แรงบันดาลใจเส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการ : มุมกลับของวันวานที่ต้องทบทวน


แรงบันดาลใจเส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการ : มุมกลับของวันวานที่ต้องทบทวน[1]

                                                                       สุรชัย(ฟูอ๊าด)  ไวยวรรณจิตร[2]

        การจรดปลายปากกาเขียนบทความชิ้นนี้อันเนื่องจากการได้นั่งอ่านหนังสือ “ชวนอาจารย์เขียนตำรา : ตอนเส้นทางสู่ศาสตราจารย์” ของ ศ.ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ[3] และหนังสือ “เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ: เกณฑ์และการเตรียมตัว” ของศาสตราจารย์ไพฑูรย์ สินลารัตน์[4] เหตุผลง่ายๆของคำตอบในความตั้งใจการเขียนบทความในครั้งนี้ คือ คลายความสงสัยของตัวผู้เขียนเองและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การทบทวนวันวานที่ผ่านมาเพื่อการก้าวเดินต่อไปสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่ใครๆหลายคนมักมองว่ามันสำคัญแค่ไหน คุณค่าและการได้มาลำบากเพียงใด และแน่นอนคำตอบก็จะกระจ่างชัดในตัวเองในคำตอบที่ว่าหากคุณอยู่ในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณก็หนีมันไม่พ้นที่จะละเลยมองข้ามผ่านไป

            ผมข้อเริ่มต้นท้าวความถึงความเข้าใจของผมตลอดจนความรู้สึกในการได้ยินคำว่าตำแหน่งทางวิชาการ “ผศ.  รศ.  และ ศ.” ครับว่ามันเป็นการงานที่ไกลเกินจะไขว่คว้าได้ ณ ตอนนั้น และคำถามก็ก่อเกิดขึ้นในใจว่า “ฉันจะมีสิทธิและได้มันมาเพื่ออะไร”  วันเวลาผ่านไปกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การได้เข้าฟัง พูดคุยกับผู้คนมากมายในเวทีสัมมนาต่างๆ ทำไมให้ผมกลับต้องตั้งคำถามกับตัวเองอีกว่า “ความรู้ของเราทุกวันนี้มันมีมากน้อยเพียงใด” ความเข้าใจในองค์ความรู้ต่างๆ วิถีคิดในมุมคิดที่พรั่งพรูของผู้คนบางกลุ่มกับสร้างความร้อนรุ่มในความคิดว่า หากหน้าที่ของคนเป็นครูคือผู้รู้ที่ต้องสรรค์สร้างองค์ความรู้สู่สาธารณชนแล้ว วันวาน และอนาคตต่อไปผมต้องทำอะไรกับมันบ้าง นี่คือคำถามที่ก่อเกิดจากประสบการณ์ที่ได้ผ่านวันวานมา

            ผมกลับมานั่งทบทวนใหม่ ณ ตอนนี้แม้วันนี้อาจยังไม่เพียงพอ แต่ วันวานที่ผ่านมาอาจพอเป็นเพียงเสบียงที่จะก้าวเดินต่อไปได้เมื่อจังหวะและโอกาสมาถึงขอเพียงเรามีความพร้อมในการเตรียมตัวที่จะตั้งรับกับมัน แต่ ณ วันนี้เราต้องไม่หยุดเพื่อก้าวเดินต่อไป  และเมื่อวันนั้นมาถึงซึ่งใครต่อใครหลายคนที่ได้เรียนรู้บนเส้นทางนี้อาจบอกเราได้ดีกว่าว่าความยากง่ายใช่เรื่องของคนอื่นแต่ คือ การตื่นขึ้นจากความเพ้อฝันที่คิดว่าไม่อาจจะเป็นจริงได้มานั่งทบทวนเรียนรู้ตัวตนของตัวเองต่างหาก ขอเพียงเราเข้าใจกับคำต่างๆเหล่านี้ กล่าวคือ เอกสารประกอบการสอน  เอกสารคำสอน  บทความทางวิชาการ ตำรา  หนังสือ  งานวิจัย และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นๆ  ผมมองว่าคำต่างๆเหล่านี้เราเองอาจไม่เคยสนใจเลยมองการได้มาซึ่งตำแหน่งทางวิชาการที่ควรค่าว่ามันเป็นของใหม่ที่เราต้องมาเริ่มและเพิ่มเติมพลังยุทธ์สุดกำลังความสามารถกับการเริ่มนับหนึ่งใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

            ก่อนที่ผมจะขออธิบายทำความเข้าใจทั้งตัวผมเองและเพื่อใครๆอีกหลายๆคนในคำต่างๆที่เป็นตัวทึบด้านบนอยากให้ทุกคนนึกถึงคำๆหนึ่งครับ คือ คำว่า “วางแผน” หากเราทุกคนมีการวางแผนการงานของเรา ผมเชื่อครับว่าแม้บางครั้งอาจจะไม่ประสบความสำเร็จครบถ้วนกระบวนความร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะความสำเร็จมิได้ขึ้นอยู่แค่เพียงตัวเราแต่อย่างน้อยๆคนที่วางแผนก็น่าจะมีแนวทางของเส้นทางดีกว่าคนที่ไม่คิดจะทำแม้แต่จะคิดวางแผนเรื่องราวชีวิตตัวเองนะครับ  ลองคิดดูดีๆนะครับว่ามันสำคัญเพียงใดเอาง่ายๆ ผมเชื่อว่าหากทุกคนวางแผนที่จะเดินไปสู่ตำแหน่งทางวิชาการซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เลยกับองค์ประกอบที่เรามีอยู่ในฐานะผู้สอน ผมว่าภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี เราก็อาจได้เป็นศาสตราจารย์แล้วครับ คิดแบบง่ายๆก่อนนะครับว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ มันง่ายอย่างไร

            ท่านที่สำเร็จการศึกษาถึงขั้นที่เรียกกันว่า “มหาบัณฑิต” เอาง่ายก็ ป.โท นั่นแหละครับ ทำงานครบ ๕ ปีก็มีสิทธิ์ที่จะขอ ผศ. (ตามเงื่อนไขที่กำหนดในองค์ประกอบ) หลังจากนั้นเมื่อเป็น ผศ. แล้วทำงานครบ ๓ ปีแล้วก็มีสิทธิ์สามารถขอ รศ. ต่อได้ (ตามเงื่อนไขที่กำหนดในองค์ประกอบ) และเมื่อได้ รศ. เตรียมตัวทำงานวางแผนต่ออีก ๒ ปี ก็มีสิทธิ์ขอ ศ. ได้เลย (ตามเงื่อนไขที่กำหนดในองค์ประกอบ)  เห็นไหม๊หละครับว่าวางแผนดีๆโอกาสก็มีไม่ยากยิ่งหากทว่าท่านสำเร็จการศึกษาถึงขั้นดุษฎีบัณฑิต หรือ ป.เอก ด้วยแล้ว เวลาของการได้มาก็จะเร็วขึ้นเห็นๆ หากทว่าท่านเตรียมตัวด้วยกับคำว่า “วางแผน”

        คราวนี้ผมก็จะขอเข้าสู่การทำความเข้าใจของผมในเงื่อนไขขององค์ประกอบของคำต่างๆดังต่อไปนี้ที่จะเป็นสะพานตลอดเส้นทางให้เราก้าวไปสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่างๆได้เข้าใจมากขึ้น กล่าวคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จะมีงานเขียนอยู่ ๓ ลักษณะ คือ เอกสารประกอบการสอน  งานวิจัย และ ตำราหรือบทความ สำหรับตำราหรือบทความเราจะใช้อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วหลายๆท่านก็กลายมาทำเป็นตำราแทบทั้งสิ้น  เพราะคนขอตำแหน่งโดยใช้บทความก็ไม่แน่ใจที่จะขอ  พอเป็น รองศาสตราจารย์ ก็จะมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นมา ประกอบด้วย เอกสารคำสอน ตำรา และก็งานวิจัย (เงื่อนไขบังคับที่ต่างออกมา คือ เอกสารคำสอน) พอมาถึง ศาสตราจารย์ ก็ต้องมีงานวิจัย มีตำรา ในระดับคุณค่าที่ต้องดีมากๆๆ 

ฉะนั้นสรุปก็คือ ไม่ว่าเราจะขอตำแหน่งทางวิชาการใดๆสิ่งสำคัญก็คือ

๑.    ทุกท่านต้องสอนให้ดี 

๒.    ทุกท่านต้องมีงานวิจัยไม่ว่าจะระดับ ผศ.  รศ.  หรือ  ศ.  ก็ตาม

๓.    ทุกท่านต้องมีตำราไม่ว่าจะระดับ ผศ.  รศ.  หรือ  ศ.  ก็ตาม แต่สำหรับ ผศ. เกณฑ์ให้ใช้บทความแทนตำราได้ครับ

คราวนี้ก็มาเข้าสู่ลักษณะงานวิชาการเงื่อนไขของบันไดสู่ตำแหน่งเส้นทางในตำแหน่งวิชาการ

เอกสารประกอบการสอน หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตาม

หลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน

        เอกสารคำสอน หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาที่สอนและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบโดยอาจพัฒนาและมีความสมบูรณ์มากกว่าเอกสารประกอบการสอน

            บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจนทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจน

            ตำรา หมายถึง ผลงานทางวิชากรที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือของหลักสูตรก็ได้ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา  เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัย เมื่อถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ขอต้องระบุวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรที่ใช้ตำราเล่มที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย  ผลงานที่เป็นตำรานี้อาจได้รับการพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอน จนถึงระดับที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งผู้อ่านอาจเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เรียนในวิชานั้น แต่สามารถอ่านและทำความเข้าใจในสาระของตำรานั้นด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานั้น

            หนังสือ หมายถึง ผลงานทางวิชากรที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคงและให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัยเมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์

            งานวิจัย หมายถึง ผลงานวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือ เอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์ใช้

            ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นๆ หมายถึง ผลงานวิชาการที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา โดยปกติส่วนใหญ่จะออกมาในลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ หรือ งานสร้างสรรค์ เช่น การประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง สิ่งก่อสร้าง ผลงงานด้านศิลปะ หรือแม้กระทั่งสารานุกรม เป็นต้น

            บทสรุปของบทความชิ้นนี้ของผมก็คือว่า สิ่งดังกล่าวข้างต้นที่กล่าวมาเราที่ได้ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ในรั้วสถาบันระดับอุดมศึกษาไม่เคยผ่านหรือเรียนรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้หรือ คำตอบคือ มิใช่ เพราะสิ่งต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนวนเวียนอยู่ในชีวิตประจำของคนที่เป็นผู้สอนแทบทั้งสิ้นในทุกๆวัน ฉะนั้นอะไรหละที่เราจะทำนับจากนี้กับเส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ผมว่าเพื่อนผู้อ่านเท่านั้นที่จะตอบได้ดีที่สุด  แต่สำหรับผมแล้ว ณ ตอนนี้คงไม่มองไปไกลถึงเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ แต่ผมกลับถามตัวเองว่า ณ วันนี้ผมมีอะไรที่สร้างสรรค์มันขึ้นมาอย่างมีคุณค่าบ้าง และพรุ่งนี้ผมต้องทำอะไรต่อไปบ้าง นี่คือสิ่งที่ผมถามกับตัวเอง ผมเชื่ออย่างหนึ่งครับว่าเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้สอนมีอยู่แล้วเป็นทุน คือ การเป็นผู้สอนที่ดี (เพื่อศิษย์) ส่วนที่เหลือ ตำรา บทความ งานวิจัย คือก้าวต่อไปที่เราทุกคนต้องพิจารณารังสรรค์ในฐานะผู้รู้เพื่อถ่ายทอดสู่สาธารณชนต่อไป เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์ที่ประเสริฐที่สุด คือ บุคคลที่ยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  

 ...วัลลอฮฺอะลัม

 

 

เอกสารอ้างอิง 

ณัชชา  พันธุ์เจริญ.  (๒๕๕๓).  ชวนอาจารย์เขียนตำรา ตอนเส้นทางสู่ศาสตราจารย์.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ไพฑูรย์  สินลารัตน์.  (๒๕๕๓).  เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเกณฑ์และการเตรียมตัว.  กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 


[1] บทความทั่วไปเสนอมุมมองและการทำความเข้าใจของผู้เขียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

[2] อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์   มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

[3] กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[4]รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยประธานกรรมการบริหารสาขาการจัดการการศึกษา  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

หมายเลขบันทึก: 370756เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แวะมาร่วมเชียร์ให้สร้างฝันให้เป็นจริงครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

จารุวัจน์ شافعى

ผมเองก็ขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในเร็ววันนี้นะครับ

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

ผมคนหนึ่งที่ไม่ค่อยจะสนใจในตำแหน่งผศ ทั้ง ผศ. ตามความหมายจริงและ ผศ.ตามความหมายในนัย

และผมก็ไม่เคยปฏิเสธว่าสิ่่งนี้มันจำเป็นสำหรับสังคมเราทุกวันนี้

แต่ผมยังไม่ได้กระดิกทำอะไรเลย เพราะผมยังไม่สามารถหลุดพ้นจาก رِئَاء النَّاسِ หรือทำไปเพื่อให้คนดู

ยิ่งได้อ่านประวัติของอิมามอัลฆอซาลีแล้ว ยิ่งกลัวมาก

เอาไว้ผมสลัดจากเรื่องนี้ได้เมื่อไร ก็จะเริ่มไควคว้า ผศ. มาเหมืนกัน แม้เมื่อใกล้ตายแล้ก็ตาม

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

มุมคิดดีๆ อีกวิถีมุมมองที่น่าค้นหา ช่วงเวลามิใช่สิ่งสำคัญ ขอเพียงใจตั้งมั่นในความบริสุทธิ์จุดจบจะเป็นอย่างไร (วัลลอฮฺอะลัม) แค่เราำทำวันนี้ให้ดีที่สุดครับ เพราะความจริงมันใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องที่ต้องไขว่คว้า แต่คือ สิ่งที่มีอยู่เดิมในชีวิตแล้วทำมันให้ดีขึ้นมากกว่าครับ ผมเชื่อครับว่าอาจารย์มีมันทุกอย่างแล้วครับ

       ดูแลสุขภาพด้วยครับ

แวะมาอ่าน และให้กำลังใจ หวังว่าคนที่อ่านบทความชิ้นนี้มีกำลังใจ และในอนาคตสามารถคว้าตำแหน่งทางวิชาการทุกคน อามีน

ขอบคุณมากครับอาจารย์

30

oputeh

ขอดุอาอฺและเป็นกำลังใจให้อาจารย์เช่นกันครับ

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

อาจารย์มหาวิทยาลัยนั้น มีความคิดไม่เหมือนกัน บางคนสนใจก้าวไปสู่การเป็น ผศ. รศ.และ ศ. บางคนไม่สนใจ

หากอาจารย์สนใจก็ก้าวไปและมุ่งมั่นกับมัน ผมเอาใจช่วยครับ ขอเพียงอาจารย์อย่ามุ่งมั่นกับมันจนถึงขั้นหมกมุ่นนะครับ เผื่อความผิดหวังไปบ้าง โดยเฉพาะในระดับ รศ.และ ศ. ที่นักวิชาการหลายคนผิดหวังกันมานักต่อนักแล้ว

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

นาย วัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย)

ความจริงหากตัดสินใจอะไรบางอย่างและแน่ชัดกับบางเรื่องจะบอกว่าผมอาจวิ่งออกจากเลนวิชาการครับ เพราะฉะนั้นเรื่องตำแหน่งต่างๆจึงไม่ค่อยจะคิดว่าสำคัญสักเท่าไหร่ครับ

ขอบคุณทุกกำลังใจและความคิดเห็นข้อคิดดีๆครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์...มุมคิดดีๆมีให้ตลอดจริงๆ

P

ราชิต สุพร

http://gotoknow.org/blog/pa15/371959

เราที่รักพ่อหลวง ควรแสดงออก

ให้คนที่เค้าไม่รักได้รู้ว่าความรักของเรายิ่งใหญ่ไม่มีใครมาทำลายได้ค่ะ

ขอบคุณมากครับที่มาแบ่งปันเรื่องราวดีๆครับ

P

ไผ่ไม่มีกอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท