Thailand Reform..Where should we start? : ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มที่ไหนก่อน?


ปฏิรูปประเทศไทยไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องเริ่มปฏิรูปที่ตัวเราเองก่อน

 

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มที่ไหนก่อน?

 

ก่อนหน้าที่จะมีวิกฤตการเมืองครั้งล่าสุด เราต่างก้ได้ยินการพูดกันถึงเรื่องปฏิรูปอยู่บ่อยๆ ทั้งปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปสื่อ ปฏิรูประบบสาธารณสุข เรียกว่ามีสารพัดเรื่องที่จะปฏิรูปและต้องปฏิรูป จนบางครั้งผู้เขียนยังต้องกลับมาตั้งคำถามว่า การปฏิรูปคืออะไร ทำไม่ถึงต้องมีการปฏิรูป แล้วการปฏิรูปมันมีวิธีการยังไง

 

การปฏิรูป หมายถึง  การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง สะสาง แก้ไขให้ดีขึ้น ทำให้ดีมีคุณภาพกว่าเดิม

 

อาจารย์ธงทอง จันทรางศุ กล่าวไว้ว่า การปฏิรูปมีความมุ่งหมายที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิม อันที่จริงของที่มีอยู่เดิมนั้น ไม่ใช่ของชั่วร้ายเสียทั้งหมด แต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไป สภาพการณ์และปัจจัยแวดล้อมทั้งหลายไม่มีสภาวะใดอยู่คงที่ ระบบหรือการงานสิ่งใดที่ตั้งขึ้นไว้แต่ก่อน ด้วยสมมุติฐานหรือปัจจัยดั้งเดิม ก็จำต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องเท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงที่มาเยือนด้วย

 

ผู้เขียนก็เลยพอเข้าใจว่าการปฏิรูปนั้นที่แท้จริงแล้วก็คือกระบวนการที่จะนำสภาวะเดิมๆไปสู่สภาวะที่ดีกว่านั่นเอง ซึ่งสภาวะเดิมๆดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา การเมือง  ระบบสาธารณสุข หรือเรื่องอะไรต่อมิอะไรก็แล้วแต่ มันไม่สามารถคงอยู่ในแบบเดิม หรือยึดติดกับสิ่งเดิมตามที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีความเป็นพลวัฒน์ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรผันอยู่ตลอดเวลา หรือทางศาสนาพุทธจะเรียกว่าความอนิจจัง นั่นเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือคนที่อยู่ภายใต้สภาวะดังกล่าวต้องเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นเสียก่อน เมื่อสามารถเข้าใจและยอมรับได้แล้ว ก็เริ่มมามองหาวิธีการในการรับมือการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ นั่นคือการปฏิรูป วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปก็เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างคือ เราจะได้อยู่กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอย่างมีความสุข ไม่ต้องมาทนทุกข์กับความเปลี่ยนแปลงเพราะไม่ยอมเข้าใจการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง บางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเล็กๆที่เราไม่สามารถสังเกตหรือรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ กว่าจะรู้อีกทีก้ตอนที่มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดที่เราสังเกตหรือรู้ส฿กได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถสังเกตหรือรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าและดีกว่ากัน เพราะการรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่ละคนมีเซ้นส์ในเรื่องนี้ไม่เท่ากัน พอแต่ละคนรับรู้และสังเกตได้แล้ว ก็ต้องมาดูที่ขั้นตอนต่อไปว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขั้นตอนนี้มีความสำคัญไม่แพ้ความสามารถในการรับรู้หรือสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบางคนแม้รับรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใกล้เข้ามาทุกขณะหรือเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ยอมทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีผลอย่างไรต่อตัวเองบ้างทั้งในระยะใกล้และระยะไกล บางคนอาจไม่ยอมรับหรือมิปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลง แบบนี้แหละลำบาก ลำบากทั้งตัวการที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง คนที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือคนที่ต้องการให้มีการปฏิรูป และคนที่ไม่ยอมเข้าใจหรือไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือคนที่ไม่อยากให้มีการปฏิรูป เพราะต้องมาทำความเข้าใจกันก่อน ก่อนที่จะยอมให้มีการเปลี่ยนแปลง (ทั้งๆที่ถึงไม่ยอม ยังไงก็ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่วันยังค่ำ) มาทำความเข้าใจกันแล้วหากคนที่เป็นฝ่ายไม่ยอมรับหรือฝ่ายต่อต้าน ยอมเข้าใจและยอมรับด้วย ทีนี้ก็คงสบายขึ้นเพราะคงจะได้เริ่มดำเนินการขั้นตอนต่อไปเสียที แต่หากทำความเข้าใจแล้วไม่สามารถสร้างความเข้าใจ อีกฝ่ายก็ไม่ยอมรับ นี่สิเหนื่อย เพราะต้องมาประนีประนอมหาจุดที่สามารถบรรลุความต้องการของทั้งสองฝ่ายได้ ถ้าสามารถบรรลุข้อตกลงดังกล่าวก็ยังดีเพราะกระบวนการการปฏิรูปให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยังพอมีทางไปต่อ ถึงแม้แบบนี้จะยังไม่สามารถดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ต้องการตั้งแต่แรกทั้งหมดเพราะยังมีข้อแม้ของอีกฝ่ายอยู่ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีทางที่จะไปต่อ เมื่อมีทางไปต่อได้แล้วก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยจนถึงจุดที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก แต่ถ้าฝ่ายที่ไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับและต่อต้านไม่ยอมมาร่วมสังฆกรรมใดๆด้วย ก็จะพากันตายหมู่ เพราะเริ่มลงมือปฏิรูปให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เสียที จนในที่สุดคนอื่นๆ ประเทศอื่นๆ เขาได้เริ่มก่อน ได้ทำก่อน เขาก็จะล้ำหน้าเราไปก่อน ทิ้งให้ทั้งคนอยากเปลี่ยนแปลงและไม่อยากเปลี่ยนแปลงกอดคอกันอยู่ในสภาพที่ตนเองอยู่ในประเทศที่ล้าหลังเพราะมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดตามยถากรรมของมัน ส่วนคนที่สามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ มีความเข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้ถึงจะพูดถึงเรื่องปฏิรูปกันง่ายขึ้น เพราะทุกคนจะเข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกันว่าทุกสิ่งทุกอย่างในบ้านเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลง และต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาวะที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น ระบบการศึกษาที่ดีกว่า การบริหารจัดการที่ดินที่ดีกว่า ระบบสาธารณสุขที่ดีกว่า การเมืองที่ดีกว่า และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่างที่ดีกว่าตามมา

 

อย่างไรก็ตามจะเนื่องจากต้องการปฏิรูปเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือเพราะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจึงต้องปฏิรูปก็ตาม ทั้งสองอย่างต่างก็ต้องอาศัยการร่วมมือร่วมใจของทุกคนทุกฝ่ายในการผลักดักให้เกิดการปฏิรูป โดยต้องไม่ลืมแก่นแท้ของการปฏิรูปว่าเพื่อให้มีการเปล่ยนแปลง ปรับปรุงและพัฒนาไปสู่สภาวะที่ดีกว่า ซึ่งต้องเป็นสภาวะที่ดีกว่าของส่วนรวมไม่ใด่ดีกว่าของตนเอง ดังนั้นการปฏิรูปไม่ว่าจะเป้นเรื่องอะไรก็ตามจะต้องปฏิรูปเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ต่อส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลดีส่วนตนของใครคนใดคนหนึ่ง

 

การเริ่มต้นการปฏิรูปจึงไม่ใช่เริ่มที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือรอให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนริเริ่ม เพราะในประเทศเรา ในบ้านเรารวมทั้งอะไรๆในโลกนี้ มันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และมีมากมายหลายเรื่องด้วย บางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการปฏิรูปพร้อมกันถึง 4 – 5 เรื่อง 10 เรื่อง 20 เรื่องก็ได้ ซึ่งจะรอให้คนๆเดียวมาเป็นผู้ริเริ่ม หรือรับผิดชอบในการปฏิรูปก็คงไม่ได้ อย่าลืมว่าการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงและการพัฒนา ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะปฏิรูปมาระดมสมอง ระดมความคิดสติปัญญาเพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการปฏิรูปให้จงได้ การเปลี่นแปลงเองก็เกืดขึ้นตลอดเวลาทั้งแบบที่ค่อยๆเปลี่ยนไปทีละน้อย จนถึงจุดที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา การปฏิรูปจึงจำเป็นต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา เพิ่งปฏิรูปเรื่องนี้ไป ก็พอดีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือคนส่วนรวมมองว่าต้องการพัฒนาเรื่องนั้น ก็ต้องมาปฏิรูปเรื้องที่ว่านั้นกันอีก บางเรื่องอาจต้องปฏิรูปกัน 5 ปีต่อครั้ง บางเรื่องอาจต้องปฏิรูป 10 ปีต่อครั้งหรือบางเรื่องที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ่อยๆอาจมีการปฏิรูปกันทุกปีทุกวันก็เป็นไปได้ ดังนั้นการรู้ทันความเปลี่ยนแปลงหรือการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องอาศัยคนที่มีวิสัยทัสน์ในการเป็นผู้นำในการปฏิรูปด้วย เพราะการปฏิรูปให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทำกันง่ายๆ และไม่สามารถทำได้บ่อยๆ ดังนั้นในการจะปฏิรูปเรื่องใดต้องมองไปข้างหน้าด้วยว่า ในอนาคตอีก 10 หรือ 20 ปี เรื่องดังกล่าวจะมีแนวโน้มไปแบบไหน และเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบของการปฏิรูปให้สามารถตอบโจทย์ของการพัฒนาในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้การปฏิรูปอย่างมีวิสัยทัสน์จะช่วยไม่ให้ต้องมาปฏิรูปเรื่องนั้นกันบ่อยๆได้

 

ก็ต้องปฏิรูปกันทั้งในรูปของการปฏิรูปแบบเล็กๆน้อยๆ ซึ่งหมายถึงพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นทีละเล็กละน้อย แต่เมื่อไรที่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นภายในครั้งเดียวและเป็นการเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิง แบบนี้จะปฏิรูปกันลำบาก เพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยากที่จะสามารถรับรู้หรือสังเกตได้ทัน จึงไม่สามารถปรับตัวได้ทัน แต่อย่างไรก็ตามก็จำเป็นต้องใช้เวลาในการเข้าใจและปรับตัวให้เร็วที่สุด เพื่อให้การปฏิรูปทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

 

อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตลอดเวลา รวมทั้งความต้องการของคนเราที่ไม่เคยพอกับอะไรๆที่มีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พัฒนาตลอดเวลาซึ่งเป็นความต้องการการเปลี่ยนแปลงที่มาจากตัวของคนด้วยเช่นกัน ทั้งสองอย่างจึงเป็นตัวหลักสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิรูปและต้องปฏิรูป ขอเพียงแต่ว่าเราอย่างเพิ่งไปเบื่อกับคำว่าปฏิรูปเสียก่อน

 

การปฏิรูปไม่ว่าจะเป็น ปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูป ระบบสาธารณสุข ปฏิรูปที่ดินหรือจะปฏิรูปอะไรก็แล้วแต่ นั่นย่อมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระทบไปถึงทุกคนไม่มากก็น้อย เพราะการปฏิรูปยึดเรื่องของการสร้างผลประโยชน์ของส่วนรวมส่วนใหญ่หรือผลประโยชน์ของทุกๆคน ดังนั้นทุกคนในสังคมจึงหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ดังนั้นต้องยอมรับว่าการปฏิรูปย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อเรา เมื่อเราได้พบเจอกับความเปลี่ยนแปลง ตัวเราเองก็ต้องเปลี่ยนแปลง ปรับตัว ปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปให้ได้ เพื่อจะได้ใช้ชีวิตย่างมีความสุข สรุปแล้วไม่ว่าจะปฏิรูปเรื่องใดๆ เราควรเริ่มปฏิรูปที่ตัวเราเองก่อน เพราะถ้าเรารู้จักการเปลี่ยนแปลง เข้าใจการเปลี่ยนแปลง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง  เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นธรรมดา เราจะสามารถยอมรับการปฏิรูปได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าบางคนจะได้รับผลเสียจากการปฏิรูป แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับผลประโยชน์ ก็ต้องยอมรับการปฏิรูปนั้นให้ได้

 

ปฏิรูปตัวเองในเรื่องความคิดให้เห็นแก่ส่วนรวม รู้จักพอเพียง ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือร้อน ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างได้

 

ปฏิรูปตัวเองในเรื่องการรู้จักพึงพาตนเองมากกว่าที่จะฝากภาระให้เป็นของคนอื่น

 

ปฏิรูปตัวเองมนการหัดเป็นผู้ริเริ่ม

 

ปฏิรูปประเทศไทยไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องเริ่มปฏิรูปที่ตัวเราเองก่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 374540เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท