บำนาญของปราชญ์ชาวบ้าน


ดีมาก ๆ การเรียนหนังสือ เพราะในอนาคตเราจะได้ทำงานราชการ เมื่อแก่ตัวเกษียณอายุจะได้มีเงินบำนาญไว้กินตลอดชีวิต ไม่ต้องทำงานก็มีกิน

                ต่อเนื่องจาก บันทึกที่แล้วครับ  ในบันทึกที่แล้วผมเล่าเรื่องการจัดงานโครงการสานสัมพันธ์คนดีศรีเมืองนคร  และบนเวทีวันที่ 7 กรกฎาคม 2553 วันนั้น 4 ท่าน ได้เล่าถึงการทำดีของท่านให้ได้รับฟัง น้ายงค์(ประยงค์ รณรงค์) ที่ผมนับถือเป็นอาจารย์ของผมท่านหนึ่งที่ได้เล่าเรื่องราวให้ฟัง...


               ท่านบอกว่า ในชีวิตท่านอนเด็ก ๆ นั้นมีความแตกต่างจากเพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน คือเพื่อนเรียนหนังสือ แต่น้ารงค์ไม่ได้เรียน ด้วยภาวะทางบ้านไม่เอื้ออำนวยให้เรียนได้ เจอเพื่อนที่เรียนหนังสือ ท่านเล่าว่า ถามเพื่อนว่าการเรียนหนังสือมันดีอย่างไร ?

               เพื่อนพูดต่อไปว่าดีมาก ๆ การเรียนหนังสือ  เพราะในอนาคตเราจะได้ทำงานราชการ เมื่อแก่ตัวเกษียณอายุจะได้มีเงินบำนาญไว้กินตลอดชีวิต ไม่ต้องทำงานก็มีกิน

               ท่านมาทบทวนในสิ่งที่เพื่อนพูดกับความจริงที่ปรากฎกับตัวท่านตอนนั้น  มันไม่สามารถทำให้เหมือนเพื่อนได้แน่ ๆ  แต่ท่านบอกว่าในความที่ท่านเป็นคนที่ชอบวางแผน มีเป้าหมาย มีความคิดแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว ก็หาทางออกให้กับตัวเองว่า เพื่อนมีบำนาญด้วยการทำงานราชการ  แต่เราไม่เป็นราชการจะสร้างบำนาญได้อย่างไร คิดแล้วก็คิดได้ว่าสร้างอาชีพให้มั่นคง ก็มีบำนาญได้เหมือนกัน

               วางแผนให้กับชีวิต....น้ารงค์ เริ่มวางแผนให้กับชีวิตว่า ต้องบวชเรียนและเรียนให้ได้นักธรรม(ระดับใดนั้นผมจำไม่ได้) ภายใน 3 ปี  เมื่ออายุ 25 ปี ต้องแต่งงานมีครอบครัวเพื่อเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวสร้างฐานะ  และในที่สุด เป้าหมายที่ทำไว้ ทำได้ก่อนที่กำหนดไว้คือ บวชเรียนแค่ 2 ปี ก็ได้นักธรรมตามที่ตั้งความหวังไว้  และได้แต่งงานก่อนเป้าหมาย 1 ปี คือเมื่ออายุได้ 24 ปี  ก็แต่งงานสร้างฐานะทางครอบครัว  เพื่อสร้างบำนาญตามที่วางแผนไว้  และก็ประสบความสำเร็จ

               ถึงปัจจุบันนี้น้ารงค์ บอกกับลูกว่า "พ่อปลดเกษียณแล้วนะ"  การปลดเกษียณที่ว่านั้นก็คือ ปลดเกษียณการช่วยเหลือลูก ๆ เพราะโตแล้ว ให้ช่วยเหลือตัวเองกันไป ท่าน..ผู้เป็นพ่อขอปลดเกษียณนะจุดนั้นแล้ว

               นี่คือที่ผมพอจดและจำมาได้จากเรื่องเล่าของปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่งในวันนั้น  ที่กำหนดเข็มชีวิตได้อย่างน่าทึ่งครับ

คำสำคัญ (Tags): #ปราชญ์ชาวบ้าน
หมายเลขบันทึก: 376964เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นับว่าท่านเป็นผู้ที่วางแผนชีวิตได้ดีนะคะ

คนเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้วางแผนอะไร ทำไปเรื่อยๆ

เลยไม่รู้ว่าชีวิตประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้หรือเปล่า

ถอดบทเรียนชีวิต เป็นงานที่มีคุณค่ามากเพื่อให้กับเจ้าของผลงานนั้น

ขอบคุณสำหรับการเล่าเรื่องค่ะ

ขอบคุณคุณมาตายีครับ โอกาสหน้าเชิญใหม่ครับ

สวัสดีครับ คุณมณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์

ใช่ครับบางครั้งเหมือนกัน นึกได้นึกทำไม่ค่อยได้วางแผน

แต่งานที่ทำเราว่ามันมากนะ แต่ทำแบบไม่มีแผนหรือเป้า ก็เลยตอบไม่ได้ว่าทำอะไร เพื่ออะไร

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม

สวัสดีครับ น้องจือ : ศิริวรรณ หวังดี

เป็นไงบ้างครับตอนนี้ หวังว่าคงสบายดี

ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยม

นาย ปิยศักดิ์ เพชรสุวรรณพร

กลุ่ม " ผู้รับใช้สาธารณะ "

Many “ public Servants ”

โครงการ “ รวมพลัง รวมใจ ให้เป็นหนึ่ง ”

(Systems “Power of Teamwork The one )

จังหวัดนครศรีธรรมราช

" ทำไม ? นครน่าจะเจริญกว่านี้ " หรือ " นครเมืองโดนสาป "

คำถามนี้ น่าจะเป็นคำถาม ที่คนนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่คิดกัน เป็นคำถามที่หาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ตลอดมาซึ่งเป็นคำถามที่มีมานานกว่า 40 – 50 ปี คนนครศรีธรรมราช “คนนคร” หรือ “คนคอน” เราหลายท่านเคยพยายามคิดถึงที่มาของคำถามนี้ ซึ่งก็กล่าวกันอย่างกว้างขวางไว้หลายประเด็น หลายๆ คนอาจจะยังคิดไม่ออกหรือถึงกับเลิกคิดไปแล้วแต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่คิดออกถึงสาเหตุและวิเคราะห์หาทางแก้ไขหาวิธีการแต่ก็ยังหาวิธีการที่พร้อมจะแก้ไขยังไม่ได้เสมอมาซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้านรวมกันในทีเดียวถึงพอที่จะสามารถแก้ไขได้แต่ก็หาได้ยากเหลือเกินจนทำให้คำถามนี้อยู่คู่นครศรีธรรมราชหรือที่เรียกชื่อกันสั้นๆ ว่า “นคร” ตลอดมา จนคำถามนี้ได้วิวัฒนาการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตัวมันเองจากที่ตัวมันเป็นคำถาม “ทำไม? นครน่าจะเจริญกว่านี้” จึงกลายเป็นคำเพ้อ “นครเมืองโดนสาป” ใน ณ วันนี้และไม่ทราบว่าต่อไปในอนาคตมันจะพัฒนาแปรสภาพไปแบบไหนอีก ซึ่งพวกเราคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นการพัฒนาที่คนนครจะยินดีแน่

1. คุณคิดว่า “ทำไม? นครน่าเจริญกว่านี้” เป็นคำถามที่มีอยู่ในใจคนนครใช่หรือไม่

2. ถ้าสามารถแก้ไขปัญหา “ทำไม? นครน่าเจริญกว่านี้” ต้องการจะแก้ไขหรือไม่

3. ปัญหานี้เป็นปัญหาที่หนักและยาก เพราะไม่ว่าระดับ ส.ส. หรือ รัฐมนตรี ก็แก้ไม่ได้ใช่หรือไม่

4. ถ้ามีใครมาช่วยแก้ไขปัญหานี้ “ทำไม? นครน่าเจริญกว่านี้” ให้กับคนนครคุณจะช่วยเขาหรือไม่

5. ผมมาช่วยแก้ไข “ทำไม? นครน่าเจริญกว่านี้” ให้กับคนนครทุกคน แต่ผมเป็นสจ.เล็ก ๆ คนหนึ่ง ไม่มีอำนาจ บารมี หรือศักยภาพผมไม่พอที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้กับคนนคร ท่านจะช่วยหรือไม่

โปรดกรุณาพิจารณา

นาย ปิยศักดิ์ เพชรสุวรรณพร

ประธานกลู่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท