วิธีบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน(IBS)


สำนักข่าว 'Dailymail' ตีพิมพ์เรื่อง 'Advice from the experts: Six ways to manage your IBS' = "คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ: 6 วิธีจัดการกับ IBS (ลำไส้แปรปรวน)" ใน 'Mailonline', ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome / IBS) อาจทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกันไป คนไข้แต่ละคนจะมีอาการต่างกันไป เช่น บางคนหนักไปทางท้องผูก บางคนหนักไปทางท้องเสีย ฯลฯ

...

ความน่าเบื่อ ของ IBS คือ ตรวจอะไรต่อมิอะไรก็หาสาเหตุไม่พบ เช่น หาแผลหรือเนื้องอกในทางเดินอาหารไม่พบ แถมโรคนี้ยังอยู่ในกลุ่ม "ไม่หาย-ไม่ตาย" คือ รักษาไม่หาย และไม่ทำให้ถึงตาย

ทางที่ดี คือ ทำความเข้าใจ ทำใจ และอยู่ร่วมกับมัน (IBS) ให้ได้ โดยให้ทุกคนทุกฝ่ายเดือดร้อนน้อยที่สุด

...

คนสหราช อาณาจักรหรือหมู่เกาะอังกฤษประมาณ 1/3 หรือ 3 คนเป็นมีอาการที่เข้าข่ายกลุ่มอาการนี้ 1 คน, ส่วนใหญ่มีอาการครั้งแรกตอนวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่วัยต้น

สถาบันเพื่อความเป็นเลิศทางคลินิกแห่งชาติ UK หรือ "ไน้ซ์" (National Institute of Clinical Excellence / NICE) แนะนำว่า คนที่มีอาการ 'ABC' ควรตรวจหาดูว่า เป็น IBS หรือเป็นโรคอื่นที่มีอาการทับซ้อนกันกับโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ

...

(1). A = abdominal pain / discomfort = ปวดท้อง / ไม่สบายในท้อง ส่วนใหญ่จะปวดทั่วท้อง ใต้สะดือ เป็นมากขึ้นหลังอาหาร

(2). B = bloating = ท้องอืด

(3). C = changes in bowel habits = นิสัยในการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย ฯลฯ

...

กลไกที่อาจ เป็นไปได้ คือ ปกติลำไส้ใหญ่จะมีการเคลื่อนไหวหลังกินอาหาร ตัวอย่างเช่น คนหลายๆ คนมักจะปวดท้อง อยากถ่ายอุจจาระ หลังดื่มน้ำหรือกินอาหารตอนเช้า

กลไกนี้ (gastrocolic reflex) ช่วยให้คนเราขับถ่ายได้ตรงเวลา ไม่มีปัญหาท้องผูก แต่ถ้ามีมากเกินไป... อาจทำให้ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืุดได้

...

อาการอื่นที่ พบได้น้อยกว่า คือ เรอ แสบร้อนหน้าอก (จากการเรอแล้วเกิดกรดไหลย้อน), เบื่ออาหาร คลื่นไส้

การศึกษาจากโรงพยาบาลอัดเดนบรูก ทำในคนไข้ 500 รายพบว่า 75% ดีขึ้นได้ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหาร และแบบแผนการใช้ชีวิต (lifestyle) ดังต่อไปนี้

...

(1). กินตรงเวลา

(2). กินน้อย หน่อย-บ่อยหน่อย > ยิ่งกินมากยิ่งทำให้อาการอยากถ่ายมากขึ้น

...

(3). กินช้าๆ > การกินเร็วๆ ทำให้กลืนลมลงไปมาก ทำให้ท้องอืดง่าย

(4). ปิดปากกิน > การกินไปด้วยคุยไปด้วย ทำให้กลืนลมลงไปมากเช่นกัน, วิธีที่ดี คือ หัดเป็นนักฟังที่ดี ฟังให้มาก-พูดให้น้อย

...

(5). เคี้ยวช้าๆ เพื่อให้น้ำลายช่วยย่อยอาหารกลุ่มแป้งไปบางส่วน และกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

(6). ดื่มน้ำให้ พอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหว ดันอาหารและน้ำจากบนลงล่างได้ดี และลดท้องผูก

...

(7). ลดไขมัน > อาหารไขมันสูงเพิ่มการหลั่งน้ำดี ซึ่งถ้าหลั่งออกมาคราวละมากๆ อาจก่อการระคายเคืองในลำไส้ได้

อาหารที่ควรลดให้มากได้แก่ อาหารประเภท "ผัดๆ ทอดๆ (ทอดร้ายกว่าผัด เนื่องจากใช้น้ำมันมากกว่า)", ชอคโกแล็ต, นมหรือผลิตภัณฑ์นมไขมันสูง (ควรกินชนิดไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมันแทน)

...

(8). กิน โยเกิร์ต-นมเปรี้ยว > เพื่อให้ได้จุลินทรีย์ชนิดดี ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ-น้ำตาลต่ำ ชนิดที่บอกว่า มีจุลินทรีย์เท่านั้นเท่านี้ตัวมักจะดีกว่าชนิดที่ไม่บอกว่า มีจุลินทรีย์กี่ตัว

จุลินทรีย์กลุ่มที่พบว่า ช่วยบรรเทาอาการได้แก่ กลุ่มแลคโทบาซิลลัส (lactobacillus), ไบฟิโดแบคทีเรียม (bifidobacterium), สเตรปโตคอคคัส เตอโมฟิลัส (streptococcus thermophilus)

...

(9). หาทางลด ความเครียด อาการซึมเศร้า เช่น ออกแรง-ออกกำลังให้เหงื่อตกเป็นประจำ ฝึกกล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ-ขอโทษ" บ่อยๆ เพื่อเสริมการมองโลกในแง่ดี

ถ้ามีอาการซึมเศร้าหรือเครียดอย่างแรง... ควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน เพื่อพิจารณาใช้ยาปรับสมดุลสารเคมีในสมอง

สารเคมีในสมองมีหลายกลุ่มที่ทำหน้าที่กระตุ้น-ยับยั้ง คล้ายๆ กับเป็นจราจรคุมไฟเขียว-เหลือง-แดงในสมอง, ยามีส่วนช่วยลดปัญหา "รถติดขัด" หรือสารเคมีในสมองแล่นผิดทิศทาง ปรับให้กลับสู่สมดุลได้

...

(10). ใ้ช้ย าคลายกล้ามเนื้อเรียบ (ลำไส้) ตามที่หมอใกล้บ้านแนะนำ เช่น buscopan ฯลฯ

(11). กินอาหาร ที่ช่วยบรรเทาอาการพอประมาณ (มากไปทำให้ท้องอืดได้)

อาหารบรรเทาอาการได้แก่ ปลา ผักใบเขียว ผลไม้ทั้งผลที่ไม่ใช่กลุ่มซิตรัส (citrus = กลุ่มส้ม มะนาว มะกรูด เลมอน เสาวรสหรือเกรพฟรุต), ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลวีท (เติมรำ), ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ลูกเดือย ฯลฯ, ...

(ต่อ)... โยเกิร์ตไขมันต่ำ-น้ำตาลต่ำ, พาสต้า, รำข้าว (bran - มีชนิดที่ใช้เป็นอาหารเสริมเส้นใยหรือไฟเบอร์), กล้วย (มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไ้ส้เจริญเติบโตได้ดี)

... 

(12). หลีก เลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ หรืออาหารแสลง

อาหารแสลงได้แก่ อาหารที่ใส่เครื่องเทศ ผลไม้ตระกูลส้ม-มะนาว, เนยแข็ง, หัวหอม กระเทียมต้น (leek), ชอคโกแล็ต, นัทหรือเมล็ดพืชเปลือกแข็ง-กระเทาะเปลือก เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ, ...

(ต่อ)... เนื้อวัว ขนมปังขาว ข้าวขาว อาหารทำจากแป้ง ไข่ ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็มส่วน เช่น เนยแข็ง น้ำมันเนย (พบในเบเกอรีแบบแพง)

...

(13). อาหาร เสริมที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้ในคนไข้บางราย คือ ขมิ้นขนาด 500 มิลลิกรัม/วัน, แคลเซียม (กลไกที่เป็นไปได้ คือ อาจช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง นุ่มนวล ไม่กระโชกโฮกฮาก), สะระแหน่ (peppermint / mint) 

...

(14). ทำใจ

ไม่ว่าชีวิตเราจะเป็นอย่างไร... สูงขึ้นหรือต่ำลง, ดีหรือร้าย, เลอเลิศ (มีชีวิตสูงส่ง) หรือเรอ (คนไข้ IBS บางรายจะเรอบ่อย), หน้าที่ของเรา คือ ทำใจ และอยู่ร่วมกับมันให้ได้

โลกเรามีประเทศหนึ่งที่คนชอบแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย ทะเลาะกัน ฆ่ากัน, ข่าวว่า ประเทศแบบนั้นยังหาทางหันมา "ปรองดอง" และอยู่ร่วมกันได้

ชีวิตเราก็เช่นกัน... ไม่ว่าจะเป็นอะไร, ขอให้ "ทำใจ" และอยู่กับมันให้ได้

...

อาจารย์ท่าน หนึ่งกล่าวไว้ดี คือ เรื่องของชีวิตนี่จะสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ต้องทำใจ อยู่กับมันให้ได้... 'Live with it, not for it' = "อยู่กับมัน, ไม่ใช่อยู่เพื่อมัน (หรือหมกมุ่นจนเรื่องนั้นมาครอบงำชีวิตเรา)"

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

[ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 5 กรกฎาคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 372322เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2010 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณท่านผู้อ่านเช่นกันครับ..........

อาจารย์อาวุโสด้านระบบทางเดินอาหารท่านหนึ่ง อาจารย์สุขุม บุญยรัตนพันธ์ บอกเล่าว่าคนไทยส่วนใหญ่เป็นอาการคล้าย ๆ กันนี้ แต่ลักษณะพยาธิสภาพในลำไส้ไม่เหมือนเปี๊ยบกับกลุ่มโรคนี้ อาจารย์ใช้คำว่า Indeterminate colitis

พบมาก ๆ ร่วมกับประวัติรับประทานอาหารแบบบ้านเราค่ะ ส้มตำปู ส้มตำปลา(ร้า) ยำหลาย ๆ ชนิด

มีอาการของโรค หยุดรับประทานทุกสิ่ง (NPO) สักพักก็หายเอง ไม่นานก็เป็นอีก เพราะพฤติกรรมการกินแบบเดิม

ถ้าได้ผ่าตัดลำไส้มา มักไม่เจอรอยโรคอะไรเป็นพิเศษ

 

ฝากเป็นข้อมูลร่วมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท