เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภา


เอกสิทธิ์ สมาชิกรัฐสภา คดีอาญา

เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภา

               ขณะนี้สังคมกำลังถกเถียงถึงเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งคือ การขอใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะกรณีการมอบตัวของ สส.จตุพร พรหมพันธ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ได้ขอใช้เอกสิทธิ์ความเป็น สส.ร้องขอต่อประธานรัฐสภาให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวจากการควบคุมเนื่องจากอยู่ในสมัยการประชุม ซึ่งประธานอนุญาตไปแล้วและกำลังจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมของ สส.ในไม่กี่วันข้างหน้านี้
               ผมในฐานะเป็นสมาชิกวุฒิสภามาสองสมัยรวม 10 ปีและเวลาช่วงรักษาอีกปีเศษ ผนวกกับได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกปีเศษ รวมเบ็ดเสร็จแล้วเกือบ 13 ปีเต็ม  ผ่านการลงมติในเรื่องการขอเอกสิทธิ์ของสมาชิกวุฒิสภามาแล้วหลายครั้ง  มีทั้งชนะเป็นเสียงข้างมากและแพ้เป็นเสียงข้างน้อย  ประสบการณ์นี้เองที่ทำให้ถูกผู้คนถามไถ่เป้นอันมากว่า กรณีนี้จะเป็นเช่นไร
               ผมไม่ขออธิบายอะไรให้มากความ แต่ขอยกเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวุฒิสภาชุด "แต่งตั้ง"ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่ (ขอเน้นว่าเป็นการมาจากการแต่งตั้ง) ยังสร้างผลงานที่น่าศรัทธาไว้ดังนี้
                                      4 กรกฎาคม 2540
เรื่อง  ขออนุญาตพิจารณาคดีในระหว่างสมัยประชุม
เรียน  อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
อ้างถึง หนังสือศาลอาญา ด่วนที่สุด ที่ ยธ 0209/7995 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม   2540
                ตามหนังสือที่อ้างถึง ศาลอาญาได้ขอให้ดำเนินการขออนุญาตจากวุฒิสภาเพื่อพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 2166/2540 ในระหว่างสมัยประชุม ซึ่ง นายสุขุม เชิดชื่น สมาชิกวุฒิสภาเป้นจำเลย ตามความในมาตรา 140 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 นั้น
                ในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมได้ลงมติอนุญาต   
                จึงเรียนมาเพื่อทราบ..............                     
                ผลสรุปเป็นเช่นนี้เองครับ สมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นถึงได้ถูกดำเนินคดีเพราะวุฒิสภาไม่ให้การคุ้มครอง ดังนั้นกรณี สส.จตุพร พรหมพันธ์ จึงท้าทายสำนึกส่วนใหญ่ของ สส.ผู้ทรงเกียรติ์ทั้งหลายที่มาจากการ "เลือกตั้ง"ว่าจะมีจุดยืนเช่นไร...........ติดตามกันเองนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 361868เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แ้ล้วแบบนี้ เมื่อไรจะมีผู้ทำหน้าที่เรียนอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา หรือรอให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ....ผ่านไป

  • เป็นคำถามคาใจผมอยู่ครับว่า ถ้ามีตำแหน่งทางการเมืองแล้วจะได้รับการคุ้มครองไปแบบไม่ลืมหูลืมตาหรือ ได้รับคำตอบจากบันทึกนี้แล้ว ขอบพระคุณมากครับ
  • เพิ่งทราบว่าคุณครูเป็นสมาชิก G2K ดีใจมากครับ

คุณกัญญาวีร์ครับ ประเด็นนี้คงต้องรอให้ผ่านพ้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปก่อน เพราะถึงเวลานี้ยังไม่มีจดหมายขอตัวจากทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองไปยังประธานรัฐสภานะครับ เขาจึงยังทำหน้าที่เป็น สส.และได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองอยู่

อ.เต็มศักดิ์ครับ เรื่องนี้ผมทราบมานานและพยายามหาทางให้มีการใช้เอกสิทธิ์เฉพาะรายที่ผิดกฎหมายอาญาที่ไม่ร้ายแรงนัก เช่นหมิ่นประมาท ฉ้อโกง ทำร้ายร่างกายแต่น้อย แต่ในคดีรุนแรงเช่นละเมิดทางเพศเด็ก ข่มขืนกระทำชำเราหรือก่อการร้ายนั้นไม่ควรที่จะโหวตให้เอกสิทธิ์ ผมและเพื่อนๆ หลายคนได้ทำจดหมายทักท้วงไปยังท่านประธานรัฐสภาแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท