แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา (2/2)


ชวนมาสำรวจตัวเองค่ะ ว่าเราเป็นเช่นไรในมุมของแต่ละข้อนะคะ ... มองลึกค้นหาเข้าภายในตนเอง ....!!!

 

คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา
(2)

ดร.ไชย ณ พล


ว่าด้วยความจริงจัง

คนโง่  : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องจริงจัง จึงเครียดแทบบ้า

คนฉลาด  : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องเล่นๆ จึงสนุกสนานจนไร้สาระ

คนเจ้าปัญญา : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นตัวเร่งวิวัฒนาการ จึงรุ่งเรืองรวดเร็ว

 

ว่าด้วยความประสบความสำเร็จ

คนโง่  : รอให้ความสำเร็จมาหา อาจต้องรอหลายชาติกว่าจะพบซักครั้ง

คนฉลาด  : เดินไปหาความสำเร็จ จึงอาจมีโอกาสพบบ้างแม้เหนื่อยยาก

คนเจ้าปัญญา : ปักหลักสร้างความสำเร็จ หากสร้างความสำเร็จแน่ๆ และเหนื่อยน้อยกว่า

 

ว่าด้วยความรักและคู่รัก

คนโง่  : กระหายคู่ จึงอยู่คนเดียวไม่ได้ เพราะไม่เป็นสุข ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นเสมอ

คนฉลาด  : ปฎิเสธคู่ จึงเป็นสุขเมื่ออยู่คนเดียว และเป็นทุกข์เมื่ออยู่กับคนอื่น และหากยังต้องพึ่งพิงก็ยิ่งระทม และขมขื่น

คนเจ้าปัญญา : ไม่แสวงหา แต่ก็ไม่ปฎิเสธคู่ที่พึงมี หากมีคู่ก็ประคับประคองกันไปสู่ชีวิตที่สูงส่งยิ่งขึ้นทั้งคู่ จึงอยู่ คนเดียวก็ได้เป็นสุขดี อยู่กับคู่ก็ดีเป็นสุขได้

 

ว่าด้วยสัจจสัมพันธ์

คนโง่  : ไม่รักษาสัจจะ จึงไม่มีใครเชื่อถือ ตนก็ไม่อาจเคารพในตนได้

คนฉลาด  : คลั่งไคล้สัจจะ แยกไม่ออกระหว่าง ประโยชน์และโทษของสัจจะแต่ละระดับ.....จึงมักพาตนและพาคนอื่นติดกับดักแห่ง ความจริงโดยไม่ตั้งใจ

คนเจ้าปัญญา : ทำสัจจะกับปัญญาให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงมีสัจจะรักษา และมีอำนาจพิเศษยิ่งกว่าคนทั่วไป

 

ว่าด้วยความเป็นไปได้

คนโง่  : ชอบคิดว่าทุกสิ่งที่หวังเป็นไปไม่ได้ จึงขังตนเองในความเกียจคร้าน ชีวิตต่ำต้อย

คนฉลาด  : ชอบคิดว่า ทุกสิ่งที่หวังเป็นไปได้ จึงทะยานไปในตัณหาไม่รู้จบ ชีวิตกระเจิดกระเจิง

คนเจ้าปัญญา : ย่อมเห็นว่าในบรรดาสิ่งที่หวัง บางสิ่งเป็นไปไม่ได้ บางสิ่งเป็นไปได้ ในบรรดาสิ่งที่เป็นไปไม่ ได้ทั้งหมดนั้น บางสิ่งเป็นไปไม่ได้ถาวร บางสิ่งเป็นไปไม่ได้ชั่วคราว และในบรรดาสิ่งที่เป็นไปได้ถาวรนั้น บาง สิ่งก็ไม่มีประโยชน์ บางสิ่งมีประโยชน์ เขาจึงปรับความหวังให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ที่มีประโยชน์ และ ปรับสิ่งเป็นไปไม่ได้ชั่วคราวให้เป็นไปได้มากขึ้น ชีวิตจึงอยู่กับความสมหวังและการพัฒนาโดยลำดับ

 

ว่าด้วยพันธสัญญา

คนโง่  : ไม่กล้ารับปากใครแม้กับตนเอง จึงไม่ได้รับความเชื่อถือแม้ต่อตนเอง

คนฉลาด  :รับปากเรื่อยไปในทุก เรื่อง ต้องเพียรพยายามทำตามสัญญาด้วยความเหนื่อยยาก และทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้รับความเชื่อถือบ้าง ไม่เชื่อถือบ้าง

คนเจ้าปัญญา : ชวนทุกคนที่เกี่ยวข้องร่วมพันธสัญญาจึงได้พลังร่วมของส่วนรวมที่จะขับ เคลื่อน ภารกิจไปสู่ความสำเร็จ

 

ว่าด้วยผู้พูด

คนโง่  : ชอบให้อารมณ์พูด จึงผิดพลาดมากล้มเหลวบ่อย

คนฉลาด  :ชอบใช้เหตุผล จึงถูกต้องมากแต่ มักไร้ความรู้สึก และประสบแต่ความสำเร็จอันแห้งแล้ง

คนเจ้าปัญญา : ชอบใช้ธรรมะพูด จึงบริสุทธิ์ เหนือถูกผิด และเป็นหนึ่งเดียวกับความสำเร็จโดยธรรม

 

ว่าด้วยความเป็นธรรม

คนโง่  : ชอบเรียกหาความเป็นธรรม จนบ่อยครั้งใช้ กระบวนการที่ไม่เป็นธรรมในการเรียกหา....จึงพาให้ยิ่ง ห่างไกลความเป็นธรรม

คนฉลาด  :ชอบสร้างความเป็นธรรม ปั้นแล้วปั้นอีก ปั้นอย่างไรก็ไม่เป็นธรรมแท้ แม้พยายามถึงที่สุด เพราะ ความเป็นธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับปรารถนา ของใคร จึงเป็น ความหวังดีที่ล้มเหลวเรื่อยไป

คนเจ้าปัญญา : ชอบประพฤติธรรม ดำรงอยู่และดำเนินไปโดยธรรม จึงได้สิทธิพิเศษโดยธรรม

 

ว่าด้วยการบริหารอารมณ์

คนโง่  : มักจมอยู่ในอารมณ์ ด้วยคิดว่าอารมณ์ คือเขาเขาคืออารมณ์ เขาจึงเป็นทาสของอารมณ์เสมอ

คนฉลาด  :ชอบปฎิเสธอารมณ์ เพราะคิดว่าอารมณ์คือสิ่งรบกวน ทำตัวเป็นคนสงบที่ไร้อารมณ์ เขาจึงเป็นเพื่อนกับผีดิบ

คนเจ้าปัญญา : ย่อมบริหารอารมณ์ สร้างอารมณ์ที่ควรสร้าง เสพอารมณ์ที่ควรเสพ ควบคุมอารมณ์ที่ควรควบคุม รักษาอารมณ์ที่ควรรักษา สลายอารมณ์ที่ควรสลาย เขาจึงเป็นนายของอารมณ์โดยสมบูรณ์

 

ว่าด้วยการอยู่กับความทุกข์

คนโง่  : มัวอดทนกับทุกข์ เมื่อทุกข์ใจก็ไม่กล้าตัดสินใจ จากสิ่งที่ทำให้ทุกข์ จึงต้องทนเจ็บใจตลอดไป สะบักสะ บอม

คนฉลาด  :มักหนีทุกข์ เมื่อทุกข์ใจก็กล้าตัดใจจาก สิ่งที่ทำให้ทุกข์ จึงโล่งใจไปเรื่อย ๆ ตราบที่ตัดได้และ ต้องเปลี่ยนแปลงร่ำไป

คนเจ้าปัญญา : ทำลายเงื่อนไขของทุกข์ ทำใจให้ ไม่เจ็บในทุกข์ จึงไม่ต้องตัดต่อใจอีกต่อไป ใจจึงเป็น ปกติเย็นอยู่ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์

 

ว่าด้วยความยิ่งใหญ่

คนโง่  : เห็นว่าตนยิ่งใหญ่ จึงจมอยู่ในตัวตนอันกระจ้อยร่อย ท่ามกลางเอกภพอันไร้ขอบเขต

คนฉลาด  :เห็นว่าธรรมชาติยิ่งใหญ่ หวาดกลัว และ เทิดทูนธรรมชาติ ส่วนใดที่ตนเข้าไม่ถึงจึงโยนไว้ในอุ้ง หัตถ์ของภูติผีและพระเจ้า

คนเจ้าปัญญา : เห็นว่าความบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่ เพราะทั้ง ตน ธรรมชาติ และวิญญาณทั้งหลาย ล้วนมีเป้าหมาย สูงสุดที่ความบริสุทธิ์

 

ว่าด้วยปฎิสัมพันธ์

คนโง่  : ชอบเอาเปรียบคนอื่น จึงได้ประโยชน์ตนสั้น ๆ แต่เสียคนรัก และความศรัทธา

คนฉลาด  :ชอบยอมเสียเปรียบคนอื่น จึงได้คนรักและความศรัทธา แต่ขมขื่นในใจตน

คนเจ้าปัญญา : ชอบบริหารประโยชน์สุขทุกฝ่าย จึงเป็นสุขใจ ได้คนรัก ความศรัทธา และสถาปนาระบบ ประโยชน์อันยั่งยืน

 

ว่าด้วยความผิด

คนโง่  : เห็นแต่ความชั่วร้ายของคนอื่น และโยนความผิดให้ผู้อื่นอยู่เรื่อย เป็นการทำมิตรให้กลายเป็นศัตรู ชีวิตจึงอยู่ในท่ามกลางอันตราย

คนฉลาด  :เห็นแม้ความชั่วร้ายในตน เอง จึงกล้ายอมรับความจริง และแก้ไขตัว ทำให้ตนดีขึ้น ทำให้แม้ศัตรูก็ยอมรับได้มากขึ้น ชีวิตจึงเจริญและผาสุกโดยลำดับ

คนเจ้าปัญญา : เห็นความชั่วร้ายสากล จึงเข้าใจ ทุกคนในทุกสถานการณ์ เห็นสัดส่วนการบริหารคนที่ เหมาะสม โดยไม่ทำร้ายคน แต่จะทำลายความชั่ว สากล ให้สิ้นไป จึงสนุกสนานในการบริหารเรื่อยไป

 

ว่าด้วยการปกครอง

คนโง่  : คิดปกครองคนอื่น ขณะที่ตนก็คือคนๆ หนึ่ง จึงไม่อาจปกครองใครได้แท้จริง การทรยศจึงเกิดขึ้นเนืองๆ

คนฉลาด  : คิดประสานกิเลสและคุณธรรม ของคน จึงลงตัวตราบที่กิเลสไม่กำเริบและคุณธรรมไม่เสื่อม เมื่อกิเลสกำเริบหรือคุณธรรมเสื่อมก็แตกร้าวเนือง ๆ

คนเจ้าปัญญา : คิดยกระดับปัญญาและความบริสุทธิ์ ของคน เมื่อปัญญามากและความบริสุทธิ์ถึงที่สุด ทุกคน จะจัดตนเข้าฐานะหน้าที่อันเหมาะสมเอง จึงไม่ต้อง พยายามปกครองกันอีก

 

ว่าด้วยการบริหารสถานการณ์

คนโง่  : ชอบเข้าสู่สถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เป็น ความเสี่ยงอย่างยิ่งของชีวิต ความสำเร็จจึงแขวนอยู่บน ความประมาท

คนฉลาด  : ชอบเข้าสู่เฉพาะสถานการณ์ที่ควบคุมได้ จึงมีสถานการณ์เพียงน้อยนิดที่เหมาะสม ชีวิตมีความ เสี่ยงต่ำ แต่สำเร็จเพียงเล็กน้อย

คนเจ้าปัญญา : บริหารความเสี่ยง ควบคุม ปรับ จุดหมุน กระจาย สลายทุกความเสี่ยง เมื่อเข้าสู่ สถานการณ์ใด ก็เหนี่ยงนำแล้วปล่อยวาง บริโภคคุณค่า แล้วคายกากภัยทิ้งจึงสำเร็จได้ง่ายแม้ในความยากอย่าง ยิ่ง

 

ว่าด้วยความรักสัมพันธ์

คนโง่  : ชอบขอความรักและความเห็นใจ แต่มักได้รับความสมเพชตอบแทนเป็นประจำ

คนฉลาด  : ชอบให้ความรักความเข้าใจ และมักได้รับความหวังพึ่งพิงตอบเนือง ๆ

คนเจ้าปัญญา : ชอบให้ปัญญาที่จะให้ทุกคนรัก และเข้าใจตนเอง จึงได้รับความนับถือ และความมีบุญคุณตอบแทนเสมอ

 

ว่าด้วยคนดีและคนชั่ว

คนโง่  : เห็นคนดีว่าชั่ว เห็นคนชั่วว่าดี ชีวิต จึงประสบภัยใหญ่หลวง

คนฉลาด  : เห็นคนดีว่าดี เห็นคนชั่วว่าชั่ว ชีวิตจึงต้องระมัดระวัง หลบหลีกเลือกเฟ้นเป็นพัลวัน

คนเจ้าปัญญา : เห็นคนดีว่าไม่ดีจริง เห็น คนชั่วว่าไม่ชั่วจริง จึงไม่ยกย่องผู้ใดและไม่เหยียบ ย่ำใคร แต่บริหารทุกคนไปสู่สภาวะที่ประเสริฐ กว่าที่เขาเป็นได้เสมอ

 

ว่าด้วยความทุกข์และความสุข

คนโง่  : เห็นทุกข์เป็นสุข จึงรักษาทุกข์ไว้ ด้วยสำคัญว่าเป็นสุข หรือน่าจะนำสุขมาให้ ยิ่ง รักษาก็ยิ่งทุกข์ จึงระทมร่ำไป

คนฉลาด  : เห็นทุกข์เป็นทุกข์ แล้วต่อสู้อยู่ ในท่ามกลางความทุกข์ ยิ่งพยายามก็ยิ่งพบความ ไม่น่าพอใจจึงท้อแท้เรื่อยไป

คนเจ้าปัญญา : เห็นทุกข์โดยความเป็น ของไร้สาระ จึงโยนทิ้งไปเสีย จนเป็นอิสระ โปร่ง เบาสบายยิ่งนัก

 

ว่าด้วยการปรนเปรอ

คนโง่  : เอาแต่ใจตนเอง จึงได้รับความ สะใจเป็นผล และความรังเกียจเป็นรางวัล

คนฉลาด  : เอาใจคนอื่น จึงได้รับ ความลำบากเป็นผล และความรักเป็นรางวัล

คนเจ้าปัญญา : ไม่เอาทั้งสองอย่าง แต่เอา สัจจะที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขทุกฝ่ายเป็นที่ตั้ง จึงได้รับคุณค่าเป็นผล และได้รับศรัทธาเป็นรางวัล

 

ว่าด้วยความบ้า

คนโง่  : เมาคำพูด จึงประคองสติไม่อยู่ พลั้งพูดพล่อยบ่อยๆ สร้างกรรมและศัตรูมากมาย

คนฉลาด  : บ้าความคิด เขม่าเต็มขมอง จึง เต็มไปด้วยจิตหลอน สร้างมายาหลอกตนและ คนอื่นมากมาย

คนเจ้าปัญญา :บ้าความสงบ จึงพบสติ เต็มตื่น รู้อยู่เป็นหลักให้ตนและคนอื่นได้

 

ว่าด้วยการบริหารสิ่งเร้า

คนโง่  : มักไหลตามสิ่งเร้าที่เข้ามายั่วเย้า จึงแปรปรวนไปไม่รู้จบ

คนฉลาด  : มักปฏิเสธสิ่งเร้าที่เข้ามายั่วเย้า จึงเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก แต่คับแคบอย่างยิ่ง

คนเจ้าปัญญา :นิยมบริหารสิ่งเร้าที่เข้ามา ยั่วเย้า จึงสามารถกลั่นหาประโยชน์สูงสุดจากทุกสิ่งในทุกสถานการณ์

 

ว่าด้วยความจริงจัง

คนโง่  : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิต เป็นเรื่องจริงจังจึงเครียดแทบบ้า

คนฉลาด  : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิต เป็นเรื่องเล่นๆ จึงสนุกสนานไร้สาระ

คนเจ้าปัญญา : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นตัวเร่งวิวัฒนาการ จึงรุ่งเรืองรวดเร็ว

 

ว่าด้วยการขจัดความชั่วร้าย

คนโง่  : ยอมทำชั่วหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง จึงได้รับแต่โทษทุกข์ฑัณท์ ทับถมทวีคูณ

คนฉลาด  : ย่อมทำดีแม้หลายอย่าง เพื่อ แก้ปัญหาหนึ่ง จึงได้รับความสุขสันต์ หลังเหน็ดเหนื่อยหนักหนา

คนเจ้าปัญญา :ย่อมทำบริสุทธิ์เพื่อหลุด จากสารพันปัญหา จึงได้รับความเบิกบานนิรันดร์

 

ว่าด้วยสำนึกในส่วนรวม

คนโง่  : คิดแต่เรื่องส่วนตัว ทำอะไรก็เพื่อตนเอง แม้อาจทำให้คนอื่นเสียหาย จึงเป็นที่รังเกียจ สังคมไม่ต้องการ

คนฉลาด  : คิดแต่เรื่องส่วนรวม ทำอะไรก็ เพื่อส่วนรวม แม้อาจทำให้ตนเสียหาย สังคมต่าง ต้องการแต่ตน ไม่อาจตั้งอยู่ได้

คนเจ้าปัญญา :คิดแต่เรื่องคุณธรรม ทำอะไร ก็เพื่อประโยชน์สุขทุกฝ่ายในทุกกาลเวลา จึงเป็นที่ ต้องการของทุกฝ่าย ในขณะที่เขาอาจจะไม่ต้องการ ใครเลย

 

ว่าด้วยความจริงจัง

คนโง่  : ประเมินค่าคนจากปริญญา จึงรู้จัก แค่ตรายี่ห้อปะติดชีวิต

คนฉลาด  : ประเมินค่าคนจากความสามารถ จึงรู้จักคุณภาพของชีวิต

คนเจ้าปัญญา : ประเมินค่าของคนจากความ เอื้อประโยชน์ จึงรู้จักประโยชน์แท้แห่งชีวิตจริง

 

ว่าด้วยค่าของคน

คนโง่  : ประเมินค่าคนจากปริญญา จึงรู้จัก แค่ตรายี่ห้อปะติดชีวิต

คนฉลาด  : ประเมินค่าคนจากความสามารถ จึงรู้จักคุณภาพของชีวิต

คนเจ้าปัญญา : ประเมินค่าของคนจากความ เอื้อประโยชน์ จึงรู้จักประโยชน์แท้แห่งชีวิตจริง

 

ว่าด้วยการแสวงหา

คนโง่  : งุ่มง่ามแสวงหาคุณค่าภายนอกตน ยิ่งพบมากก็ยิ่งเห็นว่าตนต้อยต่ำ จึงยอมตนเป็นทาส

คนฉลาด  : งุ่นง่านแสวงหาคุณค่าในตน ยิ่ง พบมาก ก็ยิ่งเห็นว่าตนล้ำค่า จึงหลงตัวเอง

คนเจ้าปัญญา : ย่อมแสวงหาคุณค่าสากล ยิ่งพบมากก็ยิ่งเห็นความธรรมดาในทุกสิ่งจึงมี เป็น และบริโภคทุกสิ่งเหมือนไม่มี ไม่เป็น

 

ว่าด้วยการบริหารศรัทธา

คนโง่  : รู้อะไรก็เชื่อไว้ก่อนว่าจริง หรือ ไม่จริง จึงงมงามอย่างยิ่ง

คนฉลาด  : รู้อะไรก็ไม่เชื่อไว้ก่อนว่าจริง หรือไม่จริง แต่เอามาทดลอง จนเห็นชัด จึงเชื่อ จึงมีเหตุผลอย่างยิ่ง

คนเจ้าปัญญา : รู้อะไรก็ไม่สนใจว่าจริง หรือไม่จริง สนใจเพียงว่ามีประโยชน์และมีโทษเพียงใด แล้วสกัดโทษทิ้ง บริโภคเฉพาะประโยชน์ จึงได้คุณค่าแห่งการรู้ในทุกสิ่ง

 

ว่าด้วยระบบธรรม

คนโง่  : ปรับธรรมะเข้าหาคน จึงได้คน จำนวนมากเดินตามธรรมะเทียม

คนฉลาด  : ปรับคนเข้าหาธรรมะ จึงได้คน จำนวนน้อยอยู่รักษาธรรมะแท้

คนเจ้าปัญญา : ปรับธรรมะและคนเข้าหากัน ณ จุดแห่งประโยชน์สูงสุดที่เหมาะสมและเป็นไปได้ จึงได้คนจำนวนพอดีอยู่รักษาธรรมะที่ดีพอ

 

ว่าด้วยความเป็นธรรม

คนโง่  : ชอบเรียกหาความเป็นธรรม จนบ่อย ครั้งใช้กระบวนการที่ไม่เป็นธรรมในการเรียกหา จึงพาให้ยิ่งห่างไกลความเป็นธรรม

คนฉลาด  : ชอบสร้างความเป็นธรรม ปั้นแล้ว ปั้นอีก ปั้นอย่างไรก็ไม่เป็นธรรมแท้ แม้พยายามถึงที่สุด เพราะความเป็นธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ปรารถนาของใคร จึงเป็นความหวังดีที่ล้มเหลวเสมอไป

คนเจ้าปัญญา : ชอบประพฤติธรรม ดำรงอยู่ และดำเนินไปโดยธรรม จึงได้สิทธิพิเศษโดยธรรม

 

- จบ -

*****

ย้อนกลับอ่าน "คนโง่ คนฉลาด คนปัญญา"  1/2

อ้างอิงแหล่งที่มา
http://www.dhammajak.net/book-chai-na-pol/-2.html

หมายเลขบันทึก: 365168เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2010 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณแตงไทย

     แวะมาหาความรู้ด้วยคนค่ะ อยากเป็นคนเจ้าปัญญาจังเลยเนาะ

คอเดียวกัน อ่านหนังสือเหมือนกัน อ่านแล้วสะใจดีค่ะ

Thanks.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท