สู่สังคมแห่งความเท่าเทียมกันด้วย ICT


นับเป็นโอกาสอันดีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ขับเคลื่อนแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ. 2552-2556) ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านไอซีทีและบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิตและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ภายใต้มาตรการพัฒนาการเรียนรู้ไอซีทีแก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านั้นให้สูงขึ้นทัดเทียมกับคนปกติ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

สู่สังคมแห่งความเท่าเทียมกันด้วย ICT

ทศพนธ์ นรทัศน์
[email protected]
www.ictforall.org

1.  บทนำ

      เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประกอบกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ การแพร่กระจายข่าวสารและข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการนำ ICT มาใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge Base Society) ที่เป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความเจริญให้กับสังคม ตลอดจนสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ต่างมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้าน ICT ให้เป็นพื้นฐานสำคัญ ด้วยการพัฒนาด้านการศึกษา สังคมและเศรษฐกิจ เพื่อรองรับการพัฒนาและการสร้างขีดความสามารถเพื่อการแข่งขันในระดับสากล กระทรวงฯได้ดำเนินนโยบายเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ การศึกษา ฯลฯ จึงเป็นการลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Bridging Digital Divide เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมต่อไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายดังกล่าว จะต้องดำเนินการควบคู่กับการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ การฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ในด้าน ICT ให้แก่ประชาชน เพื่อให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เพื่อนการศึกษา ค้นคว้า ข้อมูล ข่าวสาร ได้ตลอดเวลาและในทุกสถานที่ นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้สามารถใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะเป็นการอำนวความสะดวกในการบริการแก่ประชาชน ในลักษณะ one-stop service ได้อย่างเต็มรูปแบบ

          ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในทุกระดับที่รวมทั้งกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสต่างได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในฐานะผู้รับผิดชอบในการลดช่องว่าง ความเลื่อมล้ำทางสังคมให้เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคม อาทิ ผู้พิการทางการมองเห็น ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ เด็กเร่ร่อน สตรีด้อยโอกาส ทำให้สามารถนำ ICT มาใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงองค์ความรู้ได้ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง และสามารถนำไปต่อยอดความรู้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตรวมถึงสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

          ผู้เขียนได้รับการแจ้งข่าวจากคุณประวีณา ([email protected]) ศูนย์ประสานงานกิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 เชิญชวนให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ทั้งในกรุงเทพฯและในส่วนภูมิภาค อาทิ ผู้พิการทางการมองเห็น ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ เด็กเร่ร่อน และสตรีด้อยโอกาส เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในหลักสูตรต่างๆ (ฟรี) โดยมีรายละเอียดของโครงการดังนี้

2.  วัตถุประสงค์

2.1  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเรียนรู้การพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ไปสู่ประชาชนทุกระดับชั้นและทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึง ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ด้อยโอกาสทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

2.2  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้แก่ ผู้พิการทางการมองเห็น ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ เด็กเร่ร่อน สตรีด้อยโอกาส ได้รับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่กว้างขว้างมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองและนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3.1  ผู้ด้อยโอกาสทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเรียนรู้การพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ

3.2  ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้แก่ ผู้พิการทางการมองเห็น ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ เด็กเร่ร่อน สตรีด้อยโอกาส ได้รับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่กว้างขว้างมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองและนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การจัดอบรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้

4.1 การฝึกอบรมวิทยาการ ICT ให้กับอาสาสมัคร เพื่อมุ่งเน้นสร้างทักษะ ความรู้ เทคนิคในการเป็นวิทยากร เพื่อเป็นวิทยากรอาสาสมัครในการสอนผู้ด้อยโอกาสต่อไป

  • ดำเนินการรับสมัครอาสาสมัครผู้สนใจเข้าร่วมเป็นวิทยากรอาสาสมัคร ในการสอนผู้ด้อยโอกาส ภูมิภาคละ 5 คน รวม 30 คน ทั่วประเทศ ทั้ง 6 ภูมิภาค ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความพร้อมและอาสาจะเป็นวิทยากรทางด้าน ICT เพื่อถ่ายทอดความรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ด้อยโอกาส (คนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางการเคลื่อนไหว)
  • หลังจบหลักสูตรวิทยากร ICT อาสาสมัคร ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากรในการฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมให้กับผู้ด้อยโอกาส คนละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จะพิจารณาจากความสมบูรณ์ของใบสมัคร และการสัมภาษณ์

4.2 การฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมให้กับผู้ด้อยโอกาส (คนพิการทางการมองเห็น, คนพิการทางการได้ยิน, คนพิการทางการเคลื่อนไหว, เด็กเร่ร่อน, สตรีด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ) จำนวนทั้งสิ้น 870 คน ทั่วประเทศ

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม คือ เป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคม มีพื้นฐานความรู้ และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ตามที่ระบุในแต่ละหลักสูตร  โดยมีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จากความสมบูรณ์ของใบสมัคร และพิจารณาจากลำดับที่การสมัครก่อน – หลัง

หลักสูตรการฝึกอบรมด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมให้กับผู้ด้อยโอกาสประกอบด้วยหลักสูตรที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้ด้อยโอกาสแต่ละประเภท ดังนี้

ลำดับ

หลักสูตร

 

   คนพิการ ทางการมองเห็น และทางการได้ยิน

1

การส่งเสริมศักยภาพการใช้ ICT ขั้นพื้นฐาน เพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการมองเห็น

2

ICT เพื่ออาชีพกับการจัดทำเอกสารและและการคำนวณ สำหรับคนพิการทางการมองเห็น

3

การส่งเสริมศักยภาพการใช้ ICT ขั้นพื้นฐาน เพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการได้ยิน

4

ICT เพื่ออาชีพกับการจัดทำเอกสารและและการคำนวณ สำหรับคนพิการทางการได้ยิน

5

ICT เพื่ออาชีพกับการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ สำหรับคนพิการทางการได้ยิน

 

ผู้ด้อยโอกาส (เด็กเร่ร่อน สตรีด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ) และ คนพิการทางการเคลื่อนไหว

1

การส่งเสริมศักยภาพการใช้ ICT พื้นฐาน เพื่อความเท่าเทียม สำหรับด้อยโอกาส

2

ICT เพื่ออาชีพกับการจัดทำเอกสารและและการคำนวณ สำหรับผู้ด้อยโอกาส

3

ICT เพื่ออาชีพกับการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ สำหรับผู้ด้อยโอกาส

4

ICT เพื่ออาชีพกับการสร้างสรรค์งานวีดีโอ สำหรับผู้ด้อยโอกาส

5

ICT เพื่ออาชีพกับการสร้างแบบจำลอง 3 มิติด้วย Google Sketch Up สำหรับผู้ด้อยโอกาส

 

รุ่น 

วันที่

กลุ่มผู้อบรม

จังหวัด

1

5-9 ก.ค. 2553

คนพิการทางการมองเห็น

กรุงเทพมหานคร

2

5-9 ก.ค. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-สตรี

ภูเก็ต

3

12-16 ก.ค. 2553

คนพิการทางการเคลื่อนไหว

ตรัง

4

12-16 ก.ค. 2553

คนพิการทางการมองเห็น

สุพรรณบุรี

5

19-23 ก.ค. 2553

คนพิการทางการมองเห็น

จันทบุรี

6

19-23 ก.ค. 2553

คนพิการทางการเคลื่อนไหว

สระแก้ว

7

2-6 ส.ค. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-ผู้สูงอายุ

ปราจีนบุรี

8

2-6 ส.ค. 2553

คนพิการทางการมองเห็น

กาญจนบุรี

9

2-6 ส.ค. 2553

คนพิการทางการได้ยิน

ชลบุรี

10

16-20 ส.ค. 2553

คนพิการทางการได้ยิน

อยุธยา

11

23-27 ส.ค. 2553

คนพิการทางการเคลื่อนไหว

กรุงเทพมหานคร

12

30 ส.ค.-3 ก.ย. 2553

คนพิการทางการได้ยิน

ตาก

13

30 ส.ค.-3 ก.ย. 2553

คนพิการทางการมองเห็น

ตาก

14

6-10  ก.ย. 2553

คนพิการทางการเคลื่อนไหว

เพชรบูรณ์

15

13-17 ก.ย. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-ผู้สูงอายุ

เพชรบูรณ์

16

20-24 ก.ย.2553

ผู้ด้อยโอกาส-สตรี

แม่ฮ่องสอน

17

20-24 ก.ย.2553

ผู้ด้อยโอกาส-ผู้สูงอายุ

แม่ฮ่องสอน

18

27 ก.ย.-1 ต.ค. 2553

คนพิการทางการได้ยิน

นครศรีธรรมราช

19

27 ก.ย.-1 ต.ค. 2553

คนพิการทางการเคลื่อนไหว

นครศรีธรรมราช

20

4-8 ต.ค. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-เด็ก

กรุงเทพมหานคร

21

4-8 ต.ค. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-เด็ก

ภูเก็ต

22

11-15 ต.ค. 2553

คนพิการทางการได้ยิน

ตรัง

23

11-15 ต.ค. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-เด็ก

สุพรรณบุรี

24

18-22 ต.ค. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-เด็ก

จันทบุรี

25

18-22 ต.ค. 2553

ผู้ด้อยโอกาส-สตรี

สระแก้ว

26

1-5 พ.ย.2553

ผู้ด้อยโอกาส-สตรี

ปราจีนบุรี

27

1-5 พ.ย.2553

ผู้ด้อยโอกาส-ผู้สูงอายุ

กาญจนบุรี

28

8-12 พ.ย.2553

ผู้ด้อยโอกาส-ผู้สูงอายุ

ชลบุรี

29

8-12 พ.ย.2553

ผู้ด้อยโอกาส-สตรี

อยุธยา

 5.      บทส่งท้าย

นับเป็นโอกาสอันดีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ขับเคลื่อนแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ. 2552-2556) ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านไอซีทีและบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิตและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ภายใต้มาตรการพัฒนาการเรียนรู้ไอซีทีแก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านั้นให้สูงขึ้นทัดเทียมกับคนปกติ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป สำหรับท่านใดที่สนใจสมัครเข้ารับการอบรมติดต่อได้ที่ ศูนย์ประสานงานกิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (www.equitable-society.com/disability/) โทร.  0-2682-6350  โทรสาร 0-2682-6355  หรือทางอีเมล์ คุณประวีณา ([email protected])

หมายเลขบันทึก: 362794เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท