น้องใหม่รายงานค่ะ


หนูขอแสดงความคิดเห็นบ้าง

     ปัญหาการใช้ยาในน้องใหม่

         ผลกระทบ

            แนวทางการแก้ไข

1.อ่าน doctor orderไม่ออก ลายมือสวยเกิน!!!!!!!!!

 

 

 2.ยาตัวเดียวมีหลายชื่อ จำไม่หมดหรอก

 

 

 

 

 

 

 3.ผสมยาไม่ถูก ตัวไหนทำละลายในน้ำมัน   ยานี้ต้องผสมในสารละลายไร ยาไหนต้องdiluteยาไหนฉีดได้เลย ปวดหัวไปหมด  

 

 

 

 

 4.ไม่มีความรู้เกี่ยวกับยาหลายๆตัว  ไม่รู้ว่ายานี้มีผลต่อผู้ป่วยอย่างไร และให้ยานั้นๆแล้วต้องObs.อะไรบ้าง 

-ลอกorderผิด อาจให้ยาผิด

 

 

 -ptไม่ได้ยา เนื่องจาก พยบ.ใหม่ บอกว่ายาไม่มี(พี่ๆต้อง Double check และเบิกด่วนจี๋กรณียาด่วน)

 

-เข้าใจผิด      ได้เบิกยาใหม่ซ้ำซ้อน

 

นึกว่ายาหมด (อิๆลืมดู อ๊ะป่าว?)

 

 

-ผสมผิด (เช่น   Dilantin  ก็ผสมกับ  5%D/W)  ไม่ได้เพราะตกตะกอน  นี่ก็ต้องเรียนรู้) ข้อนี้ผสมผิดเปลืองของแ เพราะพี่เช็คดูปั๊บ ทิ้งปุ๊บผสมใหม่ ดีไม่ดีเราจ่ายเงินนะเออ

   

 

 

-คนไม่รู้ทำอะไรก็ย่อมผิด(แต่พี่ไม่ให้ผ่าน มาตรการหนัก อ่านจด และจำ โดยเฉพาะยาที่ใช้บ่อยนะ...จำให้ดี)

 

 

(พี่ไม่ปล่อยเราแน่ๆ นี่แหล่ะอุ่นใจได้ ไม่ต้องกลัวเป็นพยาบาลใหม่ ถามได้   เพราะเราไม่รู้จริงๆไม่ต้องกลัวนะ)

 

อ้อ  ที่มีการเขียนบันทึกเป็น trad name พี่ๆก็จะระบุ generic name ด้วยระบุ มิลลิกรัม

 

ที่สำคัญต้องบอกแนะนำผู้ป่วยด้วยทุกครั้ง นะ

-ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและอาการของpt ว่าทำไมต้องได้ยานั้นๆ

 

-เมื่อแพทย์มาround ก็พยายามมีส่วนร่วม ถ้าอ่านไม่ออกก็จาได้ถามโลด (พี่สอนว่าห้ามกลัวทำใสซื่อเพราะไม่รู้นี่หว่า)    (confirm )

 

-ถามพี่กะได้

 

 2.1mims ก็มีง่ะ อ่านเอานะ คู่มือยงคู่มือยา อ่านแล้วก็จำด้วยนะ จาได้ไม่ต้องหลายรอบ

 

2.2ไม่เดาเด็ดขาดหาตัวช่วย

 

 3.1 มีความรู้เกี่ยวกับยาที่ใช้บ่อยในwardก็ดีมากเลย ของอย่างงี้ต้องเรียนรู้

 

3.2 กลับไปอ่านข้อ1.3

 

3.3ไม่แน่ใจ  tell ไปเลยห้องยา confirm กับคุณเภสัช 36711 , 63504

 

 

 

 -ไม่มีความรู้ก็หาเอาสิจ๊ะ สื่อมีมากมาย ในแต่ละวันเจอยาอะไรที่เราไม่รู้ก็จดไว้แล้วกลีบไปหาความรู้มา หรือเข้าInternet ที่ward เลยก็ยังได้

 

วันนี้ น้องตังเม  ขอรายงานการใช้ยาในหอผู้ป่วย กรณีน้องใหม่(ซิงๆ) ทำงานร่วมกับพี่ๆมีวิธีการจัดการกับปัญหา และแก้ไขปัญหาอย่างไร

อยากให้น้องพยาบาลที่กำลังจะจบได้อ่านประสบการณ์พี่ๆที่เพิ่งย่างก้าวมาสู่รั้วโรงพยาบาล แบบ Smart  พี่ๆเล่านี้จะเก็บประสบการณ์มาเล่าให้เจ้าฟังเด้อ

หมายเลขบันทึก: 367389เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น้องใหม่เมื่อมาสัมผัสงานroutine น้องจะรู้สึก  เก็บเอาความรู้ประสบการณ์ได้แค่ไหนตามมาดูค่ะ(เครียดๆๆ  ไหมน้อง อิๆๆ  พี่เลี้ยงให้การบ้านทุกสับดาห์)

การป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ (น้องต่ายค่ะ)

From:
จิมจิม กันทอน <[email protected]> 
Add

WHAPO to VAP Prevention


1. W: Wean
ถอดอุปกรณ์และเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ป่วยให้เร็วที่สุดตามข้อบ่งชี้ทางคลินิกและ weaning protocol ของโรงพยาบาล เนื่องจาก blofilm ระหว่างอุปกรณ์กับเยื่อบุจะเป็นแหล่งขยายตัวของเชื้อจุลชีพ

2. H: Hand hygiene


2.1 ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือ alcohol-based handrubs (ถ้าไม่มีการปนเปื้อนที่เห็นชัด) ในกรณีต่อไปนี้
- ก่อนและหลังสัมผัสกับผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจหรือเจาะคอ
- ก่อนและหลังสัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจซึ่งกำลังใช้กับผู้ป่วย ไม่ว่าจะสวมถุงมือหรือไม่ก็ตาม
- หลังจากสัมผัสกับเยื่อบุ, สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ, หรือวัตถุที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะใส่ถุงมือหรือไม่ก็ตาม
2.2 เปลี่ยนถุงมือและล้างมือ ในกรณีต่อไปนี้
- ระหว่างการสัมผัสผู้ป่วยคนละราย
- หลังจากจับต้องสารคัดหลั่งหรือวัตถุที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยรายหนึ่ง และก่อนที่จะไปสัมผัสผู้ป่วยรายอื่น วัตถุ หรือสิ่งแวดล้อม
- ระหว่างการสัมผัสกับตำแหน่งของร่างกายที่ปนเปื้อน และทางเดินหายใจหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจในผู้ป่วยรายเดียวกัน



3. A: Aspiration Precautions
3.1 ป้องกันการสำลักเนื่องจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
ก. ใช้ noninvasive positive-pressure ventilation ผ่าน face mask เพื่อลดความจำเป็นและระยะเวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยบางกลุ่ม (เช่น ผู้ป่วยที่มี hypercapneic respiratory failure เนื่องจาก acute exacerbation of COPD or cardiogenic pulmonary edema) และใช้เป็นส่วนหนึ่งของ weaning process
ข. หลีกเลี่ยงการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ
ค. ก่อนที่จะปล่อยลมจาก cuff หรือถอดท่อช่วยหายใจให้ดูดเสมหะบริเวณเหรือ cuff ออกให้หมด
ง. ระบาย circuit condensale ก่อนจัดท่าผู้ป่วย
3.2 ป้องกันการสำลักเนื่องจากการให้อาหารทางสายยาง
ก. ในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจและไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ ให้ยกหัวเตียงผู้ป่วยสูงทำมุม 30-45 องศา

ข. ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารและวัด gastric residual volumes ก่อนให้ tube feeding ถอดสายยางให้อาหารออกให้เร็วที่สุด

 


4. P: Prevent Contamination
ก. ทำความสะอาดเครื่องมืออย่างทั่วถึง ก่อนที่จะนำเครื่องมือไปทำให้ปราศจากเชื้อหรือทำลายเชื้อ (พิจารณาใช้ enzymatic cleaner สำหรับเครื่องมือที่มี lumen หรือผิวไม่ราบเรียบ)
ข. ถ้าเป็นไปได้ใช้การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สัมผัสกับเยื่อบุของผู้ป่วย กรณีที่เครื่องมือและอุปกรณ์นั้นไวต่อความร้อนหรือความชื้น ให้ใช้ low-temperature sterillzation methods และ rinse ด้วย sterile water
ค. เปลี่ยน ventilator circults ต่อเมื่อเห็นความสกปรกที่ชัดเจน (โดยทั่วไปไม่ควรเปลี่ยนบ่อยกว่าทุก 48 ชั่วโมง) และควรเทหยดน้ำในท่อทิ้งบ่อย ๆ ให้เป็น routine
ง. การ suction ให้ทำเท่าที่จำเป็น ใช้วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งโรงพยาบาล, แยกอุปกรณ์ที่ใช้ดูดเสมหะและน้ำลายในช่องปากกับที่ใช้ดูดใน endotrachial tube ออกจากกัน, ใช้ saline ต่อเมื่อเสมหะเหนียวข้น
** ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในเรื่องการเลือกใช้ multiuse closed-system suction catheter หรือ single-use open-system suction catheter, การใช้ sterile หรือ clean gloves



5. Oral Care
ลด colonization dental plaque โดยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง,ดูแลความชุ่มชื้นของเยื่อบุโดยใช้ moisturizer ทุก 2-4 ชั่วโมง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท