท้ของบุญจึงอยู่ตรงนี้
 

หมายเลขบันทึก: 381696เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2010 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

ครูอ้อย มาร่วมงานบุญ อิ่มบุญด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดี ครับ ครูอ้อย

บันทึกนี้เป็นบันทึกที่เกี่ยวเกี่ยวจากงานบุญ งานบวชพระ ของน้องชายที่ทำงานเดียวกันกับคนในครอบครัว เป็นงานบุญที่มีพิธีตามความเชื่อ และขั้นตอนที่คนในชุมชนแห่งนี้ทำสืบต่อกันมา

การได้สรุปเก็บบันทึกแบบนี้เอาไว้  เพื่อเป็นหลักฐานว่า ทางใต้ก็มีการแห่งนาค บวชพระขึ้นหลังช้าง เช่นเดียวกับชาวไทยพวนหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย

แต่กระบวนการ พิธี และขั้นตอน อาจจะแตกต่างกันบ้าง

..

 

 

มาอิ่มบุญ หลังอิ่มท้องค่ะคุณแสง ไม่ได้เห็นงานบวชขี่ช้างนานแล้วค่ะ เวลางานบวช ประทับใจภาพคุณแม่ที่ยิ้มหน้าบาน เวลาลูกชายบวช ทุกทีไป ขอบคุณค่ะ

ปล. เพลงนี้ ฟังกี่ครั้งก็ไพเราะ ตั้งแต่ ijigg ม้วย ก็ไม่ได้ฟังอีกเลย คุณแสงฯ ใช้รหัส ลงเพลงนี้อย่างไรรึคะ

  • เป็นงานที่สร้างความสุขให้กับทุกๆคน โดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อแม่ ความสุขก็น่าจะเป็นบุญกุศลที่เกิดนั่นเองนะครับ
  • ขอบคุณความรู้ที่นำมาแบ่งปัน และขอบคุณที่ไปแวะเยี่ยมเยียนกันครับ

ขอบคุณค่ะ

ขอร่วมอนุโมทนาตามหลังนะน้อง

น่าสนใจมากค่ะ

กลับมาเหนื่อยๆก็หายเหนื่อยเลยค่ะ

เพลงเพราะจังเลย

 

  • สวัสดีค่ะคุณแสง
  • พิธีบวชพระที่บ้าน(แถวพิษณุโลก) ที่เห็นบ้างก็นั่งหลังม้าหรือไม่ก็ขี่คอญาติ เพื่อนๆ วนรอบโบสถ์ ยังไม่เคยเห็นนั่งบนหลังช้างเลยค่ะ
  • ขอบคุณข้อมูลประเพณีบวชที่แตกต่าง...แต่เหมือนกันที่ความอิ่มใจในบุญนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • มาร่วมศึกษางานบุญงานบวชที่ภาคใต้ค่ะ
  • มองภาพสถานีรถไฟให้ความรู้สึกเหงานิดๆ
  • แต่พอมาเห็นลีลารำฟ้อนของผู้ร่วมงานก็ครึกครื้นไปด้วย
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลการแห่นาคบนหลังช้าง
  • และขออนุโมทนาบุญในงานบุญครั้งนี้ด้วยค่ะ.

อ่าน งานบุญ ได้ความสุขทางใจ

และได้ความรู้แถมกลับไป

...งานช้าง...อย่างนี้นี่เอง

 

ระลึกถึงนะคะ ยิ่งดึก ๆ อย่างนี้ รตสว โกทูโน ที่นี่ บันทึกงานช้าง...

อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณแสงฯ

พุฒทองน้อย กลอยใจ เป็นไงบ้าง

แม้ห่างหาย ยังคิดถึง คนึงหา

รอติดตาม ข่าวคราว ดวงใจพา

สุขสันต์ ทุกวันมา แวะเยี่ยมเยือน

...

สุขสันต์เทศกาลแห่งความรักแม่ ค่ะ

สวัสดีครับคุณ แสง มาร่วมงานบุญงานบวชด้วย

สถานีรถไฟ

ต้นไม้

หอนาฬิกา...

นำมาย้อนอดีต ท่าชนะเคยแวะลงสถานีนี้หลายปีผ่าน มา

สวัสดึค่ะ

มาทักทายในโอกาสเทศกาลวันแม่ค่ะ

งานบุญ...งานช้างที่ท่าชนะ ตามประเพณีของชาวใต้ อิ่มเอิบใจในงานบุญค่ะ

Krudala บวชหลานชายเมื่อเดือนที่แล้วค่ะ เป็นประเพณีของทางเหนือ

ที่วัดป่าดาราภิรมย์ เชียงใหม่ค่ะ

มึความสุขในเทศกาลวันแม่นะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ poo

งานบุญทางใต้ นาน ๆ ครั้ง นะครับ ที่จะได้เห็นนาคขี่ช้าง

พ่อแม่ ทุกคนจริง ๆ ครับ คุณpoo

ดีใจที่สุดในชีวิต จริง ๆ ที่ได้เกาชายผ้าเหลืองของลูก ขึ้นสวรรค์

....

มีความสุขกับอาหารมื้อเที่ยง นะครับ

 

 

เพิ่มเติมเรื่องข้อมูลขอสถานีรถไฟนะครับ

ต้นไม้คงมีอายุมากกว่า 30 ปีแล้ว ครับ เพราะตอนเด็กมาที่สถานี้รถไฟบอ่ย ๆ ก็เห้นมันต้นใหญ่โตแล้วครับ

ส่วนหอนาฬิกา เพิ่งสร้างมาครับ แต่คงตากแดดโดนลมทำให้ดูเก่า ก้อคลาสสิคไปอีกแบบ(อายจัง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท