อำนาจอธิปไตยกับการตลาดเสรี


ตลาดเสรี เมื่อฟังชื่อแล้วอาจทำให้คล้อยตามไปได้ เพราะใคร ๆ ก็ชอบความเป็นเสรี แต่ในทางการค้าแล้ว มีความเป็นเสรีเช่นว่า จริงหรือ ...

อำนาจอธิปไตย

 กับการเปิดตลาดเสรี 
neo
                  คำว่าอธิปไตย” (sovereign) ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึงอำนาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตนซึ่งจากคำจำกัดความที่ไม่ยาวนักนี้ หากตีความแบบกว้างให้ลึกซึ้งมากขึ้น สามารถให้ความหมายครอบคลุมไปถึงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสถานะภาพของรัฐในทางกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นอิสระของรัฐอธิปไตยที่ไม่อยู่ภายใต้อาณัติหรืออำนาจใด ๆ รวมถึงการที่จะต้องผูกพันตนเองในทางระหว่างประเทศ ในอันที่จะต้องให้ความเคารพในความเป็นอธิปไตยของรัฐอื่นด้วย  ทั้งนี้ อธิปไตย หรือ sovereign ยังเป็นพื้นฐานที่จำเป็นของการใช้อำนาจและการกระทำของรัฐผ่านกระบวนการดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง ตลอดทั้ง การก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอีกหลากหลายรูปแบบอีกด้วย

              รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่วางหลักการการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ กฎหมายรัฐธรรมนูญจะมีเนื้อหาสาระที่แตกต่างไปจากกฎหมายทั่วไป โดยจะเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและกลไก ที่มีความสำคัญต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการปกครองภายในประเทศ กับทั้ง       แตกต่างจากกฎหมายทั่วไปเนื่องจากอยู่ในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกฎหมายอื่น ๆ อาทิเช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ฯลฯ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ โดยทั่วไปแทบทุกประเทศจะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่บางประเทศจะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ประเทศอังกฤษ แต่ส่วนใหญ่จะบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่  27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้วางนโยบายเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไว้ในหมวดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ กล่าวคือ       

             "มาตรา 87  รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี        โดยอาศัยกลไกตลาดกํากับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครอง 

ผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม   รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจ  ที่ไม่ สอดคล้องกับความจําเป็นทางเศรษฐกิจและต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชนเว้นแต่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง ของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมหรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค"                     

                     การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจยุคเสรีนิยมใหม่ หรือ ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทให้ตอบสนองกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ และนโยบายสาธารณะมากมายหลายเรื่อง ให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มผู้ลงทุน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการจัดทำนโยบายสาธารณะ การเปิดเสรีทางการค้า การเปิดตลาดทางการค้า การค้าและการลงทุน ตลอดจนการแปรรูปสาธารณสมบัติและสาธารณูปโภค

ของรัฐแก่เอกชนผู้ลงทุน ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อดึงความสนใจของ

นักลงทุน  การเจรจาในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) ในเรื่องต่าง ๆ หรือ การเจรจาในระดับทวิภาคีที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้  คือความพยายามในการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี FTA (Free Trade Agreement) Thai-US และกับประเทศอื่น ต่าง ๆ ที่เป็นที่มาของโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งเป็นโครงการที่เห็นว่ามีความจำเป็นเป็นเร่งด่วนสำหรับประเทศไทย ความตกลงดังกล่าวตลอดจนโครงการใหญ่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นย่อมส่งผลโดยตรงต่อประเทศไทยจึงสมควรได้มีการแสดงความคิดเห็นและได้รับการยอมรับจากประชาชนก่อน                        

                 โดยที่รัฐธรรมนูญได้วางหลักการรับรองการมีส่วนร่วมของพลเมือง ตามเงื่อนไขและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะสิทธิพลเมืองที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 59 กล่าวคือ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คําชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดําเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนไดเสียสําคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ

                             จากหลักการดังกล่าวนี้เอง ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของประเทศ หากต้องการบรรลุผลให้ถึงที่สุด ควรให้ความสำคัญกับสิทธิพลเมือง ในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของรัฐซึ่งส่งผลต่อการใช้อธิปไตยของปวงชน จึงเป็นประเด็นสำคัญของผู้นำในประเทศโดยเฉพาะผู้ที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะตลอดจนริเริ่มโครงการต่าง ๆ หรือทำข้อตกลงกับต่างประเทศ  สมควรให้ความสำคัญกับการรับฟังความคิดเห็น หยิบยกนโยบายต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาและกำหนดเป้าหมายปลายทาง โดยเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองมากขึ้น ประกอบกับการให้ความใส่ใจกับประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของรัฐที่แท้จริง อันจะส่งผลให้คุณภาพของการใช้อำนาจอธิปไตยแห่งรัฐเป็นไปอย่างรอบคอบและเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้นต่อไป.  

หมายเลขบันทึก: 36772เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พยายามย่อหน้าให้ได้ นะคะ ลิ

อ่ายากค่ะ

เดี๋ยวจะพยายามแก้ไขค่ะ ไฟล์ที่แล้วหนูบันทึกโดยใช้วิธีเดียวกันมันก็มีย่อหน้า แต่ไฟล์นี้ทำไมไม่มีไม่รู้...ลองแก้อยู่หลายทีเหมือนกัน... เดี๋ยวจะลองดูอีกทีค่ะ ขอบคุณค่ะ ^_^

 

อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยค่ะ พี่ลิ

  แล้วจะตามอ่านต่อนะค่ะ

บันทึกที่พิมพ์มาจาก MS Word ควร copy ไปใส่ Notepad ก่อนค่ะ แล้วจึงมาแปะในบล็อก แล้วค่อยตกแต่งค่ะ

  • ขอบคุณอาจารย์ ดร. จันทวรรณ มากค่ะที่เข้ามาให้คำแนะนำ
  • เป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท