19. เพลง "ไทดำรำพัน" บอกเล่าความเป็นมาของผู้ไท


ค้นหาประวัติผู้ไท จากเพลง"ไทดำรำพัน" ประวัติผู้ไท อำเภอคำตากล้า

คำบอกเล่าจากเพลง "ไทดำรำพัน"  ดูเศร้าสร้อย สำหรับผู้ที่เข้าใจความหมาย

      ครูเตือนเคยฟังเพลงนี้มานาน โดยไม่ได้ใส่ใจ อะไร ก็เห็นว่า สนุกดี  ต้นฉบับเพลงนี้มาจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  

     หลังจากศึกษาประวัติผู้ไท แล้วจึงได้ทราบว่า  เมื่อก่อนนั้นไทยดำ เคยเจริญรุ่งเรือง   ปู่ ย่าสร้างสรร บ้านไว้ให้ อยู่กันสุขสบาย แต่แล้วก็ต้องจาก ไร่ จากนา(ปะไห ปะนา)อพยพหนีสงคราม แยกย้ายกันไป.....น่าสงสาร สงครามไม่ปรานีใครเลย และก็นึกไม่ถึงว่า เราเองจะกลายมาเป็นลูกหลานของบรรพบุรุษที่หนีสงครามเหล่านั้น(ดูจากบันทึกที่แล้ว  ผู้ไท คำตากล้า มาจากเดียนเบียนฟูหริงหรือไม่http://gotoknow.org/blog/tuanjai23/364292)

หมายเลขบันทึก: 364294เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

   นี่เป็นเพลง"ไทยดำรำพัน" เวอร์ชั่นไทยค่ะ

 

ย้อนกลับไป ฟังเพลง และดูภาพ "ไทดำรำพัน" โดยนักร้องดังของลาว

ชื่อ วิเศษ วงสวรรค์

แฮงฟังแฮงคิดฮอดบ้าน ความฝันสูงสุดของผมคือการรักษาวัฒนธรรมอัตตลักษณ์ของเฮา เอาไว้หลายที่สุด

ขอบคุณหลายยย ที่ได้พ้อคุณครู

นมัสการค่ะ

ยินดีที่ท่านสนใจ ภาษาภูไทเป็นเอกลักษณ์ เลียนแบบ ยาก ผู้ที่พูดภาษาภูไทได้ นั้น น่านับถือ ปัจจุบัน เราสอนให้ลูกพูดภาษาไทยกลางเป้นส่วนมาก ต่อไปภาษาภูไทดั้งเดิมก็จะ เพี้ยน ....จึงสมควรอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่งค่ะ

เคยชอบร้องเพลงนี้ในสมัยเด็กๆค่ะ

เข้ามาทักทายนานๆครั้งค่ะ

ครูสบายดีนะคะ

ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ

     หายไปนานจริงๆค่ะ ไม่สบายอยู่เป็นนานเลยค่ะ

จำได้ว่าสมัยผมเป็นเด็ก เพลงไทดำรำพันดังมาก โดยเฉพาะท่อนแรกที่ว่า "สิบห้าปี ที่ไทเฮา" ยังจำได้อยู่เลย

เพลงนี้เป็นเพลงลาวนะครับ แต่ดังมากในเมืองไทย อ่านประวัติจริงๆ จากปาก ก.วิเสส ได้จาก

http://www.sereechai.com/demo/news.php?no=6414

http://www.sereechai.com/demo/news.php?no=6460

แต่ที่ผมสนใจคือ ไทดำ คือใครมากกว่า เท่าที่ทราบดังนี้

"ก.วิเสส พูดถึงคือ ร.อ.สนอง อุ่นวง ซึ่งมีความสามารถในด้านการแต่งเพลง โดยเฉพาะเพลง "ไทดำรำพัน"

ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการไปร่วมงานบุญของชาวไทดำหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเขตนครหลวงเวียงจันทร์

เป็นการผสมระหว่างเพลงพื้นบ้านชาวไทดำ กับ ทำนองขับทุ้มหลวงพระบาง"

ไทดำในเพลงก็คือชาวไทดำในเวียงจันทร์ แต่มาจากไหน ตามเพลงที่ว่า

"สิบห้าปี ที่ไตเฮา ห่างแดนดิน

(เดินกันไป)

จงเอ็นดู กุ่งข้าน้อย

ที่พลอยพลัดบ้าน

เฮาคนไทย ย้ายกันไป

ทุกถิ่นทุกฐาน"

ม.ศรีบุษรา หรือ มนตรี ศรีบุษรา ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อ "ไทดำรำพัน"

หนังสือเล่มนี้ มีทั้งประวัติของไทดำ รุ่นที่อพยบรุ่นแรก และรุ่นที่อพยพคราวเกิดสงครามระหว่าง ฝรั่งเศสกับเวียดนาม

รุ่นที่อพยบรุ่นแรก หมายถึงรุ่นนี้ครับ

"เมืองเดียนเบียนฟูหรือเมืองแถนนี้ อยู่ในเวียดนามเหนือใกล้กับพรมแดนลาว เป็นถิ่นที่อยู่ดั่งเดิมของชาวไทในเวียดนามมาก่อน

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้นำชาวไทในเวียดนามแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายหนึ่งเข้าร่วมกับเวียดมินห์เข้าต่อสู้กับฝรั่งเศส

กับอีกฝ่ายหนึ่งต้องการเป็น สหพันธรัฐไท เพราะเห็นว่าแม้อยู่ภายใต้ฝรั่งเศสแต่ก็มีสถานะเท่าเทียมกับลาว จึงเข้าร่วมกับ

ฝรั่เศสๆ ตกเป็นฝ่ายรับเรื่อยมา จึงถอนกำลังจากจุดต่างๆทั้งหมดถอยร่นเข้าสู่เมืองเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในหุบเขา

ปลายปี พ.ศ.2496 ฝรั่งเศสกับพลพรรค สหพันธรัฐไท ได้ถอยร่นเขาสู่เมืองเดียนเบียนฟู แต่พอถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2497

เมืองเดียนเบียนฟูที่มั่นสุดท้ายก็แตก ชาวไทดำประมาณ 4000 คนอพยพลงสู่เวียดนามใต้ ชาวไทดำอีกกลุ่มประมาณ

2000 คนได้อพยพไปยังเมืองหลวงพระบาง และอีกกลุ่มหนึ่งประมาณ 3000 คนได้อพยพไปอยู่เชียงขวาง ส่วนหนึ่งก็

อพยพไปแขวงเวียงจันทร์ คิดว่าเพลงไทดำรำพันคงน่าจะแต่งขึ้นในปี พ.ศ.2512 ครบ15 ปีแห่งการอพยพมาจากเมืองแถน

เหมือนตอนท้ายของเพลงที่บอกว่า อพยพหลบหนี ไพรีมา"

โอ้ เพลงไทดำรำพัน นี่รวมไทไว้หลายเชื้อชาติเลย

นี่คือเพลงของคนไทดำ(ในลาว)ที่อพยมาจากเวียดนามแต่งขึ้น

ขับร้องและเรียบเรียงใหม่โดยชาวไทในเวียงจันทร์ (คนลาว)

แต่มาดังเปรี้ยงปร้างในดินแดนไทยแลนด์

คุณ otto คะ

    ที่ สปป.ลาว ก็มีกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ไทใช้ไหมคะเช่นไทข้อย(เรา) ไท้เจ้า(ท่าน)

ไทดำ แล้วไฉน จึงเรียกผู้คนที่อยู่เวียงจันทร์ ว่า  "ไทเวียงจันทร์"

    ชาติลาวกัยไทยอีสาน นี่ใกล้ชิดจนแทบจะแยกกันไม่ออกเลยนะคะ ทั้งประเพณี

วัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย รูปร่างหน้าตา  คนจากตะวันตก มาเห็นปนๆกันก็แยกไม่

ออกแน่ๆว่า คนไหน ไทย คนไหนลาว...แต่ทั้งสองชาติมีเช่นกันแน่ๆก็คือจิตใจ ที่สูงส่ง

เพาะบ่มด้วยพระพุทธศาสนา มีความเมตตา จิตใจเอื้ออารี..เช่น ฝรั่งมาร์ติน ที่มาใช้ชีวิต

อยู่ขอนแก่นเขาบอกว่า(ผมงึด(อัศจรรย์ใจ) ...เมื่อเห็นคนไทยกวักมือเรียกมากินข้าว..

เพราะที่เมืองผมไม่มีอย่างนี้)  

    ขอบคุณมากที่นำข้อมูลมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน ลูกหลาน มาอ่านก็ได้ความรู้ค่ะ

เสงี่ยม ศรีนุฤทธิ์

ครูครับเริ่มเข้าที่เข้าทางชนเผ่าภูไทแล้วไช่ใหมเดียวเที่ยวนี้ผมกลับจากเวียดนามจะหาอะไรดีๆมาฝาก เครารพอย่างสูง ท้าวบุญสัมพันธ์

เสงี่ยม ศรีนุฤทธิ์ [IP: 119.31.105.190]
20 มีนาคม 2554 09:43
#2393927

สวัสดีค่ะ

   คอยรับของฝากดีๆ  อยู่นะคะ

งานตุ้มโฮมปีนี้ คาดว่า น่าจะสนุกสุดๆเพราะ คณะกรรมการจัดงานเป็น รุ่นใหม่ไฟแรง  ..มาให้ทันตุ้มโฮมนะคะ 13 เมษายน 2554 ค่ะ

 เพลงไทดำรำพัน
เป็นเพลงของกลุ่มไทดำ หรือผู้ไทดำ
เป็นคนละกลุ่มกับกลุ่มผู้ไท(ภูไท)บ้านเราครับ

อ่านทัศนะ เรื่องผู้ไท มาจากไหน
ตั้งแต่เมื่อไหร่ ของผม ได้ที่



 http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/514050



ไชยบูรณ์ มั่งมี [นามสกุลไตดำเดิมคือ สิงกวาง]

อยากให้คนเชื้อสายภูไท ค้นคว้าข้อมูลกันให้ชัดเจนมากกว่านี้ครับ........เพราะว่า คนไตดำกับคนภูไท ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธ์เดียวกันน่ะครับ.....แต่แปลกใจว่าทำไมคนภูไทหลายคนถึงคิดว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน....คนภูไทเป็นแค่กลุ่มชาติพันธ์ที่อาศัยอยุ่ร่วมเมือง แว่นแคว้น สิบสองจุไท ร่วมกับคนไตดำเท่านั้นเองครับ....เพราะ สิบสองจุไทเดิม มีหลายชนเผ่าอาศัยอยุ่อย่างมากมาย......เอาง่ายๆ คำที่เรียก ปู่ย่า ตา ยาย แม่ ป้า ต่างๆเรียกเหมือนคนไตดำหรือไม่ลองไปศึกษาดู....อีกอย่าง นามสกุลที่สืบเชื้อสายกัน ก็คือ คำว่า สิง[แซ่]  ว่ามีการเล่าขานบอกกล่าวให้ลูกหลานคนรุ่นหลังบ้างไหมของคนภูไท  ว่ามี สิง[แซ่] เหมือนคนไตดำหรือไม่...... สิง[แซ่] ในเมืองไทยที่สืบเชื้อสายกันมาที่มาจากเมืองแถน นั้น มีทั้ง สิงลอ สิงกวาง สิงเลือง สิงวี เป็นต้น ปล. คนที่สืบเชื้อสายพวกเจ้า จะเป็นพวก ตระกูล สิงลอ

เคยได้ยินมาว่า คนแต่งเพลงไทดำรำพัน คือม้าวเฮือง ท้าวฮุง ซึ่งเป็นคนไทดำอาศัยอยู่ในประเทศลาว ทั้งสองได้หนีภัยสงครามไปอยู่ประเทศฝรั่งเศส หมีดำเป็นคนลาวได้ขโมยเพลงไทยดำรำพันไปให้ ก วิเศษ ร้อง จนโด่งดัง ต่อมาท้าวเฮืองท้าวฮุงรู้เข้าทำการฟ้องร้องหมีดำ แต่หมีดำเครืองบืินตกเสียชีวิตก่อนคดีสิ้นสุด ท้าวเฮืองท้าวเสียชีวิตที่ฝรั่งเศส เอาแค่นี้ก่อนวันหลังเล่าให้ฟังใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท