การนำเสนอสื่อนวัตกรรม ชุดการสอน ภาษาล้านนา


การนำเสนอสื่อนวัตกรรม

 

การนำเสนอกระบวนการผลิตชุดการสอน ภาษาล้านนา

 กระบวนการจัดทำ 

1. ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาภาษาล้านนา จากผู้เชี่ยวชาญที่จัดทำขึ้น

2. ศึกษาขั้นตอนวิธีการทำชุดการสอนและวิเคราะห์การนำชุดการสอนมาใช้ในการเรียนรู้ภาษาล้านนา

3. ขอคำแนะนำในการทำชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ

4. วางแผนการทำงาน

    4.1 กำหนดวัตถุประสงค์

    4.2 จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียน

    4.3 อ่านบัตรคำสั่ง แล้วปฎิบัติตาม

    4.4 จัดทำแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมคำเฉลย

5. รวบรวมข้อมูล และพิมพ์เนื้อหาต่างๆ

6. ทดลองทำ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

7. แก้ไขและปรับปรุงข้อบกพร่อง จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ

8. ลงมือทำชุดการสอน

9. นำชุดการสอนไปทดลองใช้กับเด็กนักเรียน 3 คน

  

การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน

1. การนำผลจากผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุง/แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

   1.1 ระบุชื่อเรื่อง ว่าใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

   1.2 ชุดการสอน ไม่เน้นเนื้อหามากแต่เน้นรูปภาพมากกว่าเพราะรูปภาพจะเป็นสื่อที่ทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่าย สำหรับเด็กประถมศึกษา

  

2. ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ที่เกิดขึ้น

การตรวจสอบประเมินประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านโดยกำหนดระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ คือ ดีมาก = 5 , ดี = 4 , ปานกลาง = 3 , น้อย = 2   และน้อยที่สุด = 1 และคะแนนเต็มเท่ากับ 75 คะแนน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 ให้คะแนน 59 คะแนน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 ให้คะแนน 68 คะแนน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 ให้คะแนน 70  คะแนน

 

นำคะแนนที่ได้ มาทำแบบวัดดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนเป็น -1, 0 และ +1 และเมื่อนำมาเทียบกับคะแนนจากผู้เชี่ยวชาญข้างบน จะได้

เกณฑ์  -1 คะแนนอยู่ในช่วง  0  - 25 คะแนน

เกณฑ์   0 คะแนนอยู่ในช่วง 26 - 50 คะแนน

เกณฑ์ +1 คะแนนอยู่ในช่วง 51 –75 คะแนน

 

การกำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

+1 หมายถึง แน่ใจว่าถูกต้อง/สอดคล้อง/ตรงวัตถุประสงค์

  0 หมายถึง ไม่แน่ใจ

 -1 หมายถึง แน่ใจว่ายังไม่ถูกต้อง/ไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงจุดประสงค์

ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

 

สรุป จากผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน เกณฑ์อยู่ในระดับ +1 คือ ผู้เชี่ยวชาญแน่ใจว่าถูกต้อง สอดคล้อง และตรงตามวัตถุประสงค์

สูตรการคำนวณ

                        IOC  =  Σ R/N

IOC        คือ   ดัชนีความสอดคล้อง

R           คือ   คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

Σ R        คือ   ผลรวมคะแนนของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน

N          คือ    จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

การแทนค่าในสูตร

                         IOC  =  1+1+1 / 3      

                                =  1

สรุป การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เท่ากับ 1

 

การทดลองใช้แบบ 1 : 1 กับนักเรียนจำนวน 3 คน

1. การนำผลจากการทดลองใช้ไปปรับปรุง/แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

   1.1 เมี่อนำชุดการสอนไปทดลองใช้กับเด็กนักเรียน 3 คน พบว่าเด็กเต้นเต้นกับการทำแบบทดสอบและมีความตั้งใจทำกิจกรรมตามบัตรต่างๆแต่เด็กใช้เวลาในการศึกษาค่อนข้างนาน การแก้ปัญหาคือ ผู้สอนควรให้คำแนะนำและดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการศึกษาชุดการสอนอย่างใกล้ชิดเพราะมีเนื้อหาและกิจกรรมค่อนข้างมาก

   1.2 นักเรียนยังไม่เข้าใจคำสั่งในการทำกิจกรรม ผู้สอนควรชี้แจงให้ละเอียด ให้นักเรียนเข้าใจ 

2. ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา (E1/E2)

การนำชุดการสอนไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 3 คน โดยมีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน และเมื่อนักเรียนศึกษาชุดการสอนแล้ว ก็จะมีการให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน ผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบของนักเรียนทั้ง 3 คน ดังนี้

 

นักเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

คนที่ 1

คนที่ 2

คนที่ 3

6

7

7

9

8

9

คะแนนรวม

20

26

คะแนนเต็ม

30

30

นำผลคะแนนทำแบบทดสอบก่อนเรียนมาหาค่า E1 และนำผลคะแนนทำแบบทดสอบหลังเรียนมาหาค่า E2 (โดยค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้สำหรับเนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำ E1/E2 คือ 80/80 และเนื้อหาที่เป็นปฏิบัติ E1/E2 คือ 70/70 ขึ้นไป )

สูตรการคำนวณ

                E1 =      (Σ X/ N )/A   × 100 

                                                               

E1    คือ   ประสิทธิภาพของกระบวนการ

ΣX    คือ   ผลรวมของคะแนนนักเรียนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน

A     คือ   คะแนนเต็มของแบบวัด

N     คือ   จำนวนนักเรียน

การแทนค่าในสูตร

                E1 =   (10/10) × 100

                     =   100

สรุป     การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ เท่ากับ 100

สูตรการคำนวณ

               E2 =   (Σ Y/ N )/B × 100 

 

E2  คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำ

          แบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด

ΣY  คือ คะแนนรวมของผลลัพธ์หลังเรียน

B    คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน

N    คือ จำนวนนักเรียน

การแทนค่าในสูตร

                E2 =  (26/30) × 100                                                

                    =   86.6

สรุป ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด เท่ากับ 86.6

ดังนั้นแทนค่า

               (E1/E2)  =   100/86.6

                           =   1.15

สรุป

ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา เท่ากับ 1.15 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 จึงสรุปได้ว่า ชุดการสอนได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้จริง

 

บทสรุป

การประเมินประสิทธิภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน เกณฑ์อยู่ในระดับ +1 คือ ผู้เชี่ยวชาญแน่ใจว่าถูกต้อง สอดคล้อง และตรงตามวัตถุประสงค์และนำเกณฑ์ที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของชุดการสอน มีค่าเท่ากับ 1 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 จึงสรุปได้ว่า สื่อนวัตกรรมการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

การนำชุดการสอนไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 3 คน ได้ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา เท่ากับ 1.15 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 จึงสรุปได้ว่า ชุดการสอนได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้จริง

ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาในอนาคต

จากการศึกษาชุดการสอน ภาษาล้านนาของนักเรียน 3 คน พบว่าเด็ก จึงใช้เวลาในการศึกษาค่อนข้างนาน  ไม่ค่อยเข้าใจขั้นตอนในการทำกิจกรรม ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรให้ความดูแลผู้เรียนและให้คำแนะนำผู้เรียนถึงขั้นตอนต่างๆในการทำกิจกรรมเพื่อให้การใช้ชุดารสอนดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 363283เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากเห็นชุดการเรียนภาษาล้านนาจัง ถ้าว่างก็ขอความกรุณาส่งตัวอย่างมาให้ดูด้วยนะครับ จากคนเก็บฟืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท