จิตตปัญญาเวชศึกษา 137: ปฐมนิเทศ (2) "ความรักและการแสดงออก"


ความรักและการแสดงออก

กระบวนการสำคัญสำหรับการทำ counselling หรือการให้คำปรึกษาคือ "การฟัง" ทีนี้เราจะพบว่า ทำ workshop ฝึกพูดนั้นไม่ยาก ก็ให้พูดออกมา แต่การทำ workshop ฝึกฟังนั้นจะซับซ้อนกว่า ขึ้นกับวัตถุประสงค์ว่าเราอยากจะฝึกในมิติอะไร (ไม่ได้หมายถึงฝึกในมิติที่สี่ twilight zone อะไรแบบนั้น) และอยากจะให้ "เกิดอะไร" ในตัวนักเรียนหรือในที่นี้คือคุณหมอๆที่จะมาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของเรา

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงเลือกเอา mini-World Cafe มาเป็นเครื่องมือใน workshop นี้


WORLD CAFE: LOVES

เริ่มต้นแบบ classic ด้วยการนั่งสมาธิ เพราะเป็นชั่วโมงบ่าย หลังกิจกรรมอื่นๆที่เราได้ใช้สมองซีกซ้ายกันอย่างมากแล้ว เรียกว่าหัวกำลังวิ่งปรู๊ดปร๊าด ก่อนจะเริ่มเราต้องทำให้ "ช้าลง" ในที่นี้คือคลื่นสมอง และลดกระบวนการคิด เพิ่มกระบวนการสร้างสรรค์จินตนาการ การนั่งสมาธิในที่นี้เป็นการนั่งสบายๆ ประกอบเพลงบรรเลงเย็นๆช้าๆ และ navigate ด้วยการพิจารณาอวัยวะส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของเรา เสริม positive thinking ด้วยการให้ขอบคุณอวัยวะเหล่านี้ ได้แก่ ตา หู ปาก มือ หัวใจ

หลังจากนั้นต่อด้วย video clips Playing for Change ใช้เพลง Standby Me แล้วตามด้วย clip "Chickens" จาก DVD BaraKa

ถึง ตอนนี้หวังว่าผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่จะออกจาก beta-mode เข้าสู่ alpha-mode ของคลื่นสมองกันแล้ว สีหน้าผ่อนคลาย หายใจยาวขึ้น นุ่มนวลและอ่อนโยนมากขึ้น ไหล่เปิด ยืดอก ไม่ห่อเหี่ยวงุ้มงอ ผมก็ให้แบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มละ 4-5 คน เนื่องจากผู้เข้าร่วมเรากะทัดรัด มีแค่ 25 คน ก็จัดเป็นหกกลุ่มๆละ 4 และมีกลุ่มหนึ่งที่มี 5 คน นั่งล้อมวงเป็น perfect circle เข่าชนเข่า

ผมเริ่มด้วยขอให้แต่ละคนลองมองหน้า สบตากัน ยิ้มให้กัน แล้วก็พูดว่า "ฉันเห็นเธอ" อีกฝ่ายให้ตอบว่า "ฉันอยู่ตรงนี้" ตอบรับในความมีตัวตน และมองเห็นตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่ง หลังจากนั้นเริ่ม series 3 คำถามตามปกติของ world cafe ที่เคยทำมา

เมื่อถามคำถามหนึ่งคำถามในแต่ละรอบ ใช้เวลา (อันจำกัด) ประมาณ 15-20 นาที ครบเวลาก็จะมีเสียงระฆังเตือน ให้หาตัวแทนประจำกลุ่มหนึ่งคน นั่งอยู่กับที่ คนที่เหลือแยกย้ายกันไปหากลุ่มใหม่ ไม่ให้ตามกันไปหมด แต่ให้แยกย้ายกันออกไป พอได้กลุ่มใหม่ ก่อนที่จะเริ่มสนทนาในประเด็นต่อไป ให้ตัวแทนที่นั่งเป็นเจ้าภาพ ลองเล่าเรื่องราวที่เราประทับใจมาในรอบที่แล้วให้เพื่อนๆฟังสักหนึ่งหรือสอง เรื่อง แล้วค่อยเริ่มสนทนารอบใหม่

คำถาม แรก: ให้ทุกคนลองนึกว่า "ใครรักเรามากที่สุด และเราทราบได้อย่างไร หรือเขา/เธอแสดงออกมาอย่างไร เราจึงรู้ว่ารักเรามากที่สุด"

คำถามที่สอง: ให้ทุกคนลองนึกว่า "เรารักใครมากที่สุด และที่แล้วมา เราได้แสดงออกไปอย่างไรถึงความรักที่สุดของเรา"

คำถามที่สาม: ให้ทุกคนลองนึกว่า "คนไข้คนไหนของเราที่เราประทับใจมากที่สุด อาจจะเป็นชีวิตอันเศร้าโศก หรือการประสบความสำเร็จในการรักษา หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เราประทับใจ"

แต่ละคำถาม ให้ผลัดกันพูด พูดที่ละคน

Ground Rule: ขณะที่เพื่อนกำลังพูด ให้ทุกคนฟัง ห้ามถาม ห้ามสะดุด ห้ามพูด ให้ตั้งใจฟัง จนกว่าเพื่อนจะบอกเองว่า "จบ" ให้ฟังเหมือนกับว่าเราเกิดมาเพื่อที่จะได้ยินเรื่องดังต่อไปนี้ ในวันนี้แหละ ส่วนคนพูด ลองพูดเสมือนว่าเราเกิดมา ก็เพื่อที่จะได้เล่าเรื่องที่จะพูดในวันนี้แหละ

 


หลังจากนั้นก็เป็นการสะท้อน

ตามธรรมเนียมก็คือ ถ้าเราจัด "safe zone" ได้ดีจริงๆ และพูดถึงเรื่องนี้ จะมีคนร้องไห้เสมอในเกือบจะทุก workshop ที่เคยทำมา ไม่ได้นับเอาเรื่องนี้เป็น KPI (key performance indicator) แต่อย่างใด แต่เป็นข้อสังเกตเฉยๆ ครั้งนี้ก็ไม่ได้ยกเว้น

เราขอให้น้องๆลองสะท้อนกิจกรรมนี้

  • รู้สึก "ทึ่ง" ในความรู้สึก จากประเด็นที่เรียบง่าย ใครรักเรา เรารักใคร เราทำอะไรไปบ้าง เพราะรู้สึกดีจริงๆ
  • เรื่องที่พูด ก็เป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่ แต่พอได้พูดออกมาดังๆ มีคนฟัง และได้ยินเรื่องแบบนี้จากคนอื่น กลับเกิดความรู้สึกที่ดีมาก
  • ตอนแรกเราก็คิดว่าเราทำเยอะแล้วในเรื่องการแสดงความรัก ปรากฏว่าเพื่อนๆแสดงออกได้มากกว่าอีก จะกลับไปทำเพิ่ม
  • ความสุขเป็นของที่หาได้ง่าย อยู่รอบๆตัวเรา เพียงแต่จะคิดถึงมันหรือไม่
  • ที่แท้เราก็มีเรื่องที่เราภาคภูมิใจ เรื่องราวคนไข้ที่เราเคยรักษา เราจำได้ แต่ไม่ได้คิดถึงมันเท่านั้นเอง
  • รู้สึกดีที่ได้ "รู้จัก" เพื่อนๆลึกขึึ้นอีกระดับ คิดว่าในการทำงานตามปกติ เราคงไม่ได้รู้จักเพื่อนในแง่มุมนี้ เสียดายทำแค่สองรอบ เจอคนเพ่ิมแค่ 7-8 คน อยากรู้จักเพ่ิมกว่านี้อีก
  • พึ่งรู้ตัวว่า คนที่เรารักนั้น เรายังไม่ได้แสดงออกมาเท่าไหร่ให้เขารู้เลยว่าเรารักเขา เดี๋ยวต้องกลับไปแสดงออกบ้าง

จะว่าไป workshop นี้ ก็จะคล้ายๆ workshop salutogenesis เหมือนกัน แต่เป็น version เบาๆ ชิวๆ กว่า สิ่งที่เราคุยกันมานี้ก็เป็น "ต้นทุน" ของแต่ละคน ที่บางทีเราไม่ได้รู้ตัวตลอดเวลาว่าเรา "มี" สิ่งนี้อยู่ เลยไม่ค่อยได้ใช้

ทีนี้ประเด็นหลักคือ "การฟัง"

การฟังที่ดี ผ่อนคลาย ไม่ตัดสิน เป็นเรื่องราวดีๆ เชิงบวก และเสริมจิต เสริมพลัง จะทำให้เกิดอะไรหลายสิ่งหลายอย่าง อธิบายไม่ได้ ต้องลองเอาเอง ดังนั้นเองใน workshop นี้ ผมไม่ได้ขอให้ใครอธิบายว่าฟังแล้วเป็นยังไง แต่เรื่องราวที่เล่าออกมานั้น จะเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของคนนั้นๆเอง เป็นประสบการณ์ตรง ที่ความรู้สึกที่เกิดมา จะยากแก่การบรรยาย หรือ พรรณนาได้ว่าเป็นยังไง ต้องใช้เรื่องเล่า และ narrative มาช่วย แต่คนฟังอื่นๆก็ยังอาจจะงงๆ และไม่ทราบอยู่ดีว่าเป็นเช่นไร ยกเว้นในเรื่องท่ีตนเองเป็นคนเล่าและสะท้่อน

บทเรียนเรื่องการฟังนี้ก็เลยไม่ต้องสรุป แต่ให้แต่ละคนลองไปตกตะกอนด้วยตัวเอง แยกย้ายกันไปเดินชายหาดสมิหรา เที่ยวงานสองทะเล และชม "สงขลาแต่ก่อน" ในเมืองตามอัธยาศัย

หมายเลขบันทึก: 362627เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คุณหมอครับ เห็นบรรยากาศแล้วชอบมากๆๆ ล่าสุดไปทำกลุ่มแม่ค้าและผู้ประกอบการได้อะไรดีๆมากขึ้น บ้านเราไม่ค่อยมีคนทำเรื่องการฟังนะครับ พบแต่ทำ wrokshop เรื่องการพูด สามประเด็นนี้น่าสนใจมาก

คำถาม แรก: ให้ทุกคนลองนึกว่า "ใครรักเรามากที่สุด และเราทราบได้อย่างไร หรือเขา/เธอแสดงออกมาอย่างไร เราจึงรู้ว่ารักเรามากที่สุด"

คำถามที่สอง: ให้ทุกคนลองนึกว่า "เรารักใครมากที่สุด และที่แล้วมา เราได้แสดงออกไปอย่างไรถึงความรักที่สุดของเรา"

คำถามที่สาม: ให้ทุกคนลองนึกว่า "คนไข้คนไหนของเราที่เราประทับใจมากที่สุด อาจจะเป็นชีวิตอันเศร้าโศก หรือการประสบความสำเร็จในการรักษา หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เราประทับใจ"

อยากทราบในประเด็นที่สาม คุณหมอที่ร่วมกิจกรรมสะท้อนออกมาดีไหมครับ

สวัสดีครับ อ.ขจิต P

เรื่องราวของคนไข้ที่ประทับใจจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดที่เราจะนึกออกมาได้ (เพียงแต่เราจะนึกหรือไม่นึกเท่านั้นเอง) ครับ ไม่พบว่ากลุ่มไหนจะมีปัญหาเรื่องใครไม่มีเรื่องเล่า เพียงแค่เวลาไม่พอเท่านั้นเอง

มีน้องๆสะท้อนมาว่า เออ ที่จริง เราก็ทำดีมาไม่น้อยนะ คิดๆดูก็ดีเหมือนกัน ไม่ต้องไปรอผลประเมินประจำปี รอรางวัลประจำชาติ (กำเนิด) แต่ว่าเป็นความดีรายวัน บางอย่างที่เป็น routine ที่แท้คนไข้เขาก็ขอบคุณเราไม่น้อย

เรื่องราวความประทับใจนั้น บ่อยครั้งที่เราไม่ได้ "นำมาใช้" เท่าที่ควร ทั้งๆที่มักจะเป็นประสบการณ์ของเราเองแท้ๆ อยู่ในความทรงจำของเราเอง และไม่ได้มีเฉพาะวงการแพทย์ รับประกันได้ว่ามีทุกวงการ และเมื่อไรที่เรา "ประทับใจ" เมื่อนั้นเราจะได้ค้นพบว่าที่แท้เราได้ตั้งความหวังอะไรเอาไว้ เพราะความประทับใจไม่มีหลอกๆ แต่เป็น authentic feeling ที่ทำให้เราเข้าใจตนเอง

สวัสดีครับอาจารย์ หมอสกล

ไม่ได้พูด

ไม่ได้คุย

ไม่ได้ฟัง

ก็ยังโชคดีที่ได้มาอ่านครับ อาจารย์

ผมก็โชคดีที่มีกัลยณมิตรอย่างท่านวอญ่า อ.ขจิต มาเยี่ยมเยียนครับผม

ตามมาอ่านเรื่องworld cafe ที่อาจารย์เขียนไว้ค่ะ (กำลังจะให้หมอปิยวรรณจากบำราศไปทำกลุ่มให้น้องในกรมเกี่ยวกับการทำแผนHRDค่ะ )

พี่ได้รับมอบให้จัดเวทีอบรมผู้อำนวยการสำนักคนใหม่ของกรมประมาณ10-15คน โดยให้พี่เก่าๆมาเล่าเรื่อง โดยจัด2วัน อาจารย์มีประสบการณ์ของมอ.ในการพัฒนาทักษะผู้บริหาร ( ไม่ใช่เรียนตามหลักสูตรบริหารที่สอนทั่วไป )โดยใช้รุ่นพี่มาคุยให้น้องๆฟังเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดบ้างไหมคะ

กรมไม่เคยจัดมาก่อนค่ะ

ขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะที่ถามทางบล็อกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท