โครงการนำร่องประกันภัยธรรมชาติ สำหรับการผลิตข้าวปี 2553


การบริหารความเสี่ยง

         ภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ การเกิดปรากฎการณ์ต่างๆในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว ภัยแล้ง อุทกภัย นับวันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน คือการประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น

    สิ่งสำคัญของการทำประกันภัยทางด้านการเกษตร คือ การประเมินความเสียหายซึ่งจะต้องมีความเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่าย คือผู้เอาประกันและรับประกัน

    ในอดีตที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานได้ศึกษารูปแบบการประเมินความเสียหายที่แตกต่างกัน เช่นมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ศึกษาการรับประกันภันน้ำท่วมและภัยแล้งที่จังหวัดกำแพงเพชร ประเมินความเสียหายโดยใช้ดัชนีภูมิอากาศ

          ในฤดูกาลเพาะปลูกปี 2552/2553 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ทำการศึกษาการประกันภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยประเมินความเสียหายจริงเป็นรายแปลงในพื้นที่ 16 จังหวัดในภาคอีสาน เหนือ กลาง และภาคใต้ ผลการดำเนินงานพบว่า การประเมินความเสียหายในแต่ละวิธีมีทั้งข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน

           สำหรับการผลิตข้าวนาปี 2553 กำหนดให้ทดลองการรับประกันภัยธรรมชาติ เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการประเมินความเสียหายและพัฒนารูปแบบการประกันภัยให้เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

           วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาวิธีการประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติสำหรับการผลิตข้าว โดยใช้ดัชนีภูมิอากาศและไม่ใช้ดัชนีภูมิอากาศ ตลอดจนความต้องการของเกษตรกรที่มีต่อระบบการประกันภัยธรรมชาติสำหรับการผลิตข้าวและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน โดยดำเนินการศึกษาในจังหวัดขอนแก่น และอุตรดิตถ์

               รูปแบบการประกันภัย เฉพาะข้าวนาปีที่ปลูกปี 2553/2554 โดยคุ้มครอง 2 ภัยคือภัยแล้งและ อุทกภัย ระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 27 พฤศจิกายน 2553 ( 150 วัน) โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยเสมือนจริง เพียงแต่ไม่ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นเงินสด มีเจ้าหน้าที่เกษตรประจำตำบล และสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำและติดตามโครงการตลอดระยะเวลาที่กรมธรรม์คุ้มครอง

          เนื่องจากการประกันภัยธรรมชาติ สำหรับการผลิตข้าว เป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกร เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายประกันภัยและภาษาที่ใช้ในกรมธรรม์ค่อนข้างจะเข้าใจยาก ต้องให้เกษตรกรเข้าใจในเนื้อหาประกันภัย

          ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการประเมินความเสียหายที่ชัดเจน ถูกต้องจากการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการประเมินความสียหายดังกล่าว เกษตรกรจะได้รับความเป็นธรรมตามหลักและวิธีการประเมินความเสียหายที่ศึกษาวิจย และความคิดเหนของเกษตรกรต่อระบบประกันภัยที่นำไปประกอบในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานประกันภัยพืชผลทางการเกษตรต่อไป

หมายเลขบันทึก: 374543เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท