พาคิดพาทำเพื่อการพัฒนา


การทำงานแบบพาทำไปพร้อม ๆ กันแบบนี้ คนเก่งสามารถช่วยคนที่ยังไม่เก่ง มีความถ้อยทีถ้อยอาศัย เกิดวัฒนธรรมของการเปิดใจ และเป็นกัลยาณมิตร ผลคือ ทุกคนมีความพอใจและสุขใจในการทำงาน......


          "การทำงานใด ๆ ที่ทุกคนมีแต่ได้ ไม่มีเสีย เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้เข้าร่วมในทีมเกิดความพึงพอใจ และมีความเต็มใจในการร่วมทำงานนั้น ๆ พลังของการร่วมแรงร่วมใจย่อมทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการได้ในที่สุด"

          จากหลักการที่กล่าวข้างต้น สพท.สพ.2 เราได้พาผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดฯ ร่วมคิดร่วมทำ เริ่มจากเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2549 เราเปิดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานบริหารโรงเรียนตามเรื่องที่แต่ละคนสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการทำงานของ สพท. แบ่งเป็น 7 เรื่อง ดังนี้

          1. การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
          2. การพัฒนาระบบการรับและติดตามนักเรียน
          3. การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
          4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
          5. การพัฒนาระบบนิเทศการศึกษา
          6. การระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา
          7. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ

           โดยผลของการ KM ในวันนั้น แต่ละคนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในแต่ละเรื่องว่า 1) มีเป้าหมายอะไรในการพัฒนา 2) มีตัวชี้วัดอะไรที่บ่งบอกว่าได้ทำให้เป้าหมายนั้นประสบความสำเร็จ 3) แล้วแต่ละคนมีวิธีดำเนินการอย่างไร

            จากนั้นเรานัดพบกันอีกครั้ง ในวันที่ 29 มิ.ย.2549 เพื่อนำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม และร่วมกันเติมเต็ม ในภาคบ่ายมีการแบ่งกลุ่มอีกครั้งตามความสนใจของแต่ละคน เพื่อนำผลไปกำหนดเป็น Flow Chart แสดงขั้นตอนการทำงาน และช่วยกันวิเคราะห์และกำหนดหัวข้อเรื่องการวิจัย

             วันรุ่งขึ้นแต่ละกลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อเรื่องการวิจัยเดียวกัน ช่วยกันเขียนโครงร่างการวิจัย  จากนั้นในวันที่ 2 ก.ค.2549 สพท.สพ.2 ได้เชิญ รศ.ดร.สุพักตร์  พิบูลย์ ภาควิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาเป็นที่ปรึกษาให้คำชี้แนะ ในการพากันทำวิจัยแบบ "ร่มเล็กในร่มใหญ่" โดยอาจาย์จะเน้นให้พวกเราทำเป็นวิจัยพัฒนา (The Research and Development) หรือที่หลายคนเรียกว่าวิจัย R&D เพื่อให้สามารถนำผลงานวิจัยที่ได้ไปแนบการขอเลื่อนวิทยฐานะได้ในลำดับต่อไป นอกเหนือจากการนำผลวิจัยไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนแล้ว

             แต่ละคนจะได้รับข้อเสนอแนะจากท่านอาจารย์ไปปรับโครงร่างการวิจัยให้สมบูรณ์ และมีการบ้านให้ไปคิดร่างนวัตกรรมในการพัฒนาและเครื่องมือในการเก็บตัวแปรตาม โดยเรามีนัดที่จะพบกันอีกครั้งในวันที่ 5 ส.ค.2549 

             ตัวเองพบว่า การทำงานแบบพาทำไปพร้อม ๆ กันแบบนี้ คนเก่งสามารถช่วยคนที่ยังไม่เก่ง มีความถ้อยทีถ้อยอาศัย เกิดวัฒนธรรมของการเปิดใจ และเป็นกัลยาณมิตร ผลคือ ทุกคนมีความพอใจและสุขใจในการทำงาน......


          

คำสำคัญ (Tags): #พาคิดพาทำ
หมายเลขบันทึก: 36773เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยค่ะว่าการทำงานกับคนเก่งจะทำให้เราพัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็ว  แต่ทั้งนี้จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ คนเก่งต้องมีจิตใจงดงามที่จะช่วยผู้อื่น   และคนที่ยังไม่เก่งต้องทำใจได้ว่าไม่มีใครเก่งทุกเรื่อง 

เห็นด้วยครับขอบคุณช่วยนำเข้าแพลนเน็ทของเขต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท