การพัฒนาโรงเรียนเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพรอบที่สาม


ประเมินคุณภาพ

 

                                                                                  ธนากฤช  ครุเจนธรรม

ระบบการประกันคุณภาพ ได้มีระบุไว้ในกฎกระทรวง พ.ศ. 2553 และพรบ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 47 48 49 50  และ 51 เพื่อให้มีการรับรองสถานศึกษาว่ามีคุณภาพหรือไม่  จากการประเมินรอบแรก ( 2544-2548 ) จะเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา การประเมินรอบที่สอง ( 2549- 2553 ) ให้การรับรองมาตรฐานสถานศึกษาตามมาตรา 51  ส่วนในรอบที่สาม ( 2554-2558 ) จะประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานโดยใช้รูปแบบวิจัยให้ความรู้เชิงเหตุผลและปัจจัย บูรณาการกับการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาบริบทและกลไกต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลการจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา ในการประเมินภายนอกรอบที่สาม นี้ทาง สมศ.จะลดมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินน้อยลงจาก 18 มาตรฐานเหลือ 7 มาตรฐาน และลดตัวบ่งชี้ให้น้อยลง ลดตัวเลขในการประเมินให้น้อยลงแต่เน้นดุลยภาพของการประเมินเชิงคุณภาพมากขึ้น  โดย KPI จะแบ่งเป็น  3  ประเภท ได้แก่ ตัวบ่งชี้พื้นฐาน  ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมในการประเมินคุณภาพรอบนี้ มีเป้าหมายคือการพัฒนาคุณภาพ ก้าวข้ามขีดจำกัด  โดยคงด้วยความเป็นไทย มีคุณธรรม รวมถึงมีความคิดสร้างสรรค์ ของการพัฒนาแต่ละสถานศึกษา ในการประเมินของ สมศ.เพื่อสร้างแรงเหวี่ยง ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษา ก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเอง สมศ.จึงมีนโยบายดังนี้

  1. สร้างพันธมิตรในการทำงาน   กับองค์กรต่างๆ โดยมีแนวคิดที่ว่า “เสริมแรงมิตร ส่งพลังสู่การพัฒนา”
  2. สร้างห่วงโซ่คุณภาพในการประเมิน ได้แก่การกำหนด KPI ชัดเจน มีจำนวนน้อยลงและมีอำนาจการจำแนกมากขึ้น   ระดับคะแนน สะท้อนถึงคุณภาพในแต่ละมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เกณฑ์การประเมิน ที่ใช้มีความแม่นยำเที่ยงตรง เที่ยงธรรม  และวิธีการประเมินเปิดเผยโปร่งใส  เป็นกลาง เชื่อถือได้
  3. สร้างความสัมพันธ์ในการร่วมคิดร่วมทำระหว่างองค์กร ของ สมศ.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  และ กพร. โดย สมศ ทำ Quality Assessment ( QA ) สำนักงานเขตพื้นที่จะต้องดำเนินการทำ  Quality Enhancement  ( QE ) และ ทางหน่วยงานกลาง กพร. จะดำเนินการ Quality Improvement ( QI )
  4. สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนให้มีคุณภาพ

สำหรับการทำงานเพื่อรองรับการประเมินรอบที่สามนี้  จะต้องพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษา โดยใช้หลัก 3A  ผู้บริหารจะต้องถือธงคุณภาพและครูทุกคนในโรงเรียนต้องเห็นธงเดียวกันก่อน อย่างที่ว่า” ใจเป็นนาย  กายเป็นบ่าว” หากได้ใจแล้วการทำงานต่างๆ ก็คงไม่ยาก การเกิด การตระหนัก ( Awareness )เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต้ถ้าทำได้ก็ต้องลงมือ พยามลงมือทำ ( Attempt ) อย่างมีเป้าหมายตาม โครงงาน/กิจกรรมต่างๆที่จัด เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์หรือตัวบ่งชี้ ( Achievement ) ทั้งนี้ต้องมีระบบการประกันคุณภาพเข้าไปจับ  ได้แก่  Quality Control  ควบคุมคุณภาพตลอดการดำเนินกิจกรรม/โครงการ การสอน ในรายบุคคล และมีการตรวจสอบคุณภาพ Quality Audit  โดยตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ การสอน  รายงานผลการดำเนินโครงการกิจกรรมต่างๆ จนถึงขั้นสะท้อนผลเพื่อนำไปปรับพัฒนาในปีถัดไป  สุดท้ายจึงค่อยจัดทำ Quality Assessment  ภายในสถานศึกษา โดยจัดทำ SAR เพื่อประเมินตนเอง  โดยมีการประกันคุณภาพภายในทุกๆ 3 ปี และมีการประเมินคุณภาพภายนอกทุกๆ 5 ปี  ทั้งนี้การประเมินคุณภาพนี้เพื่อศึกษาจุดอ่อนของสถานศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่ควรต้องแก้ไข ซึ่ง สมศ.จะเสนอแนะไว้ให้แล้ว ว่าควรปรับพัฒนาในส่วนใดบ้าง ในการประกันคุณภาพอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ก็เป็นการทำเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวเองว่ามีข้อมูล ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน เป็นปัจจุบันมากน้อยเพียงใดก็เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาและตนเองมากเท่านั้น  ส่งผลทำให้การทำงานของเรา ในการปรับพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก อีกทั้งใช้เป็นผลงานของสถานศึกษาและตนเองได้อีกด้วย สุดท้ายก็จะส่งผลไปยังผลผลิตสุดท้ายที่เกิดขึ้นคือนักเรียนที่เราต้องคำนึงถึงมากสุดที่ผู้รับบริการจะได้สิ่งที่ดีที่สุด

                คุณภาพของการจัดศึกษาจะดูได้จาก คุณภาพของนักเรียนที่เป็นผลผลิต คือ นักเรียนที่จบการศึกษา และ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่  ว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด โดยการวัดความดีหรือพฤติกรรมนั้นทำได้อย่าง จึงต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะวัดความดีอะไร  เช่น ความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์  จะต้องระบุพฤติกรรมให้ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดที่จะส่งผลต่อความดีนั้นๆ  แล้วจึงตั้งเกณฑ์และแบบเก็บหลักฐานนั้นๆ  จำเป็นต้องวางแผน รวบรวมหลักฐานไว้เพื่อตอบให้ได้ว่าการตั้งเกณฑ์นั้นใช้เหตุผลใดที่ตั้งเกณฑ์นั้น โดยอาจดูจากบริบทของสถานศึกษาและปัญหาหรือข้อมูลคุณภาพของนักเรียนในปีที่ผ่านๆ มา ส่วนการวัดทางด้านการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้วัดเป็นตัวเลขได้ง่าย  ซึ่งด้านผู้เรียนนี้จะให้คะแนนในการประเมินถึง 75%  โดย 55% จะเป็นการวัดด้านความดี อีก 20% วัดด้านการเรียน  และอีก 25% ที่เหลือจะเป็นการพิจารณาคุณภาพการให้บริการและการบริหาร  คุณภาพของการให้บริการนี้รวมบุคคลทั้งหมดที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการ ครู นักเรียน  นักการ คณะกรรมการสถานศึกษา  สมาคมผู้ปกครอง  ผู้ปกครอง  อื่นๆ เป็นต้น  ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด  เพื่อให้เกิดคุณภาพเป็นลำดับชั้นขึ้นไป  องค์กรหนึ่งๆ หากมีบุคลากรที่ทำงานอย่างเต็มที่ ตามหน้าที่อย่างดีสุดแล้ว จะส่งผลต่อ องค์กรในระดับสูงขึ้นไป จนถึงระดับโรงเรียน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะมีเพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นคนสำคัญ  ซึ่งแท้จริงแล้วทุกคนสำคัญเท่ากันหมด ( ยกเว้นผู้อำนวยการ สำคัญมากที่สุด ) ส่วนสุดท้ายคือ คุณภาพของการบริหาร โดยดูจากการจัดลำดับของงาน  การบริหารเวลา ที่ดี  เห็นความสำคัญของเป้าหมายในการจัดการศึกษาเป็นลำดับสำคัญก่อน ก็จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

                                                                 อบรมแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อการประเมินภายนอกรอบที่สาม

                                                                           วันที่  12  กรกฎาคม  2553  ณ ห้องประชุมโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย

หมายเลขบันทึก: 374485เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หนูรักอาจารย์นะคะ จูบบบบบบบบบบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท