เอาการจัดการความรู้ไปใช้จริงในงานประจำได้อย่างไร


กลายเป็นทำKM ไม่ใช่เอาKMมาช่วยทำงานให้มีคุณภาพ แลความสำคัญสูงสุดอยู่ที่คน ไม่ใช่เครื่อง
ปัจจุบันการจัดการความรู้เป็นกระแส เป็นแฟชั่นไปแล้ว หลายหน่วยงานก็เลยต้องทันกระแสโดยการกล่าวอ้างบ้างว่าทำKMเหมือนกัน ก็จะไปดูจากที่ต่างๆที่วิทยากรกล่าวอ้างถึงว่าดี สิ่งที่ผม สังเกตเห็นคือการเห็นKMเป็นท่อนๆเป็นส่วนๆแล้วมีการแยกตัวออกจากงานประจำ แม้จะมีเครื่องมือของKMเยอะก็ตาม ผมก็ยังมองว่าไม่ใช่KMแท้ บางแห่งก็เน้นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องมือเทคโนโลยี เว็บไซต์ ลงทุนกับเครื่องมือไปมาก บางแห่งก็สนุกกับการทำCoP และหลายๆแห่งก็เลยจับเอาบางส่วนที่เห็น บางรูปแบบที่รับรู้มาทำเป็นKMแล้วพอทำๆไป กลับยิ่งรุ้สึกว่ามันแปลกแยกออกจากงานแระจำไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นอีกงานหนึ่งที่เพิ่มเข้ามา คนที่รับผิดชอบหรือคนที่ชอบก็ทำไป แต่คนส่วนใหญ่ไมม่เอาด้วยเพราะไม่เห็นประโยชน์ที่แท้จริง กลายเป็นทำKM ไม่ใช่เอาKMมาช่วยทำงานให้มีคุณภาพหรือตรงความต้องการของลูกค้าหรือประชาชน 
ในความคิดเห็นของผม การจัดการความรู้หรือKMต้องเกิดจากใจไม่ใช่บังคับ และต้องทำสอดแทรกไปกับงานประจำ โดยความสำคัญสูงสุดอยู่ที่คน ไม่ใช่เครื่อง แต่แม้คนจะสำคัญแต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนสำคัญกว่า แม้ความรู้จะเป็นอำนาจแต่การแบ่งปันความรู้เป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่า และในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดจากการทำจริงๆในงานของตนเองแล้วงานนั้นประสบความสำเร็จแล้วจึงนำมาเล่าให้คนอื่นๆฟัง ไม่ใช่ไปอ่านตำรา ฟังอาจารย์ ฟังผู้เชี่ยวชาญมาแล้วเอามาบอกว่าดีเอามาเล่ามาบอกให้คนอื่นทำตามนั้นมันไม่ใช่KMของจริง การเรียนรู้ของบุคคลที่ทำงานจริง ปฏิบัติจริงนั้นสำคัญมากเมื่อทบทวนออกมาแล้วเห็นว่าเป็นสิ่งดี สิ่งที่สำเร็จก็กลั่นกรองเป็นความรุ้ของตนเองเก็บไว้ในสมอง ในตัว และค่อยๆสกัดออกมาเป็นความรุ้ชัดแจ้งอีกต่อหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วการสกัดออกมาให้ชัดแจ้งนั้นค่อนข้างยาก จึงต้องมีผู้ช่วยกระตุ้นให้เขาสกัดออกมาได้ อาจใช้วิธีใดก็ได้เช่นเรื่องเล่า พูดคุยแบบเรื่อยๆ สังเกตวิธีปฏิบัติ อัดเป็นเทป เป็นวีดีโอมาดู เป็นต้น 

การนำKMมาใช้ในหน่วยงานจะต้องทำทั้ง
1. ส่วนบุคคลคือให้คนทำงานทบทวนตนเอง เอาที่สำเร็จมาบอก มาเขียน มาเล่า แล้วเข้ากลุ่มกับเพื่อนร่วมงานในหน่วยตนเอง มาแลกเปลี่ยนกันแล้วหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน หลังจากนั้นก็นำมาพูดคุยระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เมื่อตกลงกันได้ชัดเจนก็จะได้การปฏิบัติที่ดีของหน่วย
2. เมื่อหน่วยได้แล้วก็นำวิธีปฏิบัตินั้นมาแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบกับหน่วยอื่นๆ ทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติและหัวหน้ากับหัวหน้า ก็จะได้เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีขององค์กร 

ที่สำคัญ ที่บอกว่าอันไหนเป็นการปฏิบัติที่ดีต้องมีตัวชี้วัดที่เปรียบเทียบกันได้ ไม่ใช่แค่รู้สึกว่าดี ถ้าเป็นอย่างนี้ใครก็ว่าของตัวเองดีหมด พอมาแลกเปลี่ยนกันก็ไม่ได้อะไร ก็แค่ได้ฟังองค์กรอื่นพูด ฟังเสร็จกลับไปก็ไม่รู้จะเอายังไง ก็ทำเหมือนเดิมต่อไป ก็เลยได้แค่ทำKMแต่ไม่ได้ผลจากKM
คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 3742เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2005 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณหมอพิเชฐ

เพิ่งเจอบล็อกของคุณหมอค่ะ เนื้อหามีประโยชน์สำหรับโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะที่กำลังพัฒนาเรื่องคุณภาพและ KM จะแนะให้คนเทพธารินทร์มาอ่านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท