ปรัชญาการศึกษา


ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

 

ปรัชญาการศึกษาเป็นความคิด ความเชื่อ ที่ใช้เป็นหลักในการคิดและการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติการจัดการเรียนเรียนรู้ ครูจำเป็นจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการศึกษา


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับปรัชญาการศึกษา
ปัญหาของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และความเจริญทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจัดการศึกษาสามารถที่จะขจัดปัญหาต่าง ๆ ไปได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 ขึ้น และได้มีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ได้บรรจุมาตราต่าง ๆ เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง 5 แนวทาง ได้แก่
1.      การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน-การประเมินผล
2.      การปฏิรูปการฝึกอบรมครู และระบบการพัฒนาครู การใช้ครู
3.      ปฏิรูประบบการบริหารจัดการ
4.      ปรับระบบการศึกษา
5.      ยุทธศาสตร์ของการระดมสรรพกำลังจากทุก ๆ ส่วนของสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ปรัชญาการศึกษามีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะมีการศึกษาที่ใดย่อมมีการนำปรัชญาการศึกษาไปใช้ที่นั่น เช่นเดียวกัน ที่ใดมีปรัชญาการศึกษาที่นั่นย่อมมีการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นแนวทาง เป็นหลักการและเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
ปรัชญาการศึกษาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2542 พอจะสรุปเนื้อหาความสำคัญของปรัชญาดังต่อไปนี้
1.      ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)
เน้นเนื้อหาสาระและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติกันในสังคมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.1 เพื่อทะนุบำรุง  และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
1.2  เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3  เพื่อให้การศึกษาในรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2.      ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)
จุดมุ่งหมายของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยมอยู่ที่ การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีเหตุผลยิ่งขึ้น รู้จักและเข้าใจตนเอง พร้อมทั้งเห็นว่าตัวเองนั้นมีพลังธรรมชาติอยู่ภายในแล้ว การศึกษาก็คือการส่งเสริมให้พลังธรรมชาตินั้นพัฒนาเต็มที่ พลังธรรมชาติในที่นี้ก็คือ สติปัญญาของมนุษย์ ถ้าสติปัญญาได้รับการขัดเกลาและพัฒนาอย่างดีพอ มนุษย์ก็จะทำอะไรได้อย่างมีเหตุผลเสมอ จุดหมายของการศึกษาของทฤษฎีการศึกษานิรันตรนิยมกล่าวไว้ดังนี้ คือ
2.1  มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา
2.2  มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้นเพื่อเป็นคนที่สมบูรณ์
3.      ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(progressivism)
แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัPพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคต จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ และมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
4.      ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconsteuctionism)
ปรัชญาการศึกษาในแนวนี้เห็นว่า ปัจจุบัน(รวมทั้งอนาคต) สังคมมีปัญหามากทั้งในด้านของเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก สังคมจึงต้องการการแก้ปัญหาและหาทางที่จะสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้นใหม่ การที่จะแก้ปัญหาและสร้างค่านิยมขึ้นใหม่นี้ การศึกษาจะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญซึ่งความเชื่อและหลักการสำคัญของทฤษฎีการศึกษาปฏิรูปนิยมในด้านจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในแนวทางนี้คือการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีและเหมาะสมกว่าขึ้นมาให้ได้ ดังจะกล่าวเป็นรายละเอียดได้คือ
4.1  การศึกษาจะต้องช่วยแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่
4.2  การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคมโดยตรง
4.3  การศึกษาจะต้องมุ่งสร้างระเบียบใหม่ของสังคมจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่
4.4  ระเบียบใหม่ที่สร้างขึ้นรวมทั้งวิธีสร้างต้องอยู่บนพื้นฐานของประชาธิไตย
4.5  การศึกษาจะต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมคู่ไปกับตนเอง
5.      ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism)
เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในทางที่จะเป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา  นักปรัชญากลุ่มนี้สนใจเกี่ยวกับโลกแห่งการดำรงชีวิตอยู่ได้(A World of Existing) เชื่อว่า คนคือความไม่แน่นอน ไม่มีแก่นสาร ความจริงหรือความรู้ควรจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ได้ จริยศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของเสรีภาพและความสมัครใจสุนทรียศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของการปฏิวัติหรือหนีสังคม และไม่จำเป็นต้องตรงกับความพอใจของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์มีความเป็นอิสระ มีเสรีภาพในการเลือก ในการกระทำ มนุษย์ตัดสินใจด้วยตนเอง เลือกด้วยตนเอง และรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองลัทธินี้มีความสัมพันธ์กับปรัชญาด้านต่าง ๆ คือ
เชื่อว่า ความจริงคือการดำรงอยู่ของชีวิต ไม่เห็นด้วยกับความสมบูรณ์แท้จริงที่สุดของการให้เหตุผลหรือตรรกวิทยาบริสุทธิ์ ลัทธินี้เน้นถึงชีวิตและประสบการณ์ของเอกัตบุคคล เชื่อว่ามนุษย์จะดีก็อยู่ที่การเลือกที่จะทำตนให้เป็นเช่นนั้น นักปรัชญาในกลุ่มนี้บางคนก็เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า แต่บางคนเชื่อว่า มีพระเจ้าเป็นผู้ช่วยมนุษย์ให้มีศีลธรรมจรรยาดี
เชื่อว่าความจริงคือ ความรู้จะช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ และถือว่าความรู้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแก่แต่ละบุคคล ความรู้ไม่ใช่ผลบั้นปลายอันต้องประสงค์ และก็ไม่ใช่มรรคอันจำจะต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวไปเผชิญกับชีวิตจริง หากความรู้เป็นมรรควิธีจะให้แต่ละคนเจริญเติบโต และเลือกทำในสิ่งที่ตนประสงค์ยิ่งขึ้นทุกที
6.      ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา (Buddhism) เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาคือการพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา 6  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดมุ่งหมายในมาตรา 6  ได้กำหนดว่า
1.   มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านต่างๆ ของการศึกษา คือ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
2.   มุ่งให้คนไทยมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
1.   ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(essentialism) แนวคิด ความเชื่อและหลักการสำคัญของลัทธิสารัตถนิยมในด้านของจุดมุ่งหมายของการศึกษามีลักษณะคือ
1.1  เพื่อทำนุบำรุงและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชุมชนรุ่นหลัง มิให้สูญหายหรือถูกทำลายไป
1.2  เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3  เพื่อให้ดารศึกษาในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4  เพื่อฝึกฝนให้ผุ้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2.  ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ
2.1  มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่อง  เหตุผลและสติปัญญา
2.2  มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้น เพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์
3.  ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองอย่างเต็มที่ ให้รู้จักใช่เสรีภาพในการเลือก และมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง  การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง เข้าใจโลกและความสำคัญของการมีอยู่ การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด สามารถหาความหมายออกมาจากสิ่งที่ไร้ความหมาย ลัทธินี้ความเชื่อว่า ถ้าต้องการจะให้นักเรียนมีคุณค่า จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนแต่ะคนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละคนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือการสร้างให้คนรู้จักยอมรับและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตเลือกและในสิ่งที่ตนทำนั้น หมายถึง การศึกษาต้องสร้างเด็กให้เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
4.  ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) แนวคิดหลักของการศึกษาแบบ     พิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาการเด็กทุกด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ ในขณะที่นิรัตรนิยมเน้นความสามารถทางเหตุผลสติปัญญา แต่พิพัฒนาการนิยมมองกว้างไปกว่านั้น โดยมองว่าการศึกษาจะต้องการศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุด สิ่งที่เรียนที่สอนควรเป็นประโยชน์สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียนมากที่สุด ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
5.  ปรัชญาการศึกษา พุทธปรัชญา (buddhism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ
5.1   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความงอกงามในขั้นธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
5.2  มุ่งให้พัฒนาสังคมได้ คือ มีความรู้ ความเข้าใจและใช้ปัญญาเกี่ยวกับเกณฑ์ของสังคม มีความร่วมมือกัน ตลอดจนเคารพนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยสอนให้เข้าใจในสาราณียธรรม 6 อปริหารนิยธรรม 7 และสัปปุริสธรรม 7
5.3  มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลเพื่อจะได้นำการรู้จักคิดนี้ไปแก้ปัญหาในชีวิต
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ     ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้ตกพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมายในมาตรา 7 เป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับคนไทย โดยคำนึงถึง ปรัชญาทางการเมือง และวัฒนธรรมไทย หรือความปรารถนาของสังคมไทยโดยแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้
1.   มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2.   รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
3.   รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ
4.   ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล
5.   อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.   มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7.   ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
1.    ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)มีแนวความคิดเกี่ยวกับตัวนักเรียนและกระบวนการเรียนการสอน และตัวครู การจัดการเรียนการสอนโรงเรียนจะต้องยึดหลักการอบรมจิตใจเด็กให้มีระเบียบวินัยอันดีงามตามที่ยึดถือกันมา นอกจากนี้เดควรได้รับการสอนเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งความคิดนั้นจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะสมกับระดับจิตใจและสติปัญญาของเด็ก ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เพราะว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาวิชาทุกอย่าง ความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปและก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนามธรรมซึ่งความรู้ เหล่านี้ไม่อาจเอามาแยกแยะเป็นปัญหาให้เด็กพินิจพิเคราะห์แก้ปัญหาได้ และเรื่องวิธีการสอนแบบ Learning by doing ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรนำมาใช้กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เพราะวิธีนี้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ บางบุคคลท่านั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเรียนรู้หรือเน้นสิ่งที่น่าคิด ถ้าจะให้ทำเพื่อความเข้าใจก็พอจะทำได้ แต่ถ้าจะให้ทำเพื่อให้ได้แก่นสารสาระในเนื้อหาวิชาแล้ว เป็นการสอนที่ไม่ถูก ดังนั้นเนื้อหาที่เป็นสาระ ครูต้องสอนให้เลย และให้เด็กจดจำเป็นดีที่สุด การสอนโดยยึดทฤษฎีนี้ ห้องเรียนมักจะมีลักษณะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้  นักเรียนต้องตั้งใจฟังครูซึ่งจะเป็นผู้บอกเนื้อหาวิชาให้
บทบาทของครูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นกระบวนการเรียนการสอนจะเป็นแบบ ครูเป็นศูนย์กลาง คือครูจะเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจตามให้ได้  วิธีการสอนจะเป็นการสอนแบบบรรยาย หากจะใช้วิธีอื่นประกอบด้วยก็ได้ แต่ต้องถือหลักให้เด็กรู้และเข้าใจเป็นสำคัญ การถามตอบในห้องเรียนเป็นการถามตอบเพื่อทำความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือโต้แย้ง แต่แม้จะเป็นการสอนในลักษณะของกระแสธารทางเดียวเช่นนี้ก็ตาม การเรียนการสอนก็ยังต้องเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย ผู้นำกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาดี มีระเบียบ วินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
2.  ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconstructionism)  กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง   ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของกระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญาสาขานี้ คือทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริงกระทำไม่ได้ก็จะใช้บทบาทสมมุติแทน แต่เป้าหมายปลายทางจะต้องคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ได้
3.      ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้  ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหาต่าง ๆ และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ยังอาศัยวิธีการของประวิติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุมถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด ส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการของปรัชญาการศึกษานี้พอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
3.1.การเรียนการสอนเน้นที่ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
3.2.การเรียนการสอนควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน
3.3.ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.4.เด็กควรได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่ปรึกษา
3.5.เด็กควรได้รับประสบการณ์ที่น่าสนใจ ชักจูงใจ เช่นการใช้ภาพยนตร์ สไลด์ เชิญวิทยากร เป็นต้น
3.6.ผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา หาข้อมูล เพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
3.7.ผู้เรียนควรได้รู้จักวางโครงการ ดำเนินโครงการ วิเคราะห์และประเมินโครงการต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.8.ส่งเสริมประชาธิปไตยและความร่วมมือในการเรียนการสอน
3.9.การเรียนการควรเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกี่ยวพันกันตลอดเวลา
4.   ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) การฝึกให้เด็กได้รู้จักตนเอง สนใจตนเอง แลฃะเลือกทางเลือกของตนเองนั้นย่อมไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่น เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้วว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่น ๆ ด้วย สิ่งที่ตนเองเลือกย่อมหมายถึงว่าได้เลือกสำหรับคนอื่นด้วย สำหรับกระบวนการเรียนการสอนนั้น สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัวเอง คือ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกและเลือกโดยอิสระ ซึ่งมีหลักเบื้องต้น 2 ประการ คือ
4.1  ฝึกให้เด็กมีความสามรถในการเลือกและตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
4.2  ฝึกให้เด็กเกิดความโน้มเอียงที่จะเลือกทางใดทางหนึ่งตามที่ตนได้ตัดสินใจ
มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1)   เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2)   ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3)   การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
หลักการสำคัญทั้งสามข้ออาจอธิบายได้ดังนี้
(1)   เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ในหลักการข้อนี้หมายถึง รับจะต้องจัดและส่งเสริมให้เอกชนและทุก ๆ ส่วนของสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต
(2)   ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การกำหนดหลักการในข้อนี้ได้นำเอา มาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณา แล้วกำหนดสิทธิของประชาชนในการจัดการศึกษาและให้องค์กรต่าง ๆ ในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มากขึ้น
(3)   การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักการนี้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา โดยให้บุคคลได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ
1.  ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ ซึ่งกล่าวถึงหลักการไว้ดังนี้
1.1  การศึกษาคือชีวิต ทุกชีวิตจะต้องมีการศึกษาเพื่อดำรงชีวิตในสังคมมิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต การศึกษาไม่ได้ทำๆไปในอนาคต
1.2  การเรียนควรเป็นเรื่องที่เด็กสนใจโดยตรงทีเดียว ครูคอยแนะนำเด็กให้สนใจในทางที่ถูกที่ควรมากขึ้นเท่านั้น เพราะครูมีประสบการณ์มากกว่าโดยเจริญเติบโตมาเต็มที่กว่า อยู่ในขอบข่ายเรียนโดยอาศัยวิธีแก้ปัญหา สำคัญกว่าเรียนจำเนื้อหาสาระต่าง ๆ
ในการบริหารงานตามปรัชญานี้ถือหลักคือ การร่วมมือกัน(participation and shaved authority) โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยทุกฝ่ายมาร่วมกันปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงตามมติของคณะกรรมการ
บทบาทของผู้บริหารไม่มีผู้บงการหรือสั่งการแต่เพียงฝ่ายเดียว โรงเรียนจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชน
การเลือกสรรกิจกรรมการเรียนการสอนต้องตามความสนใจของผู้เรียน การเรียนเน้นการประทำมากที่สุด โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.  พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดทั้งความคิด รับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหา และปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
3.  ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1)   มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2)   มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3)   มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4)   มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5)   ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6)   การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
หลักการทั้ง 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารงานการจัดการทางการศกึษาตามแนวปฏิรูป
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1.ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน นั้นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชน การยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรปลีกตัวออกมาจากสังคมเหมือนปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โรงเรียนจะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา ความพร้อม และเข้าใจสังคมอย่างดี พร้อมออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้
2.ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 10  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช่จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1.     พุทธปรัชญา  ให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพที่เป็นจริงของชีวิต ได้แก่อริยสัจสี่ อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์และแก้ปัญหา
2.     ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคตโดยมีความเชื่อพื้นฐานไว้ 6 ประการ คือ
2.1  การกระทำที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากความคิด เพราะจิตและกายเป็นของคู่กัน
2.2  มนุษย์สามารถสร้างพัฒนาการให้แก่ตัวเองได้ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลาที่เปลี่ยนแปรไป (ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของ Chars Darwin) สิ่งต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นในโลกล้วนแต่อยู่ในวิสัยมนุษย์สามารถกระทำขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยอำนาจลึกลับ
2.3  มนุษย์เป็นผู้กำหนดอนาคตและโชคชะตาของตนเอง เน้นความสำคัญของคุณค่าของแต่ละบุคคลมากขึ้น
2.4  ความเป็นจริงความแน่นอนไม่มีในโลกและไม่มีอะไรที่ตายตัวและสมบูรณ์ในตัวเอง
2.5  การค้นคว้าทดลองตามแนวทางวิทยาศาสตร์เป็นการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและวิธีดังกล่าวไม่ยอมรับว่าอะไรถูกต้อง จนกว่าจะได้มีการทดลองเป็นที่แน่ใจแล้ว
2.6  เกี่ยวกับด้านคุณค่าหรือค่านิยมถือว่ามิใช่สิ

หมายเลขบันทึก: 371418เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท