ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ลักษณะที่เป็นธรรมชาติวิทยาศาสตร์สามารถสร้างนักวิทยาศาสตร์ได้


การเริ่มต้นที่ดีเป็นการสร้างทิศทางของวิทยษศาสตร์ไทย

การเริ่มต้นคำถามแล้วเป็นคำถามที่ต้องให้คำตอบ บ่อเกิดของคำถามถ้ามาจากสิ่งที่เป็นปัญหา หรือเหตุของปัญหา หรือองค์ประกอบของปัญหา ถ้ากำหนดปัญหาได้ เราก็พอมีทางแก้ปัญหาได้

   สิ่งที่ยากยิ่งของนักวิทยาศาสตร์คือการกำหนดปัญหา เพราะคำว่าปัญหา มักจะเอาผลที่จะกระทบกับตัวมนุษย์เองมาเป็นที่ตั้ง ก็เท่ากับว่าเรากำลังสร้างกำแพงแห่งการที่จะก้าวผ่านปัญหานั้น ๆ ได้ยากยิ่งกว่าเดิม

  การศึกษาที่ปราศจากผลประโยชน์ของตนจะเป็นการศึกษาที่บริสุทธิ์ ความเป็นวิทยาศาสตร์ก็บริสุทธิ์

  การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่บริสุทธิ์ก็มีจุดมุ่งหมายที่บริสุทธิ์

  คำว่า "บริสุทธิ์" ของวิทยาศาสตร์ ก็ หมายถึง ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) แล้วธรรมชาติวิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร จำเป็นต้องนิยาม

    น้ำเป็นของเหลวใสไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น มีธาตุไฮโดรเจน H 2 อะตอม และออกซิเจน O หนึ่งอะตอมเป็นองค์ประกอบ  ซึ่งมีสูตรทางเคมีอย่างง่าย คือ H2O  มีจุดเยือกแข็ง ที่ 0 องศาเซลเซียส จุดเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส โครงสร้างอะตอมที่มีจุดศูนย์กลางระหว่างอะตอมออกซิเจนกับอะตอมไฮโดรเจน ประมาณ 0.9584 อังสตรอม มีมวล 18.02 กรัม/โมล(H=2*1+O=16 gram) มีความหนาแน่น 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีค่าความจุความร้อน 4.186 Kj/kg.K ค่า dipolement = 1.85 D ค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 7 ค่าความหนืด 1 mPa·s at 20℃ และค่าอื่น ๆ อีก

  จากข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์พยามศึกษาคุณสมบัติของน้ำ ไม่ว่าอยู่ที่ใดก็ย่อมแสองค่าเฉพาะตัวของมันออกมา จนกลายเป็นค่าที่วัดได้เรียกว่า คุณสมบัติเฉพาะตัว

  ข้อมูลบริสุทธิดังกล่าวก็ยังไม่หิสุทธิ์ของหมดทางที่ศึกษาอัตราการรวมกันเป็นน้ำ และอัตราการแตกตัวเป็นธาตุบริสุทธิของน้ำ นักวิทยาศาสตร์ก็พยามมุ่งมั่นศึกษา หรือแม้กระทั่งมนุษย์ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าการสร้างปฏิกริยาฟิวชั่น Fusion จากน้ำ ที่เรียกว่า ดิวเทอรเลียม และตริเตรียม รวมกันได้ธาตุฮีเลียม เสมือนปรมณูที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็ยังหวังว่ามันน่าจะเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไข หรือกฏวิทยาศาสตร์อย่างง่าย ๆ นั่นเอง ผ่านมาแล้ว กว่า ๕๐ ปี ความพยายามนี้ก็ยังอยู่

     สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสูญเงินกับการศึกษาครั้งนี้เอง ก็ทำให้เกิดการสร้างพลังงานแบบใหม่แทนและมีแนวโน้มที่คุ้มค่า แม้นว่าจะสร้างฟิวชั่นโดยตรงจากน้ำไม่ได้ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เองก็สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากโปรตรอนหรือไฮโดเจนไออนได้อย่างน่าทึ่ง

   เมื่อกลับมาที่ธรรมชาติของน้ำเป็นอย่างไร มันต่างอย่างไรกับคุณสมบัติของน้ำ

  นักวิทยาศาสตร์จะมีมุมมองของการแสดงให้รับรู้เป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ถือว่าเป็นธรรมชาติ เช่น เหตุการเปลี่ยนสถานะของน้ำ การอยู่ในสถานะต่าง ๆ แรงยึดเหนี่ยว การรักษาสภาพ การดูดและการการคายความร้อนที่แตกต่างกันที่สืบเนื่องจากสมบัติความจุความร้อนเฉพาะตัว ดังนั้นผลที่เกิดจากสมบัติเฉพาะตัวนั้นจึงเรียกว่าธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งอาจรวมถึงคุณสมบัติของสิ่งนั้น ๆ ด้วย

   บางครั้งเราอาจจะจินตนาการให้เป็นรูปธรรมเพื่อง่ายแก่การศึกษา ซึ่งสิ่งที่จินตนาการนั้น ๆ อาจจะทำให้เรารู้และเข้าใจได้มากกว่า แต่ถ้าจินตนาการพลาดก็สงผลให้เกิดการสูญเปล่าได้

  การฝึกฝนผู้เรียนได้ได้มีสมบัติของการเป็นนักวิทยาศาสตร์นั้นก็หมายถึงการพยามสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ แล้วคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ที่บริสุทธิเป็นอย่างไร

    มีนักการศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ก็พยายามที่จะนิยามสมบัติของนักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะสร้างเป็นต้นแบบ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ด้วยลักษณะต่างกัน เช่น มีความอยากรู้อยากเห็น เมื่อรู้ก็พยามสื่ออธิบายด้วยวิธีต่างเพื่อให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนได้รับรู้หรือเข้าใจ หรือคนพบมา ด้วยความมุ่งมั่น มานะ พยายามยาม โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนไปมากกว่าการได้ถ่ายทอดสิ่งที่ค้นพบ ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เท่ากับวินัยของนักวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากความลำเอียงใด ๆ ความยุติธรรมของตัวแปรต่าง ๆ จะต้องบังเกิดอย่างแท้จริง และสมบัติอื่น ๆ

    แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ที่ประสบผลสำเร็จนั้นมักจะมี บุคคลแห่งฝันของตัวเอง

   การที่จะสร้างผู้เรียนมุ่งหวังเป็นนักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องให้เขาได้มีโอกาสร่วมมือกับนักวิทยษสาสตร์ที่เขาได้สัมผัสหรือได้ใฝ่ฝัน จะเป็นแรงผลักดันความมุ่งมั่นที่มีทิศทางที่เกิดแก่ตัวผู้เรียน หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนไทยจะสร้างนักวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องเหมือนที่มีคนไทยที่น่าภูมิใจแห่งรางวัลโนเลบ คือ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิชาการ เป็นศาสตราจารย์ที่มีความรู้เชี่ยวชาญยิ่ง ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย ขอทรงพระเจริญ

และเป็นมิ่งขวัญของนักวิทยาศาสตร์ไทยตลอดจนชาวไทยทั้งปวง

 

 

  

  

หมายเลขบันทึก: 373062เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2010 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท