ควรจะจัดเวทีชาวบ้านแบบไหนดี? ถึงจะคุยกันรู้เรื่อง


ประสบการณ์ที่มีคุณค่าน่าเรียนรู้และแลกเปลี่ยน คือ ประสบการณ์ที่มาจากการปฏิบัติและลงมือทำจริงของคน ๆ นั้น ถึงจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและ "มีกึ๋น" ในการพูดคุยกันจริง ๆ
   ก็เป็นอีกประสบการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการฟังและร่วมปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดประเด็นว่า  “เราจะจัดเวทีแบบไหน? ให้ชาวบ้านคุยกันรู้เรื่อง  และได้ประโยชน์  ซึ่งมีข้อคิดที่ให้ทุกท่านได้นำมาทดลองประเมินประเด็นต่าง ๆ ดูว่า.....  ขั้นที่ 1 เมื่อจัดเสร็จแล้ว...ชาวบ้านรู้มั้ยว่า...เกิดปัญหาอะไร?  และมีสาเหตุมาจากไหนบ้าง?ขั้นที่ 2  เมื่อจัดเวทีเพื่อ ตั้งโจทย์วิจัย  ชาวบ้านรู้มั้ยว่า..."โจทย์ หรือ ประเด็นที่จะทำ นั้นมีอะไรบ้าง?   ขั้นที่ 3  เมื่อจัดเวทีเพื่อ ออกแบบการวิจัย  ชาวบ้านรู้มั้ยว่า... "ต้องทำอะไรบ้าง?"  ซึ่งถ้ามีความเสี่ยงก็ให้ไปทดลองทำในสถานีวิจัยก่อนเพื่อค้นหาคำตอบ   ขั้นที่ 4  การปฏิบัติจริง  ชาวบ้านรู้มั้ยว่า..."จะต้องเก็บและบันทึกข้อมูลอะไรบ้าง?  มีกฎกติกาอะไรบ้าง?  และนักวิจัยมีจรรยาบรรณอะไรบ้าง?   ขั้นที่ 5  วิเคราะห์และสรุปผล  เมื่อเก็บข้อมูลมาแล้วก็จะต้องนำมาวิเคราะห์และสรุปให้ได้ว่า  เกิดผลอะไรบ้าง? หรือ พบอะไรบ้าง?     บทเรียนที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้มาจากการนำข้อมูลดิบที่เป็นประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ประมาณ 30 คน มาขมวดปมและกระตุกเพื่อร้อยเรียงกันทำงานกับชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  ที่ดิฉันได้ร่วมกระบวนการและบันทึกไว้ค่ะ.
หมายเลขบันทึก: 37422เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
    การจัดเวทีชาวบ้านนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรคำนึงถึงคือกระบนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพราะหลายครั้งที่มีการทำงานร่วมกับชุมชนของนักวิจัยจากภายนอกที่เข้าไปทำงานวิจัยในชุมชน ๆ มักคิดว่าจะมาทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่นักวิจัยจากภายนอกแต่ไม่เข้าใจว่างานวิจัยที่จะทำโดยคนภายนอกจะเกิดประโยชน์ต่อตัวเองอย่างไร ดังนั้นการจัดเวทีที่ดีต้องกระตุ้นหรือเริ่มจากการคิดประเด็นวิจัที่มีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสรุปผล และร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์ ทุกขั้นตอนมีความสำคัญเท่าเทียมกันครับ
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
ขยันมาก ไปได้เร็วกว่าท่คิด ขอชื่นชม นำเอาความรู้เรา ประสบการณ์ บวกความรู้เขา (ภูมิปัญญาชาวบ้าน) มาถักร้อย  แล้วเรียบเรียงจะเป็นงานวิฃาการท่สมบูรณ์
ต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ ครับ ทำบ่อย ๆ ครับ การทำงานกับชุมชนไม่มีสูตรสำเร็จรูปครับ แต่สิ่งสำคัญเราต้องมีใจ และทำใจในการทำงานให้ถูกต้อง ว่าเราลงไปทำอะไร ถ้าพี่ศิริวรรณ หาคำตอบได้ว่า "เราลงไปทำอะไร" ทุก ๆ ย่างก้าวก็จะเต็มไปด้วยความสุขครับ
ถ้ามีอะไรแนะนำหรือเพิ่มเติมความรู้ ดิฉันก็ต้องขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ  เพราะกำลังทำไปและเรียนรู้ไปภายใต้ประสบการณ์และการค้นหาคำตอบในงานส่งเสริมการเกษตรค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท