ความสุข กับ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์


มองทุกข์สุข ก็จงจ้อง มองให้ดี มองว่าเป็น อยางที่ คนเราหวัง มองว่าเป็น ตามปัจจัย ให้ระวัง มองจริงจัง ก็จักเห็น เป็นธรรมดา (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

ผมมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำประโยชน์ให้คนอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

  

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 ผมได้เป็นวิทยากรการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ กลุ่มคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับอำเภอ  ณ ห้องประชุมตึกหลวงตาบัว  โรงพยาบาลภูเขียว จ.ชัยภูมิ

 

 

ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3  ครั้งที่ 1 ผมจัดกับคณะกรรมการกองทุนระดับตำบลของผม  ครั้งที่ 2 จัดกระบวนการกับคณะ อสม. ระดับอำเภอ ผมรู้สึกทุกครั้งครับ

 

 

แต่ครั้งนี้ เป็นกลุ่มคนมาจากหลากหลายครับ เช่น นายก อบต.  ปลัด อบต. สมาชิก    อบต. ผู้นำชุมชน  และอสม. ครับ  มีบางท่านที่เคยผ่านกระบวนการแล้ว แต่ก็มีจำนวนมากที่ไม่เคยผ่านกระบวนการ

 

 

ครั้งนี้ แปลกทุกครั้ง เพราะให้เวลาผมดำเนินกระบวนการเพียงภาคบ่าย ประมาณ 3 ชั่วโมง ครับ  ทั้งที่ทุกครั้งต้องทำอย่างน้อย 2 วัน แต่ไม่เป็นไรครับ ได้ถ่ายทอดและทำให้เครื่องมือนี้เบ่งบาน และนำไปใช้ประโยชน์ เท่าไรเท่านั้น กระบวนการศึกษาด้วยตนเองสำคัญมากที่สุด

 

 

ผู้เข้าร่วม เพิ่งผ่านอาหารเที่ยงมาใหม่ หนังตาคงเริ่มปิดบ้าง  ผมก็เลยจะทำให้นอนหลับต่อ ด้วยการเริ่มทำสมาธิ ผ่านบทเพลง "ดั่งดอกไม้บาน" ประกอบท่าทาง

 

 

แล้วก็เกริ่นนำว่า ทำไมเราต้องจำเป็นใช้เครื่องมือนี้ ผู้คิดค้นคือ น.พ.อมร นนทสุต เรียกว่า เป็น บิดาของ อสม. ไทย น่าจะได้  เพราะต้องการดึงส่วนร่วมของประชาชนมารวมกระบวนการมากที่สุด และมีจุดหมายปลายทาง ที่ ชั้นประชาชน ครับ

 

 

เริ่มใบงานแรก ให้ทุกคนจับคู่แล้วเล่าความภูมิใจของชีวิต ครอบครัว และการทำงาน ของแต่ละครั้ง บางท่านเล่าว่า "ดีใจที่มีครอบครัวอบอุ่น และได้เป็น อสม. ช่วยเหลือคนมากมาย ทำงานมานานกว่า 20 ปี ได้เงินตอบแทน หรือไม่ได้ตอบแทนไม่สำคัญ อยู่ที่ได้ช่วยเหลือพี่น้องชาวบ้านเราสำคัญกว่า

 

 

ใบงานสอง ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อดูการทำงานด้านสุขภาพที่ผ่านมา

ใบงานสาม ร่วมจัดทำจุดหมายปลายทาง

ใบงานสี่ ร่วมจัดทำแผนที่ทางเดินฉบับปฏิบัติการ และเส้นทางลัด

ใบงานให้ ร่วมจัดทำตาราง 11 ช่อง ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราจัดทำมา

 

 

บทเรียนที่ได้ของผมก็คือ ตอนแรกผมนึกว่า เครื่องมือนี้จะยาก ชาวบ้านจะรู้อะไร แต่เมื่อทำแล้วที่ผ่านมาหลายกลุ่ม  สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะทุกคนตั้งใจ และเห็นบรรยากาศที่ร่วมแสดงความคิดเห็น ทุกความเห็นมีคุณค่า

 

 

ขอให้เครื่องมือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ให้เบ่งบาน เพราะน่าจะเป็นเครื่องมือที่ชาวบ้านทุกคนควรจะมีส่วนร่วม และขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพ และพัฒนาชุมชนต่อ ๆ ไปครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 378126เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สำหรับพี่แล้วนะ...อสม. คือ ผู้ที่มีคุณค่ามาก

เป็นต้นแบบแห่งความเป็นผู้เริ่มนำชีวิตออกจากคำว่าเห็นแก่ตัว ... จะมีสักกี่คนที่จะมองเห็นในความงามในจิตใจของเขาเหล่านี้ ค่าตอบแทนที่น้อยนิดหากแต่วิถีการงานที่เขาร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่คนสุขภาพทั้งหลาย ทำงานแบบร่วมกันไปอย่างมากมาย

ทำทุกอย่างที่คนสาธารณสุข...ให้ทำ

ดีใจ...ที่คุณอดิเรกเขียนผ่องถ่ายวิถีการงานเช่นนี้

Zen_pics_007 

ขอบคุณค่ะ

ติดตามอ่านเพื่อนำความรู้ไปใช้นะคะ

 

สวัสดีครับ

การจัดทำแผนยุทธศษสตร์สำคัญมาก ล่าสุดผมและทีมงานก็เพิ่งเห็นผลในบางเรื่อง หลังจากฝ่าฟันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มาเป็นเวลาเกือบสองปี  สำคัญคือตอนนี้ต้องระดมแนวคิดการบริหารยุทธศาสตร์ หรือกลวิธีของการทำให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ..

ตรงนี้ยาก และท้าทายมากเลยทีเดียว

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท