เวทีเล่าสู่กันฟัง....ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรค


“อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การลดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคความดันและเบาหวาน จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน การดำเนินงาน “ชุมชนลดเสี่ยงลดโรค” (Community based Intervention – CBI) นั่นคือการที่ชุมชนเห็นปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของคนในชุมชน นำไปสู่การวางแผนและจัดกิจกรรมต่างๆ ในการที่จะลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลง อันจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรครายใหม่ในระยะยาว

งานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ได้สนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมกับชุมชนได้ดำเนินการโครงการชุมชนลดเสี่ยงลดโรคมา ๒ ปี หลังจากเรียนรู้จากการปฏิบัติจนเกิดผลเป็นรูปธรรมในหลายพื้นที่ จึงได้เชิญชวนบุคลากรสาธารณสุข แกนนำชุมชน และบุคคลต้นแบบ  มาเล่าสู่กันฟังถึงความสำเร็จในการทำงาน ในที่่นคือการที่ชุมชนเห็นปัญหาดโรค รรมตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน  ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุม ๑ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน โดยมีชุมชนต้นแบบลดเสี่ยงลดโรค จำนวน ๗ แห่ง เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ บ้านศรีอุดม อ.เชียงกลาง, บ้านเชียงแล หมู่ ๒ ต.ริม อ.ท่าวังผา, บ้าน ม.1 ต.ป่าคาหลวง อ.บ้านหลวง,  บ้านน้ำเกี๋ยนใต้ ม.1 ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง, บ้านนาหวาย ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น, บ้านแม่สาคร ต.แม่สาคร อ.เวียงสา และ บ้านอ้อย ต.บัวใหญ่ อ.นาน้อย

            เรื่องดีดีที่เวทีได้สรุปร่วมกันว่าได้แนวคิด วิธีการดีดี จากการฟังเรื่องเล่า มีดังนี้

  • เปลี่ยนการกินเหนียวเป็นข้าวจ้าว
  •  กราฟลดความดันโลหิตสูง
  •  นำเยาวชนวิ่งรอบบ้านเก็บขยะ
  •  การออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิค
  •  กินข้าวแลงแล้วออกเดินรอบบ้าน
  •  พันธะสัญญาใจในการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • การจับคู่ เพื่อนสนิทดูแลกันเอง
  •  การวิเคราะห์พฤติกรรมการกิน
  • การนำเยาวชนเป็นแกนนำด้านสุขภาพ
  •  การใช้แผนที่เดินดินไปค้นหากลุ่มเสี่ยง
  •  พัฒนาการพูด/นำเสนอของแกนนำชุมชนและอสม.
  • การทำ ผงนัว เพื่อใช้แทนผงชูรส, คะนอ
  •  การเน้นการกินผัก
  •  กระบวน การจัดอบรมเรื่องสุขภาพ การกิน การออกกำลังกาย
  •  การเอาครอบครัวมามีส่วนร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาเป็นกำลังใจ
  • การตระหนักถึงปัญหา – การคืนข้อมูลให้ชุมชนที่ชัดเจน เห็นภาพ
  •  จัดให้เยาวชนสาธิตให้ชุมชนเห็นอันตรายจากน้ำอัดลม
  •  ผักย่านางไปตากแห้งป่นทำผงชูรส
  •  ไม่จัดอาหารที่หวาน อาหารสุกๆ ดิบๆ ในงานเลี้ยงต่างๆของชุมชน
  •  งดการเลี้ยงลูกอม
  • ใช้แอ๊บข้าว ใบตองห่อข้าว ลดภาวะโลกร้อน
  •  แนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ที่ เน้นทั้งครอบครัว
  • ทำจิตใจให้พร้อมก่อนทำ
  •  การทำแฟ้มให้อสม.แต่ละคน บันทึกการติดตามหลังการอบรม
  •  งดผงชูรส ลดปัญหาปวดเข่า
  • มีโครงการดี ทำให้ชุมชนตื่นตัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • คน เล่าแบบมีปิติที่ได้ทำประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่น
  •  คนทำงานจริงมาเล่าจากประสบการณ์ทำให้ได้ความรู้จริง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้เห็นวิธีปฏิบัติที่ดีของบุคคลต้นแบบและชุมชนต้นแบบที่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลงได้ แม้จะไม่ทั้งหมด แต่ก็เป็นบทปฏิบัติการเริ่มต้นที่ดี มีคุณค่า แก่การนำไปบอกต่อและเรียนรู้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 370811เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีมากๆเลยนะคะ ชุมชนลดเสี่ยงโรค ทุกคนทุกวัย ชื่นชมอย่างมากค่ะ กิจกรรมอย่างนี้คนที่อยู่ในเมืองไม่ได้พบหรือร่วมกันทำอย่างในภาพเลยค่ะ ที่บอกไว้เป็นข้อก็ดีมากค่ะ เพื่มให้ทุกบ้านใช้น้ำมันมะพร้าวด้วยซิค่ะ ทำเองใช้เอง ปลอดภัยค่ะ วันนี้ลงบันทึกใหม่เรื่องกระเทียม กับน้ำมันมะพร้าวค่ะว่างๆเชิญอ่านนะคะ  ฝากบอกล่าวในชุมชนด้วยนะคะ

              

 

ใช่เลยเจ้า 

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้เห็นวิธีปฏิบัติที่ดีของบุคคลต้นแบบและชุมชนต้นแบบที่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลงได้   น่าประทับใจมากๆ  ชุมชนต้นแบบทั้งหลาย

ชื่นชมกิจกรรมดีๆ เวทีเมืองน่านค่ะ .. กันไว้ดีกว่าแก้ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณพ่อน้องซอมพอครับ แข็งขันจังเลยนะครับ

วันนี้เป็นวันไหว้ครูของมหาวิทยาลัยครับ เลยถือโอกาสหิ้วของฝากตระเวนแวะมาเยี่ยมคารวะหมู่มิตรและพ่อน้องซอมพอน่ะครับ มีความสุขและมีกำลังใจในการนำเรื่องราวดีๆมาถ่ายทอดแบ่งปันแก่ผู้อ่านเสมอครับ 

 มิติหนึ่งของคนทำงานและครูชีวิตสุขภาพในชุมชน ให้ความบันดาลใจดีครับ  คลิ้กหัวข้อเพื่ออ่านเนื้อหา ๑๒ ตอน

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  คลิ๊กเพื่อเข้าไปดู  เครื่องมือและผลประเมินของเวทีโดยการโหวต   : ความเข้มแข็งและแนวโน้มความยั่งยืนของเครือข่ายครูโรงเรียนอสม. : มิติการพิจารณาความยั่งยืน ๓ องค์ประกอบ ๖ ตัวชี้วัด [Click here]

สวัสดีครับ

สงสัยจังว่าทำไมถึง..เปลี่ยนการกินเหนียวเป็นข้าวจ้าว

ลูกข้าวนึ่ง ไม่กินข้าวเหนียวได้จะได

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท