การประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะและค่านิยมสังคมสงเคราะห์ในการสอนวิชากลุ่มชน


 

การประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะและค่านิยมสังคมสงเคราะห์ในการสอนวิชากลุ่มชน 

           การเข้าร่วมประชุมสังคมสงเคราะห์โลกครั้งที่1 ณ ฮ่องกง ประเทศจีน ได้เลือกเข้าแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนการสอนที่น่าสนใจเรื่องApply Knowledge, Skills and Social Work Values When Teaching Group Program School of Social Sciences, University Sains Malasia. โดย Dr. Ismali Baba เป็นผู้นำเสนอปละแลกเปลี่ยนเรียนรู้บรรยายว่า สังคมสงเคราะห์กลุ่มชนเป็นวิธีการสังคมสงเคราะห์วิธีการหนึ่งที่สำคัญในการแทรกแซงช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย นักสังคมสงเคราะห์ต้องมีความรู้และทักษะและทัศนคติที่ดีจึงจะสามารถเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมสังคมสงเคราะห์กลุ่มได้ การสอนให้นักศึกษามีค่านิยมที่เหมาะสมในการเป็นนผู้นำกลุ่มเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายผู้สอนให้ค้นหาและใช้วิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนและก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการกลุ่ม

         ผู้นำเสนอจึงได้จัดทำโครงการเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ ทักษะและค่านิยมสังคมสงเคราะห์ผ่านการปฏิบัติงานจริงของกระบวนการกลุ่มซึ่งจะทำให้รับรู้ได้ว่าผู้เรียนได้รับความรู้มากขึ้นหรือไม่อย่างไร กลุ่มเป้าหมายที่นำมาจัดทำกลุ่มคือกลุ่มเพศที่สามเนื่องจากต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนจากสถานการ์จริงจึงใช้กลุ่มที่กำลังเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ขณะนั้นซึ่งมีข่าวที่เพศที่สามถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้สอนจึงให้ผู้เรียนไปทบทวนวรรกรรมเกี่ยวกับเพศที่สามทั้งในแง่สถานการณ์ปัญหา พฤติกรรม อารมณ์ สังคมและสภาวะแวดล้อมรวมทั้งศึกษาดูงานหน่วยงานที่ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจคนกลุ่มนี้มากขึ้นจากนั้นนำความรู้ที่ได้มาอภิปรายแลกเปลี่ยนในห้องเรียนและออกแบบการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อบำบัดฟื้นฟู และได้ทดลองจัดทำกลุ่มโดยให้นักศึกษาสวมบทบาทสมมุติเป็นเพศที่สามที่ประสบปัญหาถูกล่วงละเมิด เมื่อทดลองทำกิจกรรมกลุ่ม  ก็นำผลของกระบวนการกลุ่มมาอภิปรายหาข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อนำมาปรับปรุงกิจกรรมจนเห็นว่าเหมาะสมแล้วจึงนำไปปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมาย

          การเรียนแบบปฏิบัติการนี้มีระยะเวลาในการจัดกลุ่ม 10 สัปดาห์ ซึ่งนักศึกษาเริ่มตั้งแต่การวางแผนจัดตั้งกลุ่ม ขั้นดำเนินกลุ่ม และขั้นยุติกลุ่มโดยมีผู้เชี่ยวชาญและผู้สอนเป็นผู้สังเกตุการณ์และที่ปรึกษา เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมจึงจัดการอภิปรายผลของกิจกรรมและกระบวนการกลุ่มที่ได้จัดให้กลุ่มคนชายขอบของสังคมกลุ่มนี้โดยทบทวนตั้งแต่ความรู้ที่ใช้ในการดำเนินงาน ทักษะ และทัศนคติด้วยตนเองซึ่งในการดำเนินการจัดกลุ่มนักศึกษาได้เรียนรู้ ซึมซับ และเข้าใจค่านิยมเรื่อง การไม่ตำหนิติเตียน  การยอมรับ การเคารพการตัดสินใจด้วยตนเองของผู้ใช้บริการ มากกว่าการที่เรียนรู้ผ่านการแสดงบทบาทสมมุติของกลุ่มเพื่อนนักศึกษา และท้ายที่สุดได้เรียนรู้ว่าบริการสังคมอะไรบ้างที่กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ต้องการอย่างแท้จริงเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดบริการในอนาคต

 

หมายเลขบันทึก: 371068เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ..วิชากลุ่มชนน่าสนใจนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท