4 ม. 3 ข. 2 ร. 1 ง.


4 ม. 3ข. 2 ร. 1ง.

หลักของมาตรการการขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีดังนี้

4 ม.ได้แก่ 

1. เมาไม่ขับ  เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน เนื่องจากเมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้วจะทำให้สติ การควบคุมรถยนต์ การตัดสินใจจะทำได้ช้ากว่าปกติ หากหลีกเลี่ยงการดื่มไม่ได้ให้ดื่มเบียร์ไม่เกิน 2 กระป๋อง หรือสุราไม่เกิน 1 ฝา เพื่อความปลอดภัย แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วยบางคนดื่มเบียร์กระป๋องก็เมาแล้ว เพราะฉนั้นควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกกอฮอล์จะดีที่สุดเมื่อคุณจะขับยานพาหนะ เป็นการรับผิดชอบต่อตนเอง และเพื่อนร่วมเดินทางในท้องถนน

2. มอเตอร์ไซด์ปลอดภัย ควรตรวจสอบสภาพรถมอเตอร์ไซด์ให้มีความปลอดภัยก่อนนำไปใช้งาน เช่นระบบไฟหน้า ระบบเบรค ระบบไฟท้าย จากสถิติช่วงเทศกาลต่าง ๆ รถมอเตอร์ไซด์จะเกิดอุบัติเหตุสูงสุด

3. หมวกนิรภัย ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์และผู้ซ้อนท้ายควรสวมหมวดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุจะลดลดอุบัติเหตุและอันตรายได้

4. ไม่ประมาท  การขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกครั้งจะต้องมีสติ ไม่ประมาท   เคารพกฎจราจร

3 ข. ได้แก่

1. เข็มขัดนริภัย  ผู้ขับขี่รถยนต์ก่อนขับรถยนต์ทุกครั้งจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือการเบรคอย่างรุนแรง

2. ใบขับขี่  ผู้ขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์ ทุกคนจะต้องมีใบขับี่ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าท่านนั้นได้รู้กฎจราจร และเทคนิคการขับรถยนต์ให้มีความปลอดภัย

3. ไม่ขับแข่งขันในท้องถนนหลวง เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างร้ายแรงได้เนื่องจากต้องใช้ความเร็วสูงและวิ่งหลายเลนบนถนนหลวง ทำให้เกิดอันตราย

2  ร. ได้แก่

1. ไม่ขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด และตามที่ป้ายจราจรข้างถนนกำหนด จะทำให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่

2. ไม่เร่งรีบในการขับขี่ยานพาหนะ เพราะหากเร่งรีบเกินไปจะทำให้สมาธิในการขับขี่ได้ดี

1. ง ได้แก่

1. ง่วงไม่ขับ เพราะหากท่านง่วงแล้วไปขับรถยนต์ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงได้ เพราะจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุการหลับในทำให้เกิดอุบัติเหตุอันดับที่ 2

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ6
หมายเลขบันทึก: 366793เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท