คณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นฐาน

กฎกระทรวงกําหนดจํานวนกรรมการคุณสมบัติ หลักเกณฑ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดํารงตําแหนงและการพนจากตําแหนงของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพืนฐาน พ.ศ.2546  

กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้

 องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 1 จํานวนคณะกรรมการ

    - สถานศึกษาขนาดเล็ก มีจํานวนนักเรียนนอยกวา 180 คนลงมา

ใหมีคณะกรรมการจํานวน     9 คน

    - สถานศึกษาขนาดใหญ มีจํานวนนักเรียนตั้งแต 180 คนขึ้นไป

ใหมีคณะกรรมการจํานวน 15 คน   ประกอบด้วย

 1. ประธานกรรมการ

2.ผู้แทนผูปกครอง จํานวน           1 คน

3 ผู้แทนครู จํานวน          1 คน

4. ผู้แทนองค์กรชุมชน จํานวน          1 คน

5. ผู้แทนองคกรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 1 คน
6. ผู้แทนศิษยเก่า จํานวน 1 คน

7. ผู้แทนพระภิกษุสงฆและหรือผูแทนองคกรศาสนาในพื้นที่
        - สถานศึกษาขนาดเล็ก จํานวน 1 รูป หรือ 1 คน
        - สถานศึกษาขนาดใหญ จํานวน 2 รูป หรือ 2 คน 
 8. กรรมการผูทรงคุณวุฒิ

     สถานศึกษาขนาดเล็ก จํานวน 1 คน

     สถานศึกษาขนาดใหญจํานวน 6 คน

9. ผู้อำนวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการสถานศึกษาเลือกผูทรงคุณวุฒิ 1 คน เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

  การดํารงตําแหน่ง

   1. วาระการดํารงตําแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพืนฐาน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ป และอาจได้รับการแต่งตั้ง แตจะดํารงตําแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไมได  

 2 ประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้รับการสรรหาและแต่งตั้งแทนตําแหน่งว่างก่อนถึงวาระ ให้อยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระ ที่เหลืออยูของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งตนแทน

การพ้นจากตําแหน่ง

นอกจากพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพืนฐานพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

 1 ตาย

 2 ลาออก

 3 คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ ทําให้เสื่อมเสียต่อสถานศึกษาหรือหย่อนความสามารถ

4 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องหามอย่างใดอย่างหนึ่งสําหรับกรรมการประเภทนั้น

5 พ้นจากการเป็นผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนหรือครูสําหรับกรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ปกครองนักเรียนหรือผู้แทนครูแล้วแต่กรณี

 6 พ้นจากการเป็นพระภิกษุเฉพาะกรรมการที่เป็นผู้แทนพระภิกษุ

 คุณสมบัติของผูมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 1 คุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้าม

1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ

2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

3) ไม่เป็นคนไรความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

4) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดใหจำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สําหรับความผิดที่ไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

5) ไม่เป็นคู่สัญญาของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน หรือ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

6) ไม่มีผลประโยชนส่วนไดส่วนเสียกับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน หรือสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

     ในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและกรรมการที่มีลักษณะต้อง          

ห้ามตามข้อ (6) ผู้นั้นต้องยุติการมีส่วนไดส่วนเสียก่อนปฏิบัติหนาที่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ ซึ่งต้องดําเนินการภายในสิบหาวัน นับแตวันที่ได้รับการแต่งตั้ง หากมิได้ดำเนินการ ดังกล่าว ใหถือว่าผู้น้นมิเคยไดรับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ

2 คุณสมบัติเฉพาะและลักษณะต้องหาม

  - กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง

1) เป็นผู้ปกครองตามทะเบียนนักเรียนที่กําลังศึกษาอยูในสถานศึกษานั้น 
2) ไม่เป็นครูเจ้าหน้าที่หรือลูกจางของสถานศึกษาหรือที่ปรึกษา หรือ
 ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีสัญญาจางกับสถานศึกษานั้น

  - กรรมการที่เป็นผู้แทนครู

1) เป็นผู้ที่ทําหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอนในสถานศึกษา 
2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา 
 

   -กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน

ต้องไม่เป็นครูเจ้าหน้าที่หรือลูกจางของสถานศึกษาหรือที่ปรึกษาหรือ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีสัญญาจางกับสถานศึกษานั้น

- กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า

1) เป็นผู้ที่เคยศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาจากสถานศึกษานั้น 
2) ไมเป็นครูเจ้าหน้าที่หรือลูกจางของสถานศึกษาหรือที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีสัญญาจางกับสถานศึกษานั้น

  - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้มีความรูความสามารถหรือมีผลงานด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม

1) เป็นกรรมการสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาไม่เกิน 3 แห่ง 
2) ไม่เป็นครู เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสถานศึกษาหรือที่ปรึกษา หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีสัญญาจ้างกับสถานศึกษานั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ก
หมายเลขบันทึก: 367808เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2010 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูดรุณีครับ คณะกรรมการเหล่านั้นเมื่อได้ครบแล้ว ดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาหรือเปล่าครับ ช่วยประเมินให้ด้วยนะครับ สนใจในรายละเอีนดของจริงในพื้นที่

เรียนครูหยุยที่เคารพ

คณะกรรมการสถานศึกษาที่มี เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของโรงเรียนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือคณะกรรมการมีส่วนร่วมในการรับฟัง และรับทราบการบริหารงานต่าง ๆในสถานศึกษา และลงลายมือเป็นหลักฐาน โดยการดำเนินงานต่าง ๆ ยังเป็นบทบาทของสถานศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท