หลักในการพัฒนาชีวิตมนุษย์


     พระพุทธเจ้าทรงให้เน้นการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง  ไม่ว่าจะเกิดเป็นคนเชื้อชาติใด  เผ่าพันธุ์วรรณะใด  ภาษาใด  ถ้ามีการฝึกฝนอบรมตนด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง  ก็จะกลายเป็นผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้  โดยทั่วไปการศึกษามีจุดมุ่งหมาย  ๒  ประการ  คือ

     ๑.  การศึกษาสร้างคนให้เป็นบัณฑิตหรือมนุษย์ที่สมบูรณ์  ผู้มีชีวิตที่ดีงาม  ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเกื้อกูลแก่สังคม  ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน คือ การอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขจนถึงสามารถกำจัดราคะ  โทสะ  โมหะ  ได้อย่างสิ้นเชิง  นี้เป็นอัตตทัตถะ  คือประโยชน์ส่วนตัว  ข้อนี้มิใช่หวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพียงอย่างเดียว  แต่หวังให้ผู้เรียนรู้เพื่อการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  หลักการนี้  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาควรคำนึงให้มากที่สุด  มิใช่หวังให้นักเรียนมีความก้าวหน้าด้านวิชาการเพื่อแข่งขันกับต่างประเทศได้เพียงอย่างเดียว  ควรปลูกมโนธรรมสำนึกตามหลักของการศึกษา  พร้อมทั้งปฏิบัติตนเพื่อให้เป็นตัวอย่าง  เพื่อสร้างบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนา

     ๒.  การศึกษาให้เครื่องมือแก่บัณฑิตเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต  และบำเพ็ญกิจเกื้อกูลแก่สังคมโลก  นี้เป็นหลักปรัตถะ  คือประโยชน์ที่บำดพ็ญแก่ผู้อื่น  เพราะในสังคมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี  บัณฑิตที่ฝึกตนแล้วควรอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยคุณธรรมที่ตนฝึกแล้ว  ข้อนี้เป็นจุดประสงค์สืบเนื่องจากข้อแรก  เพราะผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาคือการได้บุคลากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ  สามารถช่วยเกื้อกูลให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโลกได้

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์6
หมายเลขบันทึก: 362844เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2010 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บัณฑิตคือผู้รู้ ครูคือผู้ชี้แนะ แวะมาเยี่ยมชมหลานสาว เรียนให้จบปริญญาเอกนะ เดี๋ยวน้าจะไปเรียนเป็นเพื่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท