การบริหารทรัพยากรมนุษย์(ว่าด้วยทฤษฎีA.H.Maslow McGregor Taylor Gantt Oliver Sheldon )


เก็งข้อสอบ

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆ [1] กลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์ จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้น จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทั้งทฤษฎีในเชิงวิชาการและแบบปฏิบัติในธุรกิจที่ศึกษาวิธีการบริหารแรงงานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

การจัดการเป็นวิทยาศาสตร์ :

                เพราะองค์ความรู้ที่ได้มามีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผู้จัดการและนักวิจัยจำนวนมาก และความรู้เหล่านี้ยังได้มีการศึกษาพัฒนาปรับปรุงจากหลักฐานการสังเกตและการทดลองอยู่เรื่อยมา

การจัดการเป็นวิทยาศาสตร์ :

                เพราะองค์ความรู้ที่ได้มามีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผู้จัดการและนักวิจัยจำนวนมาก และความรู้เหล่านี้ยังได้มีการศึกษาพัฒนาปรับปรุงจากหลักฐานการสังเกตและการทดลองอยู่เรื่อยมา

เนื่องมาจากการจัดการเป็นวิธีการนำความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญศึกษาไปประยุกต์ให้องค์การบรรลุผลดังปรารถนา  จนมีผู้กล่าวว่า การจัดการเป็นศิลปะของศิลปะ เพราะการจัดการจะต้องใช้เทคนิควิธีการจัดองค์การและนำความสามารถพิเศษของสมาชิกในองค์การมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ   ดังนั้น  ผู้จัดการจึงได้รับสมญาว่านักศิลปะ เพราะจะเป็นผู้นำความรู้ที่ได้รับจากศาสตร์ของการจัดการมาดำเนินการจัดการทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรวัตถุ เพื่อให้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อองค์การให้มากที่สุด

พัฒนาการของศาสตร์ทางด้านการจัดการ  จึงเป็นการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับหลักการของการจัดการและวิธีการประยุกต์ใช้อาจไม่เกิดผลดังที่ปรารถนา ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่สำคัญที่การจัดการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มนุษย์มีความซับซ้อนและแปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่ จึงเป็นการยากยิ่งที่จะทำนายพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างเที่ยงตรง จึงจำเป็นที่จะต้องทำการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับหลักการของการจัดการนั้นๆ เพื่อให้ได้ซึ่งวิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่ค้นพบระหว่างขณะที่ดำเนินการปฏิบัติ ผู้จัดการที่มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของการจัดการจึงจำเป็นต้องมีศิลปะในการประยุกต์ความรู้เหล่านี้  กล่าวคือ วิทยาศาสตร์สอนให้เรามีความรู้  มีวิชาการ  แต่ศิลปะสอนวิธีการปฏิบัติ

ดังนั้น  วิทยาศาสตร์และศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ประกอบซึ่งกันและกันให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ขึ้น เปรียบเหมือนเหรียญที่มีด้านหัวและก้อย  แต่ต้องมีความสมดุลระหว่างด้าน 2 ด้าน จึงทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง  เพราะฉะนั้น  บุคคลที่มีความรู้ด้านการจัดการและมีความสามารถในการจัดการจะเป็นบุคคลที่นำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางที่ประสบความสำเร็จสูงสุด  ผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จจึงต้องเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักศิลปะ

James D. Mooney ได้เขียนหนังสือหลักการจัดการองค์การ โดยเขาได้พัฒนาหลักการ 3 ประการในการจัดองค์การคือ

     1. หลักการประสานงาน (The Principle of Coordination)

       2. หลักการจัดสายบังคับบัญชา  (The Scalar  Principle)

       3. หลักการกำหนดหน้าที่  (The Functional Principle)

                โดยเขาได้กล่าวว่าหลักการทั้ง 3 เป็นหลักการร่วมของทุกองค์การ เขาได้ยกตัวอย่างจากองค์การต่างๆ มาสนับสนุน เช่น  สถาบันทางศาสนา องค์การของรัฐบาล กองทัพ และองค์การธุรกิจ  จากตัวอย่างดังกล่าวนับว่ามีส่วนพัฒนาแนวความคิดด้านการจัดการซึ่งเป็นรากฐานการเกิดทฤษฎีองคการ

ในรูปแบบของการบริหารอาจแบ่ง

ตามหลักการได้ดังต่อไปนี้      

           
                    
          

1)            ซึ่งเป็นการบริหารแบบการจัดการแบบอำนาจหน้าที่   สายงานผู้บังคับบัญชา  โดยหลักการมีผู้บังคับบัญชาคนเดียว  (Unit of Command)

1)            หลักขนาดของการควบคุม (Span of Control)

2)            หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (Authority and Responsibility) เพราะ

หลักการมีผู้บังคับบัญชาคนเดียว (Unit of Command)การประสานกิจกรรมต่างๆ ขององค์การจะทำให้สะดวกและง่าย เมื่อกำหนดให้ทุกคนในองค์การขึ้นตรงต่อหัวหน้าเพียงคนเดียว  เพื่อป้องกันปัญหาการสั่งงานซ้ำซ้อน ความสับสน ความอึดอัด การไม่ประสานงานกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลผลิตตกต่ำขึ้นทันทีและต้องมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารและสั่งการในความหมายก็คืออำนาจ (Power) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ อำนาจหน้าที่ (Authority) แต่มีความแตกต่างกันบ้าง เพราะ อำนาจหน้าที่ เป็นสิทธิ แต่ อำนาจ (Power) จะเป็นสิ่งช่วยเสริมสนับสนุนให้สิทธิที่มีอยู่ทรงคุณค่าใช้ได้ผลมากหรือน้อยต่างกัน

ความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ ความรู้สึกผูกพันของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ซึ่งบุคคลนั้นจะต้องถือเป็นหน้าที่ต้องทำงานให้เสร็จด้วยดี

อย่างไรก็ตามองค์การจะประสบความสำเร็จ หรือไม่ขึ้นอยู่กับ การมอบหมายงานและการเลือกคนที่จะมอบหมายงานให้ โดยทั่วไปแล้วการมอบหมายงานประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้คือ

    1.  กำหนดความรับผิดชอบ        (Responsibility)
 2.  การมอบหมายอำนาจหน้าที่ (Authority)                              
 3.  ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้ถึงภาระหน้าที่   (Accountability)

ในการศึกษาดูงานวัดพระแก้วใช้การบริหารงานแบบกระจายอำนาจและใช้หลักหลักการประสานงาน (The Principle of Coordination)

       2. หลักการจัดสายบังคับบัญชา  (The Scalar  Principle)

       3. หลักการกำหนดหน้าที่  (The Functional Principle) ตามทฎษฎีของ James D. Mooneyถือว่าเป็นการจัดแบบโครงสร้างตามหน้าที่โดย functional  structure

   เป็นการออกแบบแผนกต่างๆขององค์กร  โดยแบ่งงานตามหน้าที่  และสร้างโครงสร้างย่อย   หรือโครงสร้างองค์กรแบบราบ  โดยจะถูกดูแลและควบคุมจาก  ผู้บริหาร   ซึ่งจะจะแตกย่อยกันมาในระดับผู้บริหารแต่ละบทบาทหน้าที่ซึ่งต้องทำงานให้สอดคล้องประสานไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน

ข้อดีในโครงสร้างแบบหน้าที่คือส่งเสริมทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  และ  ลดจำนวนการใช้ทรัพยากรลง

   เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ

   เกิดความชัดเจนในการติดต่อสื่อสารอันจะนำไปสู่ผลิตภาพและการปฏิบัติงานในแต่ละแผนกเพิ่มขึ้น

ข้อเสียของโครงสร้างแบบอำนาจหน้าที่คือข้อจำกัดในการจัดโครงสร้างองค์กรแบบราบในช่วงระยะสั้น

    ผู้บริหารจะให้ความสำคัญในแต่ละแผนกถ้าในด้านองค์กรธุรกิจหรือเอกชนจะเกิดเป็นข้อจำกัดในเรื่องความก้าวหน้าทางอาชีพ

   มีโอกาสเกิดข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารระหว่างแผนก

   หากแผนกหนึ่งไม่ได้เป็นไปตามคาดหวังก็จะกระทบต่อแผนกอื่นด้วย

แนวคิดด้านการจัดการ

สามารถแบ่งออกเป็น  6 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific management school) Taylor  เป็นบิดาของแนวความคิดนี้ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก เขาเป็นผู้เริ่มองค์การที่มีรูปแบบเป็นผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาที่พบในโรงงานที่เขาทำอยู่ เป็นการนำหลักการที่มีกฎเกณฑ์เข้ามาแทนที่วิธีการลองผิดลองถูกที่เคยใช้กัน โดยทำงานมากได้เงินมากทั้งนี้เพราะ Taylor จะยึดหลักการทำงานมากได้มาก ทำงาน้อยได้น้อย ระบบที่ Gantt พัฒนานี้เป็นการประกันค่าจ้างต่ำสุดที่คนงานพึงได้รับไม่ว่าเขาจะทำงานถึงมาตรฐานหรือไม่ก็ตาม  แต่ชื่อเสียงที่ Gantt เป็นที่รู้จักกันดีคือการพัฒนาวิธีการทางด้านกราฟที่แสดงให้เห็นแผนงานที่จะเป็นตัวควบคุมการจัดการได้เป็นอย่างดี เขาเน้นความสำคัญของเวลาและปัจจัยทางด้านทุนในการวางแผนและควบคุม

2. แนวความคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการ (management process school) Fayol  เขาเน้นการสอนและการเรียนรู้  โดยได้ศึกษาการจัดการจากคณะผู้บริหารระดับล่าง โดยให้ทัศนะว่าการจัดการเป็นทฤษฎีที่สามารถสอนและเรียนรู้ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนต่างๆ คือ การวางแผน (planning) การจัดการองค์การ (organizing) การบังคับบัญชา (commanding) การประสางาน (coordinating) และการควบคุม (controlling)

แต่ Oliver Sheldon 

      ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการและการบริหาร นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดด้านจริยธรรมทางสังคม เข้ามาผสมผสานกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เขาได้กระตุ้นให้องค์การธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการด้วย และได้เสนอแนวความคิดว่าหลักการจัดการทางอุตสาหกรรมที่ดีจะต้องตั้งอยู่พื้นฐานของการบริการเพื่อสังคม จากแนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งจุดนี้ทำให้การจัดการได้รับการยกย่องและดำรงความเป็นวิชาชีพ

3. แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  relations school) Gantt  และ  Munsterberg  ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ว่าการจัดการเป็นการใช้บุคคลอื่น ทำงานให้แก่องค์การ ดังนั้นการศึกษาด้านการจัดการจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของ คนและปฏิกิริยาของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นจุดสำคัญ หัวข้อที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจได้แก่ การจูงใจ (motivations) แรงขับของเอกัตบุคคล (individual drives) กลุ่มสัมพันธ์ (group relations) การเป็นผู้นำ (leaderships) และกลุ่มพลวัต (group dynamics) เป็นต้น

โดยกลุ่มนี้เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการจัดองค์การทั้งนี้เนื่องจากว่าองค์การคือการที่บุคคลมารวมตัวเป็นกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน  ดังนั้น กิจกรรมที่ทำจะประสบความสำเร็จนั้น  คนควรเข้าใจคน

ในกลุ่มนี้อาจารย์ขอกล่าวถึงมีดังนี้ : -

    -   A.H.Maslow   มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการได้รับการตอบสนองความต้องการ ความต้องการของบุคคลจะเป็นไปตามลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการระดับต่ำเรื่อยขึ้นไปก่อน เพราะความต้องการระดับต่ำเป็นฐานของความต้องการระดับถัดไป ถ้าความต้องการระดับต่ำยังไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นต่อไปก็จะไม่พัฒนาขึ้น ดังนั้นผู้จัดการในองค์การต่างๆ จะต้องตระหนักและให้ความสนใจในเรื่องความต้องการของมนุษย์คือ1.ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา (physiological  needs) (อาหาร  น้ำ  อากาศ  ที่อยู่อาศัย  และความต้องการทางเพศ)  ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัยของชีวิต (safety  and  security needs) Žความต้องการผูกพันทางสังคม (belonging  and  social needs)

 ความต้องการมีชื่อเสียงเกียรติยศ(esteem and self respect needs)(การยกย่อง   ความนับถือ  สถานะ)

 (การยอมรับ  และความรัก) ความต้องการมีชื่อเสียงเกียรติยศ(esteem and self respect needs)

(การยกย่อง   ความนับถือ  สถานะ) A.H.Maslow  กับห้าขั้นตอนเหมาะใช้กับองกรณ์ประเภทใดแนวทางผู้บริหารการศึกษา

McGregor เป็นศาสตราจารย์ทางการบริหารที่มีชื่อเสียง ได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎี x และทฤษฎี y ไว้ในหนังสือ The Human Side of The Enterprise

ทฤษฎี x  เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่อยู่บนพื้นฐานการจัดการสมัยดั้งเดิม มองคนไปในทางไม่ดี  เช่น เป็นคนขี้เกียจทำงาน หลีกเลี่ยงงาน ไม่สนใจงาน เป็นต้น

ทฤษฎี y  เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่อยู่บนพื้นฐานการจัดการสมัยใหม่ มองคนในทางดี เช่น ทำงานหนักให้บรรลุเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ มีความสนใจงาน เป็นต้น

 Leadership (ภาวะผู้นำ)

1) ทฤษฎีว่าด้วยลักษณะนิสัย  (Trait  Theories)  เมื่อกล่าวถึงลักษณะทั่วไปของผู้นำคือ  มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  ท่าทางดี  มีอำนาจ  พูดเก่ง  กล้าตัดสินใจ  กระตือรือร้น  ฯลฯ  มีผู้กล่าวว่าผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคุณสมบัติของมหาบุรุษและลูกเรือรวมกัน  และมีลักษณะแตกต่างจากคนธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อดอล์ฟ ฮิเลอร์     มหาตมะคานธี เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าบรรดาท่านที่กล่าวถึงนี้มีบุคลิกลักษณะส่วนตัวที่ผู้อื่นไม่มีและเป็นลักษณะของผู้นำ

2) ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรม  (Behavioral  Theories)  เนื่องจากเราไม่สามารถจะพิจารณาประสิทธิภาพของผู้นำโดยมองจากบุคลิกลักษณะแต่เพียงอย่างเดียว  เป็นเหตุให้นักวิชาการต้องพิจารณาพฤติกรรมในการบริหารของบรรดาผู้นำด้วยว่าผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพนั้นมีวิธีการใดเป็นพิเศษเฉพาะตัวเขา  เช่น  บางคนเป็นประชาธิปไตย  คือฟังเสียงคนส่วนใหญ่  บางคนเป็นอัตตาธิปไตยคือถือความเห็นของต 3) ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์  (Contingency  Theories)

                จากที่ได้ศึกษาทั้งผู้นำดังกล่าวแล้ว  จะเห็นได้ชัดว่าความสำเร็จของผู้นำนั้นยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่อ้างไว้ในทฤษฎีทั้งสอง  เพราะไม่ใช่ว่าจะเป็นไปตามทฤษฎีนั้น  เราจะเห็นได้ทันทีว่าสถานการณ์แวดล้อมจะต้องมีอิทธิพลอย่างแน่นอน  สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของผู้นำนั้นมีมากมาย  แต่ที่สำคัญก็คือลักษณะของงาน   (ชนิด  ขนาด  ความซับซ้อนของโครงสร้าง  เทคโนโลยีที่ใช้  ฯลฯ)  และจากการศึกษาเรื่องนี้ก็ยังพบอีกว่า  แบบของผู้นำ  แนวปฏิบัติของกลุ่ม  ช่วงของการจัดการ  (Span  of  Management)  ปัจจัยอื่นภายนอกองค์การ  เวลาที่กำหนดไว้ความเครียด  สภาพและบรรยากาศในองค์การนั้นด้วย  เหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อผู้นำทั้งสิ้น

เป็นใหญ่  และบางคนปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอย่างอิสระ

4. แนวความคิดด้านระบบสังคม (Social  system  school) มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์หรือด้านพฤติกรรมศาสตร์ Chester I. Barnard เป็นบิดาของการจัดการที่ยึดหลักระบบสังคม โดยเริ่มศึกษาตัวบุคคลก่อน ถัดมาจึงสนใจระบบความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลกับองค์การ และมาสิ้นสุดระบบที่หน้าที่ในการดำเนินการจัดการของ Barnardแนวความคิดด้านระบบสังคม

  1. มนุษย์แต่ละคนมีขีดจำกัดด้านกายภาพและชีวภาพ จึงทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นกลุ่ม

  2. การดำเนินการร่วมแรงร่วมใจกันทำให้เกิดเป็นระบบความร่วมแรงร่วมใจ ในการทำงานให้องค์การเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

  3. ระบบการร่วมแรงร่วมใจกันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ องค์การและส่วนอื่นๆ

  4. องค์การแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ องค์การที่มีรูปแบบ(formal organization) และองค์การไร้รูปแบบ (informal organization)

  5. องค์การที่มีรูปแบบจะต้องประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารงานซึ่งกันและกัน ความตั้งใจในการทำงานเป็นกลุ่ม และการมีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างมีจิตสำนึก

5. แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical  school)แนวความคิดนี้มุ่งใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาข้อมูลทางปริมาณต่างๆ เพื่อตัดสินใจในการจัดการ ความเชื่อของนักคิดกลุ่มนี้คือ ถ้าการจัดการเป็นกระบวนการทางตรรก(มีเหตุผล) แล้ว ต้องสามารถแสดงออกมาในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น y = f(x) เป็นต้น  พื้นฐานของแนวความคิดนี้เป็นการสร้างรูปแบบขึ้น โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและแสดงออกมาในรูปของความสัมพันธ์และในรูปของวัตถุประสงค์ที่เลือกสรรแล้ว ผู้ใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า นักวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือนักวิทยาศาสตร์การจัดการ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านกายภาพของการจัดการ เช่น รายการต่างๆ และการการควบคุมการผลิต เป็นต้น แต่ไม่สามารถใช้แทนการการได้ซึ่งความรู้ ประสบการณ์ และการฝึกหัดทำ ความเข้าใจในพฤติกรรมมนุษย์ได้

                6.แนวความคิดด้านระบบ (Systems  school) แนวความคิดด้านระบบเป็นการจัดการที่เน้นกลยุทธ์ ศึกษาส่วนต่างๆ ของระบบภายใน ระบบจะมีธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกันและกัน มีความสัมพันธ์กัน การวิเคราะห์เชิงระบบเป็นความพยายามที่จะกำหนดธรรมชาติของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในระบบทฤษฎีระบบได้ให้แนวความคิดพื้นฐาน หลักการต่างๆ และแนวทางในการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ในด้านการวางแผน การควบคุมและการตัดสินใจดำเนินการเป็นตัวนำ ให้ฝ่ายจัดการพิจารณาองค์การทางธุรกิจในรูปข่ายปฏิบัติงานของข้อสนเทศ ทิศทางของข้อสนเทศจะให้แนวทางการตัดสินใจในการจัดการระดับที่แตกต่างกัน ผลของระบบข้อสนเทศทางธุรกิจ นำมาพิจารณาใช้กันมากในระบบบัญชี การเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การควบคุมและกระบวนการตัดสินใจในองค์การธุรกิจ และปัจจุบันที่รู้จักกันดีของระบบข้อสนเทศทางดารบริหาร ที่เรียกย่อๆว่า MIS (Management Information System

 

หมายเลขบันทึก: 378530เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2010 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท