การพัฒนาหลักสูตรและวิธีเป็นครูโรงเรียนอสม : ๘.เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.


                         อธิบายภาพ ๑ : การถ่ายทอดและนำเสนอของอสม. อสม.จากจังหวัดอำนาจเจริญช่วยกันออกมานำเสนอแนวคิดและการวางแผนที่ได้จากการทำงานกลุ่ม เพื่อกลับไปค้นหาอสม.๑๐-๒๐ คนที่กลุ่มเชื่อว่าจะสามารถสร้างให้เป็นครูอสม.และเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ให้บูรณาการกับการเป็นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนได้

                         อธิบายภาพ ๒ : ทักษะการฟังและเรียนรู้ของอสม. อสม.และกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นแบบอย่างการทำงานในชุมชนในเวทีนี้ เป็นกลุ่มที่มีความเป็นผู้เรียนรู้ดีมากทั้งในด้าน สุ จิ ปุ ลิ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ยังมีความเป็นหนุ่มสาว สามารถเป็นผู้นำการทำงานในชุมชนต่างๆต่อไปในอนาคตได้อีกนาน หากเรียนรู้จากบทเรียนการทำงานอสม.และเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งดังกล่าวนี้และลงทุนสร้างความเป็นพลเมืองให้กับชาวบ้านในชุมชนต่างๆในลักษณะนี้ได้ ก็เชื่อว่าจะส่งเสริมให้ชุมชนในระดับฐานรากของสังคมไทยมีพลังการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตนเองตามที่พึงประสงค์ได้มากยิ่งๆขึ้น

  เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม. 

การพัฒนาวิธีการเป็นครูและสามารถปฏิบัติการเพื่อดำเนินการโรงเรียนอสม. ได้ จำเป็นต้องเกิดเงื่อนไขพื้นฐานที่เอื้อต่อการทำงาน ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนการทำบทบาทเป็นครูอสม. ควรนำมาคิดและดำเนินการให้เกิดขึ้น ดังนี้

  • เป็นส่วนหนึ่งของเขา ในการริเริ่มกิจกรรมและการทำงานในชุมชน ทั้งการดำเนินงานอื่นๆและการขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืนนั้น ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับปัญหาและความจำเป็นที่อสม.ดำเนินการหรือให้ความสนใจอยู่ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ได้มีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจและเห็นความเกี่ยวข้องกัน
  • เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องและสนองตอบต่อความต้องการต่างๆของชุมชน รวมทั้งการสร้างกระบวนการให้ชุมชนได้เรียนรู้ เห็นความสำคัญและสามารถดำเนินการให้ผสมผสานกับกิจกรรมและการดำเนินชีวิตของชุมชนได้เป็นอย่างดี
  • เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน ต้องคำนึงถึงความสามารถเชื่อมโยงกับงานเชิงนโยบายของหน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในพื้นที่ชุมชน รวมทั้งสามารถบูรณาการกิจกรรมและการดำเนินงานของภาคราชการ ตลอดจนความร่วมมือกับหน่วยงานภาคสาธารณะต่างๆที่มุ่งดำเนินการให้ครอบคลุมถึงชุมชนระดับต่างๆ

เงื่อนไขดังกล่าวสามารถดำเนินการให้เกิดขึ้นผ่านการถอดบทเรียน วิเคราะห์ศักยภาพและทุนประสบการณ์ของอสม. การเรียนรู้ชุมชนให้เห็นระบบและความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆโดยมีการดำเนินชีวิตและสุขภาวะของชุมชนเป็นแกนกลาง และการเรียนรู้แนวการผสมผสานนโยบายสาธารณะของท้องถิ่นทั้งขององค์กรท้องถิ่น หน่วยงานราชการในท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานภาคสาธารณะต่างๆในท้องถิ่น ให้สะท้อนประเด็นร่วมของชุมชนและมีความกลมกลืนกับความริเริ่มสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนอสม.จากนั้นจึงวางแผนและสร้างนวัตกรรมดำเนินการขึ้นให้สอดคล้องกลมกลืนกับพื้นฐานข้อมูลทั้ง ๓ ด้านให้มากที่สุด.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 คลิ๊กลงไปบนชื่อเรื่อง  เพื่ออ่านเนื้อหาทั้งหมด ๑๒ ตอน    ท่านกำลังอ่าน ตอนที่ ๘  

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์.

หมายเลขบันทึก: 369946เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ดร. วิรัตน์  คำศรีจันทร์ที่เคารพ

อยากเรียนรู้เรื่องโรงเรียนอสม. ค่ะ

ค้นหาในเวปเจอบันทึกของอาจารย์ ดีใจมากค่ะ มีเรื่องราวที่มีประโยชน์ให้ต้องศึกษาอีกตั้ง 12 ตอน

จะค่อย ๆ ทยอยอ่านและศึกษาในทุกตอน ขออนุญาตปริ๊นซืมาศึกษาในรายละเอียดนะคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ...^_^

  • กำลังจะมีแถมบทสังเคราะห์ให้อีกตอนหนึ่งปิดท้ายครับ
  • พี่กุ้ง : อาจารย์สิรินภรณ์ มือวิชาการของโครงการ กับอาจารย์กลม : กมาลภรณ์ ของ สช.นครสวรรค์ และอาจารย์ณัฐพัชร์ ที่ไปด้วยกัน อยากให้ทำเป็นเล่มเผยแพร่
  • เลยก็คิดว่าดีเหมือนกันครับ เพราะเป็นบทเรียนและแนวการทำงานที่จะเป็นการพัฒนาบทบาทของ อสม.กับเครือข่ายชุมชนให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในบทบาทหนึ่งที่ อสม.และผู้นำในท้องถิ่นจะเข้มแข็งที่สุด ซึ่งก็เห็นด้วยมากเลยครับ
  • จะสังเคราะห์ถอดบทเรียนเชิงทฤษฎีและสานให้ไปเชื่อมได้กับแนวทฤษฎีสากลให้ต่อไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท