พบแมลงช้างปีกใสอยู่ในธรรมชาติครับ


นิเทศงานส่งเสริมการเกษตร

พบในธรรมชาติก็มีแมลงช้างปีกใส 

 

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ผมและอ.สิงห์ป่าสัก ออกไปติดตามนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร  ที่สำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือและสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย ในระยะนี้ก็พบว่านักส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอต่างก็รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งมีเกษตรกรต่างก็มาขอรับการขึ้นทะเบียนพร้อมขอรับคำแนะนำต่างๆจำนวนมาก ทั้งนี้ทีมนิเทศงานระดับจังหวัดต้องขอให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าส่งเสริมการเกษตรระดับผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติงานอย่างมีกำลังใจต่อไปและมีทัศนคติที่ดีต่องานส่งเสริมการเกษตรต่อไป 

 

  

  

 

         จากการปฏิบัติงานของการติดตามนิเทศดังกล่าวขณะที่ทำการนิเทศงานอยู่ที่สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จำนวน 5-6 คน ได้นำยอดของมันสำปะหลังที่มีลักษณะยอดหงิกถูกเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย ในขณะที่เรากำลังตรวจดูยอดมันสำปะหลังที่เกษตรกรนำมานั้น ก็พบว่า มีแมลงลำตัวมีสีขาวขุ่น พร้อมมีแป้งขาวๆปกคลุมลำตัวแมลงตัวนี้อยู่ ไต่เดินไปมาเร็วมาก ทีแรกทางเจ้าหน้าที่เกษตรเราก็สันนิฐานว่ามันเป็นตัวแก่ของเพลี้ยแป้งหรือเปล่า พอดูไปนานๆ ก็มีข้อสังเกตว่า หากเป็นตัวแก่เพลี้ยแป้งทำไมแมลงตัวนี้ถึงเดินเร็ว เพลี้ยแป้งน่าจะเดินช้าๆ 

 

         อีกสักครู่เกษตรกรผู้นำตัวอย่างแมลงตัวนี้ได้พูดเสริมขึ้นมาว่า ผมว่าน่าจะเป็นแมลงศัตรูพืชตัวใหม่ที่เกิดการระบาดในระยะนี้ครับ เวลาผมจับตัวมันมันก็กัดเราด้วยครับ  จากนั้นอ.สิงห์ป่าสัก ก็รีบไปเปิดInternet ดูปรากฏว่า แมลงตัวนี้มันเป็นตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสที่เกิดจากธรรมชาตินั่นเองครับ 

 

         จากนั้นท่านวาด  วานิช  เกษตรอำเภอพรานกระต่าย ได้นำแว่นขยายมาส่องดูตัวแมลงเหล่านี้ดูกันให้ชัดๆ จึงได้วิเคราะห์ร่วมกันระหว่างท่านเกษตรอำเภอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จึงได้สรุปร่วมกันว่า มันคือตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสที่มีอยู่ในธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งกำลังกัดแล้วดูดกินเพี้ยงแป้งที่เกาะอยู่ที่ยอดมันสำปะหลังนั่นเอง

 

       ท้ายสุดนี้ทีมติดตามนิเทศงาน จากสำนักงานเกษตรจังหวัด ก็ได้ให้คำแนะนำให้ท่านเกษตรอำเภอพรานกระต่าย ได้เร่งดำเนินการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใส ที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยทำการแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้รวมกลุ่มกันทดลองเลี้ยงแมลงช้างปีกใสกันเองแล้วครับ เพื่อนำไปปล่อยในแปลงมันของตนเอง พร้อมรณรงค์ให้เกษตรกรในชุมชนได้รักษาระบบนิเวศเกษตรให้มีอยู่ใกล้แปลงเกษตรเพื่ออนุรักษ์ตัวห้ำตัวเบียนให้มีอยู่ตามธรรมชาติครับ....

 

 

เขียวมรกต

15 มิย.53

หมายเลขบันทึก: 366767เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

โอ้ย ไหนแมลงค่ะ มองไม่เห็นเลย

อ๋อ มันเล็กมา ต้องใช้แว่นขยาย

สวัสดีค่ะ

ติดตามอ่านจากบันทึกท่านเพชรน้ำหนึ่งมาแล้วค่ะ เรื่องแมลงช้างปีกใส  ยังไม่เคยรู้จักตัวจริงค่ะ

  • ขอบคุณคุณไผ่ไม่มีกอครับ
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • เอาแมลงช้างปีกใสตัวเต็มวัยมาให้ชมครับ
  • ขอบคุณอาจารย์คิม
  • ที่แวะมาทักทายและลปรร.
  • ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงนะครับ

ขอบคุณ คุณเขียวมรกต ที่นำความรู้มาแบ่งปันครับ

ผมเพิ่งเห็นหน้าตาของแมลงช้างปีกใส วันนี้เป็นครั้งแรก ได้ยินแต่ชื่อมานานแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท