ไปประชุมที่ธารามันตรา " การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์


QA การประกันคุณภาพ เปรียบเหมือนก้อนหินกั้นรถ QI การพัฒนาคุณภาพ เปรียบเหมือนการเข็นรถขึ้นไป... ขึ้นไป...เต็มศักยภาพเท่าทีเรามี

การอบรมการพัฒนาคุณภาพบริการต้านเอชไอวีเอดส์ 15-17 มิย.53

          พวกเรา ชาวโรงพยาบาลสมุทรสาคร   พี่บา คุณชะบา มั่นคง (พยาบาล) คุณน้องแหม่ม อรชร อ่อนโอภาส (นักสังคมสงเคราะห์) คุณน้องน้อย รัตนาภรณ์ จันทร์ชาวนา (พยาบาล) น้องซอส (ภญ.ศลิษา สะพลอย) และผู้เขียน ไปถึง โรงแรมธารามันตรา ชะอำ เพชรบุรี  7.30 น. วันที่ 15 มิถุนายน 2553 สำหรับคุณพี่หรั่ง (พรนิภา  ศิลานนท์)เธอมาแล้วตั้งแต่เมื่อวาน

            

                

       การประชุมเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำแบบประเมินความรู้และทักษะก่อนการอบรม และได้นำเสนอแสดงข้อมูลลักษณะต่างๆ พื้นฐาน ประสบการณ์ความรู้ ของผู้เข้าร่วมประชุม (รวดเร็วจริง..เยี่ยม) ก่อนเข้าสู่บทเรียน เริ่มด้วยมีการโอภาปราศรัยสร้างความตื่นตัว เล่นเกมส์ให้รู้จักกัน ตกลงกติกาในการประชุมร่วมกันได้ความดังนี้

                          

         มีวิทยากรประจำกลุ่ม คุณหมอเบญจวรรณ น้องกิ๊ก น้องเมย์ ที่มีความขันแข็งสร้างความมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี

                 

                                                                                                                                              

                                                                                      

        

       มีกระดาน 2 กระดาน ให้ระบายความรู้สึก อารมณ์ อยู่ที่ผนังห้อง ซ้าย-ขวา ในส่วนของหลังห้องประชุม

                 

                                           " อยาก บ๊อก  อยากบอก "

                  

 วันแรกเรียน 5 บท

บทที่ 1 กิจกรรมอนุกรมความพึงพอใจ

บทที่ 2 หลักการพัฒนาคุณภาพ

บทที่ 3 กิจกรรมการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

บทที่ 4 รูปแบบการพัฒนาคุณภาพ

บทที่ 5 เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ

วันแรกของการประชุม....                         

   ภายหลังกิจกรรมนำสู่บทเรียนข้างต้นแล้ว ต่อด้วยกิจกรรมอนุกรมความพึงพอใจ มี 2 คำถาม ในกิจกรรมนี้

คำถามที่ 1 ไปรับบริการโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย แล้วพึงพอใจในระดับใด โดยให้ไปที่เส้นสมมติด้านหลังห้องประชุมมี หมายเลขบน กระดาษ หลากสี เลข  1 หนึ่งถึง 9  ผู้เข้าร่วมประชุมไปยืนที่ตำแหน่งตัวเลขที่เลือก   ผู้เขียนกับพี่ๆน้องๆจาก รพ. สมุทรสาคร ไปยืนที่ หมายเลข 8 วิทยากรสอบถามผู้ที่ยืนในตำแหน่ง ความพึงพอใจมากๆในระดับ 9 ,10 ไปใช้บริการที่ใดมาจึงพอใจได้มากปานนี้ เท่าที่ผู้เขียนจำได้..ผู้ที่ให้คะแนนสูงๆ เขาบอกว่าไปใช้บริการที่ รพ.ศิริราช แล้วประทับใจมาก มีความพร้อมในการให้บริการแม้จะมีผู้ป่วยจำนวนมาก และเป็น One Stop Service

คำถามที่ 2 และมีน้องพยาบาล และเภสัชกร รพ. เพชรบุรี ซึ่งยืนตำแหน่งหมายเลข 10 บอกว่าพอใจมากในการทำงานของตนเอง เพราะได้ทำดีที่สุด ประสานงานกันได้ดีมั่กๆ ก็ชื่นใจคะ ที่น้องไผ่ (พยาบาล)และน้องเอ๊ะ (เภสัชกร) ที่นี่ เขายึดนโยบายปรองดองกันมานานแล้ว....

               

    และสำหรับน้องซอส บอกว่า ให้ความพอใจกับงานที่ตัวทำ เท่ากับ 9 ค่ะ ขาดไป 1 แต้มเนื่องจาก เภสัชกรที่ให้บริการน้อยไป อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการต้อง รอคอย ล่าช้า ค่ะ สำหรับ ผู้เขียนให้ คะแนนตัวเองและคะแนนที่ไปใช้บริการที่อื่นเท่ากันค่ะ 8 ค่ะ เข้าใจผู้ให้บริการดีว่าได้พยายามทำงานอย่างดีตามข้อจำกัดและสถานการณ์  และในงานที่ตัวเองทำ ได้พยายามทำอย่างดี ก็พบว่ายังมีอีกหลายสิ่งอย่างที่ต้องปรับปรุง และพัฒนาตัวเองค่ะ              

              

                                   " หนูซอสค่ะ ให้คะแนนตัวเอง 9 ค่ะ"    

“QA การประกันคุณภาพ เปรียบเหมือนก้อนหินกั้นรถ   QI การพัฒนาคุณภาพ เปรียบเหมือนการเข็นรถขึ้นไป... ขึ้นไป...เต็มศักยภาพเท่าทีเรามี

QA ทำแล้วหยุด  ...ทำแล้วหยุด  ทั้งๆที่สามารถไปได้ไกลและกว้างกว่านั้น  เลยต้องใช้กระบวนการ CQI ไปให้ถึง QA”

QA (Quality Assurance)การวัดการปฏิบัติเทียบกับมาตรฐาน  เป็นการตรวจสอบ มุ่งประเด็นบุคคล ข้อบกพร่อง 

QI ( Quality Improvement) การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุมาตรฐานที่กำหนดไว้ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา มุ่งประเด็นกระบวนการและระบบ

CQI  (Continuous quality improvement) 

การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพ

         เริ่มจากการลำดับปัญหาสำคัญ เป็นหมวดหมู่ก่อน ใช้ กระดาษ แปะฟลิบชาร์ต แยกเรื่องเป็น ระบบ ผู้ป่วย infrastructure  สมาชิกในทีม ติดสติ๊กเกอร์สี จำนวนตามที่ให้ความสำคัญ แต่ละคนจะติดสีของตัวเองกี่อันก็ได้

                     

อาหารกลางวัน

      

อาหารว่าง

      

        ตัดตอนไปยามเย็นเลยนะคะ ผู้มีที่หน้าที่ดูแลสุขภาพอย่างพวกเราต้องพยายามไปดูแลสุขภาพตัวเองกันหน่อยนะคะ....วู้

         

        

 

รูปแบบการพัฒนาคุณภาพ 

ให้เข้าใจ HIVQUALT Model ซึ่งประกอบด้วย Dual circles : Program cycle และ Project cycle ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดี ที่อธิบาย องค์ประกอบ ความสำคัญ ความสัมพันธ์ของเรื่องหลัก เรื่องรองในโครงการได้อย่างสมบูรณ์

เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทำงาน ในบทนี้ ใช้ตัวอย่างบทเรียนโดย ให้เลือกตัวชี้วัดจากผลลัพธ์ HIV QUAL-T ที่ได้ผลลัพธ์ระดับต่ำ  เพื่อนำมาพัฒนา  ซึ่งทีมวิทยากรได้นำข้อมูลเฉพาะของแต่ละโรงพยาบาลมาให้ศึกษา

 Flow Chart  ทบทวนกระบวนการทำงาน

Cause and Effect Diagram นำมาเขียนแผนภูมิก้างปลา   ก้างที่ย่อยที่สุดเป็นสาเหตุรากเหง้าของปัญหา

QI Memo โม่ กันถึงวันพรุ่งนี้เลย จากโครงการหลัก โครงการย่อย กิจกรรม   จุดทดสอบ ปรับทบทวน PDSA

โครงการหลักในกลุ่มของผู้เขียนคือ

            "การคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV"

โครงการย่อยที่เลือกมาทำคือ

             " การพัฒนา KPA (knowledge Practice Attitude) ทีมผู้ดูแลผู้ป่วยในการคัดกรองวัณโรค

กิจกรรม

1) ชวนคิดชวนทำกับพี่หนูแหม่ม กำหนดประเด็นในการพูดคุย

เปิดใจ ภาระงาน เพื่อการบรรลุเป้าหมายต้องผ่านอุปสรรคใด

2) Outcome Mapping

จุดทดสอบ

AAR , Storytelling หลังกิจกรรม ผลที่ได้นำมาปรับทบทวน

                       "Plan Do Study Act" ไม่หยุด ไม่หยุด  

 

                 

                                 

16 มิย 53

วันนี้ นพ.วราวุธ เริ่มต้นด้วยคำพูด "จะมีการนำเสนอพิเศษ ไม่ต้องบันทึก นะครับ  บุคลากรทางสาธารณสุขจะเป็นกลุ่มบุคคลที่จดบันทึกได้ดีที่สุดแต่ข้อเสียคือ “ไม่ได้อ่าน“   “ไว้ไหนไม่รู้” อาจารย์จะใช้สื่อสลับกับการฟัง ให้ดูวีดีทัศน์ด้วย ไม่เน้นวิชาการ  “เรื่องวิชาการเป็นเรื่อง จิ๊บๆ” สำหรับพวกเรา

เปลี่ยนวิธีการประสานงานใหม่ ให้พูดคุยแบบใหม่ ดังนี้

“ฝ่ายของพี่ทำอะไรให้เธอเดือดร้อนหรือไม่” ไม่ใช้คำพูดแบบเดิมๆ

“น้องทำไมไม่ช่วยพี่บ้างพี่ทำงานยากชิบเป้ง”

เสนอความร่วมมือ ยอมเหนื่อยก่อน

ในบรรยากาศดี จะได้คำตอบของอุปสรรค

 

                                           กิจกรรมลูกปัดสีแดง

            

               กิจกรรมลูกปัดสีแดง เป็นกิจกรรมที่วิทยากรขออาสาสมัครในการทำกิจกรรมนี้บนเวทีโดยมีกติกาดังนี้ “ให้ตักแล้วมีลูกปัดสีแดงติดขึ้นมาให้น้อยที่สุด”

  •  ให้คน 3 คน ตักลูกปัด (มีด้วยกัน 2 สี : ขาวและแดง คละกันอยู่เป็นจำนวน สีดแดง : สีขาว= 1 : 5 ) ในกระปุก

  •  โดยการตักแต่ละครั้งให้ใช้ที่ตัก (ที่มีลักษณะเป็นหลุมๆพอดีเม็ดลูกปัด)

  •  ตักทั้งหมดคนละ 6 ครั้ง

  • การตัก 3 ครั้งแรก กรรมการ กำหนดการตักอย่างชัดเจน ไม่ให้ผู้ตักทั้ง 3 คนช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างตัก และใช้ได้แค่มือเดียว

  •  การตัก 3 ครั้งหลัง กติกาการตักยืดหยุ่นขึ้น ให้ผู้ตักทั้ง 3 คนช่วยเหลือกันได้ และใช้ได้ 2มือ

      ซึ่งผลการตัก ปรากฏว่า จำนวนลูกปัดสีแดงมีแนวโน้มลดลง เมื่อนำจำนวนลูกปัดที่ตักทั้งหมด  6 ครั้งมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้กราฟเส้นต่อจุด

      กิจกรรมดังกล่าว ทำให้ทราบถึงผลของการเก็บข้อมูล ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนได้  โดยที่ผลที่ได้นั้นอาจจะไม่ใช่ผลที่ดีขึ้นหรือแย่ลงที่แท้จริง

 

       นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมลูกเทนนิส มีบทเรียนอีกหลายๆ เรื่อง การเป็น พี่เลี้ยง โค้ช ที่ดี การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่... สงสัยจะบันทึกได้ไม่หมดค่ะ  มีความสนุกสนานและเป็นกันเองมากสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่ตึงเครียดค่ะ

 

กิจกรรมปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับงานพัฒนาคุณภาพ (Tennis ball game)

          -ผลจากการเข้าร่วมทำกิจกรรม Tennis ball game คือ การทำงานเป็นทีมการทำงานเป็นทีม ควรจะ

  • มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน

  • มีการพัฒนาจากการไปแอบดูคนอื่นและความคิดของสมาชิก

  • มีการลองผิด ลองถูก  เชื่อมั่น ลองทำตามที่สมาชิกเสนอ

  • มีความสามัคคี

 

การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

  • ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง คือ ไม่รู้ตัวว่ามีความรู้ความชำนาญ
  •  เรามักจดจำสิ่งที่เราพูดและได้ทำ ได้ร้อยละ90 ต้องทำ...ต้องทำ ..ต้องทำ
  •  ควรใช้ประสาทสัมผัสหลายรูปแบบ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และตั้งใจเรียน 
  •  การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากประสบการณ์และการปฏิบัติ 

 

ทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นพี่เลี้ยง 

การนำกระบวนการ : การทำให้ทิศทางนำไปในทางที่ดี (ตำรวจจราจร)

การเอื้ออำนวยกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้

การเป็นผู้ฝึก

การจัดการกับความตื่นตกใจ ประหม่า ความกระวนกระวายใจ

                               

GROW MODEL

1. ประเด็นที่สนใจ : เริ่มต้น ทำความเข้าใจ

2. ตั้งเป้าหมาย (Gold for session)

3. ทบทวนปัจจุบัน (Reality who/what/where/how much)

4. ทางเลือก (Options) : ความเป็นไปได้

5. สรุป (Wrap-up) : สร้างความกระจ่าง/พันธะสัญญาสนับสนุน

        

       สุดท้ายนี้ผู้เขียน ขออนุญาตชื่นชมทีมวิทยากร ทุกท่านมีคุณภาพมากๆค่ะ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการเรียนรู้ ทั้งลึก ชัดเจน และครอบคลุมค่ะ นอกจากนั้นทีมโรงพยาบาลสมุทรสาคร และโรงพยาบาลแต่ละแห่งยังได้รับเกียรติให้ถ่ายรูปกับท่านวิทยากร ด้วยค่ะ

และทีมวิทยากร ให้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  www.cqihiv.com

ในวันหน้า...อาจมีอะไรมาเพิ่มอีกนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 366852เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • พี่มด
  • ฝีมือพัฒนาไปมากทั้งการเขียนและการทำงาน
  • เยี่ยมจริงๆๆพี่เรา

คุณน้องด๊อกเตอร์ น้องช่างอุตส่าหะยิ่งนัก มาให้กำลังใจคุณพี่อีกแล้ว คุณพี่ทราบซึ้งนะคะ กระตุกจิตวิญญานให้แวะมาดู blog คุณพี่รู้ตัวดี ... ยังไม่เท่าไร นี่ยังไม่เสร็จเลย อยากทำให้เสร็จนะ อ่ะอะ อะ เยอะมาก รอคิวอยู่

บันทึกนี้มีประโยชน์ดีมากๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณใบบุญ ... รู้สึกดีที่ได้เขียน และยินดีสำหรับคำแนะนำและเติมเต็มค่ะ

ดีมากเลย ได้ความรู้มาก

แต่สงสัยนิด ประชุมเรื่องโรคเอดส์ แต่โครงการทำไมเป็นTB

สงสัยอ่านข้ามไป

คุณหมอ sitthi คะ ก็ตัวชี้วัด HIVQual-T เค้ามี เรื่องความครอบคลุมในการคัดกรอง TB ในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ ที่เข้ามาอ่านและให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท