สัมมนาสรุปบทเรียนการดำเนินงานตามระบบมาตรฐานงานชุมชนระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช


สัมมนาสรุปบทเรียน การดำเนินงาน ตามระบบมาตรฐานงานชุมชนระดับจังหวัด ประจำปี 2548

วันที่ 7 – 8 กันยายน 2548 ณ.โรงแรมทักษิณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ คือ ผู้นำชุมชนที่ผ่านมาตรฐาน มชช. ( การดำเนินงานงานตามระบบมาตรฐานงานชุมชน ) ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม/องค์กรชุมชน ผู้นำเครือข่ายองค์กรชุมชน จากอำเภอต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

คุณประมวล วรานุศิษฏ์ ( นักวิชาการพัฒนาชุมชน ) กล่าวเปิดประชุม ชี้แจงรายละเอียดการประชุมในวันนี้ และกระบวนการทำงานของกลุ่ม รวมถึงมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการชี้วัด และการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติจริงที่ทำมา 1 ปี มันเป็นของจริงและทำได้จริงหรือเปล่า และมีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้างจะได้หาแนวทางแก้ไขต่อไป

หลังจากนั้น ก็ให้ผู้นำแต่ละพื้นที่แนะนำตัว และให้ผู้นำแต่ละกลุ่มออกมาเล่าประสบการณ์การทำงาน และมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นบุคคลที่ผ่านมาตรฐาน มชช.

ในช่วงบ่ายได้แบ่งกลุ่ม ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มผู้นำชุมชน

  2. กลุ่ม / องค์กรชุมชน

  3. กลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชน

  4. กลุ่มชุมชน

โดยมอบหมายหัวข้อให้แต่ละกลุ่มไปร่วมหารือ ประกอบด้วย

  1. ท่านได้รับประสบการณ์ / การเรียนรู้ในเรื่องอะไรบ้าง จากการเข้าร่วมพัฒนาตนเองตามระบบมาตรฐานงานชุมชน

  2. ระบบมาตรฐานงานชุมชนมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าจะให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นควรทำอย่างไร

  3. ปัญหาและอุปสรรคที่เจอ

หลังจากนั้นก็ให้ตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอ เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จแล้ว

คุณสุนิสา จิตพันธ์ ศพช. เขต 8 ก็สรุปภาพรวมออกมาได้ดังนี้

ประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วม พัฒนาตนเองตามระบบ มชช.

  1. มีโอกาสในการกำหนดตัวชี้วัด

  2. สร้างการมีส่วนร่วม / จิตสำนึกร่วม

  3. ยกคุณภาพของตนเอง เป็นที่เคารพ เชื่อถือของคนในชุมชน

  4. การทำงานร่วมกันเป็นภาคี

  5. สามารถบริหารจัดการตนเองได้

  6. เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วม พัฒนาตนเองตามระบบ มชช.

  1. รู้จักประเมินตนเอง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง รู้ศักยภาพของตัวเอง

  2. ผู้นำรู้จักควบคุมตนเอง

  3. ทำให้ผู้นำชุมชนมีแผนการปฏิบัติงานชัดเจนเป็นระบบ

  4. ทำให้เกิดความคิดหลากหลาย และนำมาบูรณาการร่วมกัน

  5. ประชาชนให้การยอมรับและเชื่อถือ

  6. มีความเอื้ออาทร

ปัญหาและอุปสรรคที่เจอ

  1. ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงจัง และไม่ต่อเนื่อง

  2. ชาวบ้านมักจะไม่กล้าแสดงความคิดเห็น

  3. ตัวชี้วัดยังไม่เหมาะสมกับกับวีถีชีวิตของชุมชน

  4. ขาดงบประมาณในการสนับสนุน

  5. ระยะเวลาในการพัฒนาตนเองน้อย

  6. ควรจะลดขั้นตอนการประเมิน / จัดทำในระดับตำบล

  7. ความยุ่งยากในการจัดทำเอกสาร

วิธีการดำเนินงาน

  1. ใช้ระบบการมีส่วนร่วม ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น

  2. มีการประเมินจากบุคคลภายในและภายนอก

  3. มีการติดตามและประเมินผล เป็นระยะ

  4. ไม่มีสูตรสำเร็จ สามรถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

  5. กำหนดกรอบพัฒนาตนเอง จัดเวทีกำหนดตัวชี้วัด

  6. กำหนดเป้าหมาย และจัดทำแผนงบประมาณ

  7. แผนการพัฒนาตนเอง

ข้อเสนอแนะ

  1. ประเมินตนเองเป็นระยะ

  2. ประเมินครบรอบ 1 ปี

  3. ควรจัดให้มี มชช. ระดับตำบล

  4. การมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง

  5. การสร้างขวัญและกำลังใจ มอบเกียรติบัตร

  6. จัดให้มีค่าตอบแทน

  7. ชุมชนกำหนดตัวชี้วัดเองให้เหมาะสมกับบริบทชุมชนของตนเอง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3634เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2005 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท