ประตูที่หายไป?


รากเหง้าของเรา...

ในคืนงานสมโภชพระฝางทรงเครื่อง (๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑)

เสียงครึกครื้นของงานมหรสพ เสียงพลุฉลองดังก้อง งานฉลองยิ่งใหญ่ครั้งแรกในรอบสองร้อยปีของวัดโบราณที่ถูกลืมแห่งนี้

ผู้คนจากต่างถิ่นมาเพื่อเฉลิมฉลองชมมหรสพเต็มวัด 
แต่ทว่า..

ภายในวิหารหลวงกลับร้างผู้คน

ผู้ถ่ายหลบความวุ่นวายเพื่อมาซึมซับอดีต ที่เป็นเรื่องราวของการจัดงานฉลองโครมครามข้างนอกนั่น

ลุงคนในภาพ คนบ้านพระฝาง ภูมิชาติคนพื้นที่ ยังคงจำเหตุการณ์เล่าของปู่ย่าคราวประตูวัดพระฝางถูกถอดไปได้ดี

http://gotoknow.org/file/tevaprapas/wpf.jpg

ลุงเดินดูวิหารที่ถูกซ่อม "แปลง" พื้นใหม่ เพื่อสนองตัณหานักท่องเที่ยว พลางจับประตู สะอื้นลึก ๆ แต่ผู้เขียนได้ยินชัดเจนในห้วงโสตประสาท

 

"พระฝางที่หายไป ประตูที่หายไป วัดหลวงที่ถูกลืม"

...ของจำลอง

 

ไม่มีแม้น้ำตา...

 

ประตูของเรา รากเหง้าของเรา กลับคืนมาแล้ว  อยู่ในที่ที่ควรอยู่... แม้จะไม่ใช่ของจริงก็ตาม! 

 


  

 

ประตูวัดพระฝาง สร้างในสมัยอยุธยา ได้รับยกย่องว่ามีความสวยงามมากที่สุดบานหนึ่งของประเทศไทย บานประตูวัดพระฝาง ถูกถอดออกจากกรอบประตูวิหารหลวงไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยพระสุธรรมมุนี

เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์สมัยนั้น เพื่อนำไปเก็บรักษาที่วัดธรรมาธิปไตย (วัดเจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้น) จนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ วัดพระฝางได้รับบานประตูคืน เป็นประตูบานใหม่ สร้างตามรูปแบบเดิม  โดยงบประมาณของกรมศิลปากรกว่าล้านบาท พร้อมกับพระพุทธรูปพระฝาง (องค์จำลอง) เช่นเดียวกัน

 

กล่องข้อความ: “ประตูวัดพระฝาง สร้างในสมัยอยุธยา ได้รับยกย่องว่ามีความสวยงามมากที่สุดบานหนึ่งของประเทศไทย บานประตูวัดพระฝาง ถูกถอดออกจากกรอบประตูวิหารหลวงไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยพระสุธรรมมุนี  เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์สมัยนั้น เพื่อนำไปเก็บรักษาที่วัดธรรมาธิปไตย (วัดเจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้น) จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ วัดพระฝางได้รับบานประตูคืน เป็นประตูบานใหม่ สร้างตามรูปแบบเดิม  โดยงบประมาณของกรมศิลปากรกว่าล้านบาท” พร้อมกับพระพุทธรูปพระฝาง (องค์จำลอง) เช่นเดียวกัน
หมายเลขบันทึก: 362349เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 03:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท