การประเมินระบบพี่เลี้ยง53และกำหนดเกณฑ์เพื่อรับน้องรุ่นใหม่


16-7-53

เมื่อวันอังคารที่13-7-53ดิฉันจัดประชุมคณะทำงานโครงการTMโดยเชิญเฉพาะคนที่ร่วมทำโครงการตั้งแต่เริ่มแรกและคนที่รับผิดชอบโครงการพร้อมน้องเลี้ยงบางท่านค่ะ   เป็นการหาเกณฑ์ที่จะรับน้องเลี้ยงหลังจากทำโครงการได้ประมาณ8เดือนค่ะ

ผู้ทรงคุณวุฒิ นพ.ศุภมิตรเป็นประธานแทนรองอธิบดีที่ติดภารกิจค่ะ

 

 

อจ.วันทนีย์ เล่าเรื่องผลการประเมินโครงการเบื้องต้นจากการคุยกันที่อยุธยาเมื่อวันที่1-2กค.53

 เสื้อแดงคือน้องเลี้ยง คุณหมออรรถยาค่ะ

 

อจ นพ.โสภณ   เป็นผู้อำนวยการโครงการเล่าถึงผลการดำเนินการ

 (ร่าง)รายงานการประชุม    การปรึกษาหารือเกณฑ์การคัดเลือกน้องเลี้ยง

ตามโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง รุ่นที่ 2 ปี 2554

วันอังคารที่  13 กรกฎาคม 2553   เวลา 13.30 – 16.30 น.

ณ  ห้องประชุมกองการเจ้าหน้าที่ อาคาร 3 ชั้น 4

……………………………………………………………………………………………………………

 ผู้เข้าประชุม

            1.  นายแพทย์ศุภมิตร       ชุณห์สุทธิวัฒน์       นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ

           2.  นายแพทย์คำนวณ         อึ้งชูศักดิ์       นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ

           3.  แพทย์หญิงอัจฉรา        เชาวะวณิช     ผู้จัดการโครงการ

           4.  นายสุรพล  สงวนโภคัย     ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่

           5.  นายแพทย์โสภณ       เอี่ยมศิริถาวร  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ 

            6.  แพทย์หญิงอรรถยา     ลิ้มวัฒนายิ่งยง  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

                                                      สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

            7.  นางสาววันทนีย์  วัฒนาสุรกิตติ์  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

            8.  นางปาจารีย์     อัศวเสนา     นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ

                                                       กองการเจ้าหน้าที่

             9 นางสาวพุทธชาด เชื้อหอม นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ กองการเจ้าหน้าที่

             10. นายธีรวิทย์    ตั้งจิตไพศาล   นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  กองการเจ้าหน้าที่

                11. นายภิภพ         กัณฑ์ฉาย                               เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์

                12. นางสาวดวงภาณิชา     สุขพัฒนนิกูล                       ผู้ประสานงานโครงการ Talent Management

                13. นางสาวฐานีย์               อุทัศน์                                    ผู้ประสานงานโครงการ Talent Management                             

ผู้ไม่มาประชุม

                1.  นายแพทย์ศิริศักดิ์          วรินทราวาท                         รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

                2.  นายแพทย์สมศักดิ์         อรรฆศิลป์                             รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

                3.  นายแพทย์จรูญ              ปิรยะวราภรณ์                      นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ

                4.  นายแพทย์โอภาส          การย์กวินพงศ์                      ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป

                5.  นางบงกช                       กำพลนุรักษ์                          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่

 

                                                                                                                                                                                                /2...วาระที่ 1                เรื่องประธานแจ้งให้ทราบ

                                นายแพทย์ศุภมิตร  ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานในการประชุมและแพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิชได้แจ้งแก่ที่ประชุมว่า จะไม่รับตำแหน่งผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง (Talent management) ในปี 2554    แต่อาจจะมาช่วยบางเรื่อง

 วาระที่ 2                เรื่องเพื่อพิจารณา

2.1          การกำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้สมัครที่จะเข้าสู่โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง รุ่นที่ 2 ปี 2554

                แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิชได้กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการรับสมัครน้องเลี้ยงในรอบแรกคือ บางโรคมีคนสนใจสมัครน้อย เช่น ทีม NCD แต่บางสาขาโรคมีคนสนใจสมัครเยอะ ทำให้ให้ได้ผู้สมัครไม่ตรงตามกรอบที่กำหนดไว้

                นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยาได้ร่างกฏเกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัครดังนี้

                -  อธิบดีให้นโยบายสนับสนุนการพัฒนา Talent

                -  การประชาสัมพันธ์ โดยใช้แผ่นพับให้มีภาพน้องเลี้ยงทำกิจกรรมและมีบทสัมภาษณ์

                -  ผู้สมัครต้องมีอายุการทำงานในราชการมากกว่า 1 ปี – อายุไม่เกิน 45 ปี

                -  ให้หน่วยงานแจ้งความรู้และทักษะที่ต้องการพัฒนา และพี่เลี้ยงที่ต้องการในหน่วยงาน ความคาดหวังพี่เลี้ยงในกรมที่ต้องการ (ใส่ในใบสมัคร) และมีหมายเหตุว่า ต้องการสำรวจความต้องการเพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา

                -  มีแรงจูงใจในการฝึกอบรม

                -  เพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น เช่น EID

                -  เปิดโอกาสให้พนักราชการมาสมัคร

                -  จำนวน Talent/นักวิชาการหรือแพทย์ที่หน่วยงานเสนอมาเป็นหน่วยงาน ละ 3 คน

ปัญหาที่จะพบก็คือ การที่เปิดโอกาสให้พนักราชการมาสมัครได้ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินมากขึ้นจะแก้โดยให้แต่ละสำนักส่งผู้เข้าสมัครได้ไม่เกินหน่วยงานละ 3 คน จะทำให้สามารถควบคุมรายจ่ายและอย่างน้อยสำนักต่าง ๆ จะได้screenคนมาเบื้องต้นและผู้สมัครก็จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเพราะเนื่องจากปีที่แล้วมีแพทย์มาสมัครน้อยมาก ถ้าผู้อำนวยการไม่สนับสนุนก็จะมีปัญหา แต่ถ้าแพทย์สมัครใจเข้าร่วมโครงการนี้จะไม่นับรวมโควตาในหน่วยงาน จะรับตรงแต่ต้องได้รับการรับรองจากผู้อำนวยการ

                               

นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ เพิ่มเติมว่าให้เพิ่มการสื่อสารลงในใบสมัคร ส่วนที่กำหนดว่าเป็นแพทย์หรือนักวิชาการ ถ้าหน่วยงานไหนไม่มีแพทย์ก็สามารถเจรจาได้

และให้หน่วยงานเสนอมาเลยว่าใครจะต้องเป็นพี่เลี้ยงในใบสมัคร ชื่อและอายุ ทักษะที่ต้องการ ตัวพี่เลี้ยง

( ถ้ามี) ต้องระบุว่าใคร ซึ่งแต่ละหน่วยงานควรมีพี่เลี้ยงเป็นของตัวเอง อาจจะทำเป็นตารางประกอบว่า สิ่งที่หัวหน้าคาดหวังให้ใครเป็นพี่เลี้ยง

                                นายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ เสนอว่าในที่ประชุมกรมในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ (16 ก.ค. 53 ) ให้รองอธิบดีฯ (นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์) นำเสนอแก่ผู้อำนวยการทั้งหมดในที่ประชุมกรม โดยมอบแพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิชและโครงการTalent Management สรุปผลการดำเนินงานในปีนี้แบบสั้น ๆ สัก 1 สไลด์และแนวทางในการคัดเลือกผู้สมัครใน ปีงบประมาณ 2554 นำไปชี้แจงแก่รองฯ สมศักดิ์ เพื่อนำเข้าที่ประชุมกรม

 

มติที่ประชุม          รับทราบ

 

2.2          หลักสูตรการพัฒนาความรู้ของน้องเลี้ยงในโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง รุ่นที่ 2 ปี 2554

                                นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ตั้งคำถามว่า โครงการฯนี้ทำมาแล้ว 1 ปีจะทำต่อหรือไม่ ถ้าจะทำต่อเป็นเพราะอะไร ควรทำแบบเดิมหรือปรับปรุงจากเดิม รูปแบบนี้พัฒนาคนได้จริงหรือไม่

                                แพทย์หญิงอรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ตัวแทนน้องเลี้ยง กล่าวว่า รูปแบบนี้ถือเป็นการพัฒนาคนได้ ผลสำเร็จของโครงการอาจเป็นคำตอบให้นโยบายของกรม ในส่วนคำว่าหลักสูตรต้องคำนึกด้วยว่าแต่ละคนมีศักยภาพไม่เหมือนกัน อาจจะต้องมีหลักสูตรบังคับเป็นพื้นฐานของแต่ละคน กับอีกส่วนที่เป็นส่วนที่ฟรีของน้องเลี้ยงที่เลือกอบรมได้ ประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนระหว่างพี่กับน้องนี้ มันจะมีวิธีอื่นหรือไม่นอกจากการจัดประชุมเลคเชอร์แต่ละครั้ง และน้องเลี้ยงควรได้ทราบว่าจะสามารถสอบถามในเรื่องที่สนใจได้กับใครบ้าง

                                นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ    สำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า การทำโครงการให้สำเร็จขึ้นอยู่กับการเตรียมพี่เลี้ยงที่ดี ต้องหากลยุทธ์ที่เหมาะสม แต่ที่ผ่านมาเราใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ,ผู้อำนวยการ เป็นพี่เลี้ยง มันจึงไม่ชัดเจนเพราะการเป็นพี่เลี้ยงจะต้องใช้ทักษะเช่นกันที่ผ่านมาเรามีการประชุม Mentor แค่ครั้งเดียวและไม่ได้ให้น้ำหนักในเรื่องการพัฒนาพี่เลี้ยง   

                               

 นายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า ถ้าปัญหาอยู่ที่พี่เลี้ยง ถ้าเราปรับจากเดิมให้เป็นกลุ่มพี่เลี้ยงตาม Area เช่น พื้นฐานทางด้านระบาดวิทยา ด้านวิจัยและการศึกษา การบริหาร(ระดับโครงการ/หน่วยงาน) ระดับประเทศ/ต่างประเทศ เราต้อง Oriented พี่เลี้ยงให้มีความเข้าใจในการทำโครงการ ถ้าเรามีกฎเกณฑ์บางอย่างในการเป็น Mentor เช่น คนที่จะสมัครเป็นผู้อำนวยการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องเคยผ่านการเป็น Mentor เป็นเชิงนโยบาย จะโอเคหรือไม่ แต่เราต้องมี Training  package ให้

                                นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่าในเรื่องพี่เลี้ยงเราไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน ส่วนปี 1 กิจกรรมในหลักสูตรจะให้มีเนื้อหาอย่างไร ปีที่ 2 จะเป็นแบบไหน ตอนแรกกรมคิดให้หน่วยงานจะรู้สึกไม่ตรงตามความต้องการ ถ้าเรากลับกันเป็นให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นคนคิดแล้วเสนอให้กรมทำให้ดีกว่าหรือไม่ วิธีนี้เป็นเทคนิค จะต้องจัดวาระนี้ไว้ในที่ประชุมกรมเรื่องโครงการพี่เลี้ยงที่ทำมาจะเปลี่ยนแนวเป็นอย่างไร สอบถามกับผู้อำนวยการแต่ละสำนักว่ามีความเห็นอย่างไรแล้วจึงค่อยส่งรายชื่อผู้สมัครพร้อมหัวข้อที่ต้องการให้พัฒนามา ผู้เชี่ยวชาญที่ดีจะต้องวิชาการดี ทำวิจัยได้ ประสานดี จัดการดี ซึ่งแต่ละสำนักมีไม่มากนัก

                                แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช  ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่าผู้อำนวยการจะต้องสนใจและอยากทำเรื่องนี้ และสามารถทำควบคู่ไปกับงานประจำแต่โดยเริ่มต้นโครงการนี้ Start ไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกเนื่องจากเป็นโครงการเริ่มต้น จะต้องพัฒนาต่อไป

 

มติที่ประชุม                          รับทราบ

 

2.3          ผลการดำเนินการ/ปัญหาและอุปสรรค ภายในโครงการสร้างผู้เชี่ยวชายด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง รุ่นที่ 1 ปี 2553

                นางสาววันทนีย์ วัฒนาสุรกิตติ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา

ชี้แจงถึงปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมาในโครงการดังนี้

                                - การพัฒนาความรู้ด้านวิชาการ เป็นพื้นฐาน น้องเลี้ยงจะต้องเข้าร่วมอย่างน้อย 1 ครั้งซึ่งตรงนี้น้องเลี้ยงในโครงการได้เข้ารับการอบรมตามนี้แล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง

                                - การพัฒนาความรู้เฉพาะทาง จะไม่มีเนื้อหาวิชา และน้องเลี้ยงไม่ได้สมัครเข้ามา

                                - การใช้ความรู้และทักษะเชิงลึก น้องเลี้ยงทุกคนมีการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการแล้วทั้ง 3 ครั้ง แต่บางคนก็อยู่ได้ไม่ครบวันประชุมและไม่ได้นำเสนอบางครั้ง

                                - น้องเลี้ยงไม่ค่อยได้พบปะพี่เลี้ยง

                                นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยาได้เสริมว่า น้องเลี้ยงใน 10 คนนี้ที่ผ่านมามีน้องเลี้ยงบางคนที่ขอดรอปโครงการ แต่น้องเลี้ยงประมาณ 70% ยังพยายามรักษาสภาพความเป็นน้องเลี้ยงในโครงการ ซึ่งน้องเลี้ยงที่เหลือนี้ 1 ใน 3 มีความก้าวหน้าที่ชัดเจนและเรียนรู้ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ      การ Drop Out เป็นเรื่องที่คาดเอาไว้แล้ว และยังอยู่ในอัตราที่ยอมรับได้ ในส่วนคนที่ Drop ไป เราจะต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีคน Drop Out น้อยลง ซึ่งคนที่ Drop Out อาจเป็นเพราะแรงกดดันจากงานประจำ ผู้บังคับบัญชา ฯลฯ จะขอปรึกษาอีกครั้งในวันที่ 23-24 ส.ค. 53 ว่ารุ่นแรกในปีที่ 2 จะทำอย่างไร

 

มติที่ประชุม                          แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช และโครงการ Talent Management รับจัดทำสไลด์ปัญหาและอุปสรรคของโครงการฯ นำเสนอในที่ประชุมกรม โดยให้นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์   ช่วยเสริมในที่ประชุมด้วย

 

วาระที่ 3                เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)

                                - ไม่มี

 

ปิดการประชุม                      16.00 น.

 

................................................................

 

นางสาวฐานีย์ อุทัศน์ ผู้จดรายงานการประชุม

แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช ผู้ตรวจรายงานการประชุม

หมายเลขบันทึก: 375809เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท