ครั้งที่ 1 "ความจริงและการค้นพบความจริง"


ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง

จากที่ผู้เขียนได้ศึกษารายวิชา Advanced Research Methodology กับ รศ.ดร. อรุณี อ่อนสวัสดิ์ จึงอยากแบ่งปันความรู้ที่ได้รับให้กับเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่าน Blog หากมีข้อมูลส่วนใดที่เป็นประโยชน์ ผู้ที่เข้ามาอ่าน Blog สามารถนำไปใช้ได้ผู้เขียนก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง แต่หากมีข้อมูลส่วนใดที่ไม่ถูกต้อง ผู้เขียนต้องกราบขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทุกท่านด้วยความยินดี สำหรับครั้งนี้จะเขียน เรื่อง ความจริงและการค้นพบความจริง เริ่มเลยนะคะ...

วิจัย (Research) คือ การค้นหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่เป็นระบบระเบียบ น่าเชื่อถือ คำถามต่อไป คือ ความจริง คืออะไร โดยมีนักปรัชญา 3 กลุ่ม ตอบเอาไว้ ดังนี้

(1) กลุ่มเอกนิยม (Monism) : กล่าวว่า ความจริง มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น  ดังนี้

      1.1  ความจริง คือ จิต หรือ แบบ (Mind/Form) อย่างเดียวเท่านั้น  จัดเป็นพวกจิตนิยม (Idealism) เชื่อว่าจิตเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่มีการสูญหาย จิตเป็นนิจนิรันดร์

      1.2  ความจริง คือ กาย หรือ สสาร (Body/Material) อย่างเดียวเท่านั้น จัดเป็นพวกสสารนิยม (Materialism) เชื่อว่าร่างกายเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เพราะสามารถจับต้องได้ ในขณะที่จิตไม่สามารถจับต้องได้ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

(2) กลุ่มทวินิยม (Dualism) : กล่าวว่า ความจริง มีสองส่วน ได้แก่ จิตและกาย (Mind and Body) โดยทั้งสองสิ่งนี้แยกออกจากกันไม่ได้

(3) กลุ่มพหุนิยม (Pluralism) : กล่าวว่า ความจริงมีมากกว่า 2 สิ่งขึ้นไป เช่น มนุษย์ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือประกอบด้วยขันธ์ 5 เป็นต้น

สรุป คือ การจะบอกว่า ความจริง คืออะไรนั้น สามารถตอบได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความเชื่อของบุคคล

วิธีการค้นพบความจริง (Epistemology)

                ยุคโบราณ  มีวิธีการค้นพบความจริง  คือ การถามจากผู้มีอำนาจ การไปเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การสังเกตด้วยตนเอง การลองผิดลองถูก การเรียนรู้โดยบังเอิญ  เช่น อาร์คิมิดีส

                ยุคก่อนปัจจุบัน ใช้วิธีการค้นพบแบบ (1) นิรนัย [Deductive] (2) อุปนัย [Inductive]

                ยุคปัจจุบัน  ใช้วิธีการค้นพบแบบ (1) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ [Science Process] (2) การวิจัย [Research]  (3) การนิรนัย และ อุปนัย [Deductive and Inductive]

**    การอุปนัย [Inductive] มี 2 แบบ ได้แก่

        1)  อุปนัยสมบูรณ์ [Complete Inductive]  :  Survey all of group  เช่น สำรวจนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรชั้นปีที่ 4 ทุกคน  เกี่ยวกับอาหารไทยที่ชอบรับประทาน    

        2)  อุปนัยไม่สมบูรณ์ [Incomplete Inductive]  :  Sampling  เช่น  สุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรชั้นปีที่ 4 มา  80%  และสอบถามเกี่ยวกับอาชีพของผู้ปกครอง            

**    นิรนัย [Deductive]  เป็นการค้นพบความจริงโดยอาศัยความรู้ทั่วไป ความรู้ย่อย  และทำให้ได้ความรู้ใหม่ในที่สุด เช่น

ความรู้ทั่วไป : ปลาทุกตัวออกลูกเป็นไข่  

ความรู้ย่อย   : หางนกยูงเป็นปลา 

ความรู้ใหม่   : หางนกยูงออกลูกเป็นไข่  ** ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้

จุดอ่อนของการใช้หลักนิรนัย คือ - ความรู้ใหม่ไม่งอกเงยจากความรู้เดิม - ข้อสรุปของความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นอาจไม่ถูกต้องก็ได้

วิธีการค้นพบความจริงของกลุ่มต่างๆ ...                    

(1)  กลุ่มเอกนิยม (Monism)  พวกจิตนิยม (Idealism) จะใช้เหตุผลและการหยั่งรู้ (Rational and Insigh) 

       เหตุผลนิยม (Rationalism)   :  การครุ่นคิดอย่างมีเหตุผล  ใช้หลักนิรนัยในการค้นพบความจริง เชื่อว่าความจริงเป็นนิรันดร์                                

       ประจักษ์นิยม (Empricism)  :  อาศัยประสบการณ์ และ สัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใช้หลักอุปนัย  ในการค้นพบความจริง  เชื่อว่าความจริงไม่มีอยู่ก่อนนิรันดร์               

       พวกสสารนิยม (Materialism) จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการค้นหา  ทดลอง ปฏิบัติ

(2)  กลุ่มทวินิยม (Dualism)  ใช้เหตุผล  การหยั่งรู้  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การฝึกและประสบการณ์ในการค้นพบความจริง    

(3)  กลุ่มพหุนิยม (Pluralism)  ใช้เหตุผล  การหยั่งรู้  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การฝึกและประสบการณ์ในการค้นพบความจริง

                             

    

 

 

หมายเลขบันทึก: 371417เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ว่าใครก็คงใช้วิธีการเหล่านี้เช่นกัน อาจจะรู้หรือไม่รู้ว่าเรียกวิธีอะไร

แต่เมื่อเรารู้ว่าแบบนี้เรียกวิธีนี้ แบบนั้นเรียกวิธีนั้น เราก็สื่อสารกันได้งชสะดวกขึ้น

กับเราน่าจะใช้หลายๆวิธีร่วมกัน จะได้มั่นใจในความถูกหรือผิดยิ่งขึ้น

การเขียนคืองานสร้างสรรค์เชิงความคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท