Note Taker เป็นอะไรที่มากกว่าจดบันทึก


งานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3 ที่จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 14-16 กรกฏาคม พ.ศ.2553 ที่จะถึงนี้ (http://www.hsri.or.th/) ความต่างออกไปของการเตรียมงานในครั้งนี้คือ มีการวางแผนในการเตรียมคนทำงานที่จะทำหน้าที่เป็น note taker

ในทัศนะของข้าพเจ้ามองว่า note taker นี้เป็นอะไรที่มากกว่าเป็นผู้จดบันทึก นอกจากการจดบันทึกเรื่องราวตามคำบอก คำพูดแล้ว รายละเอียดในเชิงแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็น เสมือนเป็นผู้ที่กำลังเก็บข้อมูลผ่านผัสสะตนเอง อันประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ..ซึ่งอันหลังนี้สำคัญ คือ ต้องเป็นใจอันเที่ยงแท้ปราศจากอคติที่หลุดออกจากความชอบไม่ชอบ แต่เป็นการก้าวเข้าไปค้นหา "แง่มุม ความดี ความงาม ของสิ่งที่ปรากฏ" หรืออาจไปพบแง่มุมในเชิงลบก็สามารถที่จะแปรเปลี่ยนสิ่งที่มองเห็นมาเป็นพลังด้านบวก เชิงสร้างสรรค์ได้

ดูไปแล้วก็เหมือนเป็นเครื่องมือที่เป็นบุคคลที่มีชีวิตจิตใจคอยเชื่อมโยง...สิ่งที่ตนเองได้สัมผัสบอกกล่าวหรือบอกเล่าต่อเรื่องราวให้สาธารณชน...คนอื่นๆ ได้ร่วมเรียนรู้ไปด้วย

 Impact สุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ note taker เหล่านี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันใน Work Shop และได้ก้าวไปสู่การทำงานในงานมหกรรม R2R
เขาเหล่านี้จะมาร่วมต่อภาพจิ๊กซอว์ของงานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3 หลังจากที่ได้ capture(สกัดความรู้) ผ่านแว่นกระจกที่ตัวเองใช้ส่องและเกิดเป็นภาพผืนความรู้ที่ปรากฏขึ้น
 
มันน่าจะเป็นความงดงามแห่งโลกของการจัดการความรู้ในเรื่อง R2R นะคะ หากว่าเราร่างเงาของภาพและการเชื่อมต่อโยงใยกิจกรรมไว้ ซึ่งในความเป็นจริงอาจไหลเลื่อนไปตามภาพที่เราร่างไว้ หรืออาจไม่ใช่ตามภาพที่เราร่างก็ตามแต่จะทำให้เราได้รับคุณค่า...จากการเรียนรู้ครั้งนี้อย่างเยี่ยมเลยค่ะ

ข้างต้นเป็นข้อเสนอของข้าพเจ้าต่อมุมมองของการจัด work shop ให้สำหรับ note taker ในงานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3 และเมื่อคืนนี้ (10 มิ.ย.2553) ในคณะกรรมการเตรียมงานได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องนี้อีกครั้ง มีคำถามของ อ.หมอพงศ์พิสุทธิ์ ที่ว่า "เมื่อข้อมูลที่ได้มาจาก Note taker แล้วนั้นจะไปทำอะไรต่อ"...เป็นคำถามที่ทำให้ข้าพเจ้าได้เกิดการเรียนรู้ว่า... โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเราทำกระบวนการสักอย่างผ่านพ้นไป เราก็เพียงเสร็จสิ้นกระบวนการนั้น แต่เรายังขาดในกิจกรรมที่เป็นการใคร่ครวญ...(วิมังสา) ดังนั้นข้อมูลที่เราได้จาก Note taker นี้จะเป็นเสมือนคลังความรู้อันเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เราเกิดประเด็นแตกยอดเส้นสายโยงใยแห่งความรู้ให้เกิดการขยายวงที่กว้างออกไปได้อีกผ่านการใคร่ครวญอันเป็นระบบ

การจดบันทึกนี้...ทำให้ "ข้อมูล" ที่เราได้รับเข้ามาได้เกิดการจัดกระบวนการใหม่ในปัญญา และตีความออกมาตามเงื่อนไขของเวลาสะท้อนเป็นความรู้ความเข้าใจของบุคคล ณ ห้วงเวลานั้นๆ...หรืออาจพูดง่ายได้ว่า เหมือนเป็น "การสะท้อน" ให้เราได้เห็นภาพอะไรบางอย่าง และอาจเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงด้วยก็ได้...

280120103427re

 

๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓

จากห้องประชุม สวรส.

 

หมายเลขบันทึก: 365677เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2010 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ค่ะ note taker ที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร แล้วควรเตรียมตัวอย่างไรในการเป็น note taker ค่ะ

คุณkaegood  เคยบอกว่า "หัวใจพองโต"...

แต่กะปุ๋ม พองยิ่งกว่า ดีใจที่ได้แลกเปลี่ยนสิ่งดีดีต่อกันนะคะ

และแล้วการอบรม note taker สำหรับมือใหม่อย่างพวกเราๆ ก็ผ่านไปได้ด้วยดี เฮ้อ....

ตอนแรกรู้สึกเป็นกังวลกับการอบรมครั้งนี้มาก (มาย) แต่พอได้เข้าไปอบรม ความรู้สึกเป็นกังวลต่างๆ ก็เริ่มคลายไป

เนื่องจากวิทยากรน่ารักมากๆ (อ.อุ และ อ.หญิง จาก สคส.) และผู้เข้ารับการอบรมทุกคน พร้อมที่จะช่วยเหลือและ

มีน้ำใจให้กันตลอดเวลา ถึงแม้จะมีความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่เราก็ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการ ลปรร. กันตลอด

แม้ว่าการอบรมจะมีแค่ 2 วัน แต่เก๋เชื่อว่ามิตรภาพของพวกเราจะไม่หยุดแค่ 2 วันที่ผ่านมาแน่นอนค่ะ

ขอบคุณพี่อ๋า ที่ช่วยให้เก่เห็นภาพ note taker ได้ชัดเจนขึ้น

ขอบคุณพี่หนิง ที่ช่วยเก๋จด note ในวันที่ฝึกงานจริงๆ

ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่เราได้มีโอกาสมาเจอะเจอกัน และหยิบยื่นมิตรภาพดีๆ ให้แก่กัน

ขอบคุณ คุณติ๊ก มากๆ สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเราร้องขอ คุณติ๊กพร้อมที่จะดำเนินการให้ทุกอย่าง

ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆ คนที่จัดโครงการดีๆ อย่างนี้ขึ้นมา

ขอบคุณมากๆ ขอบคุณจริงๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท