ฤา ลางลาดลับแล กำลังจะสูญพันธุ์


ลางสาดลับแล หวานซ่อนปรี้ยว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ชวนให้ผู้คนหลงไหล

ฤา..ลางสาดกำลังจะหมดไปจากเมืองลับแล

อากาศที่ร้อนระอุ..ขึ้นและฤดูร้อนที่ยาวนาน  เป็นสิ่งที่น่าสังเกต  สภาพความแห้งแล้ง ต้นไม้บนภูเขา ที่กำลังหายไปทีละ ต้น..สองต้น เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ...ต้นไม้บนภูเขา เป็นต้นไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ใช่เจ้าของสวนเป็นคนปลูก ต้นไม้เหล่านั้น สร้างความชุ่มชื่นและอุดมสมบูรณ์แก่ผืนดิน ลำธารใสที่เคยไหลเย็น  กำลังจะจากเราไป

แต่เก่าก่อนมา...การเดินทางสู่อำเภอลับแลนั้น นอกจากแผ่นป้ายริมทางที่บอกถึงเขตอำเภอลับแลแล้ว สิ่งบ่งบอกที่สำคัญ คือบรรยากาศรอบ ๆ ตัว...

สัมผัสถึงความชุ่มเย็น เป็นเสน่ห์ของเมืองลับแลที่คนต่างถิ่นต้องการสัมผัส และต้องการมาชิมรสชาติ ผลไม้เมืองลับแล

ลางสาด ทุเรียน คือผลไม้รสชาติดี ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ลาดสาดหวานซ่อนเปรี้ยว ที่ชาวสวนสมัยก่อนตัดมาให้ชิมนั้น หวานหอมจับใจจริง ๆ ชาวสวนลับแล จะทราบว่าลางสาดต้นใด หวานหอมอร่อย พอที่จะตัดให้ผู้มาเยือนได้ลิมลอง นอกจากลางสาดก็มีทุเรียน ที่เป็นผลไม้ต้นฤดูฝนก่อนที่จะมีลางสาดออกมาให้ชิม

ทุเรียนพื้นเมือง..ที่แต่ละต้นจะมีรสชาด สีสัน ความหอมหวานมัน รูปทรงสัณฐาน ที่ชาวสวนแต่ละคนเลือกมาให้..จะเป็นที่ถูกใจ แตกต่างกันไปตามรสนิยม บางคนชอบ หวานมัน ต้องต้นนี้ คนชอบกลิ่นฉุน รุนแรงต้องต้นนี้

คนชอบทุกเรียน"สีปูน" "สีตอง" ต้องต้นนี้  หลากหลายรสชาติ ซึ่งคนในสมัยนี้บางคนไม่มีโอกาสสัมผัส..เพราะทุเรียนที่มีขายในตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ยอดนิยมเช่นชะนีไข่ หมอนทอง จากระยอง เป็นต้น ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่วางขาย จะไม่ได้รับประกัน เพราะคนขายส่วนใหญ่ไม่ใช่เจ้าของสวน ที่จะรู้จักทุเรียนของตนเองทุกต้น

ลางสาดและทุเรียนจึงเป็นผลไม้พี่น้องที่ครองใจผู้คนตลอดมา

ปัญหาความต้องการที่ดินทำกิน การจับจองเป็นเจ้าของสวนผลไม้ของผู้คนเมืองลับแล ความต้องการในการสร้างฐานะและความร่ำรวย เป็นกระแสทุนนิยมที่ไหลหลั่งถาโถมข้างสู่เมืองลับแล...

ลองกอง..เป็นผลไม้ต่างถิ่นชนิดแรก ๆ ที่เข้ามาสู่เมืองลับแล ด้วยความที่เป็นผลไม้สายพันธุ์เดียวกัน แต่รสชาติความหอมหวาน และคุณลักษณะที่ขายได้ดีกว่า..จึงทำให้เกษตรกรลับแลรุ่นใหม่นิยมตัดต้นลางสาดเดิมทิ้ง ปลูกต้นใหม่ด้วยเมล็ด..แล้วตัดต้นตอทิ้ง เสียบยอดลองกอง..และได้ชื่อผลไม้กลายพันธุ์เหล่านั้น ว่า...ลางกอง !!

สิ่งที่น่าตกใจที่สุด นอกจาก..ลางสาดสายพันธุ์ใหม่ ที่ชื่อว่า “ลางกอง” แล้ว

คือสิ่งที่ชาวสวนมีความคิดว่า “ต้องตัดต้นไม้ใหญ่ที่คลุมต้นลางสาดเหล่านั้นออก “ เพราะมันคลุมต้นลางสาดพันธุ์ใหม่ ทำให้ลางสาดเหล่านั้น ไม่โต"

นี้คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นไม้ใหญ่ดั้งเดิมในสวน ต้องถูกทำลายลง นอกเหนือ จากต้นไม้เนื้อแข็ง ที่มีราคา เป็นที่ต้องการในท้องตลาด..ซึ่งได้ถูกลักลอบตัดออกไปเรื่อย ๆ ทุกวัน

โดยหารู้ไม่ว่า ต้นลางสาด นั้น ต้องการความชุ่มชื้น ร่มเย็นจากต้นไม้รอบ ข้าง

หากความชุ่มชื้นในดิน และในอากาศมีไม่เพียงพอ ต้นลางสาดก็จะทะยอยแห้งตาย ไปทีละต้น ทีละต้น

ส่วนทุเรียนพื้นเมือง ซึ่งชาวสวนรุ่นเก่า ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ บางต้นเพาะจากเมล็ดทุเรียนที่ได้มาจาก เมืองนนท์ชื่อดัง ทำให้กลายพันธุ์ไปตามธรรมชาติ ทุเรียนเหล่านั้นชาวสวนสมัยก่อนปลูกด้วยวิธีพิเศษ คือใช้ “กงสติ๊ก” หรือหนังสติ๊ก ยิงเมล็ดพันธุ์ขึ้นไปบนภูเขา เจริญงอกงามกลมกลืนไปตามธรรมชาติ ลำต้นสูงใหญ่ การเก็บผลผลิต..ใช้วิธี..”ให้มันหล่นลงมาเอง” แล้วไปเก็บที่บริเวณใต้โคนต้น หรือในลำห้วย ที่ทุเรียนกลิ้งตกลงไป มีน้ำใสไหลเย็น อยุ่ตลอดมา

ทุเรียนพื้นเมือง ที่มีลำต้นสูงใหญ่เหล่านี้..มักจะขายไม่ได้ราคา  เพราะมีกลิ่นฉุน เมล็ดใหญ่ เนื้อเละ เหมือนปลาร้า ไม่เหมือนทุเรียนพันธุ์จากทางใต้ เช่นพันธุ์ชะนีไข่ หมอนทอง จากระยอง จึงทำให้ชาวสวน นิยมตัดทุเรียนที่เติบโตตามธรรมชาติเหล่านั้นทิ้งไป ปลูกต้นใหม่ โดยใช้วิธีเสียบตายอด หรือทาบกิ่งเข้ามาแทน เพื่อต้องการให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และสามารถแข่งขันขายได้ราคาดีขึ้น...สวนทุเรียนบนดอย..จึงทยอยโล่งขึ้น ทีละน้อย ๆ

ต้นไม้ที่เติบโตตามธรรมชาติเหล่านั้น มีรากที่หยั่งลงลึก โอบอุ้ม ซึมซับน้ำ สร้างความชุ่มเย็นให้กับเมืองลับแล สร้างความอุดมสมบูรณ์ หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนจากรุ่น สู่รุ่น พืชผัก พื้นบ้าน ไม่ต้องซื้อ แต่หาเก็บได้ เพราะความชุ่มชื้น ร่มเย็นในบริเวณรอบ ๆ บ้านของตัว "สวน"ก็คือซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่  ที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ ข้าวเต็มนา ปูปลาเต็มหนอง สัตว์ทุกชนิดในป่า ในเขา หรือในท้องทุ่งนา คือสมดุลตามธรรมชาติที่มีอยู่แต่อดีต ซึ่งคนลับแลในปัจจุบัน ต้องสำนึกเรียนรู้

        แต่ในวันนี้ ต้นไม้ บนภูเขา ป่าต้นน้ำ กำลังทยอยหายไป สัตว์ป่าหาดูยาก ใครจะเชื่อบ้างว่า เมื่อก่อนในป่าเมืองลับแล ก็มีหมูป่า ไก่ป่า หมี เก้ง กวางและเสือ อาศัยอยู่ที่นี่ หายนะภัยที่เกิดขึ้น ในวันที่ ๒๓ พ.ค. ๔๙ คือสัญญาณเตือนให้ผู้คนรู้จักสำนึกเสียบ้าง...จากธรรมชาติ

คำสำคัญ (Tags): #ลางสาด
หมายเลขบันทึก: 362482เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เจ้านายคะ

 

* บันทึกนี้ทำให้ต้องเข้าระบบอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ออกไปนานแล้ว ไปเช็ค mail  เจอเพื่อน เลยออนไลน์คุยกัน พึ่งเลิกคุญ อิ อิ

* เจ้านายพูดเหมือนกับ ท่าน รศ.ดร.รวี  ม.เกษตร  ที่อ.สามารถ พาครูใจดีไปคุยกับท่านเลย... ยิ่งผ่านที่เจ้านายบันทึกอีก โอ๊ยอยากร้องไห้  ทั้งที่ตัวเองก็ไม่มีสวยทุเรียน และสวนลางสาดกะเข้าเลย  แง  แง....

* แล้วเราจะทำยังงัยล่ะ  ชาวสวนเค้าไม่ฟังเรา  เกษตรอำเภอก็..... อย่างที่รู้  "คุณเป็น มันเงินเท่าไหร์"  คำนี้ยังก้องอยู่ในหู... ขนาดเกิดเหตุการณ์โคลนถล่ม เกิดความสูญเสียมากมาย เขายังคิดไม่ได้อีก....  ให้ปลูกหญ้าแฝกก็เป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง เฮ่อ.....

* ในเมื่อคนในพื้นที่ยังขาดความตะหนักรู้ "แล้วเราล่ะ... จะเอายังงัยต่อ???"  ชักเครียดแล้ว นะเจ้านาย... เดี๋ยวเนื้องอกในสมองครูใจดีจะกำเริบอีกแล้ว....

* ตอนนี้รวบรวมเกษตรกรให้ได้เป็นกลุ่มเป็นก้อนก่อนดีมั้ย?  แล้วก็ไปประสาน  อบต. ของบ ประชุมอบรมสร้างจิตสำนึกก่อน  เอาทีละขั้น ท่านต้องใจเย็นอีกหน่อยนะ...

*** อย่าใช้อารมณ์  แฮ่ะๆ  ครูใจดีจะปวดหัว  เดี๋ยวช่วยงานไม่ได้ *** 

*** นะจ๊ะ.... ใจเย็น  ฝนนี้ทำแปลงนาสาธิตดีกว่าเน๊าะ... อยากย้อนอดีตดำนา...

*** ไปแล้วนะ ปวดหัว....เบื่อคนขี้เครียด...แป่วๆๆๆๆๆ

ดูหนังให้ใจเย็นๆ ก่อนนะจ๊ะ เจ้านาย...

 

 

ต้องบอกว่าขอโทษนะครับ ที่นำเรื่องหนัก ๆ มาให้อ่าน

ในโลกแห่งความเป็นจริง..ก็เป็นอย่างนี้ละครับ

ทุกข์..เป็นอริยะสัจจ์..หลวงพ่อ สุข..ไม่ใช่อริยะสัจจ์

ทำใจให้เป็นกลาง..

งานจักสำเร็จได้...ใจต้องเบิกบานครับ

ขอบคุณค่ะ ที่ทำให้ทราบความจริง

 

สิ่งที่เกิดกับลางสาด ทุเรียน ที่เมืองลับแลนี้ก็เกิดกับแทบทุกพื้นที่ที่การพัฒนาไปถึงโดยที่ คน ยังไม่ได้พัฒนาจิตใจและสติปัญญาของตน โดนความเย้ายวนจากเงินมาดึงดูดแล้วใช้คำสวยว่าเพื่อเศรษฐกิจ เคยฟังปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่งกล่าวว่าทุกวันนี้แทบทุกถิ่นที่คนกำลังทำตัวเป็นหนอนกินใบผักกาด กินไปเรื่อยๆออกลูกออกหลานมาช่วยกันกิน แล้วก็จะกินจนผักกาดนั้นกุดจนไม่เหลืออะไร

ทุกครั้งที่ได้อ่าน ได้ยินเรื่องราวเช่นนี้ จะนึกถึงอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ที่ท่านมักกล่าวว่าการพัฒนาหากจะให้เกิดประโยชน์และยั่งยืนนั้นต้องมาจาก ประวัติศาสตร์จากชุมชนให้เห็นคุณค่าในสิ่งที่สร้างสมขึ้นมาเป็นชุมชนนั้น และชุมชนมีสำนึกท้องถิ่นที่จะดำรงอัตลักษณ์ไว้ได้ พูดง่ายๆคือพัฒนาจากรากของตนเอง

เศร้าใจเวลาเห็นชาวบ้านตัดต้นไม้ใหญ่ โค่นทิ้งลงง่ายๆอย่างไม่รู้สึกอะไรค่ะ ที่บ้านที่อยู่นี้ ต้องขอซื้อต้นมะตูมเก่าแก่ไว้ต้นหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในที่เรา อยู่ในที่ชาวบ้านแล้วเขาอยากโค่นทิ้ง ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้จะทำอะไรกับที่ตรงนั้น เหมือนไถ่ชีวิตโค กระบือเลยค่ะ

 

เรียนP

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจจริง ๆ ครับ เวลาเห็นต้นไม้ใหญ่ถูกตัดทำลายลง  ความเชื่อเรื่องเทวาอารักษ์ในหมู่คนไทยด้วยกัน ถูกหักล้างลงด้วยความยากจน จนถึงความโลภของคนบางคน แต่เราไม่ควรที่จะกล่าวโทษใครได้..เพราะเราคนไทยทุกคนล้วนเป็นพี่น้องกัน สิ่งที่ทำได้ในขณะนี้ก็คือให้"การศึกษาที่สมบูรณ์"

แก่เยาวชนไทย ด้วยความหวังว่า..เขาเหล่านั้นจะเป็นผู้ดูแลบ้าน ดูแลเมืองไทย ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณครับ..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท