AAR Cousellig DM


ขอเพียงเรารับฟังและเข้าใจคนไข้

                 

     1 สัปดาห์แล้วที่ได้เปลี่ยนวิธีการทำกลุ่ม  จาก กิจกรรม Self  help group  มาเป็น การ ให้คำปรึกษารายบุคคลเนื่องจากปัญหาแต่ละคน มีความแตกต่างกัน  หลากหลาย  ทำให้กิจรรม เดิมที่ทำช่วยได้ไม่มากเท่าไหร่  เรายังพบว่ามีปัญหาน้ำตาลสูงอยู่เรื่อยๆ ในคนไข้ คนเดิม  และเราเองก็ไม่สามารถที่จะรู้ข้อมูลคนไข้ เชิงลึกได้ ถ้าเราไม่ปรับระบบให้เป็นการ ให้คำปรึกษา รายบุคคล

               จากที่ลองทำปฏิบัติมา 1 สัปดาห์ พร้อมทั้งเก็บข้อมูลไปด้วย  สิ่งที่ได้รับคือ

-   ผู้ป่วย เกิดความไว้วางใจ กล้าพูดและ เปิดใจ และยอมรับมากขึ้น

-  ทำให้เราฝึกที่จะเป็นผู้รับฟังคนไข้มากขึ้น

-  เมื่อเราได้ชี้แจง  เหตุผล  ภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดตามมา ทำให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักมากขึ้น

-  จำผู้ป่วยได้มากขึ้น รับรู้ปัญหาผู้ป่วยแต่ละราย

-  เป็นการค้นหา  และหาข้อมูลในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย DM

-  เหลืออีก 1 ขั้นตอนคือการติดตามผล

 

กรณีตัวอย่าง

1. ชายอายุ 60 ปี อาชีพ ขับรถทัวร์ เดินสาย ระหว่าง อุบล – กทม.  2-3 เดือนจะกลับมาบ้าน เพื่อรับยา เบาหวาน และเยี่ยมบ้าน  จากการพูดคุย และรับฟังจากคนไข้ จึงได้ทราบว่าทำงานทุกวัน ในเวลากลางคืน กลางวันนอนพักผ่อน  เวลาทำงาน จำเป็นต้องดื่ม M 100 คืนละ 4 ขวด  และกาแฟบ้าง  นมหวาน หรือแลคตาซอย แล้วแต่ร้านอาหารจะจัดให้ ไม่ได้ออกกำลังกาย เมื่อเราบอกในหลักการและเหตุผล ในการ ควบคุมอาหารแล้ว  คุณลุงจึงรู้ด้วยตนเองแล้วว่า ควรจะต้องปรับอะไรบ้าง ขอเพียงเรารับฟังและ เข้าใจคนไข้ เขาพร้อมที่จะปรับเพื่อตัวของเขาเอง ( เดิมที่ เราไม่ค่อยฟังในรายละเอียด ของคนไข้ เพราะเรามักจะ มองในแง่ลบไว้ก่อนว่าทำไมน้ำตาลสูง แล้วก็จะชิงแนะนำตัดหน้าไปก่อนเลยไม่ค่อยได้ฟังคนไข้  จะคุยกับคนไข้อย่างมาก แค่ 1-2 นาที เท่านั้น เลยไม่รู้ปัญหา  พอคนไข้จะเล่าเราก็รีบตัดบทซะงั้น  เลยไม่ค่อยได้เรื่องซะเท่าไหร่

                                                            

2.  ชายอายุ 58 ปี เป็นกู้ชีพ อบต. ผู้ป่วยบอกว่า ทำงานกะกลางคืน  เลยต้องกินกาแฟ คืนละ 2 แก้ว ไม่เคยได้ออกกำลังกายเลย เพราะรู้สึกว่ากิจวัตรประจำวันไม่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ เมื่อเรารับฟังปัญหาผู้ป่วยแล้ว เราเลยให้เขาคิดและลองบอดูว่าเขาจะปรับพฤติกรรมอย่างไร   ผู้ป่วยจึงบอกว่าจะลองคุยกับทีมงานที่ทำงานด้วยกัน  จะขอปรับไม่ขึ้นกะดึก เพราะตนเองมีโรคประจำตัว และอายุมากแล้ว  จะได้พักผ่อนได้เต็มที่มากขึ้น และจะได้ไม่ดื่มกาแฟ  เพราะไม่ต้องขึ้นกะดึก  และมีเวลาออกกำลังกายในตอนเช้ามากขึ้น                                    

  นี่คือ 2 ตัวอย่างที่เราได้ลองติดตามดู แต่จริงๆ มีอีกหลายcase มากเลยค่ะ  ยังไม่มีในเรื่องการติดตามcase เพราะต้องใช้เวลา อีก 1-2 เดือน

                                                            

หมายเลขบันทึก: 365682เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2010 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท