ความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้(3)


การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่

m-Learning

การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่

m-Learning : Mobile Learning

การเรียนที่แปรเปลี่ยนได้ เคลื่อนที่ได้และหมุนไปมาตามลมได้

เป็นการเรียนรู้ผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่พกพาสะดวกและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทุกสถานที่ ทุกเวลา

w-Learning : Wireless Learning

วิทยุ, คลื่นไร้สายไม่มีเส้นลวด

เป็นเรียนรู้ผ่านเครื่องมือไร้สาย เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ไม่ต่อสาย แต่ใช้ wireless เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

m-Learning : Mobile Learning  และ w-Learning : Wireless Learning มีความหมายเดียวกัน คือเป็นการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ไร้สาย สามารถใช้เรียกได้ทั้งสองคำ แต่ที่นิยมเรียกส่วนใหญ่จะใช้คำว่า m-learning

นิยาม 1 Learning Mobility สามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาโดยปราศจากสถานที่ทางกายภาพ อาจเกิดนอกชั้นเรียนในสถานที่ต่าง ๆ

 

- Book หนังสือ เรียนจากหนังสือ ที่สามารถพกพาไปได้ทุกสถานที่

- Electronic Resources (ทรัพยากรของประเทศ,ทรัพย์สินของบริษัท) เรียนรู้จากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น CD, VDO, DVD

- Places สถานที่ เรียนรู้จากสถานที่จริง เช่น โครงการหลวงต่าง ๆ

- People คน เรียนรู้จากคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เช่น วิทยากรท้องถิ่น

คำนิยาม 2 เป็นอุปกรณ์พกพาที่สะดวก เป็นอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา บางครั้งมีขนาดเล็กที่พกใส่กระเป๋าหรือเล็กเท่ากับหนึ่งฝ่ามือ

 MOBILE DEVICE

- e-Mail จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

- e-Books หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

- WEB เว็บต่าง ๆ

- Music, MP3, etc เพลงและอื่นๆ

- Movie Player ภาพยนตร์

- Organiser เครื่องบันทึกและจัดการตารางนัดหมาย

- Camera กล้อง

- Video วีดิทัศน์

- Phone โทรศัพท์

- GPS Compass บอกตำแหน่งที่ตั้ง บอกทิศทาง

อ้างอิงแหล่งที่มาของรูปhttp://2.bp.blogspot.com/_QXCkbz8h2zc/RwsNMyoBuSI/AAAAAAAAAAM/-sf5hR2Z3Po/s320/mlearning.png

อ้างอิงแหล่งที่มาของรูปhttp://www.objectj.com/public/objectj_files/mLearning_flow.jpg

อ้างอิงแหล่งที่มาของรูป http://ltxserver.unitec.ac.nz/~thom/images/uses_of_PDAs.jpg

m-Learning

- m-Learning in Training สามารถเรียนรู้การฝึกอบรมผ่านโทรศัพท์มือถือ

- m-Learning in KM สามารถเรียนรู้การจัดการองค์ความรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ

- m-Learning in Learning Organization สามารถใช้ในองค์การแห่งการเรียนรู้โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ

- m-Learning in Education สามารถใช้ทางการศึกษาผ่านโทรศัพท์มือถือ

m-Learning

MESSAGE on MOBILE

SMS : Short Message Service ข้อความสั้น

- Text ข้อความ

- Simple Picture ตัวอย่างรูป, สัญลักษณ์

EMS : Enhanced Message Service

- Sound เสียง

- Picture ภาพ

- Animation ภาพเคลื่อนไหว

MMS : Multimedia Messaging Service

- Text ข้อความ

- Sound เสียง

- Video วิดีโอ

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.onkaseammk22.ob.tc/page5.html

M-Learning (Mobile Learning )

หมายถึง การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mobile learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน การสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless telecommunication network) และ เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยผ่านสัญญาณแบบไร้สายที่มีบริการตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยและภายนอก มหาวิทยาลัย (Access Point) ผู้เรียนและผู้สอนใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Lan) ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC, Cell  Phones /Cellular Phone ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเอง

             

สำหรับพัฒนาการของ m-Learning  เป็นพัฒนาการนวัตกรรมการเรียนการสอนมาจากนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกล หรือ d-Learning (Distance Learning)  และการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronic Learning)  ดังภาพประกอบต่อไปนี้

รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง d-Learning, e-Learning และ m-Learning

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบ m-Learning

                การจัดการเรียนการสอนแบบ m-Learning นั้น ผู้เรียนต้องใช้อุปกรณ์แบบติดตามตัวหรือเคลื่อนไปได้โดยสะดวก (mobile devices) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทมีความสามารถ มีขนาดและราคาที่แตกต่างกันไป  อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนแบบ m-Learning ได้ มีดังนี้

Notebook computers  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้ มีความสามารถเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป (Desktop of Personal Computer) ปัจจุบันมีขนาดเล็กและสามารถพกพาได้โดยสะดวก แต่ราคายังค่อนข้างสูง

Tablet PC  เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา มีความสามารถเหมือนกัน PC บางชนิดไม่มีแป้นพิมพ์แต่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทรู้จำลายมือในการรับข้อมูล ยังมีราคาแพงอยู่มาก

Personal Digital Assistant (PDA) เป็นอุปกรณ์พกพา เสมือนเป็นผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัว หน่วยประมวลผลมีความสามารถสูง จอภาพแสดงผลได้ถึง 65000 สีขึ้นไป สามารถประมวลผลไฟล์ประเภทมัลติมีเดียได้ทุกประเภท ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการมักใช้ Palm หรือ Microsoft Pocket PC มีซอฟต์แวร์ให้เลือกติดตั้งได้หลากหลาย

Cellular phones  เป็นอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือทั่วไป เน้นการใช้ข้อมูลประเภทเสียงและการรับส่งข้อความ (SMS) มีข้อจำกัด คือ มีหน่วยความจำน้อย อัตราการโอนถ่ายข้อมูลต่ำ ในรุ่นที่มีความสามารถ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน WAP (Wireless Application Protocol) หรือ GPRS (General Packet Radio Service)

Smart Phones เป็นอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ความสามารถสูง รวมความสามารถของ PDA และ Cellular phones เข้าด้วยกัน อาจมีขนาดเล็กกว่า PDA และใหญ่กว่า Cellular phones ใช้ระบบปฏิบัติการ คือ  Symbian  หรือ Windows Mobile มีโปรแกรมประเภท Internet Browser ใช้เป็นอุปกรณ์ Multimedia สำหรับการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากตัวอย่างอุปกรณ์ข้างต้น คุณสมบัติของอุปกรณ์ที่สำคัญคือ สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีไร้สายแบบใดแบบหนึ่ง  มีความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  อุปกรณ์แต่ละประเภทมีขนาด น้ำหนัก ความสามารถ และราคาแตกต่างกันไป ดังตัวอย่างตารางเปรียบเทียบอุปกรณ์ที่ใช้ใน m-Learning  ดังนี้3

ข้อดีของ m-Learning

  •  
    • การใช้ m-Learning สามารถใช้ได้ทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้สถานที่นั้น จะไม่มีสายสัญญาณให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เป็นการแก้ไขปัญหาในการเรียนแบบ Location Dependent Education
    • อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อแบบไร้สายส่วนมาก มักมีราคาต่ำกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และมีขนาด น้ำหนักน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้สะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนสถานที่ใด เวลาใดก็ได้
    • จำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่มีจำนวนมาก และใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน หากนำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีไร้สายมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางและจำนวนผู้เรียนได้
    • การเรียนในรูปแบบ m-Learning เป็นการเรียนรู้แบบเวลาจริง เนื้อหามีความยืดหยุ่นกว่าบทเรียนแบบ e-Learning ทำให้การเรียนรูได้รับข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดีกว่า e-Learning
    • ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ทันที เช่น การส่งข้อความ การส่งไฟล์รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการสนทนาแบบเวลาจริง (Real time)
    • มีค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าบทเรียนที่นำเสนอผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ข้อจำกัดของ m-Learning

  •  
    • จอภาพแสดงผลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่สามารถแสดงข้อมูล สารสนเทศให้ผู้เรียนเห็นได้อย่างชัดเจน
    • อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ส่วนมากมีขนาดหน่วยความจำมีความจุน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้มีข้อจำกัดในการจัดเก็บไฟล์ประเภทมัลติมีเดีย
    • การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์ในอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ทำได้ยากกว่าคอมพิวเตอร์
    • เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีความเร็วต่ำ เป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนแบบ m-Learning เพราะไม่สามารถใช้สื่อประเภทมัลติมีเดียขนาดใหญ่
    • แบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายไฟของอุปกรณ์เคลื่อนที่มีระยะเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

อุปกรณ์แบบไร้สายมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของแต่ละเครื่องก็แตกต่างกัน การใช้งานก็ย่อมแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอที่เล็ก หน่วยความจำที่มีจำกัดและน้อย ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดาวน์โหลด ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลรูปภาพ และเสียง ที่ต้องใช้หน่วยความจำมาก

 



   
© 2009 - ... www.onkaseammk22.ob.tc  
 
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการวิจัยที่ใช้ m-Learning

1. การใช้ mms ผ่านโทรศัพท์มือถือ ในการลงทะเบียนของนักศึกษา

2. การใช้ mms ผ่านโทรศัพท์มือถือ เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษ

3. การใช้ mms ผ่านโทรศัพท์มือถือ เรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

4. การใช้ mms ผ่านโทรศัพท์มือถือ เรียนรู้การลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์

5. การใช้ mms ผ่านโทรศัพท์มือถือ เรียนรู้วิธีและขั้นตอนการทำน้ำผักสุขภาพ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 375354เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2010 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท