ผู้นำการเปลี่ยนแปลง


ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

พุ่มพวง  สังข์พงศ์*

บทนำ

 

        Iรูปแบบของกาบริหารและการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบัน จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งซี่งเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากเดิม  ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของโอกาสมากกว่า  การถูกคุกคาม เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์กร บางคนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งยากลำบาก เพราะจะนำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจ สูญเสียการควบคุม และเกิดความกลัวที่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่บางคนรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และสนุกสนาน ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมทั้งต้องพยายามสื่อสารให้บุคลากรทุกคนเข้าใจถึงเหตุผลความจำเป็นการในเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงและสามารถนำองค์กรได้  ในการสร้างภาวะผู้นำนั้นจะต้องทำให้ผู้นำมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะโดนบังคับให้เปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องเข้าใจสัจธรรมที่ว่า ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบแต่จำเป็นต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างรอบคอบ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากคนเพียงคนเดียว ต้องมีคนร่วมมือด้วย และไม่ใช่ว่าทุกคนที่เข้ามีส่วนร่วมจะเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางที่ต้องการ ผู้นำที่ดีจำเป็นต้องบริหารจัดการงานในแต่ละวันให้ลุล่วงไปด้วยดี ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องด้วย

ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

            คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ (2545) กล่าวว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก คนที่ไม่คิดจะเปลี่ยน คนที่ต่อต้านการปรับเปลี่ยน คนที่มุ่งตามกระแสหรือคิดที่จะหยุดอยู่กับที่ล้วนเป็นผู้แพ้ เราต้องรีบเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับ การที่จะเป็นคนกล้าที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้อง สร้างความถูกต้องที่ยิ่งใหญ่ได้นั้น จะต้องมีคุณลักษณะร่วมกันหลายปัจจัย คือ ต้องมี       7 Cs  ได้แก่

  1. Conviction  หมายถึง  ความคิด ความเชื่อในสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้อง ดีงาม
  2. Compassion  หมายถึง  ความประสงค์ที่จะแสดงออกซึ่งความคิด ความเชื่อนั้น
  3. Conscience  หมายถึง  มโนธรรม สัมปชัญญะขั้นสูงที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำในสิ่งที่ตนทำได้ จากที่ตนมีและสถานภาพที่เป็นอยู่
  4. Clevemess  หมายถึง  ความฉลาดรู้ เห็นความเป็นเหตุและผลของประเด็นปัญหา
  5. Connection  หมายถึง  เห็นความเชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ รู้จักแก้ไข เข้าใจในผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้น
  6. Commitment  หมายถึง   ความผูกพันยึดมั่นในความกล้านั้นอย่างคงเส้นคงวา
  7. Character  หมายถึง  บุคลิกที่เป็นแบบฉบับของตนเอง กล้าแสดงออกถึงความเป็นตัวตนได้อย่างถูกกาลเทศะ

การบริหารความเปลี่ยนแปลง

            การเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างความตึงเครียด ความสับสน และอาจถึงขั้นลดประสิทธิผลของงานลงได้ การเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ความสำเร็จต้องมีการวางแผนที่ดี ดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์ ประเมินผลอย่างถ้วนถี่ และทำงานอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารสามารถใช้กระบวนการทั้ง 8 ขั้นตอนต่อไปนี้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างเป็นระบบ (Daft, 1999)

                ขั้นที่ 1   ผู้นำต้องสร้างรู้สึกให้มีการตอบสนองโดยฉับพลัน โดยผู้นำต้องเห็นความสำคัญว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริง

                ขั้นที่ สร้างความร่วมมือที่นำไปสู่การรวมกำลัง เพื่อให้เกิดอำนาจอย่างเพียงพอที่จะนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง และเพื่อการพัฒนาความรู้สึกเป็นทีมงาน

                ขั้นที่ 3  พัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ โดยผู้นำรับผิดชอบในการสร้างกฎเกณฑ์และพัฒนาวิสัยทัศน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนากลยุทธ์

                ขั้นที่ 4   สื่อสารวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ให้ผู้ร่วมงานทุกคนรับทราบ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการกำหนดกิจกรรมที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยจัดให้มีการสื่อสารในเรื่องนี้อย่างน้อย 10 ครั้ง

                ขั้นที่ 5   มอบอำนาจ  ให้ผู้ร่วมงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อจะได้มีการดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์

                ขั้นที่ 6   สร้างชัยชนะในระยะสั้น เมื่อดำเนินกิจกรรมไปได้ระยะหนึ่ง ผู้นำควรวางแผนปรับปรุงวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนร่วม

                ขั้นที่ 7   รวมพลังของทุกคนในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยมีการเปลี่ยนโครงสร้างและนโยบายให้เหมาะสมกับวิสัยทัศน์ แต่ต้องไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงงานบางอย่าง ผู้นำอาจจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงด้วย

                ขั้นที่ 8   กำหนดรูปแบบใหม่ ๆ ในวัฒนธรรมองค์การ เป็นการติดตามผลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะนิสัย ความเชื่อ และความรู้สุขด้านจิตใจ โดยจะมีการทดแทนด้วยค่านิยมและความเชื่อใหม่ ตลอดจนสร้างความรู้สึกให้ผู้ร่วมงานเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ

บทสรุป

            สรุปได้ว่าผู้นำจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการบริหารและจัดการศึกษาอย่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพ จะต้องมีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการบริหารท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง จึงจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนว่าจะทำให้องค์กรมีคุณภาพได้อย่างไร ซึ่งเป็นความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจะต้องนำพา หรือได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงานในองค์กร เพื่อขับเคลื่อนการทำงานไปสู่ความสำเร็จ

 

บรรณานุกรม

ทิพาวดี  เมฆสวรรค์.  (2545).  กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน.  กรุงเทพฯ : บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท.

 

หมายเลขบันทึก: 372939เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2010 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

นางสาวนฤวรรณ ณ สุยสกุล

บทนำ

Iรูปแบบของกาบริหารและการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบัน จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งซี่งเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากเดิม ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของโอกาสมากกว่า การถูกคุกคาม เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์กร บางคนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งยากลำบาก เพราะจะนำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจ สูญเสียการควบคุม และเกิดความกลัวที่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่บางคนรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และสนุกสนาน ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมทั้งต้องพยายามสื่อสารให้บุคลากรทุกคนเข้าใจถึงเหตุผลความจำเป็นการในเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงและสามารถนำองค์กรได้ ในการสร้างภาวะผู้นำนั้นจะต้องทำให้ผู้นำมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะโดนบังคับให้เปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องเข้าใจสัจธรรมที่ว่า ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบแต่จำเป็นต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างรอบคอบ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากคนเพียงคนเดียว ต้องมีคนร่วมมือด้วย และไม่ใช่ว่าทุกคนที่เข้ามีส่วนร่วมจะเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางที่ต้องการ ผู้นำที่ดีจำเป็นต้องบริหารจัดการงานในแต่ละวันให้ลุล่วงไปด้วยดี ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องด้วย

ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ (2545) กล่าวว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก คนที่ไม่คิดจะเปลี่ยน คนที่ต่อต้านการปรับเปลี่ยน คนที่มุ่งตามกระแสหรือคิดที่จะหยุดอยู่กับที่ล้วนเป็นผู้แพ้ เราต้องรีบเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับ การที่จะเป็นคนกล้าที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้อง สร้างความถูกต้องที่ยิ่งใหญ่ได้นั้น จะต้องมีคุณลักษณะร่วมกันหลายปัจจัย คือ ต้องมี 7 Cs ได้แก่

1.Conviction หมายถึง ความคิด ความเชื่อในสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้อง ดีงาม

2.Compassion หมายถึง ความประสงค์ที่จะแสดงออกซึ่งความคิด ความเชื่อนั้น

3.Conscience หมายถึง มโนธรรม สัมปชัญญะขั้นสูงที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำในสิ่งที่ตนทำได้ จากที่ตนมีและสถานภาพที่เป็นอยู่

4.Clevemess หมายถึง ความฉลาดรู้ เห็นความเป็นเหตุและผลของประเด็นปัญหา

5.Connection หมายถึง เห็นความเชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ รู้จักแก้ไข เข้าใจในผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้น

6.Commitment หมายถึง ความผูกพันยึดมั่นในความกล้านั้นอย่างคงเส้นคงวา

7.Character หมายถึง บุคลิกที่เป็นแบบฉบับของตนเอง กล้าแสดงออกถึงความเป็นตัวตนได้อย่างถูกกาลเทศะ

การบริหารความเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างความตึงเครียด ความสับสน และอาจถึงขั้นลดประสิทธิผลของงานลงได้ การเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ความสำเร็จต้องมีการวางแผนที่ดี ดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์ ประเมินผลอย่างถ้วนถี่ และทำงานอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารสามารถใช้กระบวนการทั้ง 8 ขั้นตอนต่อไปนี้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างเป็นระบบ (Daft, 1999)

ขั้นที่ 1 ผู้นำต้องสร้างรู้สึกให้มีการตอบสนองโดยฉับพลัน โดยผู้นำต้องเห็นความสำคัญว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริง

ขั้นที่ 2 สร้างความร่วมมือที่นำไปสู่การรวมกำลัง เพื่อให้เกิดอำนาจอย่างเพียงพอที่จะนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง และเพื่อการพัฒนาความรู้สึกเป็นทีมงาน

ขั้นที่ 3 พัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ โดยผู้นำรับผิดชอบในการสร้างกฎเกณฑ์และพัฒนาวิสัยทัศน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนากลยุทธ์

ขั้นที่ 4 สื่อสารวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ให้ผู้ร่วมงานทุกคนรับทราบ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการกำหนดกิจกรรมที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยจัดให้มีการสื่อสารในเรื่องนี้อย่างน้อย 10 ครั้ง

ขั้นที่ 5 มอบอำนาจ ให้ผู้ร่วมงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อจะได้มีการดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์

ขั้นที่ 6 สร้างชัยชนะในระยะสั้น เมื่อดำเนินกิจกรรมไปได้ระยะหนึ่ง ผู้นำควรวางแผนปรับปรุงวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนร่วม

ขั้นที่ 7 รวมพลังของทุกคนในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยมีการเปลี่ยนโครงสร้างและนโยบายให้เหมาะสมกับวิสัยทัศน์ แต่ต้องไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงงานบางอย่าง ผู้นำอาจจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงด้วย

ขั้นที่ 8 กำหนดรูปแบบใหม่ ๆ ในวัฒนธรรมองค์การ เป็นการติดตามผลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะนิสัย ความเชื่อ และความรู้สุขด้านจิตใจ โดยจะมีการทดแทนด้วยค่านิยมและความเชื่อใหม่ ตลอดจนสร้างความรู้สึกให้ผู้ร่วมงานเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ

บทสรุป

สรุปได้ว่าผู้นำจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการบริหารและจัดการศึกษาอย่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพ จะต้องมีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการบริหารท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง จึงจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนว่าจะทำให้องค์กรมีคุณภาพได้อย่างไร ซึ่งเป็นความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจะต้องนำพา หรือได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงานในองค์กร เพื่อขับเคลื่อนการทำงานไปสู่ความสำเร็จ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท