วิชาการสายรับใช้สังคมไทย...?


 

ถ้าจะรับใช้ต้องตั้งตนตั้งและใจเป็น "ผู้ให้" ต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ค่านิยมในการเลือกคณะวิชาที่เรียน เพราะเด็กไทยหลาย ๆ คน เลือกที่จะเป็น "ผู้รับ" โดยเฉพาะคณะสาขาวิชาใด จบมาแล้วได้รับ "Money" มาก ๆ สาขาวิชานั้นจะเป็นที่ต้องการ (Demand) อย่างมากของเด็กนักเรียนไทย
เมื่อทุกคนมีค่านิยมว่า "หว่านพืชต้องหวังผล" แต่ละคนก็ต่างทุ่มเทพลังกาย พลังใจ เพื่อมีชีวิตที่ "มีแต่ได้" ได้วันหน้า
คนลงทุนมากได้มาก คนลงทุนน้อยได้น้อย หรือแม้นเมื่อกระทั่งรับทุนผู้อื่นมา เมื่อหมดทุนแล้วก็หมดกัน
เรื่องนี้เป็นเรื่องในระดับ "จิตวิญญาณ" จิตสำนึกในการ "เสียสละ" เพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

"จิตสำนึกดี ต้องปลูกฝังด้วยการกระทำดี..."
 
ถ้าจะหวังกับเด็ก ๆ ที่เรียนจบใหม่ ๆ ในรูปแบบวิชาการสมัยใหม่คงจะยากเหลือหลายเพราะเขาถูกหลอมละลายด้วยค่านิยมของสังคมแบบ "ทุนนิยม"
ในวันนี้ต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ดี ๆ ที่อิ่มแล้ว พอแล้ว ใช้ความรู้ประสบการณ์ที่มีอยู่นี้รับใช้สังคมไทย

ถ้าจะหวังให้เด็กมารับใช้สังคม เด็กคนนั้นจะต้องดำรงตนอยู่บนพื้นฐานแห่ง "ศีล" อย่างหนักแน่น และไม่ใช่เพียง "ศีล 5" แต่อย่างน้อยต้อง "ศีลอุโบสถ"

เพราะศีลอุโบสถหรือศีล 8 นั้น จะตัดความฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิมในอาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย บุคคลใดไม่ติดพันด้วยปัจจัยทั้ง 4 นี้ มีชีวิตอยู่แบบพอมี เขาทั้งหลายจึงจะสามารถเสียสละเพื่อส่วนรวม

ถ้าหากบุคคลใด ยังยึดมั่นในรูป รส กลิ่น เสียง โผฐฐัพพะและธรรมารมณ์ ก็จะฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิมในปัจจัยสี่ กินอาหารก็ต้องอาหารดี ๆ ไม่ได้กินเพื่ออิ่มท้อง แต่กินเพื่อหน้า เพื่อตา เพื่อเกียรติยศ
การบริโภคปัจจัย 4 แบบไม่รู้จักพอดีนั้นเอง เป็นสาเหตุในการสร้างฐานของจิตใจให้เป็นคนที่เห็นแก่ได้ "ไม่รู้จักพอ"
คนที่ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ ทุกอย่างก้าวและทุกการกระทำของเขาก็มีแต่จะ Take Take Take แล้วก็ Take

แต่เมื่อจะพูดถึงเรื่อง Give หรือการรับใช้สังคมไทยนั้น เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามของบุคคลที่ยังหลงวนเวียนกับค่านิยมของสังคม

บุคคลใดมีศีลอันประเสริฐ บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้เลิศในการรับใช้ เพราะทั้งตัวและหัวใจ มีไว้เพื่อให้และเสียสละต่อสังคม...


ที่มาจากบันทึก วิชาการสายรับใช้สังคมไทย : ๑. ตีพิมพ์ ออนไลน์ แบบคุณภาพสูง  ของท่านProf. Vicharn Panich

หมายเลขบันทึก: 376830เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท