เส้นทางการเกษตร


การเกษตรไทยจะเข้มแข็งถ้าคนไทยร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา

คุณมีแนวทางอย่างไรในการพัฒนาการเกษตรไทยให้ดีขึ้น

ส่วนตัวฉันเห็นว่าการเกษตรไทยจะพัฒนาได้จะต้องเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยเสียใหม่ เนื่องจากกว่า คนไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับทางการเกษตรในแง่ลบ คิดว่าการทำการเกษตรไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น(รวยขึ้น) พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็จะบอกลูกหลานว่า ตั้งใจเรียนนะ ต่อไปจะได้ไม่ลำบากเหมือนพ่อแม่ ไม่ต้องมาทำนา ทำไร่ ทำสวน ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่อยากให้ลูกสบาย หรือเด็กสมัยใหญ่ก็จะมุ่งหวังที่จะทำงานในที่ทำงานสบายเงินเดือนสูงๆ (นอกจากพวกที่มีธุรกิจอยู่แล้ว) ซึ่งเป้าประสงค์หลักของคนในยุคนี้คือการมีเงิน เมื่อมีเงินก็จะสบาย สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ แต่คุณไม่เคยคิดว่าการเกษตร จะทำให้คุณสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างยั่งยืน ช่วยเหลือตัวเองได้ ถ้าคุณรู้จักคำว่า "พอเพียง" เกษตรมีดีกว่าที่คุณคิดเยอะ เราสามารถที่จะมีความสุขและดำเนินชีวิตในแบบพอเพียงได้ ลองเปลี่ยนทัศนคติสักนิด แล้วการเกษตรไทยก็จะพัฒนาขึ้นเองถ้าคนไทยร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา

ขอแค่คุณลงมือทำ ไม่ใช่แค่คิด แล้วชีวิตก็จะพัฒนา การเกษตรจะรุดหน้า และรู้ค่าคำว่าพอเพียง

แล้วคุณหล่ะคิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 366854เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อันดับแรกกลับไปสู่รากฐานสังคมการเกษตรก่อนเลย ลูกหลานต้องเห็นความสำคัญของการเกษตรที่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ ทำมาและรุ่นลูกหลานก็ได้อานิสงจากการเกษตรทำให้ได้เรียนจบทั้งสูงและไม่สูง แต่แนวความคิดกลับมองว่า การเกษตรนั้นต่ำต้อย เหนื่อย และไม่พอกิน สู้เข้ามาเป็นลูกจ้างในเมืองไม่ได้ แต่ถ้าคุณคิดดูให้ดี เป็นลูกจ้างก็ต้องพึ่งเงินเดือนที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง นานเข้าก็ต้องกู้บัตร ผ่อนดอกเบี้ยไป ถ้าไม่ทำงานก็ไม่มีเงินใช้ ไม่มีเงินซื้อข้าวกิน ที่นี้ลองมาดูสังคมเกษตรกรรมบ้าง คุณก็ทำงานอยู่บ้าน ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ปลูกอะไรก็ได้กินอันนั้น ไม่ต้องไปซื้อหา ปลาก็จับเอาในนาหรือร่องสวน อย่างน้อยที่สุด คุณก็ไม่รายจ่ายเรื่องปากท้องและเรื่องที่อยู่อาศัย ถ้าเราปรับความคิดตรงนี้โดยการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมผมเน้นหน่ะครับต้องตั้งแต่ระดับประถม เมื่อเค้าปรับทัศนคติตรงนี้ได้ กระบวนการต่อไปถึงจะเริ่มขึ้นได้

เกษตรกรปัจจุบันต้องคิดถึงเรื่องลดค่าใช้จ่ายทั้งที่เกี่ยวกับต้นทุนโดยตรงเช่นปุ๋ย ยา ต่างๆ และค่าใช้จ่ายส่วนตัวเช่นค่าโทรศัพท์ทั้งโทรจริง และโทรเล่น ตลอดจนถึง SMS ต่างๆ ทุกบาททุกสตางค์ที่คุณลดได้คือรายได้ที่เพิ่มขึ้นของคุณ เกษตรกรส่วนใหญ่เวลานี้มองถึงเรื่องเพิ่มรายได้ ไม่ว่าจะเป็นราคาที่สูงขึ้นและเพิ่มผลผลิต ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มันสวนทางกันชัดเจน มันไม่มีทางไปด้วยกันได้ เมื่อของเพิ่มขึ้นก็ไม่มีทางที่จะมีราคาสูง และการเพิ่มผลผลิตก็เท่ากับการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิตซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเก็บผลผลิตแล้วคุณอาจจะไม่ได้ราคาตามที่คาดหวัง และก็จะนำไปสู่การขาดทุน และอื่นๆที่จะตามมาเป็นลูกโซ่

ยังมีอีกหลายปัจจัยเลยครับแต่วันนี้เอาแค่นี้ก่อน

รบกวนเข้าไปติดตามใน blog ของอาจารย์แสวงได้ครับ ว่าการทำนาโดยลงทุนต่ำในรูปของเงินนั้นทำยังไงโดยได้รับผลผลิตใกล้เคียงกับการลงทุนซื้อปุ๋ย ยา แพงๆใส่ลงไป

http://gotoknow.org/blog/sawaengkku

สิ่งที่เกี่ยวข้องกันมีอยู่ด้วยกันคือเกษตรกร ข้าราชการ และผู้บริหารของประเทศที่ต้องร่วมมือแก้ไข ถึงจะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใชว่าจะเกิดขึ้นได้ถ้าผู้จะเริ่มฝ่ายเดียวเป็นการยากที่จะพัฒนาได้ การที่จะร่วมมือกันอย่างไร ใครจะเป็นคนเริ่มก็อีกแหละต้องตั้งใจที่จะเริ่มด้วยกันเดินไปพร้อมๆกัน เกษตรกรเองก็ต้องตั้งใจที่จะทำโดยมีราชการให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้ และแนวทางต่างๆ โดยมีรัฐบาลให้ทุนในการที่จะช่วย และหาตลาดให้ช่วยเรื่องราคาที่ดีให้ไม่ใช่ปล่อยให้พ่อค้าคนกลางมากำหนดชีวิตของเกษตรกรแทน ถ้าทุกคนรู้หน้าที่ที่ควรการพัฒนาก็จะเกิดขึ้นได้ในทุกๆอย่างแน่นอน

Kratan 2010

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท