ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ธรรมะสำหรับนักบริหาร


      เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ ในฐานะศิษย์เก่าของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (MMM รุ่นที่ ๔๕) ผู้เขียนได้มีโอกาสตอบแทนคุณูปการของสถาบันโดยการเดินทางไปบรรยาย เรื่อง "ธรรมะสำหรับนักบริหาร" ให้แก่ "นักบริหารระดับสูง" ของกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระดับ ๘-๙ จำนวน ๗๐ ท่าน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารองค์กรและหน่วยงานต่อไป 

      ขอบข่ายดังกล่าวนั้น ถือได้ว่าเป็นประเด็นหลัก และสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้เขียนวิเคราะห์จากสถานการณ์ และตัวอย่างที่ดีที่นักบริหารควรระมัด และต้องใส่ใจในขณะบริหารองค์และหน่วยงานต่างๆ 

      ประเด็นสำคัญคือ "สิ่งแรกที่ผู้บริหารจำเป็นจะต้องทำในขณะเข้าไปบริหารงานคือ "ความไว้วางใจ" (Trust) ซึ่งพระพุทธศาสนามองว่า "ศรัทธา" คือ ความเชื่อมั่น กล่าวคือต้องทำให้ผู้ร่วมงาน หรือเจ้านายเชื่อใจเรา และมั่นใจในสิ่งที่เรากำลังดำเนินการ เพราะหลักความเชื่อมั่นเป็นที่มาของ "อำนาจ" (พละ) ในการบริหารและจัดการ เพื่อให้สอดรับกับความ "คาดหวัง" (Expectation) ของหน่วยงาน ลูกค้า หรือองค์กร  และรักษา และบริหารความสัมพันธ์ (Relationship) ให้มั่นคง และยาวนาน

     ในขณะเดียว ในขณะที่ต้องบริหารจัดการองค์การนั้น  เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น เพราะการที่คนสองคนต้องการสิ่งเดียวกัน และในเวลาเดียว หรือวิเคราะห์ และคิดสิ่งเดียวกัน ในแง่มุมที่แตกต่างกัน และหลากหลาย ในขณะผู้บริหารจะเข้าไปทำหน้าที่ในการ "บูรณาการ" หรือหลอมรวมแนวคิดเหล่านั้น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานและองค์กร รวมไปถึงสังคม สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร 

      การจะได้มาซึ่งทางเลือกที่ดีที่สุด (Best Alternative)ที่แต่ละท่านได้นำเสนอบนโต๊ะของการประชุมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) และฟังอย่างมีสติ (Mindful Listening)  ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้นำเสนอ "กฎทองของการฟัง ๘ ประการ" http://gotoknow.org/blog/buddhist-conflict-management/325078
    

บาป ๙ ที่สาปนักบริหารในโลกยุคปัจจุบัน

       ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เขียนได้รวบรวมบทเรียนจากตัวอย่างที่ไม่ดี (Bad Practice) ของนักบริหารทั่วโลกจากหนังสือ สื่อต่างๆ ข่าว และบทความ โดยการถอดบทเรียนเหล่านั้นมาเพื่อมาเตือนใจของนักบริหารรุ่นใหม่ เพื่อระวังมิให้บาปเหล่านี้เกิดขึ้น  เพราะบาปเหล่านี้ ทำให้หน่วยงาน องค์กร และนักบริหารต้องประสบกับความวิบัติมาโดยตลอด เช่น ผู้บริหารของ Enron และนาย Bernard Madoff เจ้าของกองทุน Madoff  ที่บริหารองค์โดยขาดหลักธรรมาภิบาล จึงทำให้องค์กรประสบชาตากรรมดังที่ปรากฏ

      จากบาปทั้ง ๙ ประการดังกล่าวนั้น ผู้บริหารสามารถแปร "บาป" ให้กลายเป็น "บุญ" ด้วยการสร้างบุญโดยการทำในสิ่งที่ "ตรงกันข้าม" ยกตัวอย่างเช่น ความโลภ หรือความอยากที่ขาดสตินำไปสู่การเบียดบัง หลอกลวง และโกงองค์กรของตัวเอง พระพุทธเจ้าตรัสว่า "โลภเกินก็ลามก" (อติโลโภ หิ ปาปโก) ซึ่งสอดรับกับมหาตม คานธีที่ชี้ว่า "ทรัพยากร มีเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก แต่ไม่เพียงพอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว"  การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรสีขาวจึงเป็นประเด็นที่ "นักบริหารจะต้องสีขาว"

 

บรรยายกาศทั่วไปในการบรรยาย

หมายเลขบันทึก: 367804เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2010 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
พระปลัดวีระชนม์ เขมวีโร เลขาฯคณะสังคมศาสตร์ มจร

เยี่ยมยอดครับผม ท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผมได้อ่านแล้วเข้าใจแนวคิดปฏิบัติชัดเจนครับผม ขอบคุณอย่างมากครับที่มีสิ่งดีๆๆ มาเคาะถึงหน้าห้องแบบนี้

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

นมัสการค่ะ พระอาจารย์

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเจ้าค่ะกับปาบ ๙ สำหรับผู้บริหารที่ไม่มีคุณธรรมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

สมัยนี้ปัจจุบันนี้ในโลกแห่งความเป็นจริงมนุษย์เต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่หาประโยชน์ใส่ตัว(คนดีกลายเป็นคนโง่ คนฉลาดด้วย

อำนาจกิเลสสังคมยกย่อง )การแข่งขันทางธุรกิจหรือต่ำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเป็นไปเพื่อตัวเอง ทุกคนมุ่งหวังแต่ สมมติสัจจะ

บุคคลที่มุ่งหวังปรมัตถ์สัจจะจะอยู่ร่วมกับองค์กรที่แสวงหาผลประโยชน์ไม่ได้(เพราะมีความละอายต่อ่บาป)

โยมขอแสดงความรู้สึกในฐานะทำธุรกิจอิสระและได้เจอบุคคลหลากหลายได้ประสบการณ์มากมาย

ขอขอบพระคุณพระอาจารย์เป็นอย่างมากทีเปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึกเจ้าค่ะ

ด้วยความเคาเรพอย่างสูงค่ะ

ผู้มีอิทธิบาท 4 เจ้าค่ะ

Dear Than Phrakru,

Many thanks for your coming to visit me here. I just want to share my experiences with you all. As we all know management is very important to our university. And luckily you have a chance to learn about it in NIDA last year. I really hope that you will take it to use in managing our faculty more effectivey.

Matta,

นมัสการพระอาจารย์ครับ

อยากเรียนถามหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับ ศาสตร์แห่งการตีความ(Hermeneutic) ครับ เข้าใจยากมากๆ ถ้าพระอาจารย์มีบทความเรื่องนี้ หรือจะเมตตาอธิบายโดยย่อ จะขอบพระคุณเป็นอย่างมากครับ ขอความเมตตาด้วยครับ อยากเข้าใจวิชานี้มากๆ ครับ

นมัสการพระคุณท่าน ผศ ดร พระมหาหรรษา

                 มารับเอาเทคนิคการบริหารขอรับ

เป็นเรื่องจริงอย่างหนึ่งที่คนธรรมดามักจะมีบาป 9 ดังพระคุณท่านกล่าว

แต่เรื่องต่อไปนี้คือความสำเร็จขององค์กรเปี่ยมสุข

ท่านผอ.พรชัย

อนุโมทนาที่แวะเวียนมาแลกเปลี่ยนมุมมอง บาป ๙ อย่างดังกล่าวมักจะเกิดและทำหน้าที่ในการ "สาป" นักบริหารโดยมากทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ขอเพียงผู้บริหารไม่ประมาทในการทำหน้าที่ เราย่อมสามารถแปรบาปให้กลายเป็นบุญ และนำตัวเองพร้อมองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

นมัสการครับ

ติดตามมาอ่านเรื่องนี้ครับ

มีคุณค่ามากครับเพราะ ในทุกวันนี้ ทุกคนเป็นผู้บริหารด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเพศ ฐานะใด ทำงานใด หรือแม้ไม่ทำงาน อย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้บริหารชีวิตของตนเอง

จึงมาสรุปอยู่ที่ประโยคว่า "นักบริหารจะต้องสีขาว"

ตรงนี้ละครับที่ต่างกัน แต่ต้องอยู่ด้วยกัน หากไม่ตั้งต้นจากใจที่สีขาว จะเป็นผู้บริหารสีขาวได้หรือไม่

อำนาจ ตรงนี้ก็เช่นกัน จะเป็นเพราะอำนาจนั้นมี 2 ลักษณะหรือเปล่าครับ อำนาจในทางโลกและอำนาจในทางธรรม

อำนาจในทางโลกนั้น ยากที่จะเป็นสีขาว เพราะเป็นสิ่งที่ร้อน อยู่ในมือใคร ก็จะถูกแย่งชิงในเวลาไม่นาน

ส่วนอำนาจในทางธรรม คือบริหารตัวเอง ผมนึกถึงความรู้คู่คุณธรรมจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงครับ

ความพอดี พอเพียงในเรื่องอำนาจจึงน่าสนใจครับ มีอำนาจแต่อย่าอยู่ในอำนาจนาน น่าจะเป็นอีกข้อหนึ่งของนักบริหารที่ดีครับ

ขอบพระคุณบันทีกที่ดีเช่นนี้ครับ

วันก่อนผมดูรายการโทรทัศน์ ทีจีเอน นำชม มจร. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีทุกอย่างครบมากสำหรับการศึกษานะครับ

นมัสการครับ

ท่านทูต

องค์กรสีขาว หรือผู้บริหารสีขาว เราพูดถึงกันมากในเรื่องหลักการบริหาร และการแข่งขันที่พัฒนาจาก Red Ocean และ Blue Ocean ไปสู่แนวทาง White Ocean ซึ่งเน้นว่า การอยู่รอดของคู่แข็งคือการอยู่รอดของเรา การเบียดเบียนคู่แข็งคือการเบียดเบียนตัวเราด้วย กล่าวคือ ไม่มีประโยชน์อันใดที่เราจะต้องห้ำหั่น และฆ่าคู่แข็งของเราให้จนกระดาษหรือหมดทางสู้ ทางออกคือ เรา "ไม่ใช่คู่แข่ง" แต่เราเป็น "คู่กัลยาณมิตร" ที่พร้อมจะหยิบยื่นความสุขให้แก่ลูกค่า และผู้รับบริการของเราด้วยใจที่เปี่ยมสุข

นมัสการครับ

ขอบพระคุณครับ

ทำให้ต้องศึกษาต่อไปครับ

โดยเฉพาะในกรณีของอินเดีย ว่านำสิ่งเหล่านี้มาใช้เพียงใด

เพราะมีเจ้าของกิจการรุ่นใหม่ในอินเดียมากมายที่ประสบความสำเร็จโดยไม่ได้เรียนมาทางบริหารธุรกิจมาก่อน

แต่ด้วยความที่สู้และหาทางออกได้ในทุกสถานการณ์ ทำให้มีเศรษฐีเกิดใหม่มากมายครับ

นมัสการครับ

ยิ่งอ่านเรื่อง ทะเลสีต่างๆ ในทางโลกธุรกิจ ก็ยิ่งชัดเจนว่า ยังมีสีขาวอีกมากที่เราสามารถทำให้เกิดเป็นทะเลสีขาวได้ ดังที่ท่านว่า

ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็ต้องมาจากใจที่เป็นสีขาวก่อนครับ

นมัสการครับ

ท่านทูต

อนุโมทนาที่ท่านทูตได้ไปขยายขอบฟ้าของความรู้ให้กว้างมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ให้ขยายตัวออกไป เหมือนเรื่องที่เราเคยคุยกัน "แมวน้อยอยากไปนิพพาน" และได้มีโอกาสอ่านเพิ่มเติม

ความรู้เหล่านี้ปกติอาตมาก็ไม่เคยทราบ และทำให้อยากจะทราบมากยิ่งขึ้น ว่าภาษาโลกเขาพูดอะไรกันในเชิงการบริหาร การตลาด และโลกธุรกิจ จนทำให้อาตมาต้องลงทุนลงแรงไปเรียนที่ "หลักสูตรสามเอ็ม นิด้า" และ "เกษตร มินิ เอ็มบีเอ" รวมไปถึงที่กำลังจะไปเรียนเพิ่มเติมอีกคือ "ธรรมศาสตร์ มินิ เอ็มบีเอ"

การเรียนรู้เหล่านี้จะมีผล และก่อให้เกิดคุณูปการในการเชื่อม "โลกกับธรรม" เพื่อว่า "โลกก็ไม่ช้ำ และธรรมก็ไม่เสีย" และนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการย่อยไปประยุกต์ในโลกของการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยและกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป สรุปคือ การเรียนรู้ได้ตอบสนองโลกแห่งปัญญา เพื่อว่าเราจะได้นำ "ปัญญาแบบโลกิยะ" ไปช่วยตัวเราเองและเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกของเราให้เข้าถึง "ปัญญาแบบโลกุตระ"ต่อไป

ท่าน ธรรมหรรษา

นมัสการครับ

ชื่นชมครับ สมกับคำว่า ไม่มีวันสาย(เกินไป)ที่จะเรียนรู้

ผมคิดว่า การจะเป็นผู้นำคน สมควรที่จะรู้ศาสตร์หลายๆ ด้านโดยเฉพาะการบริหารครับ

ยิ่งมีหลักธรรมอยู่แล้ว จะเป็นผู้นำที่ดีครับ

อนุโมทนา สาธุครับ

 

นมัสการครับพระอาจารย์

มาอ่านเรื่องราวดีๆ

 และมารายงานการปฎิบัติศาสนกิจ ของห้องเรียนเชียงราย

 

พุทธศาสนิกชนเชียงราย สนใจเข้าวัดปฏิบัติธรรมมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท