พิธีทำขวัญนาค ตอนที่ 10 คอยพบกับ“ทำขวัญนาค”ความรู้จากบล็อกสู่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


เป็นการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีเอาไว้คู่กับวัฒนธรรมไทยทำให้ประเพณีทำขวัญนาคคงอยู่สืบต่อไป

พิธีทำขวัญนาค

ตอนที่ 10 คอยพบกับ บล็อก“ทำขวัญนาค”

ความรู้จากบล็อกสู่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ชำเลือง มณีวงษ์ (เล่าเรื่อง)

        สังคมไทยในยุคปัจจุบัน มีความสับสนวุ่นวายมากยิ่งขึ้น ทางสงบร่มเย็นเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาเราเข้าไปสู่ประตูธรรม การบวช หรืออุปสมบท เป็นประเพณีที่คนไทยโดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานานโดยส่งบุตรชายเข้าไปฝากตัวไว้กับหลวงพ่อที่อยู่วัดใกล้บ้าน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวเข้าสู่การอุปสมบท แต่เรามักจะเรียกว่า บวชนาค เพราะว่าก่อนที่จะบวชเป็นพระ บุตรชายของบิดา มารดาทุกคนจะต้องปลงผมโกนคิ้ว หนวดเคราออกไป สละแล้วซึ่งความสวยงาม นุ่งขาวห่มขาว เรียกว่า “นาค” แปลว่าผู้ที่บริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ทำบาป
        การที่จะส่งให้ผู้ที่กำลังอยู่ในภาวะแห่งความแข็งแกร่ง มีกำลังแข็งแรงไปบำเพ็ญปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ คนในสมัยก่อนจึงเชิญผู้ที่รู้คัมภีร์ทางศาสนามาแนะนำสั่งสอนนาคให้ได้ล่วงรู้ถึงสิ่งใดควรมิควรปฏิบัติ โดยเฉพาะเป็นการเตือนสตินาคหรือผู้ที่จะบวชให้ได้รับรู้เรื่องราวความยากลำบากในการที่บิดา มารดาต้องเลี้ยงดูลูกมาเป็นเวลานานกว่าที่จะมาถึงในวันนี้ อีกอย่างคนโบราณเชื่อกันว่า บุคคลเราทุกคนมีสิ่งที่มองไม่เห็นเกาะติดอยู่กับตัว โดยเฉพาะที่หัว เมื่อผู้ที่จะบวชต้องถูกปลงผม โกนคิ้ว หนวดเคราไป ขวัญบนหัวก็หายไปด้วย จึงต้องให้ผู้รู้มาทำพิธี เรียกพิธีการนี้ว่า “ทำขวัญนาค”

                            

        ในอดีตที่ผ่านมา หมอทำขวัญนาค (โหรา) เป็นผู้ที่สูงวัย มีบทบามากในสังคมไทย เมื่อถึงวันที่ลูกผู้ชายไทยคนหนึ่งคนใดจะเข้าสู่พิธีอุปสมบท จะต้องไปหาหมอขวัญมาทำขวัญนาคให้กับลูกหลานที่จะบวช มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมาจนกลายเป็นประเพณี เรียกว่า ประเพณีการทำขวัญนาค แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งใดที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนจะถูกมองว่าเสียเวลา สิ้นเปลืองเงินทอง จึงถูกตัดออกไปแล้วหาสิ่งอื่น พิธีการอื่นมาแทนที่ซึ่งก็เป็นสิทธิของแต่ละคนแต่ละครอบครัว
        ในสมัยก่อนการจัดงานบวชพระ 1 รูปจะต้องเตรียมการและจัดงานกัน 3-4 วันเป็นอย่างน้อย เรียกว่าเริ่มยุ่งกันตั้งแต่วันสุกดิบ วันต่อมาทำขวัญนาค วันรุ่งขึ้นเป็นวันบวช อีกวันหนึ่งเป็นวันฉลองพระบวชใหม่ ต่อมานิยมทำงาน 2 วัน วันทำขวัญนาคกับวันบวช หรือในบางงาน ตัดทอนจนเหลือเพียงวันเดียวเท่านั้น ดังที่ท่านได้อ่านในบทความทำขวัญนาคมาแล้วทั้ง 79 บทความ ในการจัดงานบวชนาคจะจัดกี่วันนั่นเป็นความประสงค์ของเจ้าภาพ แต่ถ้าจะมองดูเนื้อใน ประโยชน์ที่ตกอยู่กับสังคม ครอบครัวและผู้ที่จะบวช การเริ่มต้นข่มใจให้มีความสงบ มีสมาธิเกิดปัญญา น่าที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของผู้ที่จะผ่านเข้าไปในประตูแห่งธรรม

       

       

        พิธีทำขวัญนาคเป็นกุศโลบายที่ชาญฉลาดของคนในสมัยก่อน ที่สรรหาวิธีการหลาย ๆ อย่างนำเอามาสอนใจคนที่จะบวชให้น่าสนใจในการรับฟังได้ด้วยเวลาที่ยาวนาน 2-3 ชั่วโมงแล้วไม่เบื่อหน่าย หากใช้คำพูดสอนอย่างเดียวคงไม่อาจที่จะฝากอะไรไว้ได้มากมายอย่างนี้ จึงเป็นความแปลกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในพิธีทำขวัญนาค ยิ่งถ้าได้ฟังหมอทำขวัญที่มีความชำนาญเป็นพิเศษจริง ๆ ผู้ที่รับฟังจะได้สัมผัสกับความแปลกใหม่ในบทพูด คำร้อง ที่ประทับใจอย่างที่ไม่เคยได้รับฟังที่ไหนมาก่อน เพราะหมอทำขวัญนาคบางท่านใช้มันสมองคิดสร้างสรรค์คำคม ด้นกลอนสดได้อย่างไพเราะจับใจ
        ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสังคมและด้วยความเจริญของเทคโนโลยีทำให้สามารถที่จะเก็บรวบรวมความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ มาบรรจุเอาไว้บนพื้นที่ พื้นที่หนึ่งให้ผู้ที่สนใจได้สืบค้นหาความรู้ได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน ในระบบเครือข่าย และเมื่อเกิดมีเว็บไซต์ GotoKnow.org ขึ้น ทำให้สมาชิกทั้งหลายได้มีโอกาสเรียนรู้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสะดวก รวดเร็ว
        ขอขอบคุณโครงการความรู้ จากบล็อกสู่หนังสือ: คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ GotoKnow.org (Blog to Book) ภายใต้โครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ (Usablelabs) ผู้พัฒนาเว็บไซต์ GotoKnow.org ได้ทำการรวบรวมบันทึกที่ควรค่าแก่การเผยแพร่แก่สาธารณะ โดยให้ผมคัดเลือกบทความจาก บล็อก ทำขวัญนาค จำนวน 50 บทความ เพื่อทำการตีพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ขออนุญาตนำเนื้อหา “ทำขวัญนาค” ขึ้นตีพิมพ์เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
        คอยพบกับ 50 บทความทำขวัญนาค สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้จากเว็บไซด์ gotoknow.org ,เว็บไซต์รวมหนังสือโครงการความรู้จากบล็อกสู่หนังสือ: คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ GotoKnow.org (Blog to Book)
        http://www.portal.in.th/blogtobook/ และเว็บไซต์เผยแพร่เพื่อดาวน์โหลดหนังสือ http://gotoknow.org/blog/chamluang/362782  ในบล็อก “ทำขวัญนาค”  ได้ในเร็ว ๆ นี้ จากการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีเอาไว้คู่กับวัฒนธรรมไทย ให้ประเพณีทำขวัญนาคคงอยู่สืบต่อไปอีกยาวนาน

 

        ติดตามอ่าน GotoKnow.org (Blog to Book) บล็อก "ทำขวัญนาค" 50 ตอน ได้ที่เว็บ Partal in THailand : http://portal.in.th/kwannak/pages/13087/  (11 ธ.ค. 2553)

 

ชำเลือง มณีวงษ์  ศิลปินดีเด่น รางวัลราชมงคลสรรเสริญ สาขาเพลงพื้นบ้าน ปี 2547
 
หมายเลขบันทึก: 364509เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

พวกเราจะคอยติดตามผลงานของครู โดยเฉพาะบทความเรื่องทำขวัญนาค เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยมาก

จะคอยเป็นกำลังใจให้คุณครูได้สร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ต่อไปอีกนาน ๆ

  • ขอบคุณ ที่ช่วยเป็นกำลังใจให้คนเก่า (เข้าสู่คนสูงวัย) เร็วเหลือเกิน
  • นอกจากที่จะได้พบกับหนังสือออนไลน์ที่ทันสมัย "ทำขวัญนาค" แล้วยังสามารถพรินท์เอ้าท์ ออกมาเก็บไว้ได้
  • เนื้อในของเอกสารจะเป็นชุดการเรียนรู้เรื่องของพิธีทำขวัญนาค แนะนำสิ่งที่ดีที่ควรเอาไว้เตือนใจคนรุ่นหลัง จากผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน

สวัสดีค่ะ คุณครูชำเลือง

ต้องบอกว่าทีมงานได้อ่านบันทึกดีๆ ของคุณครูชำเลืองแล้วได้ประโยชน์และความรู้มากมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยค่ะ

ดังนั้นคุณค่าดีๆ จากผู้มีประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งต่อภูมิปัญญาไทยต่อรุ่นต่อไป

ขอเป็นกำลังใจและดีใจมากๆ ที่คุณครูได้ให้ความกรุณาในการจัดทำหนังสือ e-book ในโครงการ Blog to Book ค่ะ :)

สวัสดีค่ะท่าน กำลังสนใจในการทำ E-book ค่ะ จะติดตามและขอคำแนะนำในการนำลงในบล็อกนะคะท่าน ขอบคุณค่ะ

สวัสดี มะปรางเปรี้ยว

  • ขอบคุณในกำลังใจที่ส่งมาให้อย่างไม่ขาดสาย ถึงแม้ว่าจะต้องอ่านเรื่องเก่า ๆ ในยุคโบราณที่ผมได้ถ่ายทอดประสบการณ์เอาไว้ในเว็บไซต์ GotoKnow.org
  • ผมก็คิดอยู่เสมอว่า สักวันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยตอบคำถามสังคมได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องหาค่า T-Test

ขอบคุณ rinda

  • กำลังอยู่ในช่วงของการดำเนินงานลำดับเรื่องและพิสูจน์อักอรจากทีมงาน ครับ
  • หนังสือออนไลน์ (E-Book) ของผมจะออกมา 2 ชุด "ทำขวัญนาค" กับ "เพลงพื้นบ้าน" ในโครงการ Blog to Book ครับ

จะรอติดตามผลงาน "ทำขวัญนาค" ของคุณครูผ่านทางเว็บไซต์ และจะติดตามทุกเรื่องที่ครูเขียน ชอบที่ครูเล่าจากประสบการณ์

  • ได้รับกำลังใจ ก็มีแรงเพิ่มขึ้นมาอีกเป็นธรรมดาของคนรุ่นเก่า (เหงา ๆ)
  • ยังมีหนังสืออีเล็คทรอนิกส์อีกเล่ม ชื่อ "เพลงพื้นบ้าน" จะออกตามกันมาในเร็ว ๆ นี้

ดีใจมากครับ ที่อาจารย์จัดทำ สำเร็จเมื่อไรจะติดตามครับ

ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์และทีมงานเสมอครับ

สวัสดี คุณมนัส แตงงาม

  • ขอขอบคุณที่ติดตามผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นเก่า ๆ เรื่อง ทำขวัญนาค
  • โครงการฯ เล็งเห็นว่า บล็อก “ทำขวัญนาค” ที่ถูกบันทึกไว้ใน gotoknow.org  http://gotoknow.org/blog/chamluang/362782 มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำออกตีพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ซึ่งในการนี้จึงต้องขอเรียนปรึกษาและขออนุญาตนำเนื้อหาดังกล่าวขึ้นตีพิมพ์เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน ด้วยการให้ดาวน์โหลดฟรี จากเว็บไซด์ gotoknow.org ,เว็บไซต์รวมหนังสือโครงการความรู้จากบล็อกสู่หนังสือ: คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ GotoKnow.org (Blog to Book)  http://www.portal.in.th/blogtobook/ และเว็บไซต์เผยแพร่เพื่อดาวน์โหลดหนังสือ บล็อก “ทำขวัญนาค” ได้ในเร็ว ๆ นี้
  • อยากเรียนถามอาจารย์เรื่องพิธีบายศรีสู่ขวัญครับ คือมีคนมาติดต่อให้ไปทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ แต่ไม่รู้ว่าเค้ากล่าวอะไรกันบ้าง เป็นการทำพิธีกับนักศึกษาวิทยาลัยครับ อยากรบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำและยกตัวอย่างเนื้อหาให้ฟังบ้างครับ
  • ปีนี้ งานทำขวัญน้อยลงทุกหมอกล่าวอย่างนั้น(ในจ.ระยอง) น่ากลัวนะครับ ที่ภูมิปัญญานี้เสี่ยงต่อการไม่ให้ความสำคัญ ทั้งที่เป็นภูมิปัญญาที่สอดแรกสาระและกุศโลบายที่ดีไว้มาก ทำให้อยากเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์การทำขวัญนาคยิ่งขึ้น

                                                                                    ขอขอบพระคุณครับ

                                                                                         มนัส  ระยอง

ตอบความเห็นที่ 11 สมัส แตงงาม

พิธีบายศรีสู่ขวัญ จึงเป็นพิธีกรรมที่เป็นสิริมงคล ผู้ที่มาขอรับขวัญ จะได้รับฟังคำอวยพรดี ๆ จากพ่อหมอ (หมอขวัญ) พิธีเรียกขวัญ เพื่อมิให้เสียขวัญ เรียกขวัญเพื่อให้ขวัญกลับคืนมา เพื่ออวยพรให้มีความสุขกายสุขใจมีอายุมั่นขวัญยืน

สิ่งของเครื่องใช้ที่จะต้องจัดเตรียมในพิธีบายศรีสู่ขวัญ ประกอบด้วย

บายศรี จำนวน 3, 5 หรือ 7 ชั้น 1 ต้น หรือพานบายศรี 1 พาน (3,5,7 ชั้น) ประดับด้วยอกไม้

เหล้าขาว (เหล้าโรง) 1 ขวด หมูนอนตอง 1 ชิ้น (หมูต้มใส่จานวางบนใบตอง)

เครื่องกระยาบวช (อาหารคาวหวาน) และไข่ต้ม 1 ฟอง

พานคำนับครูของพ่อหมด 1 พาน ใส่หมากพลูที่มวนมาแล้ว ดอกไม้ธูปเทียน เงิน 12 บาท

เทียนจำนวน 9 เล่ม (3 แว่น) สำหรับเวียนเทียน (อาจไม่มีก็ได้ถ้าไม่มีพิธีเวียนเทียน) เทียนชัยอีก 1 เล่ม

ขันน้ำมนต์ สำหรับประพรมในพิธี (อาจไม่มีก็ได้) และขันข้าวสำหรับปักแว่นเวียนเทียน

ด้ายสายศีล และด้ายมงคลที่ตัดเอาไว้สำหรับผู้ข้อมือ ผูกแขน

ขั้นตอนในการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ

1. ผู้ทำพิธี เป็นชายผู้สูงอายุ (หมอขวัญ) เป็นเจ้าพิธี กล่าวเชิญชวนแขกมาร่วมในพิธี

2. เจ้าพิธีกล่าว ชุมนุมเทวดา “สักเค กาเมจรูเป คิริสิ ขะระตะเฏ.” แล้วว่า นะโม 3 จบ

3. เริ่มสวดเรียกขวัญ กล่อมขวัญ ให้ศีลให้พรด้วยท่วงทำนองเสนาะ (ตามท้องถิ่น) และบมอื่น ๆ ตามความจำเป็น

4. เจ้าพิธี นำเอาด้ายมงคลมาผูกข้อมือรับขวัญ (ข้อมือซ้าย) หยิบอาหาร ไข่ ให้ผู้ที่มา

รับขวัญกินอย่างละเล็กอย่างละน้อย (กินพอเป็นพิธีหรือไม่ต้องกินก็ได้)

5. ญาติมิตรและบุคคลทั่วไปเข้ามาผูกข้อมือให้กับผู้รับขวัญและจะต้องรักษาด้ายเอาไว้ 3 วัน

พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นการให้กำลังใจและบำรุงขวัญ จึงเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล ในโอกาสอันเป็นมงคลต่าง ๆ สิ่งใดดีมีสาระจึงสมควรยกย่องและรักษาไว้ เพื่อรักษาวัฒนาธรรมของชาติสืบต่อไป

(เรื่องของบายศรีสู่ขวัญ ผมเขียนเป็นบทความเอาไว้ ในห้วข้อ "บายศรีสู่ขวัญ" เปิดหาอ่านได้ในบล็อก "ทำขวัญนาค" นี้)

เรื่องของความนิยม เป็นไปตามกระแสของสังคม แต่ผู้ที่เจ้าของภูมิปัญญายังคงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ที่ดีต่อไปอีกยาวนาน

ขอฝากตัวกับอาจารย์ด้วยครับ และขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์นำมาถ่ายทอด ทั้งชีวิตที่ผ่านมา ผมรู้สึกว่า บททำขวัญนาค บทไหว้ครู ตำราอาหารไทย ถูกบดบังจากสิ่งทีเรามองไม่เห็น สืบทอดแบบคนใกล้ชิด ไม่ได้เผยแพร่ วันนี้มาพบแล้ว ดีใจมากที่สิ่งที่ดีงามของไทยยังไม่สูญหาย เหมือนคนดีอย่างอาจารย์ก็มิได้สูญหายจากแผ่นดินไทย

ตอบความเห็นที่ 13 ผู้ใฝ่รู้

  • ขอบคุณที่แผ่นดินนี้ยังมีคนที่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ผมดีใจมาก
  • ในความเป็นจริงยังมีบุคคล สถานที่ เรื่องราวที่ดี แต่ถูกบดบังเอาไว้จ นมิอาจที่จะออกไปแสดงตนให้สาธารณชนเห็นได้ น่าเสียดาย
  • ในทางกลับกัน มีบุคคล เรื่องราวที่ไม่ตรงต้นแบบ ไม่ตรงความถูกต้อง ได้ออกมาโชว์ผลงานและบันทึกความบกพร่องเอาไว้ด้วยสื่อนำเสนอต่อเยาวชนมากมาย
  • ครูชำเลือง มณีวงษ์ คิดว่า ประสบการณ์ตรงของเรา ถึงแม้ว่าจะมีบกพร่องบ้างก็มีที่มาที่ยาวนานและปฏิบัติจริง เรียนรู้มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม
  • บทความ ทำขวัญนาค มี 80 บทความ ได้รับการคัดเลือกจากโคงการ 50 บทความจัดทำเป็นหนังสืออีเล็คทรอนิกส์ สืบค้นได้ในเว็บไซต์ Gotoknow.org เร็ว ๆ นี้

หวัดดีครับผม ครูครับ ผมอยากรู้พิธีการทำขวัญนาค อย่างละเอียดเลยอ่าครับผม

พอดีในรายวิชาที่ผทเรียนเข้าให้ไปศึกษาวิธีการต่างๆๆๆอ่าครับ

แล้วนำมาแสดงอ่าครับ

ไม่ทราบว่าจะติดต่อ อาจารย์ได้ทางไหนบ้างอ่าครับ

นี่นะคับเบอร์ติดต่อผม 0875877589 บาสคับ

ตอบความเห็นที่ 15

  • ก็ในบทความนี้ ชื่อ"ทำขวัญนาค" มีอยู่ถึง 79 ตอน ครอบคลุมเอาไว้ทุกเรื่องแล้ว
  • มีข้อมูลเรื่องของพิธีทำขวัญนาคที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตามแบบภูมิปัญยาท้องถิ่น
  • เรื่องราว บทร้อง เสียงร้อง คลิบบันทึกสดทำขวัญนาค มีครบถ้วนทั้งหมดแล้ว ครับ
  • เพียงแต่ผู้เรียนรู้ จะต้องสืบค้นเอาเองว่า ต้องการบทความใด ตอนใด

สวัสดีคับ ครู เป็นอย่างไรบ้างครับ สะบายนะครับ

ตอนนี้ลมหนาวมาแล้วดูแลสุขภาพให้แข็งแรงนะครับ

ผมต้องการที่จะบันทึกคลิบไว้ฟังที่บ้านต้องทำอย่างไร

บ้างครับครู

ตอบความเห็นที่ 17 ต้นกล้า

  • ขอบคุณที่เป็นห่วง คนสูงวัย (คนแก่) เรื่องของสุขภาพก็เป็นไปตามวัยทรง ๆ มีโรคที่คนแก่ต้องเป็นเข้ามาหา
  • การบันทึกคลิบในเว็บไซต์ youtube.com ทำได้หลายวิธีการ แต่เมื่อได้ไฟล์มาแล้วจะต้องหาโปรแกรมเปิดดูตามมาด้วย
  • วิธีจัดเก็บวิธีแรกคือ เปิดคลิบที่จะจัดเก็บขึ้นมาก่อน ใช้โปรแกรม kick โดยพิมพ์คำว่า kick แทรกเข้าไปหน้าคำว่า youtube ในช่องเข้าเว็บ http://www.kickyoutube.com แล้วเลือกตามที่โปรแกรมสั่งให้เราดำเนินงาน
  • อีกวิธีใช้โปรแกรม IDM ดาวโหลดโปรแกรมมาติดตั้งก่อน แล้วเข้าไปเปิดหน้าต่างดูคลิบ โปรแกรมจะขึ้นมารอให้สั่งจัดเก็บอยู่ที่ขอบบนขวาของจอภาพ จัดเก็บง่ายแต่ก็จะต้องหาโปรแกรมเปิดดู ส่วนมากใช้ โปรแกรม GOM Player เปิดดู (ลองดูนะครับ)

สวัสดีครับครูไม่เจอครูนานเลยวันนี้มีโอกาสผ่านมาเยี่ยมครับผมมีผลงานล่าสุดมาให้ครูช่วยคอมเม้นให้หน่อยครับ

เพราะทุกครั้งที่ครูชี้เเนะมักตรงใจผมมากๆผมจะได้นำไปปนับปรุงให้ดีขึ้นครับ

http://www.youtube.com/watch?v=20vFvsvznUk เเวะมาติชมนะครับ..

ศิษย์คนเดิม

ชนินทร์ สุขสำราญ

ตอบความเห็นที่ 19 ชนินทร์

  • ได้ดูคลิบของชนินทร์เป็นบางตอนแล้ว มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นนะ
  • เรื่องของการร้องแหล่ก็กระฉับกระเฉงน่าฟัง เว้นวรรคคำเข้ากับจังหวะได้ลงตัว
  • เส้นทางของชนินทร์ยังอีกยาวนาน ค่อยเป็นค่อยไป เราเดินทางมาถูกแล้ว
  • มีข้อคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ฝากให้สังเกตนิดหนึ่งในการเวียนเทียน ตอนที่ 12/2 ลองทบทวนใหม่นะ อาจจะได้ข้อคิดและค้นพบอะไรในบางอย่างได้

ขอบคุณครูมากครับ..ที่คอยให้คำเเนะนำผมจะน้อมนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นครับ

อีกไม่นานผมจะทำให้เพลงเเหล่เป็นที่รู้จักให้จงได้ อีกไม่นานผมจะทำเพลงเเหล่สดๆมาเผยเเพร่ก่อย่างว่าเเหละครับเสียงผมก่เเค่พอไปวัดไปวาก็อาจทำได้เพียงเเค่ขีดความสามารถเท่านั้นเอง ยังไงก่ขอให้ครูเปนกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ..รอให้ร่างกาย เสียงพร้อมผมจะเริ่มทำโปรเจกนี้ทันทีเลย

ด้วยความเคารพ

ชนินทร์ สุขสำราญ

อาจารย์คิดยังไงครับการที่พระเริ่มออกมาเคลื่อนไหวในเเนวศิลปิน http://www.youtube.com/watch?v=beYnPO2h6VQ

ไม่ผิดพระธรรมวินัยหรือครับจำได้ว่าเวลาผมสอนนาคมักจะบอกเสมออยู่ในเพศบรรพชิตต้องสำรวมห้ามร้องเพลง เเล้วนี่คืออะไรหรือครับ บางทีผมเเยกไม่ออกเลยว่าพระเทศหรือโชว์ตลกบางทีเทศน์สอนมีเเต่เรื่องเล่าเพ้อเจ้อไม่มีเนื้อหาอะไรเลย http://www.youtube.com/watch?v=g7WiwkaIGNY นี่ยังไม่รวมที่พระเล่น Facebook อีกนะครับ..มันเป็นข้ออ้างหรือเปล่าว่าต้องการเผยเเพร่ธรรมะเเต่ความจริงเเล้วใช้ผ้าเหลืองบังหน้าหากิน(เพียงเเค่ทัศนะเท่านั้นครับพระที่ดีๆผมยังเชิดชูเหมือนเดิม)

ผมอยากทราบทัศนะของครูครับ

ตอบความเห็นที่ 21 ชนินทร์

  • ถือว่ามีเป้าหมายในความฝันที่ตั้งเอาไว้ดีและสูงมาก หากชนินทร์ไปให้ถึงจุดหมายได้ก็นับได้ว่า เป็นตัวแทนคนรุ่นเก่าได้จริง ๆ
  • คนที่ด้นกลอนสด ๆ ได้มีมากมายหลายคน แต่ผู้ที่จะสามารถกลั่นกรองนำเอาคำลึก ๆ ที่เกาะติดความรู้สึกผู้ฟังได้นี่ซิ ไม่มีสักกี่คนที่สามารถทำได้ อย่างเช่น หลวงพ่อ พระพร ภิรมย์ ผู้ซึ่งเป็นอิจฉชิยะทางเพลงแหล่ตัวจริง ต้นฉบับของนักแหล่กลอนสดจริง ๆ นั่นแหละ

ตอบความเห็นที่ 22 ชนินทร์

  • ครูคงไม่อาจที่จะแสดงความเห็นในกรณีนี้ได้ ต้องให้สังคมตัดสินใจ เพราะข้อห้ามมีมากมายต่างจากบุคคลทั่วไปมากนัก
  • เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป อะไร ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลง จะให้คงอยู่นิ่งสงบอย่างเดิมคงหยุดไม่อยู่ แต่คงจะต้องมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเข้ามาช่วยรักษาสิ่งที่ดีเอาไว้เป็นข้อถ่วงดุลกันไป แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทานไหวหรือไม่
  • ความจริงมนุษย์เราอยู่ในตำแหน่ง อยู่ในฐานะ ที่มีภารกิจ (สิ่งที่จะต้องกระทำ) ต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่นะ

การบวชพระสักองค์เป็นความศรัทธา และความตั้งใจ ของพ่อ -แม่ ที่มีบุตรชาย เป็นความสุขใจ ปลื้มใจ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท