คำถามง่ายๆ ของ KM model ปลาทู ในการล้อมวงสนทนา


อาจารย์บอกว่า ข้อมูลมีไว้ให้คนจิ๊กไปใช้ จึงขออนุญาตอาจารย์นำบทสนทนาของอาจารย์มาบันทึกไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ลงมือปฏิบัติ

Anuwat Supachutikul

Anuwat Supachutikul เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมส ถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาต่อมาจากป ระสบการณ์ของโรงเรียนรุ่งอรุณ ได้เรียนรู้ KM model ที่เป็นปลาทูว่ายน้ำ หัวปลาคือสิ่งที่กินเข้าไป ตัวปลาคือการย่อยสิ่งที่กิน หางปลาคือการสะบัดเพื่อให้ปลาเคลื่อนไปข้า งหน้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงใช้คำถามง่ายๆ 3 ข้อ 1) ไปทำอ...ะไรมา 2) ได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ไปทำนั้น 3) แต่ละคนจะนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์อย่าง ไร

 

Napawan Thawatchaipornpong

Napawan Thawatchaipornpong
ทำไมเวลาอาจารย์พูดมันง่าย พอจะทำมันจะเริ่มยังงัยอิอิ
 
Anuwat Supachutikul
Anuwat Supachutikul
ก็ทำง่ายๆ อย่างที่เขียนไว้นั่นแหละคร ับ มันยากตอนการย่อยความรู้ ต้องอาศัยมีคนมาขุดคุ้ยให้เ ราคิด ส่วนมากเรามักจะคุยกันในเรื ่อง how หรือวิธีการ แต่ที่คุยกันน้อยคือ why ซึ่งจะช่วยยกระดับความรู้ขึ ้นไปอีกขั้นหนึ่ง (เลยทำให้ยิ่งฟังดูยากขึ้นไ ปอีก ขออภัยๆๆๆ)

 

Napawan Thawatchaipornpong
Napawan Thawatchaipornpong
จาจำไว้ค่ะอาจารย์ รับทราบและลองปฏิบัติขอบคุณ ค่ะ อาจารย์พักผ่อนมากๆนะคะเป็น ห่วงคนคุณภาพ ต้องretentionนะคะ

 

Wallee Satayasai
Wallee Satayasai

KM พูดกันบ่อย แต่ไม่ค่อยเหมือนกันเลย

 
Anuwat Supachutikul
Anuwat Supachutikul

มันเป็นความงามในความหลากหล าย

 

PaDaeng Beyond
PaDaeng Beyond

แตกต่างกันจริงๆค่ะ ที่เดียวกันแต่คนละเวลาคนละ กลุ่ม ก็ไม่เหมือนกัน เป็นความงามในแต่ละบริบทด้วยค ่ะ

 
PaDaeng Beyond
PaDaeng Beyond

ส่วนใหญ่จะทำ 3 ข้อ เหมือนกันค่ะ 1.จะทำอะไร 2.ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เรียนรู้หรือได้บทเรียนอะไร  3. อยากให้เกิดอะไร(นำไปใช้)
คล้ายที่อาจารย์บอก เป็น how มากกว่า why ใช่มั้ยคะ

 
Patthanan Seetee
Patthanan Seetee
 

วันนี้เพิ่งรู้จัก ปลาสบัดหางอยากทราบรายละเอี ยดว่าทำอย่างไร หาอ่านได้ที่ไหนคะ

 

Anuwat Supachutikul
Anuwat Supachutikul

คำถามสามข้อนั้นก็ OK นะครับ (พวกเราชอบสูตรสาม) แล้วจะถาม how หรือ why ก็ได้ อยู่ที่ต้องการเอาไปใช้ในลั กษณะไหน ถ้าต้องการทำให้เป็นในเชิงเ ทคนิคก็ถาม how กันมากๆ แต่ถ้าต้องการแชร์วิธีคิด เข้าใจเหตุผลของคนอื่น ก็ควรจะถาม why

 
Anuwat Supachutikul
Anuwat Supachutikul

อันนี้ได้มาจากทีมงานของสถา บันอาศรมศิลป์ครับ เรื่อง KM เรื่องอ่านเป็นรอง ต้องลงมือทำจึงจะเข้าใจครับ 

 
PaDaeng Beyond
PaDaeng Beyond

เข้าใจแล้วค่ะ อาจารย์ แต่ที่ทำงาน จะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ว่า "อย่าถามเหตุผล" แล้ว...คนที่เป็นกระบวนกร ก็ต้องใช้ไหวพริบอย่างมากเล ยค่ะ
แต่..ส่วนใหญ่ คนก็ชอบ ออกแนว KM มากกว่า แนวการทบทวน โดยเฉพาะ RCA ที่มักใช้คำถาม ว่า why why คนกลับไม่ชอบ

 
PaDaeng Beyond
PaDaeng Beyond

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ จะนำไปปรับใช้ค่ะ

 
Anuwat Supachutikul
Anuwat Supachutikul

RCA ไม่ต้องถาม why ก็ได้ แต่ถามว่าตรงจุดไหนที่มีโอก าสปรับเปลี่ยนให้เกิดความปล อดภัยได้มากขึ้น และจะปรับเปลี่ยนให้ได้ผลได ้อย่างไร

 

 

ข้อความข้างบน ผู้เขียนนำมาจาก เวบเพจ facebook ของอาจารย์อนุวัฒน์ ปรมาจารย์ทางด้านการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล

ผู้เขียนเห็นว่า เป็นเรื่องน่าสนใจของผู้ที่เป็น facilator ที่ต้องคอยช่วยเหลือในการทำกลุ่มพูดคุยในการที่จะหาโอกาสพัฒนาในสิ่งที่ดีกว่าได้อย่างไร

 

ท่านที่แวะเข้ามามีความคิดเห็นอย่างไร

 

ส่วนผู้เขียนเองมีความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องที่ท้าท้ายอย่างมากในการที่ทำให้วงพูดคุย "ได้คิด แล้วพูด และนำไปใช้ให้เป็น"

 
 

ผู้เขียนจะลองนำไปใช้ในการวงสนทนากลุ่ม ที่นัดพบกันในวันศุกร์นี้ "ที่ผ่านมา มีจุดไหนที่อยากปรับให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น และทุกคนเห็นว่าต้องปรับอย่างไรจากประสบการณ์ที่ผ่านมา"

 

 อ้างอิงจาก http://www.facebook.com/profile.php?id=100000400461827&ref=pymk#!/profile.php?id=1613122286&ref=mf 

ขอขอบพระคุณค่ะ
หมายเลขบันทึก: 363349เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เรียนคุณป้าแดง

แวะมาเรียนรู้เรื่อง KM ด้วยคนนะคะ เป็นอะไรที่ฟังง่ายแต่ทำยากเนาะ

ความจริงแล้ว การทำ KM มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คนยุคหลังอาจไม่ค่อยสนใจสิ่งที่พระพุทธองค์สั่งสอน

พระองค์มีวิธีการมากมายที่จะส้่งสอนให้มีความรู้ อย่างเช่น Model ปลาทู มีอยู่ใน คำว่า ปรโตโฆสะ

เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้น หรือชักจูงจากภายนอก การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียน หาความรู้ สนทนา ซักถาม

ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร

หมายเหตุ จาก หนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของ ท่านเจ้าคุณ ประยุทธ์ ปยุตฺโต หน้า ๖๙ หัวข้อธรรม ข้อที่ ๓๔

ด้วยความปรารถนาดีในธรรม

นายรักษ์ ปริกทอง

ชมรมคลังปัญญา

ขอประทานอภัย ผมตอบผิด ปรโตโฆษะ ตรงกับกิจกรรม หลักการก้างปลา ใน QC

แต่โมเดล ปลาทู ตรงกับ คำว่า ทิฏฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ มีความเข้าใจลึกซึ้ง

มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล จาก หนังสือเล่มเดิม หน้า ๑๗๑ หัวข้อธรรม ข้อที่ ๒๓๑ (๕)

ตอบแบบนี้คงถูกต้องน่ะครับ

ด้วยความปรารถนาดี

นายรักษ์ ปริกทอง

ชมรมคลังปัญญา

มาเรียนรู้ค่ะ

เห็นด้วยกับคุณยาย

"KM เป็นอะไรที่ฟังง่ายแต่ทำยาก"

 

"KM เป็นอะไรที่ฟังง่ายแต่ทำยาก"

ยิ่งทำให้คนอื่นเข้าใจยิ่งยากมาก

คำถาม How กับ Why เป็นคำถามที่คนไทยไม่ชอบ

  • สวัสดีค่ะ ทุกท่านที่แวะมา
  • ที่ทำงานป้าแดง หากเป็นวงสนทนาที่ใช้เครื่องมือ KM วิธีหนึ่งที่ทำก้นคือ การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายเป็นกันเอง
  • ให้ทุกคนเล่าเรื่องที่ตนเองปฏิบัติได้ดี ตามเป้าหมาย/วิสัยทัศน์ที่กำหนด หากไม่มีใครกล้าเล่า fa ก็จะยิงคำถาม ออกไป หรือถามว่า หากทำอย่างนี้ คิดว่าอย่างไร อะไรประมาณนี้ค่ะ พยายามจะไม่ให้บรรยากาศวงพูดคุยไม่เครียดมากนัก
  • ที่ยากคือ ความเข้าใจของคนร่วมวง ธรรมชาติของคน หากไม่ชอบเล่าประสบการณ์ของตนที่ผ่านมา ก็ชอบตำหนิผู้อื่น
  • ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนนะคะ หากพบวงที่เปิดใจ อยากแบ่งปัน ก็จะสนุกมากค่ะ
  • ได้ความรู้เกี่ยวกับ KM เพิ่มขึ้นครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ อ.ธนิตย์
  • คงไม่มีอะไรที่ตายตัวหรอกนะคะ คงต้องดูบริบทกันด้วย
  • ขอบคุณค่ะ

อาจเป็นโชคค่ะ..เด็กๆ ที่โรงเรียน มีคำว่า "ทำไม" ติดปากตลอดเวลา..จนบางขณะคนตัวโตๆ ต้องกุมขมับ

ขอบคุณค่ะ

เรียน ป้าแดง

ผมเห็นด้วยกับป้าแดงครับ หากจะบอกว่าผู้คนในสังคมไทย(ส่วนใหญ่) จะคุยกันในเรื่องมีสาระน้อยมาก วงสนทนาหลายๆแห่ง

มักจะสนทนากันแต่เรื่องสนุกสนาน บันเทิงเริงรมณ์ นอกจากจะมีการสนทนาแบบทางการเท่านั้น จึงจะได้สาระ หากคุยกันเรื่องทางความคิด จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งเสมอ ผมเคยมีประสบการณ์ ทำเวทีชาวบ้าน รู้สึกว่าชาวบ้านถูกปิดกั้น ไม่ให้แสดงความคิดเห็น ถ้าคนไหนแสดงความคิดเห็นไปในทางแปลกแยก (ทั้งๆที่เป็นความคิดที่ดี) กลับถูกสังคมนั้นมองว่าเป็นตัวประหลาด เพ้อฝัน คนที่เสนอความคิดเห็นดีๆ จึงไม่ค่อยกล้า คนที่ชอบพูดมากที่สุดคือ พวกชอบโจมตีคนอื่น กล่าวหา ใส่ร้ายกัน ต้องยอมรับว่าสังคมเราเป็นอย่างนี้จริงๆ โดยเฉพาะ เวลาเข้าประชุมเรื่องงาน จะมีคนพูดเก่ง(ไม่จริง) พูดอ้อมไปอ้อมมา วกวน จนประธานในที่ประชุมต้องเบรคไว้ สงสัยจะเอาตัวอย่างมาจาก ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ผมคิดว่า หากสังคมไทยมีการพูดคุยกันมากขึ้น แสดงความคิดเห็นกันมากๆ ก็จะพัฒนาไปสู่เวที แห่งภูมิปัญญาในที่สุด ไม่มีสิ่งใดที่เริ่มต้นด้วยสิ่งที่สมบูรณ์ก่อนอย่างแน่นอน ทุกอย่างต้องมีการพัฒนา ขึ้นอยู่กับว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ขอแสดงความเห็นเท่านี้ก่อนนะครับ

ด้วยความปรารถนาดีจาก

นารักษ์ ปริกทอง

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณคุณนายรักษ์มากค่ะ
  • หากสาระมากไป ก็ดูคนจะเบื่อๆนะคะ
  • ขอบคุณมากมายสำหรับการแลกเปลี่ยนค่ะ
  • ดีจังครับ จำง่าย
  • ไปทำอะไรมา-ได้เรียนรู้อะไร-จะเอาไปใช้อย่างไร
  • ขอบคุณนะครับ

ง่ายจัง แต่ลงมือปฏิบัติไปไม่รอดสักที

คุณ anna ต้องช่วยๆกัน เป็นทีม หากคนร่วมวง มีทิศทางที่ไม่เหมือนกัน ก็ล่มได้ง่ายๆค่ะ

เมื่อก่อน เวลาที่ป้าแดง เป็น fa จะเหนื่อยมากๆๆในการดึงให้หลายคนมาอยู่ในเรื่องเดียวกัน

บางคนเอะอะโวยวาย ต้องปล่อยเขาไปซักพัก ก่อนจึงเริ่มกันใหม่

เหนื่อยเหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท