ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

เศรษฐกิจพอเพียง


หลักปฏิบัติดีที่สุดในโลก

ใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้... ถ้าไม่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

                                                                                                                                                                                ศุภัชณัฏฐ์  หลักเมือง

                                                                                                                                        เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                                                                                                                                                E-mail : [email protected]

-------------------------------------------

ใครจะไปคาดคิดว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาอย่างเลแมน บาร์เธอร์และ เอ ไอ อี จะต้องถึงกับล้มละลายไม่เป็นท่า รัฐบาลสหรัฐต้องเข้าไปอุ้มโดยต้องทุ่มเงินก้อนใหญ่สูงถึง 7 แสนล้านดอลล่าร์ เพราะเหตุที่ว่ามูลหนี้สูงกว่าทุน จากสาเหตุดังกล่าวนี้ลามไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเงิน การธนาคารอีกร้อยกว่าแห่ง และมีแนวโน้มขยายวงไปยังประเทศอังกฤษ และประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปอีกด้วย วิกฤตทางเศรษฐกิจคราวนี้ไม่แตกต่างไปจากภาวะวิกฤตของไทยในปี พ.ศ. 2540 แต่อย่างใด เป็นความเหมือนกันในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา 11 ปีแล้ว ในครั้งนั้นประเทศไทยโดนบรรดานักวิชาการทางการเงิน การคลังและกองทุนการเงินระหว่างประเทศโดยเฉพาะสัญชาติอเมริกัน กล่าวหา (ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงเสียส่วนใหญ่) ว่า การบริหารจัดการทางการเงินของไทยไร้เสถียรภาพ ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่มีระบบตรวจสอบและป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปก็คือ มีการบริหารจัดการที่แย่ ไม่มีประสิทธิภาพ และยังทำให้ประเทศอื่น ๆ เขาได้รับผลกระทบหรือความเดือดร้อนไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 5 - 6 ปีผ่านมา ตั้งแต่เกิดภาวะวิกฤตในปี พ.ศ. 2540 เราก็อดทนฝ่าฝันอุปสรรคอันแสนเจ็บปวดนั้น ก้มหน้าก้มตาใช้หนี้เงินกู้ จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่รัฐบาลไทยไปกู้ยืมมาจนภาวะทางการเงิน และการคลังกลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้งหนึ่ง

กอปรกับในระยะหลังตังแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา รัฐบาลและประชาชนมีการตื่นตัวได้น้อมนำเอาแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตในระดับครัวเรือน มีการรณรงค์กันอย่างขนานใหญ่ เน้นย้ำให้มีการน้อมนำเอาแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินการในทุกเรื่อง วิกฤตการณ์ในสหรัฐอเมริกา              มีนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิได้วิเคราะห์วิกฤตการณ์ดังกล่าวอย่างน่าสนใจว่า หากบริษัทต่าง ๆ มีการบริหารจัดการกิจการของตนเองอย่างไม่โลภมากนัก ใช้หลักธรรมาภิบาล และมีความรับผิดชอบต่อประชาชนและผู้ถือหุ้นแล้ววิกฤตการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่าไม่รู้จักความพอเพียงนั่นเอง แรก ๆ ที่มีข่าววิกฤตการณ์ดังกล่าว ผมนึกย้อนไปว่าคราวที่ประเทศไทยมีวิกฤตเขาว่าเราไร้เสถียรภาพ ไม่มีธรรมา-   ภิบาล ไม่มีระบบตรวจสอบและป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ คราวนี้คงถึงคราวคุณบ้างล่ะ แล้วคุณจะว่าอย่างไร ใหญ่มากเท่าไรก็ล้มดังมากเท่านั้น และจะมีผลกระเทือนในระยะไกลด้วย ประเทศไทยก็ไม่ควรประมาทในสถานการณ์เช่นนี้ การใช้จ่ายอย่างเกินตัว และแบบมือเติบต้องไม่มีเป็นเด็ดขาดไม่งั้นวิกฤตทางเศรษฐกิจจะกลับมาอีกอย่างแน่นอน

จากวิกฤตการณ์ดังกล่าวนี้ หากบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ได้นำแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการบริหารจัดการก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้เราพอมองเห็นและวิเคราะห์ได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เลย และจะเป็นหลักการบริหารจัดการอันยอดเยี่ยมเลยทีเดียว กล่าวคือ         หลักความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป โดยต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต การบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ  หลักความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยการพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ และ หลักการมีภูมิคุ้มกัน (ที่ดี) หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล อีกทั้งต้องนำเอาเงื่อนไขอีก 2 ประการ มาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง คือ เงื่อนไขความรู้ คือ ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านี้มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ และ เงื่อนไขคุณธรรม คือ ความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรในการใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

โดยสรุปจะเห็นได้ว่า ตำราในการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง-      การปกครอง สิ่งแวดล้อม และการจัดการชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ สามารถใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างดีเยี่ยม ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาตำราฝรั่งหรือข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนถึงเมืองนอกเมืองนาแต่ประการใด ถ้าหากเราใส่ใจและน้อมนำเอาหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มาเป็นหลักและแนวทางการบริหารจัดการและการดำเนินการแล้วก็จะสามารถบริหารจัดการและดำเนินการทุกเรื่องให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างดียิ่ง นี่คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง... ตำราและหลักการแก้วิกฤตเศรษฐกิจอย่างแท้จริง.

 

 

หมายเลขบันทึก: 369954เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

จริงอย่างที่ได้ว่าไว้ ในชีวิตนี้นี้คงไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นสุข

ต่อให้มีเงินท่วมหัว แต่ประมาทก็อาจทำให้ทุกข์ใจได้

ไม่มีสิ่งใดมีความสุขเท่ากับการใช้ชีวิตอย่าง

"พอเพียงและเพียงพอ" หรอกค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

P
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท