จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ประสบกับการเรียนรู้


ผมมีความสุขทุกครั้งที่ได้นั่งร่วมกับท่านผู้รู้ เพราะโอกาสแบบนี้แหละครับที่เราจะรู้สึกตัวได้ว่าเรายังไม่รู้อีกเยอะ และช่วงนี้ก็ถือเป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้จริงๆ ครับ เพราะเฉพาะในสัปดาห์นี้ได้มีโอกาสรับฟังข้อคิด ความรู้จากหลายท่านทีเดียวครับ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ฟังท่านอธิการบดีแห่ง มอย. อธิบายประเด็นของการบริจาค พร้อมกับหยิบยกเอาวัจนะของท่านศาสนทูต (ซ.ล) ซึ่งผมคิดว่าเป็นวัจนะที่เป็นที่รู้จักของมุสลิมทั่วไปครับ แต่แปลกว่าฟังท่านอธิบายแล้ว ผมคิดไปอีกเรื่องเลยครับแล้วก็เป็นเรื่องค้างคาใจผมมานาหลายปีครับ อันเนื่องจากสักสี่ห้าปีก่อนโน้น ผมไปเสนอบทความในงานสัมมนาหนึ่งเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัด เขียนเสร็จส่ง แล้วเขาก็รับให้นำเสนอ ปรากฏว่าคนวิพากษ์ก็ใช่ใครที่ไหนครับ ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ท่านวิจารณ์สั้นๆ ครับว่า มันก็เป็นข้อเสนอแนะที่ได้ยินกันทั่วไปแล้ว ผมเองก็คุยเรื่องนี้มากเยอะแล้ว อือ ก็จริงอย่างอาจารย์ว่าครับ ผมไม่ได้เสนอประเด็นใหม่ในงานชิ้นนั้นเลย แต่อะไรคือแนวทางใหม่ที่ผมควรจะนำเสนอ ผมก็คิดไม่ออกครับ (คิดมาหลายปีแล้วด้วย) จนกระทั่งได้ฟังการอธิบายเกี่ยวกับวัจนะท่านศาสนทูต (ซ.ล) เกี่ยวกับบริจาคจากท่านอธิการบดี ผมเกิดปิ๊งแว้บเลยครับว่า อะไรคิดสิ่งที่ผมคิดไม่ออกมาหลายปี เมื่อสองสามวันก่อนเลยเรียนกับท่านคณบดีคณะศิลปศาสตร์ฯ อ.สุกรี หลังปูเต๊ะว่า การประชุมวิชาการ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ครั้งหน้า ผมขอเสนอหนึ่งเรื่อง ฮิฮิ จองไว้ก่อนเลย (ถ้าไม่ลืมประเด็นจากวัจนะของท่านศาสนทูต (ซ.ล) ที่ฟังมา ผมคิดว่ามันจะเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากประเด็นหนึ่ง ฮาฮา ปัญหาผมอีกอย่างหนึ่งคือ ผมเป็นคนขี้ลืม ฮา) ที่เอาประเด็นนี้มาเขียนเพื่อย้ำเตือนตัวเองครับว่า อย่าลืมนะ รับปากคนไว้แล้ว ฮิฮิ

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ได้อยู่ท่ามกลางผู้รู้อีกครั้งครับ รอบนี้เป็นประเด็นเกี่ยวกับการวิจัยล้วนๆ ฟังแล้วผมกลับมาคิดเป็นตุบเป็นตับเลยครับ ดีใจที่คิดบางอย่างออกแค่ใช้เวลาคุยกับผู้รู้ในเวลาสั้นๆ แต่ดีว่างานนี้ไม่ได้รับปากใครครับว่าจะทำอะไรต่อจากคิดได้ เอาเป็นว่าแค่คิดได้ คิดออกในประเด็นที่ไม่รู้มาก่อน ก็มีความสุขแล้วครับ

สำหรับวันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ได้ฟังผู้รู้พูด ท่านนี้คือกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากประเทศซาอุดิอารเบีย ครับ งานนี้ขอบคุณ อ.กริยา หลังปูเต๊ะที่แปลแบบคำต่อคำให้ผมได้เข้าใจภาษาอาหรับที่ท่านผู้รู้พูด ที่สำคัญแปลเป็นภาษาใต้ด้วย ฟังได้อารมณ์จริงๆ ฮิฮิ ฟังแล้วรู้สึกตัวเองเลยครับว่า วิสัยทัศน์ในการบริหารสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาของผมมันสั้นมากๆ ฮา แต่ก่อนรู้สึกว่าตัวเองรู้จักอุดมศึกษาดี ดูแนวโน้มการจัดการศึกษาออก แต่ฟังไปฟังมาสรุปได้ว่า กรรมการสภาท่านนี้ท่านสร้างภาพของมหาวิทยาลัยได้อย่างน่าทึ่งครับ จนรู้สึกว่า เอาแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฉบับปัจจุบันไปทิ้งได้แล้ว ทำแผนใหม่ดีกว่า ฮา

ความรู้เก็บเกี่ยวได้ไม่หมดจริงๆ ครับ เพียงแค่ไม่หยุดที่จะค้นหามันเท่านั้นเอง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 376948เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนเที่ยงหลังละหมาดซุฮรฺ กรรมการสภาท่านนี้ก็กล่าวนะศีฮัตแก่พวกเรา เป็นภาษาอาหรับ อาจารย์ที่นั่งข้างๆบอกว่าต้องมีคนแปลด้วย

ผมกลับไปคิดอีกมุมหนึ่งทันทีว่า นี้แหละเอกลักษณ์มหาวิทยาลัยเรา อย่างภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ทุกวันนี้ทุกคนควรรู้บ้างไม่มากก็น้อย และภาษาอาหรับเป็นภาษาศาสนาเราคนที่อยู่มหาวิทยาลัยอิสลามควรรู้ด้วย อาจารย์เห็นด้วยไหม

ว่าแต่ว่าวิสัยทัศน์ที่ท่านว่า อาจารย์เข้าใจว่าอย่างไร อยากรู้เหมือนกันว่าตรงตามที่ผมสรุปมาไหม

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

ผมคิดว่าน่าจะแปลไม่เหมือนนะครับ เพราะที่ผมฟัง ผมชอบเอามาคิดต่ออีกแบบหนึ่ง ฮิฮิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท