ออกแบบกระบวนการเสนอรายงานวิจัยปิดโครงการเดือนกันยายน


กระบวนการที่ออกแบบไว้เพื่อทำสรุปผลการวิจัย เพื่อหมุนเกลียวความรู้ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่อไป ขณะเดียวกัน ความรู้ที่ได้จะนำไปเสนอกับผู้ใช้งานและแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการประเมินผลงานชิ้นนี้ว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่

กำหนดการ

งานวิจัย "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน" ดำเนินการโดยหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยการสนับสนุนของสกว.และศตจ.จะจัดประชุมนำเสนอผลการวิจัยที่ได้จาก 5 พื้นที่และสังเคราะห์ภาพรวมที่กรุงเทพในเดือนกันยายน

ขอกำหนดวันที่ 21-22 กันยายนไว้เป็นเบื้องต้นก่อน

ในการนำเสนอครั้งนี้จะใช้ICTมาช่วยย่นย่อกรอบแนวคิด กระบวนการวิจัยและผลที่ได้ของโครงการ โดยพุ่งเป้าที่ภาคีสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง(อย่างมีนัยยะสำคัญ)และหัวขบวนขององค์กรการเงินชุมชนซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนไปข้างหน้า

กำหนดการที่คิดไว้คร่าว ๆคือ

เวลา 9.30 - 11.10 น. นำเสนอรายงานวิจัยของ 5 พื้นที่ ๆละ 20 นาที

พักอาหารว่างและเผื่อเวลาสำหรับผู้ดำเนินรายการ 20 นาที อาจบริการอาหารว่างตอนนำเสนอหรือนำเสนอ 3 พื้นที่ แล้วพัก

เวลา 11.30 - 12.00 น. สังเคราะห์ภาพรวม 30 นาที

12.00 - 13.00 น. พักอาหารเที่ยง

13.00 - 16.00 น. อภิปรายโดยภาคีผู้นำผลวิจัยไปใช้งาน (สนับสนุนนโยบาย/ปฏิบัติการ วิชาการ และขบวนองค์กรการเงินชุมชน รวมทั้งแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย) ถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการขยายผลและข้อเสนอแนะต่อการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนองค์กรการเงินชุมชน ที่เอื้อให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นในชุมชนและช่วยแก้ปัญหาความยากจนในระยะต่อไป

ปิดการสัมมนาเวลา 16.00 น.

การเตรียมงาน

การนำเสนอของ 5 พื้นที่และสังเคราะห์ภาพรวม ทีมประสานจะลงพื้นที่สรุปร่วมกัน เป็นรายพื้นที่และจะประชุมสังเคราะห์งานร่วมกันอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนถึงวันเสนองานในวันที่ 21-22 กันยายน 2549 ที่กรุงเทพ ดังนั้น ทีมประสานขอนัดหมายทีมวิจัยแต่ละพื้นที่ขอลงไปสรุปผลงานวิจัยร่วมกันตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (แหม่มกับแป้นจะประสานอีกทีครับ) โดยขอนัดประชุมเพื่อนำเสนองานของแต่ละพื้นที่รวมทั้งสังเคราะห์งานร่วมกัน(ภายใน)ในวันที่17-18 สิงหาคม 2549

ผมได้เขียนเสนอให้แต่ละพื้นที่ทำAAR 1 ปี เพื่อสรุปผลการจัดการความรู้และกำหนด เป้าหมายและแผนในการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายในปีต่อไป ซึ่งจะเป็นเวทีปิดและเริ่มต้นใหม่ (ทางกลับคือการเดินทางต่อ)ของพื้นที่ ก่อนที่ทีมประสานจะลงไปหารือสรุป

นี่คือกระบวนการที่ออกแบบไว้เพื่อทำสรุปผลการวิจัย เพื่อหมุนเกลียวความรู้ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่อไป ขณะเดียวกัน ความรู้ที่ได้จะนำไปเสนอกับผู้ใช้งานและแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการประเมินผลงานชิ้นนี้ว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ ตามที่ตั้งผลที่คาดว่าจะได้รับไว้ว่า

    1. เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้สร้างคนทำงาน พัฒนากลุ่ม/ เครือข่ายโดยใช้ความรู้และการเรียนรู้เป็นฐานในการขับเคลื่อนงาน

    2. ได้ความรู้ทั้งเชิงพื้นที่และภาพรวมในกระบวนการจัดการความรู้ตามแบบจำลองปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคีผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปขยายผล อย่างกว้างขวางต่อไป

******************************************************************************

หมายเลขบันทึก: 36968เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท